กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไป เปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง " ความสัมพันธ์ไทย - พม่า : วิกฤตและโอกาส ? " ที่โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่ จัดโดยภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2544 ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ ไทย - พม่าว่า มีหลายมิติ ทั้งด้านความมั่นคง การศึกษา การค้า สาธารณสุข และศาสนา ทั้งสองฝ่ายควรร่วมมือกันให้หลากหลายและกว้างขวางยิ่งขึ้นในระดับต่างๆ สำหรับปัญหาชายแดนที่เกิดขึ้นได้มีการใช้กลไกทั้งระดับท้องถิ่น (Township Border Committee-RBC) และระดับภูมิภาค (Regional Border Committee-RBC) และยังเปิดช่องทางการเจรจาอื่น ๆ เช่น การพบปะกันระหว่างผู้นำแบบ สองต่อสอง (four-eye meeting) เพื่อพูดคุยกันอย่างเปิดอกเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป แม้ว่า ในภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่า ยังมีความหวาดระแวงและมีความเข้าใจผิดกันในหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดอธิปไตยและการลบหลู่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้ประท้วงพม่าอย่างรุนแรงไปแล้ว และทางพม่า ได้ตอบมาว่า ไม่มีเจตนาลบหลู่และมีความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวย้ำว่า ปัญหาไทย - พม่า มีความซับซ้อน ต้องช่วยกันลดความขัดแย้ง ต้องมีความร่วมมือ อดทน และเข้าใจซึ่งและกัน กระบวนการแก้ไขปัญหาต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ไทยกับพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกันทั้งทางบกและทางทะเล ความสัมพันธ์ไทย - พม่า เป็นความสัมพันธ์ที่หลากหลายมิติ การดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติ ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย - พม่า ต้องดำเนินความสัมพันธ์ในมิติที่ต้องอาศัยความร่วมมือ ความอดทน และความเข้าใจ ในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยต้องมองปัญหารอบด้าน ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็น ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับพม่า มีความซับซ้อน เนื่องจากมีเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันหลายด้าน ทั้งสองประเทศต้องร่วมมือกันขจัดความขัดแย้ง ความตึงเครียด และความหวาดระแวงระหว่างกัน ในการสัมมนาฯ ได้มีการเสนอให้เพิ่มมิติความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการเรียนรู้วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาร่วมกัน ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับประชาชนกับประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับรัฐบาลต่อไป การสัมมนาฯ ครั้งนี้เป็นการเปิดเวทีสาธารณะ โดยมีการอภิปรายจากนักวิชาการ นักปฏิบัติการ องค์กรเอกชน และประชาชนทั่วไป เป็นการระดมสมอง และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศ เพื่อนบ้าน เพื่อจะได้นำผลการสัมมนาฯ ไปเป็นข้อมูลในการประกอบการดำเนินการด้านต่างประเทศต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไป เปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง " ความสัมพันธ์ไทย - พม่า : วิกฤตและโอกาส ? " ที่โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่ จัดโดยภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2544 ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ ไทย - พม่าว่า มีหลายมิติ ทั้งด้านความมั่นคง การศึกษา การค้า สาธารณสุข และศาสนา ทั้งสองฝ่ายควรร่วมมือกันให้หลากหลายและกว้างขวางยิ่งขึ้นในระดับต่างๆ สำหรับปัญหาชายแดนที่เกิดขึ้นได้มีการใช้กลไกทั้งระดับท้องถิ่น (Township Border Committee-RBC) และระดับภูมิภาค (Regional Border Committee-RBC) และยังเปิดช่องทางการเจรจาอื่น ๆ เช่น การพบปะกันระหว่างผู้นำแบบ สองต่อสอง (four-eye meeting) เพื่อพูดคุยกันอย่างเปิดอกเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป แม้ว่า ในภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทย - พม่า ยังมีความหวาดระแวงและมีความเข้าใจผิดกันในหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดอธิปไตยและการลบหลู่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้ประท้วงพม่าอย่างรุนแรงไปแล้ว และทางพม่า ได้ตอบมาว่า ไม่มีเจตนาลบหลู่และมีความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวย้ำว่า ปัญหาไทย - พม่า มีความซับซ้อน ต้องช่วยกันลดความขัดแย้ง ต้องมีความร่วมมือ อดทน และเข้าใจซึ่งและกัน กระบวนการแก้ไขปัญหาต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ไทยกับพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกันทั้งทางบกและทางทะเล ความสัมพันธ์ไทย - พม่า เป็นความสัมพันธ์ที่หลากหลายมิติ การดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติ ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย - พม่า ต้องดำเนินความสัมพันธ์ในมิติที่ต้องอาศัยความร่วมมือ ความอดทน และความเข้าใจ ในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยต้องมองปัญหารอบด้าน ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็น ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับพม่า มีความซับซ้อน เนื่องจากมีเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันหลายด้าน ทั้งสองประเทศต้องร่วมมือกันขจัดความขัดแย้ง ความตึงเครียด และความหวาดระแวงระหว่างกัน ในการสัมมนาฯ ได้มีการเสนอให้เพิ่มมิติความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการเรียนรู้วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาร่วมกัน ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับประชาชนกับประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับรัฐบาลต่อไป การสัมมนาฯ ครั้งนี้เป็นการเปิดเวทีสาธารณะ โดยมีการอภิปรายจากนักวิชาการ นักปฏิบัติการ องค์กรเอกชน และประชาชนทั่วไป เป็นการระดมสมอง และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศ เพื่อนบ้าน เพื่อจะได้นำผลการสัมมนาฯ ไปเป็นข้อมูลในการประกอบการดำเนินการด้านต่างประเทศต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-