กรุงเทพ--1 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างเยือนประเทศสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2543 นั้น
วันนี้ (29 กุมภาพันธ์) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กับนาย Alexander Avdeyev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 1 และนาย Grigory B. Karasin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน เอเชียและแปซิฟิก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ฝ่ายไทยขอบคุณที่รัสเซียได้ส่งผู้แทนระดับสูง คือนาย V. Fradkov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า ไปร่วมการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การประชุมประสบผลสำเร็จด้วยดี
2. ฝ่ายไทยได้สรุปสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทยและการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งมีผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว และโดยที่ขณะนี้เศรษฐกิจของ รัสเซียก็กำลังฟื้นตัวด้วยเช่นกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยและรัสเซียจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้น และโดยที่ได้มีการก่อตั้งสมาคมการค้าไทย-รัสเซียที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมากแล้ว จึงหวังว่า ฝ่ายรัสเซียจะจัดตั้งสมาคมการค้ารัสเซีย-ไทยขึ้นที่รัสเซียในเร็ววันนี้ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานการติดต่อระหว่างภาคเอกชนสองฝ่ายได้ดีขึ้น นอกจากนั้น ยังได้เชิญชวนให้รัสเซียส่งคณะผู้แทนทางการค้าทั้งภาครัฐและเอกชนเยือนไทย
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งรัดความตกลงที่สำคัญให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว อาทิ ความตกลงทางการค้า ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ความตกลงด้านการท่องเที่ยว ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติด และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นพื้นฐานในการขยายความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ต่อไป
4. สองฝ่ายเห็นควรพิจารณาลู่ทางในการร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด อาชญากรรมก่อตั้ง และการก่อการร้าย
5. ในด้านความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย พม่า คาบสมุทรเกาหลี การขยายจำนวนสมาชิกขององค์การนาโต และการปฏิรูปสหประชาชาติ
6. ฝ่ายไทยได้แสดงความเชื่อมั่นว่าการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างไทยกับรัสเซียในช่วงที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสางานอาเซียน-รัสเซียตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 เป็นเวลา 3 ปี จะเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของรัสเซียในการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
7. ฝ่ายไทยรับจะเป็นคนกลางในการติดต่อให้รัสเซียได้พบกับ ASEAN-ISIS เพื่อหารือเกี่ยวกับการควบร่างเอกสาร Pacific Concord ซึ่งรัสเซียได้จัดทำขึ้นกับร่างที่ ASEAN ISIS จัดทำขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความร่วมมือด้านความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต่อไป
8. ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายรัสเซียการเร่งรัดการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองวลาดิวอสต็อกโดยเร็ว รวมทั้งการพิจารณาลงนามพิธีสาร ต่อท้ายสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และพิจารณาสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ในขณะที่ฝ่ายรัสเซียได้ขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาการจัดทำความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างไทย-รัสเซีย
ภายหลังการหารือ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของรัสเซียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-รัสเซีย ซึ่งเป็นพื้นฐานความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรม การศึกษา และเยาวชน ระหว่างไทย-รัสเซียต่อไป นอกจากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ตลอดจนนักธุรกิจรัสเซียทราบ พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้นักธุรกิจรัสเซียส่งคณะ ผู้แทนทางการค้าไปประเทศไทย ในการนี้ มีนักธุรกิจรัสเซียได้แสดงความประสงค์ที่จะร่วมลงทุนกับนักธุรกิจไทยทางด้านอัญมณีด้วย--จบ--
ตามที่ ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างเยือนประเทศสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2543 นั้น
วันนี้ (29 กุมภาพันธ์) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กับนาย Alexander Avdeyev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 1 และนาย Grigory B. Karasin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน เอเชียและแปซิฟิก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ฝ่ายไทยขอบคุณที่รัสเซียได้ส่งผู้แทนระดับสูง คือนาย V. Fradkov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า ไปร่วมการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การประชุมประสบผลสำเร็จด้วยดี
2. ฝ่ายไทยได้สรุปสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทยและการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งมีผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว และโดยที่ขณะนี้เศรษฐกิจของ รัสเซียก็กำลังฟื้นตัวด้วยเช่นกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยและรัสเซียจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้น และโดยที่ได้มีการก่อตั้งสมาคมการค้าไทย-รัสเซียที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมากแล้ว จึงหวังว่า ฝ่ายรัสเซียจะจัดตั้งสมาคมการค้ารัสเซีย-ไทยขึ้นที่รัสเซียในเร็ววันนี้ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานการติดต่อระหว่างภาคเอกชนสองฝ่ายได้ดีขึ้น นอกจากนั้น ยังได้เชิญชวนให้รัสเซียส่งคณะผู้แทนทางการค้าทั้งภาครัฐและเอกชนเยือนไทย
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งรัดความตกลงที่สำคัญให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว อาทิ ความตกลงทางการค้า ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ความตกลงด้านการท่องเที่ยว ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติด และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นพื้นฐานในการขยายความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ต่อไป
4. สองฝ่ายเห็นควรพิจารณาลู่ทางในการร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด อาชญากรรมก่อตั้ง และการก่อการร้าย
5. ในด้านความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย พม่า คาบสมุทรเกาหลี การขยายจำนวนสมาชิกขององค์การนาโต และการปฏิรูปสหประชาชาติ
6. ฝ่ายไทยได้แสดงความเชื่อมั่นว่าการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างไทยกับรัสเซียในช่วงที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสางานอาเซียน-รัสเซียตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 เป็นเวลา 3 ปี จะเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของรัสเซียในการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
7. ฝ่ายไทยรับจะเป็นคนกลางในการติดต่อให้รัสเซียได้พบกับ ASEAN-ISIS เพื่อหารือเกี่ยวกับการควบร่างเอกสาร Pacific Concord ซึ่งรัสเซียได้จัดทำขึ้นกับร่างที่ ASEAN ISIS จัดทำขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความร่วมมือด้านความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต่อไป
8. ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายรัสเซียการเร่งรัดการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองวลาดิวอสต็อกโดยเร็ว รวมทั้งการพิจารณาลงนามพิธีสาร ต่อท้ายสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และพิจารณาสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ในขณะที่ฝ่ายรัสเซียได้ขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาการจัดทำความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างไทย-รัสเซีย
ภายหลังการหารือ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของรัสเซียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-รัสเซีย ซึ่งเป็นพื้นฐานความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรม การศึกษา และเยาวชน ระหว่างไทย-รัสเซียต่อไป นอกจากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ตลอดจนนักธุรกิจรัสเซียทราบ พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้นักธุรกิจรัสเซียส่งคณะ ผู้แทนทางการค้าไปประเทศไทย ในการนี้ มีนักธุรกิจรัสเซียได้แสดงความประสงค์ที่จะร่วมลงทุนกับนักธุรกิจไทยทางด้านอัญมณีด้วย--จบ--