การผลิต : เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.9 โดยหมวดสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดวัสดุก่อสร้าง และยาสูบ
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+37.9%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ศกนี้ เรื่อยมา ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+15.1%) การผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น ท่อเหล็กที่ลดลงตามความต้องการของตลาดส่งออก หมวดเครื่องดื่ม (+4.4%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 ซึ่งเป็นโรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงาน ผลิตสุรา “เสือดำ” เพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+4.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า(-37.0%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-3.9%) การผลิตลดลงตามผลผลิตของโรงงานปูนซิเมนต์นครหลวง ซึ่งปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.5 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับและหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากเดือนก่อนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.2 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 54.5)
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (76.4%) ลดลงตามการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ กระจกแผ่น แผ่นเหล็กชุบดีบุก และมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นสำคัญ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (40.8%) ลดลงทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก หมวดวัสดุก่อสร้าง (49.2%) ใช้กำลังการผลิตลดลง ตามภาวะการก่อสร้างในช่วงฤดูฝน ประกอบกับโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (76.5%) ลดลง เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ปิดหอกลั่นลงบางส่วน เพราะได้รับค่าการกลั่นที่ลดลง
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก(51.8%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตเหล็กแผ่นชุบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็น และเหล็กลวด เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร(33.0%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตอาหารกระป๋อง ที่ปัญหาเรื่องขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาสูงได้คลี่คลายลง
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 7 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.9 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งอุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.9 โดยหมวดสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดวัสดุก่อสร้าง และยาสูบ
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+37.9%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ศกนี้ เรื่อยมา ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+15.1%) การผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น ท่อเหล็กที่ลดลงตามความต้องการของตลาดส่งออก หมวดเครื่องดื่ม (+4.4%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 ซึ่งเป็นโรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงาน ผลิตสุรา “เสือดำ” เพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+4.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า(-37.0%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-3.9%) การผลิตลดลงตามผลผลิตของโรงงานปูนซิเมนต์นครหลวง ซึ่งปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.5 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับและหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากเดือนก่อนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.2 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 54.5)
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (76.4%) ลดลงตามการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ กระจกแผ่น แผ่นเหล็กชุบดีบุก และมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นสำคัญ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (40.8%) ลดลงทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก หมวดวัสดุก่อสร้าง (49.2%) ใช้กำลังการผลิตลดลง ตามภาวะการก่อสร้างในช่วงฤดูฝน ประกอบกับโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (76.5%) ลดลง เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ปิดหอกลั่นลงบางส่วน เพราะได้รับค่าการกลั่นที่ลดลง
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก(51.8%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตเหล็กแผ่นชุบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็น และเหล็กลวด เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร(33.0%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตอาหารกระป๋อง ที่ปัญหาเรื่องขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาสูงได้คลี่คลายลง
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 7 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.9 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งอุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-