เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนสิงหาคม 2544 โดยภาพรวมยังคงชะลอตัวเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ โดยการส่งออกลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้า และภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง สำหรับการลงทุนยังคงซบเซา มีเพียงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดในแต่ละภาคดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญออกสู่ตลาดมากขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย ถั่วเหลือง และหอมแดง ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่สูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามความต้องการของตลาดภายในประเทศและราคาตลาดโลกโดย ข้าวนาปรัง ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 14-15% สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 เป็นเมตริกตันละ 4,148 บาท และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตปี 2544/45 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เป็น 2.1 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย ราคารับซื้อข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14% กิโลกรัมละ 3.78 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 ตามราคาในตลาดโลก ลำไย ราคาลำไยเกรดคละสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย เป็นกิโลกรัมละ 22.35 บาท และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าสองเท่าตัว (ร้อยละ 226.3) ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงและเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ถั่วเหลือง ราคารับซื้อถั่วเหลืองเกรดคละกิโลกรัมละ 9.06 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.4 จากคุณภาพต่ำเพราะกระทบฝนช่วงเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม ราคายังสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามราคาตลาดโลก หอมแดง ราคาหอมแดงแห้งใหญ่เกรดคละกิโลกรัมละ 17.65 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.0 ตามความต้องการรับซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ตามคุณภาพผลผลิตที่ด้อยลง
2. นอกภาคเกษตร
2.1 ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลงต่อเนื่องในระดับใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา โดย อุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เหลือ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (3,648.4 ล้านบาท) ตามการชะลอตัวของของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ ผลผลิตลดลง โดยอุตสาหกรรมผลิตสังกะสีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 9,069 เมตริกตัน จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่ชะลอตัว
2.2 ภาคบริการ ชะลอตัวตามการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ในเดือนมิถุนายน 2544 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 เหลือ 186,265 คน ทั้งหมดเป็นผลจาก ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 17.0 ต่างจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่ ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นสำคัญ ขณะที่ ผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.4 เป็น 271,946 คน โดยเพิ่มขึ้นในเกือบทุกท่าอากาศยาน ยกเว้น ท่าอากาศยานเชียงใหม่ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 ส่วนการใช้ไฟฟ้าภาคบริการในเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 17.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพิษณุโลก
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยเครื่องชี้การใช้จ่ายภาคเอกชนที่สำคัญคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เป็น 259.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.9 ระยะเดียวกันปีก่อน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดจัดเก็บเป็นสำคัญ ส่วน ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 เป็น 2,388 คัน จากการส่งมอบรถยนต์ใหม่ตามคำสั่งซื้อในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับ ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ในเดือนกรกฎาคมมีอัตราขยายตัวร้อยละ 25.7 เป็น 14,958 คัน โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดลำปางและตาก จากความต้องการรถจักรยานยนต์ทดแทนรถยนต์ และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ทางด้าน การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เป็น 239.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นมากในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
4. การลงทุน/ก่อสร้างภาคเอกชน ยังอยู่ในเกณฑ์ซบเซา โดยความสนใจลงทุนมีเครื่องชี้ที่สำคัญคือ โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ปรากฏว่ามีเพียง 8 โครงการ เงินลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 เหลือ 1,172.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการผลิตเพื่อ ส่งออกในสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า คาดว่าจะจ้างแรงงานประมาณ 858 คน ส่วนการลงทุนใน โรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ มีจำนวน 64 โรงงาน เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวปีก่อนกว่า 3 เท่าตัว เป็น 483.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร (อบเมล็ดพืชและเก็บรักษาเมล็ดพืชในไซโล อบลำไย สีข้าว กะเทาะเปลือกถั่วลิสง) การก่อสร้าง (คอนกรีตผสมเสร็จ แอสฟัลท์ติกคอนกรีต) สิ่งทอ (เสื้อถักไหมพรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป) และอุตสาหกรรมอื่น (ทำเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องเรือนจากไม้ ผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก ผลิตของที่ระลึกและของเด็กเล่น ซ่อมเครื่องยนต์และเคาะพ่นรถยนต์ ผลิตอาหารเสริมสุขภาพ) คาดว่าจะสามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้น 1,822 คน อย่างไรก็ดี การก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้น พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 เป็น 59,998 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นมากในประเภทพาณิชยกรรมและประเภทบริการและขนส่ง
5. ฐานะการคลัง ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 9,616.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 9,158.9 ล้านบาท โดย การใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็น 10,394.1 ล้านบาท จากการเร่งเบิกจ่ายของรัฐบาล การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เป็น 6,792.2 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือ 3,601.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลดลงในหมวดเงินอุดหนุน ส่วน รายได้รัฐบาล ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 เหลือ 777.9 ล้านบาท จากการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงร้อยละ 25.5
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงร้อยละ 19.1 เหลือ 110.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.2 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 เหลือ 4,931.8 ล้านบาท) จากการลดลงทั้งการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และการส่งออกผ่านชายแดน โดยมูลค่า การส่งออกของนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกไปญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลดลงมาก โดยเฉพาะสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ทรานซิสเตอร์ ไดโอด ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์) อุปกรณ์ไฟฟ้า(หม้อแปลง ตัวต้านทาน ฯลฯ) และผลึกพีเอโซอิเล็กทริกส์ อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์กลับมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมาก เช่น หัวไม้กอล์ฟ เลนซ์และผลิตภัณฑ์เลนซ์ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ส่วนมูลค่า การส่งออกผ่านชายแดน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 เหลือ 15.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เหลือ 693.4 ล้านบาท) เนื่องจากพม่ายังเข้มงวดกับการนำเข้าสินค้าจากไทย
ทางด้าน การนำเข้า มูลค่าลดลงร้อยละ 31.9 เหลือ 75.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.6 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 เหลือ 3,344.5 ล้านบาท) จากการนำเข้าวัตถุดิบของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่ลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับ ดุลการค้า เกินดุล 35.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 26.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทเกินดุล 1,587.3 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,080.9 ล้านบาทเดือนเดียวกันปีก่อน)
7. ระดับราคาสินค้า สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 โดยลดลงในสินค้าไม่รวมหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดค่าไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาถึงร้อยละ 12.9 จากการปรับลดลงของราคา น้ำมัน อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในสินค้าหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 3.3 จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง
8. ภาคการเงิน การให้ สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือยังคงลดลง ต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 167,588.1 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ใกล้เคียงกับที่ลดลงร้อยละ 14.4 เดือนก่อน เนื่องจากมีการโอนสินเชื่อของบางธนาคารไปบริหารที่ส่วนกลาง และการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และสุโขทัย ด้าน เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276,038.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนคือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี
ในเดือนสิงหาคม 2544 ปริมาณเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักงานหักบัญชี ทั้งสิ้น 382,517 ฉบับ มูลค่า 26,016.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดอุทัยธานี น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 7,220 ฉบับ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เป็น 345.9 ล้านบาท สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน คือร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ และใกล้เคียงกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อน
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญออกสู่ตลาดมากขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย ถั่วเหลือง และหอมแดง ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่สูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามความต้องการของตลาดภายในประเทศและราคาตลาดโลกโดย ข้าวนาปรัง ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 14-15% สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 เป็นเมตริกตันละ 4,148 บาท และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตปี 2544/45 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เป็น 2.1 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย ราคารับซื้อข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14% กิโลกรัมละ 3.78 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 ตามราคาในตลาดโลก ลำไย ราคาลำไยเกรดคละสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย เป็นกิโลกรัมละ 22.35 บาท และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าสองเท่าตัว (ร้อยละ 226.3) ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงและเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ถั่วเหลือง ราคารับซื้อถั่วเหลืองเกรดคละกิโลกรัมละ 9.06 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.4 จากคุณภาพต่ำเพราะกระทบฝนช่วงเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม ราคายังสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามราคาตลาดโลก หอมแดง ราคาหอมแดงแห้งใหญ่เกรดคละกิโลกรัมละ 17.65 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.0 ตามความต้องการรับซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ตามคุณภาพผลผลิตที่ด้อยลง
2. นอกภาคเกษตร
2.1 ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลงต่อเนื่องในระดับใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา โดย อุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เหลือ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (3,648.4 ล้านบาท) ตามการชะลอตัวของของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ ผลผลิตลดลง โดยอุตสาหกรรมผลิตสังกะสีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 9,069 เมตริกตัน จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่ชะลอตัว
2.2 ภาคบริการ ชะลอตัวตามการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ในเดือนมิถุนายน 2544 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 เหลือ 186,265 คน ทั้งหมดเป็นผลจาก ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 17.0 ต่างจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่ ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นสำคัญ ขณะที่ ผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.4 เป็น 271,946 คน โดยเพิ่มขึ้นในเกือบทุกท่าอากาศยาน ยกเว้น ท่าอากาศยานเชียงใหม่ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 ส่วนการใช้ไฟฟ้าภาคบริการในเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 17.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพิษณุโลก
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยเครื่องชี้การใช้จ่ายภาคเอกชนที่สำคัญคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เป็น 259.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.9 ระยะเดียวกันปีก่อน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดจัดเก็บเป็นสำคัญ ส่วน ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 เป็น 2,388 คัน จากการส่งมอบรถยนต์ใหม่ตามคำสั่งซื้อในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับ ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ในเดือนกรกฎาคมมีอัตราขยายตัวร้อยละ 25.7 เป็น 14,958 คัน โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดลำปางและตาก จากความต้องการรถจักรยานยนต์ทดแทนรถยนต์ และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ทางด้าน การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เป็น 239.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นมากในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
4. การลงทุน/ก่อสร้างภาคเอกชน ยังอยู่ในเกณฑ์ซบเซา โดยความสนใจลงทุนมีเครื่องชี้ที่สำคัญคือ โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ปรากฏว่ามีเพียง 8 โครงการ เงินลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 เหลือ 1,172.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการผลิตเพื่อ ส่งออกในสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า คาดว่าจะจ้างแรงงานประมาณ 858 คน ส่วนการลงทุนใน โรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ มีจำนวน 64 โรงงาน เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวปีก่อนกว่า 3 เท่าตัว เป็น 483.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร (อบเมล็ดพืชและเก็บรักษาเมล็ดพืชในไซโล อบลำไย สีข้าว กะเทาะเปลือกถั่วลิสง) การก่อสร้าง (คอนกรีตผสมเสร็จ แอสฟัลท์ติกคอนกรีต) สิ่งทอ (เสื้อถักไหมพรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป) และอุตสาหกรรมอื่น (ทำเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องเรือนจากไม้ ผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก ผลิตของที่ระลึกและของเด็กเล่น ซ่อมเครื่องยนต์และเคาะพ่นรถยนต์ ผลิตอาหารเสริมสุขภาพ) คาดว่าจะสามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้น 1,822 คน อย่างไรก็ดี การก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้น พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 เป็น 59,998 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นมากในประเภทพาณิชยกรรมและประเภทบริการและขนส่ง
5. ฐานะการคลัง ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 9,616.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 9,158.9 ล้านบาท โดย การใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็น 10,394.1 ล้านบาท จากการเร่งเบิกจ่ายของรัฐบาล การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เป็น 6,792.2 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือ 3,601.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลดลงในหมวดเงินอุดหนุน ส่วน รายได้รัฐบาล ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 เหลือ 777.9 ล้านบาท จากการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงร้อยละ 25.5
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงร้อยละ 19.1 เหลือ 110.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.2 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 เหลือ 4,931.8 ล้านบาท) จากการลดลงทั้งการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และการส่งออกผ่านชายแดน โดยมูลค่า การส่งออกของนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกไปญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลดลงมาก โดยเฉพาะสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ทรานซิสเตอร์ ไดโอด ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์) อุปกรณ์ไฟฟ้า(หม้อแปลง ตัวต้านทาน ฯลฯ) และผลึกพีเอโซอิเล็กทริกส์ อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์กลับมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมาก เช่น หัวไม้กอล์ฟ เลนซ์และผลิตภัณฑ์เลนซ์ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ส่วนมูลค่า การส่งออกผ่านชายแดน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 เหลือ 15.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เหลือ 693.4 ล้านบาท) เนื่องจากพม่ายังเข้มงวดกับการนำเข้าสินค้าจากไทย
ทางด้าน การนำเข้า มูลค่าลดลงร้อยละ 31.9 เหลือ 75.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.6 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 เหลือ 3,344.5 ล้านบาท) จากการนำเข้าวัตถุดิบของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่ลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับ ดุลการค้า เกินดุล 35.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 26.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทเกินดุล 1,587.3 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,080.9 ล้านบาทเดือนเดียวกันปีก่อน)
7. ระดับราคาสินค้า สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 โดยลดลงในสินค้าไม่รวมหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดค่าไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาถึงร้อยละ 12.9 จากการปรับลดลงของราคา น้ำมัน อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในสินค้าหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 3.3 จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง
8. ภาคการเงิน การให้ สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือยังคงลดลง ต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 167,588.1 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ใกล้เคียงกับที่ลดลงร้อยละ 14.4 เดือนก่อน เนื่องจากมีการโอนสินเชื่อของบางธนาคารไปบริหารที่ส่วนกลาง และการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และสุโขทัย ด้าน เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276,038.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนคือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี
ในเดือนสิงหาคม 2544 ปริมาณเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักงานหักบัญชี ทั้งสิ้น 382,517 ฉบับ มูลค่า 26,016.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดอุทัยธานี น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 7,220 ฉบับ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เป็น 345.9 ล้านบาท สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน คือร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ และใกล้เคียงกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 เดือนก่อน
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-