1. สถานการณ์สินค้า
1. สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ผลการประชุม : ผลการประชุมคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ครั้งที่ 4/2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ขอรายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 มีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการผลิต ปี 2544/45 คือ
1) หอมหัวใหญ่
เนื้อที่ปลูก 15,355 ไร่ ผลผลิต 77,308 ตันสด
2) กระเทียม
เนื้อที่ปลูก 128,400 ไร่ ผลผลิต 111,920 ตัน
3) หอมแดง
เนื้อที่ปลูก 77,400 ไร่ ผลผลิต 154,877 ตัน
4) มันฝรั่ง
เนื้อที่ปลูก 76,800 ไร่ ผลผลิต 175,200 ตัน
2. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรและการบริหารการเปิดตลาด ปี 2544 คือ
1) กระเทียม เปิดตลาดปริมาณ 64 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 27 อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 58.80 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้บริหารการนำเข้า
2) หอมหัวใหญ่ ปริมาณการเปิดตลาดในโควตา 359.33 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 146.80 โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
3) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปริมาณการเปิดตลาดในโควตา 6.283 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 225.20 โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้าและต้องทำสัญญาข้อตกลงรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรล่วงหน้า (Contract Farming)
4) มันฝรั่ง เปิดตลาดไม่จำกัดจำนวน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 179.70 โดยจัดสรรให้นิติบุคคลตามปริมาณที่ยื่นขอ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง กำหนด
อ้อย : ราคาอ้อยขั้นต้นปีนี้ฟื้นตัว
จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกที่ขยับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดจนอยู่ในระดับ 10 - 11 เซ็นต์ต่อปอนด์หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ กิโลกรัมละ 9 - 10 บาท ประกอบอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯได้อ่อนตัวจนถึง 43 บาท จนเป็นที่คาดหมายว่าราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิต 2543/44 ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลปลายเดือนนี้ น่าจะมีราคาที่ดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารซึ่งมีหน้าที่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นได้เห็นชอบให้กำหนดราคาที่ตันละ 600 บาท ณ ความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. โดยมีอัตราการเพิ่มลดของราคาต่อความหวาน 1 ซี.ซี.เอส. ตันละ 36 บาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการจัดประชุมผู้แทนสถาบันชาวไร่อ้อยและผู้แทนสมาคมโรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อคัดค้านต่อราคาขั้นต้นดังกล่าว เพื่อนำเสนอไปพร้อมกับราคาอ้อยขั้นต้นให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศให้โรงงานจ่ายเป็นค่าอ้อยต่อไป
สำหรับราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 600 บาท นี้ เป็นราคาที่กลับมาสูงขึ้นจนเท่ากับราคาขั้นต้นปีการผลิต 2540/41 ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ตั้งแต่ปีการผลิต 2525/26 เป็นต้นมา หลังจากนั้น ราคาอ้อยขั้นต้นได้ตกต่ำลงเหลือ ตันละ 500 บาท และ 450 บาท ในปี 2541/42 และ 2542/43 ที่ผ่านมาตามลำดับ อย่างไรก็ดี นับว่ายังเป็นความโชคดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย ที่พื้นที่ปลูกอ้อยปีนี้ไม่ได้ลดลงจากปีที่ผ่านมามากนัก โดยพื้นที่ปลูกอ้อยลดลงเหลือ 5.51 ล้านไร่ จาก 5.64 ล้านไร่ หรือลดลงเพียงร้อยละ 2.4 ซึ่งแม้ว่าเกษตรกรจะขาดเงินทุนในการดูแลรักษา จากการที่ราคาอ้อยตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยสภาพดินฟ้าอากาศที่ค่อนข้างดี ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงเพียงเล็กน้อย คาดว่าจะผลิตอ้อยได้ทั้งสิ้นประมาณ 51.21 ล้านตัน ลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณ 53.49 ล้านตันของปีที่ผ่านมาหรือประมาณร้อยละ 4.3 และคาดว่าจะสามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้ประมาณ 5.28 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 5.52 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมา หรือลดลงประมาณร้อยละ 4.3
อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเห็นว่า เพื่อให้สามารถผลิตน้ำตาลได้สูงสุดจากปริมาณอ้อยที่มีอยู่ ทั้งโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยควรจะต้องร่วมกันวางแผนการตัดอ้อยเข้าโรงงานในช่วงที่อ้อยมีความหวานสูงสุด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ไม่ให้มีการเผาอ้อยก่อนตัดเข้าโรงงาน และจัดระบบการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานให้ใช้เวลาสั้นที่สุด เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักของอ้อยให้มากที่สุด และในส่วนของโรงงานควรปรับปรุงประสิทธิภาพการสกัดน้ำตาลให้มีอัตราสูงสุดอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการเปิดหีบ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 13-19 พ.ย. 2543--
-สส-
1. สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ผลการประชุม : ผลการประชุมคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ครั้งที่ 4/2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ขอรายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 มีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการผลิต ปี 2544/45 คือ
1) หอมหัวใหญ่
เนื้อที่ปลูก 15,355 ไร่ ผลผลิต 77,308 ตันสด
2) กระเทียม
เนื้อที่ปลูก 128,400 ไร่ ผลผลิต 111,920 ตัน
3) หอมแดง
เนื้อที่ปลูก 77,400 ไร่ ผลผลิต 154,877 ตัน
4) มันฝรั่ง
เนื้อที่ปลูก 76,800 ไร่ ผลผลิต 175,200 ตัน
2. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรและการบริหารการเปิดตลาด ปี 2544 คือ
1) กระเทียม เปิดตลาดปริมาณ 64 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 27 อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 58.80 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้บริหารการนำเข้า
2) หอมหัวใหญ่ ปริมาณการเปิดตลาดในโควตา 359.33 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 146.80 โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
3) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปริมาณการเปิดตลาดในโควตา 6.283 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 225.20 โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้าและต้องทำสัญญาข้อตกลงรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรล่วงหน้า (Contract Farming)
4) มันฝรั่ง เปิดตลาดไม่จำกัดจำนวน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 179.70 โดยจัดสรรให้นิติบุคคลตามปริมาณที่ยื่นขอ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง กำหนด
อ้อย : ราคาอ้อยขั้นต้นปีนี้ฟื้นตัว
จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกที่ขยับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดจนอยู่ในระดับ 10 - 11 เซ็นต์ต่อปอนด์หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ กิโลกรัมละ 9 - 10 บาท ประกอบอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯได้อ่อนตัวจนถึง 43 บาท จนเป็นที่คาดหมายว่าราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิต 2543/44 ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลปลายเดือนนี้ น่าจะมีราคาที่ดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารซึ่งมีหน้าที่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นได้เห็นชอบให้กำหนดราคาที่ตันละ 600 บาท ณ ความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. โดยมีอัตราการเพิ่มลดของราคาต่อความหวาน 1 ซี.ซี.เอส. ตันละ 36 บาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการจัดประชุมผู้แทนสถาบันชาวไร่อ้อยและผู้แทนสมาคมโรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อคัดค้านต่อราคาขั้นต้นดังกล่าว เพื่อนำเสนอไปพร้อมกับราคาอ้อยขั้นต้นให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศให้โรงงานจ่ายเป็นค่าอ้อยต่อไป
สำหรับราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 600 บาท นี้ เป็นราคาที่กลับมาสูงขึ้นจนเท่ากับราคาขั้นต้นปีการผลิต 2540/41 ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ตั้งแต่ปีการผลิต 2525/26 เป็นต้นมา หลังจากนั้น ราคาอ้อยขั้นต้นได้ตกต่ำลงเหลือ ตันละ 500 บาท และ 450 บาท ในปี 2541/42 และ 2542/43 ที่ผ่านมาตามลำดับ อย่างไรก็ดี นับว่ายังเป็นความโชคดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย ที่พื้นที่ปลูกอ้อยปีนี้ไม่ได้ลดลงจากปีที่ผ่านมามากนัก โดยพื้นที่ปลูกอ้อยลดลงเหลือ 5.51 ล้านไร่ จาก 5.64 ล้านไร่ หรือลดลงเพียงร้อยละ 2.4 ซึ่งแม้ว่าเกษตรกรจะขาดเงินทุนในการดูแลรักษา จากการที่ราคาอ้อยตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยสภาพดินฟ้าอากาศที่ค่อนข้างดี ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงเพียงเล็กน้อย คาดว่าจะผลิตอ้อยได้ทั้งสิ้นประมาณ 51.21 ล้านตัน ลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณ 53.49 ล้านตันของปีที่ผ่านมาหรือประมาณร้อยละ 4.3 และคาดว่าจะสามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้ประมาณ 5.28 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 5.52 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมา หรือลดลงประมาณร้อยละ 4.3
อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเห็นว่า เพื่อให้สามารถผลิตน้ำตาลได้สูงสุดจากปริมาณอ้อยที่มีอยู่ ทั้งโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยควรจะต้องร่วมกันวางแผนการตัดอ้อยเข้าโรงงานในช่วงที่อ้อยมีความหวานสูงสุด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ไม่ให้มีการเผาอ้อยก่อนตัดเข้าโรงงาน และจัดระบบการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานให้ใช้เวลาสั้นที่สุด เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักของอ้อยให้มากที่สุด และในส่วนของโรงงานควรปรับปรุงประสิทธิภาพการสกัดน้ำตาลให้มีอัตราสูงสุดอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการเปิดหีบ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 13-19 พ.ย. 2543--
-สส-