ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมอบหมายให้ ธปท. ทบทวนนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลได้มอบหมายให้ ธปท. ทบทวนนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยนั้น ธปท. ได้เร่งให้ฝ่ายนโยบายการเงินศึกษาเรื่องนี้อยู่ โดยจะทบทวนนโยบายการเงินใน 2 ประเด็นคือ 1) แนวโน้มของเศรษฐกิจและบทบาทของนโยบายการเงินในช่วงต่อไปที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และ 2) การไหลออกของเงินทุน โดยจะนำผลการศึกษาที่ได้รายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบในการประชุมวันที่ 28 พ.ค. 44(กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด 23)
2. สนง. คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า ธปท. สามารถรับเงินบริจาคเข้าไว้ในบัญชีผลประโยชน์ได้ รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือขอความเห็นด้านกฎหมายถึงการนำสินทรัพย์ที่ได้รับจากพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เข้าบัญชีผลประโยชน์ประจำปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือให้ความเห็นว่า การรับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ของรับเข้าในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไม่เป็นการต้องห้าม โดยสินทรัพย์นั้นต้องเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกับสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501(มติชนรายวัน 23)
3. แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 44 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรของสถาบันการเงินในปี 44 มีแนวโน้มที่สดใส โดยทิศทางการปล่อยสินเชื่อเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 43 เป็นต้นมา โดยเฉพาะตลาดบ้านเดี่ยวจากเหตุผลในเรื่องการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการ และอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำไม่จูงใจในการออม เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของประชาชน ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยตัวเลขการปล่อยสินเชื่อปี 43 มีจำนวน 1.4 แสน ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.7(เดลินิวส์ 23)
4. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการฟื้นฟูตลาดทุนไทย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบกับมาตรการเร่งด่วนเพื่อการฟื้นฟูตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วย การเพิ่มมาตรการจูงใจด้านภาษีเพื่อให้มีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้น โดยบริษัทใหม่และบริษัทเก่าปรับลดภาษีเหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ และบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ลดภาษีเหลือร้อยละ 20 นอกจากนั้น ยังมีมาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชั่น) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และอื่นๆ โดยจะเริ่มใช้เมื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกา รวมทั้ง มาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทจดทะเบียนต้องกระจายหุ้น (Free Float) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้มากขึ้น ซึ่งระดับที่เหมาะสมอยู่ที่ระดับร้อยละ 15-20 ส่วนธนาคารของรัฐอยู่ที่ระดับร้อยละ 10-25 รวมถึงการประสานงานกับสำนักงานกฤษฎีกาในการแก้ไขกรณีการแตกราคาพาร์ และการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น(โลกวันนี้, ข่าวสด 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจาก Munich ในเยอรมนี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. 44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตก ลดลงอยู่ที่ระดับ 92.5 จากระดับ 93.9 ในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 93.1 ขณะที่ดัชนีภาวะธุรกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 88.5 จากระดับ 90.6 และ ดัชนีการคาดหวังทางธุรกิจ ลดลงที่ระดับ 96.6 จากระดับ 97.1 ส่วนดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันออกในเดือน เม.ย.44 ก็ลดลงที่ระดับ102.8 จากระดับ 104.6 ในเดือน มี.ค. 44 ทั้งนี้ การที่ดัชนีบรรยากาศในเดือนดังกล่าว ต่ำกว่าที่คาดหมาย ชี้ถึงสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดของยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดของยุโรป(รอยเตอร์22)
2. ญี่ปุ่นปรับลดดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ค.44 รัฐบาลได้ปรับลดตัวเลขดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (lesding Index) ในเดือน มี.ค. 44 อยู่ที่ระดับ 20.0 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 25.0 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รวมทั้งปรับลด Coincident Index มาอยู่ที่ระดับ 11.1 ลดลงจากระดับ 14.3.(รอยเตอร์22)
3. จีดีพีของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 22 พ.ค.44 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปี 44 ว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 (เทียบไตรมาสต่อไตรมาส) หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 41 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย และเมื่อเทียบปีต่อปี ไตรมาสที่ 1 ปี 44 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 3.7 หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ12.6 ในระยะเดียวกันปี 43 และร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ทั้งนี้ จีดีพีที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 8.4 ขณะที่การบริโภคในประเทศและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 และคาดว่าตลอดปี 44 จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ5.3 (รอยเตอร์ 22)
4. คาดว่า ในไตรมาสแรกปี 44 จีดีพีของไต้หวันจะเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี รายงานจากไทเปเมื่อ 22 พ.ค. 44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไต้หวันในไตรมาสแรกปี 44 จะเติบโตร้อยละ 3.25 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2518 และต่ำกว่าที่รัฐบาลประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเติบโตร้อยละ 4.02 เนื่องจากการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนลดลง รวมทั้งการส่งออกก็มีอัตราที่ลดลง(รอยเตอร์22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ค. 44 45.575 (45.616)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ค. 44ซื้อ 45.3629 (45.4187) ขาย 45.6706 (45.7199)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) ขาย 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.99 (26.26)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมอบหมายให้ ธปท. ทบทวนนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลได้มอบหมายให้ ธปท. ทบทวนนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยนั้น ธปท. ได้เร่งให้ฝ่ายนโยบายการเงินศึกษาเรื่องนี้อยู่ โดยจะทบทวนนโยบายการเงินใน 2 ประเด็นคือ 1) แนวโน้มของเศรษฐกิจและบทบาทของนโยบายการเงินในช่วงต่อไปที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และ 2) การไหลออกของเงินทุน โดยจะนำผลการศึกษาที่ได้รายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบในการประชุมวันที่ 28 พ.ค. 44(กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด 23)
2. สนง. คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า ธปท. สามารถรับเงินบริจาคเข้าไว้ในบัญชีผลประโยชน์ได้ รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือขอความเห็นด้านกฎหมายถึงการนำสินทรัพย์ที่ได้รับจากพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เข้าบัญชีผลประโยชน์ประจำปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือให้ความเห็นว่า การรับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ของรับเข้าในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไม่เป็นการต้องห้าม โดยสินทรัพย์นั้นต้องเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกับสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501(มติชนรายวัน 23)
3. แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 44 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรของสถาบันการเงินในปี 44 มีแนวโน้มที่สดใส โดยทิศทางการปล่อยสินเชื่อเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 43 เป็นต้นมา โดยเฉพาะตลาดบ้านเดี่ยวจากเหตุผลในเรื่องการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการ และอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำไม่จูงใจในการออม เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของประชาชน ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยตัวเลขการปล่อยสินเชื่อปี 43 มีจำนวน 1.4 แสน ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.7(เดลินิวส์ 23)
4. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการฟื้นฟูตลาดทุนไทย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบกับมาตรการเร่งด่วนเพื่อการฟื้นฟูตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วย การเพิ่มมาตรการจูงใจด้านภาษีเพื่อให้มีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้น โดยบริษัทใหม่และบริษัทเก่าปรับลดภาษีเหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ และบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ลดภาษีเหลือร้อยละ 20 นอกจากนั้น ยังมีมาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชั่น) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และอื่นๆ โดยจะเริ่มใช้เมื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกา รวมทั้ง มาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทจดทะเบียนต้องกระจายหุ้น (Free Float) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้มากขึ้น ซึ่งระดับที่เหมาะสมอยู่ที่ระดับร้อยละ 15-20 ส่วนธนาคารของรัฐอยู่ที่ระดับร้อยละ 10-25 รวมถึงการประสานงานกับสำนักงานกฤษฎีกาในการแก้ไขกรณีการแตกราคาพาร์ และการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น(โลกวันนี้, ข่าวสด 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจาก Munich ในเยอรมนี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. 44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตก ลดลงอยู่ที่ระดับ 92.5 จากระดับ 93.9 ในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 93.1 ขณะที่ดัชนีภาวะธุรกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 88.5 จากระดับ 90.6 และ ดัชนีการคาดหวังทางธุรกิจ ลดลงที่ระดับ 96.6 จากระดับ 97.1 ส่วนดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันออกในเดือน เม.ย.44 ก็ลดลงที่ระดับ102.8 จากระดับ 104.6 ในเดือน มี.ค. 44 ทั้งนี้ การที่ดัชนีบรรยากาศในเดือนดังกล่าว ต่ำกว่าที่คาดหมาย ชี้ถึงสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดของยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดของยุโรป(รอยเตอร์22)
2. ญี่ปุ่นปรับลดดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ค.44 รัฐบาลได้ปรับลดตัวเลขดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (lesding Index) ในเดือน มี.ค. 44 อยู่ที่ระดับ 20.0 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 25.0 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รวมทั้งปรับลด Coincident Index มาอยู่ที่ระดับ 11.1 ลดลงจากระดับ 14.3.(รอยเตอร์22)
3. จีดีพีของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 22 พ.ค.44 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปี 44 ว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 (เทียบไตรมาสต่อไตรมาส) หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 41 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย และเมื่อเทียบปีต่อปี ไตรมาสที่ 1 ปี 44 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 3.7 หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ12.6 ในระยะเดียวกันปี 43 และร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ทั้งนี้ จีดีพีที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 8.4 ขณะที่การบริโภคในประเทศและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 และคาดว่าตลอดปี 44 จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ5.3 (รอยเตอร์ 22)
4. คาดว่า ในไตรมาสแรกปี 44 จีดีพีของไต้หวันจะเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี รายงานจากไทเปเมื่อ 22 พ.ค. 44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไต้หวันในไตรมาสแรกปี 44 จะเติบโตร้อยละ 3.25 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2518 และต่ำกว่าที่รัฐบาลประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเติบโตร้อยละ 4.02 เนื่องจากการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนลดลง รวมทั้งการส่งออกก็มีอัตราที่ลดลง(รอยเตอร์22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ค. 44 45.575 (45.616)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 พ.ค. 44ซื้อ 45.3629 (45.4187) ขาย 45.6706 (45.7199)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) ขาย 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.99 (26.26)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-