สรุปผลโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นการดำเนินการทุกระยะ 10 ปี
ตามหลักสากลพร้อมกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ และได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วประเทศในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2543
พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 1 เมษายน 2543 มีจำนวน 60.6 ล้านคน เป็นชาย 29.8 ล้านคน และหญิง 30.8
ล้านคน อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของประชากรในช่วงปี 2533-2543 คิดเป็นร้อยละ 1.05 ต่อปี เมื่อจำแนกประชากรตามหมวดอายุ
พบว่าในปี 2543 มีประชากรวัยเด็กอายุ 0-14 ปี ร้อยละ 24.1 วัยทำงานอายุ 15-59 ปี ร้อยละ 66.5 และวัยสูงอายุ ร้อยละ 9.4
โดยมีอายุเฉลี่ยของประชากร (อายุมัธยฐาน) ประมาณ 29.7 ปี ซึ่งสูงกว่าอายุเฉลี่ยที่ได้จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
คือประมาณ 24.6 ปี ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปี 2543 เกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 99.5 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ร้อยละ 94.6
นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.6 นับถือศาสนาอิสลาม และที่เหลือนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์
ตารางที่ 1 จำนวนประชากร และลักษณะทางประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ลักษณะทางประชากร
ประชากรรวม (ล้านคน) 54.5 60.6
ประชากรตามหมวดอายุ
วัยเด็ก 0-14 ปี (%) 29.2 24.1
วัยแรงงาน 15-59 ปี (%) 63.4 66.5
วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (%) 7.4 9.4
อายุมัธยฐาน (ปี) 24.6 29.7
ประชากรที่เป็นโสดอายุ 13 ปีขึ้นไป (%)
ชาย 36.7 33.9
หญิง 30.4 27.8
ประชากรที่มีสัญชาติไทย (%) 98.9 (1/) 99.5
ประชากรนับถือศาสนาพุทธ (%) 95.2 94.6
ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (%) 4.1 4.6
หมายเหตุ: (1/)สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2513
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
ครัวเรือนในประเทศไทยในปี 2543 มีจำนวน 15.7 ล้านครัวเรือน ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.9 คน ครัวเรือนที่มี
ประชากรอยู่คนเดียวร้อยละ 8.6 ซึ่งเพิ่มจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะปี 2533 ซึ่งมีครัวเรือนลักษณะดังกล่าวร้อยละ 5.1
ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นหญิงก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 25.5 ของครัวเรือนทั้งสิ้น เปรียบเทียบกับ
ร้อยละ 19.4 ในปี 2533
ประชากรไทยมีแนวโน้มแต่งงานช้าลง โดยที่ผู้หญิงแต่งงานเร็วกว่าผู้ชาย ในปี 2543 ผู้หญิงแต่งงานครั้งแรกเมื่อมีอายุเฉลี่ย
ประมาณ 24.1 ปี ผู้ชายมีอายุประมาณ 27.2 ปี ในขณะที่ปี 2533 ผู้หญิงแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุ 23.5 ปี และผู้ชายอายุ 25.9 ปี
นอกจากนี้การมีบุตรของผู้หญิงโดยเฉลี่ยก็ลดลงเช่นกัน คือ ผู้หญิงที่เคยสมรสอายุ 15-49 ปี มีบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยประมาณ 2.4 คน
ในปี 2533 และลดลงเหลือ 1.7 คน ในปี 2543
ตารางที่ 2 จำนวนครัวเรือน ลักษณะทางครัวเรือนและภาวะเจริญพันธุ์
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ลักษณะทางครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนส่วนบุคคล (ล้านครัวเรือน) 12.3 15.7
ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 4.4 3.9
ครัวเรือนคนเดียว (%) 5.1 8.6
ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นหญิง (%) 19.4 25.5
อายุเฉลี่ยเมื่อแรกสมรส (ปี)
ชาย 25.9 27.2
หญิง 23.5 24.1
ภาวะเจริญพันธุ์
จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 2.4 1.7
(ต่อสตรีเคยสมรสอายุ 15-49 ปี)
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
การศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้น จำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 5.7 ปี
ในปี 2533 เป็น 7.8 ปี ในปี 2543 การทำงานของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในภาคเกษตรกรรมลดลงในช่วง 10 ปี จากร้อยละ
66.8 เป็นร้อยละ 56.7
ตารางที่ 3 การศึกษาและการทำงานของประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
การศึกษา
จำนวนปีโดยเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาของ 5.7 7.8
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
ภาวะการทำงานของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
ประชากรในภาคเกษตรกรรม (%) 66.8 56.7
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
สำหรับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยโดยทั่ว ๆ ไป ในระหว่างปี 2533-2543 นับว่าดีขึ้น โดยครัวเรือนที่มีน้ำดื่มสะอาด
ซึ่งหมายถึงครัวเรือนที่ดื่มน้ำบรรจุขวด น้ำประปา น้ำฝน และน้ำบาดาล หรือน้ำบ่อที่ไม่ใช่สาธารณะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.3 ในปี 2533
เป็นร้อยละ 92.7 ในปี 2543 และมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ (ส้วมซึม หรือ ส้วมชักโครก) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 86.1 เป็นร้อยละ 97.7
ครัวเรือนที่ประกอบอาหารโดยใช้แก๊สและไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.9 เป็นร้อยละ 65.4 และพบว่า ในปี 2543
ครัวเรือนประมาณร้อยละ 91.5 มีโทรทัศน์ไว้ใช้ในครอบครอง อย่างไรก็ตาม พบว่าครัวเรือนที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองลดลงในช่วง
10 ปี ที่ผ่านมา คือจากร้อยละ 86.3 เป็นร้อยละ 81.6
ตารางที่ 4 มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ครัวเรือนที่มีน้ำดื่มสะอาด 2/ (%) 80.3 92.7
ครัวเรือนที่มีส้วมถูกสุขลักษณะ 3/ (%) 86.1 97.7
ครัวเรือนที่ประกอบอาหารด้วยแก๊สและไฟฟ้า (%) 38.9 65.4
ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ (%) 86.8 91.5
ครัวเรือนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย (%) 86.3 81.6
หมายเหตุ: 2/ น้ำดื่มสะอาด ได้แก่ น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำประปา น้ำฝน และน้ำบาดาลหรือน้ำบ่อที่ไม่ใช่สาธารณะ
3/ ส้วมถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ส้วมชักโครก และ ส้วมซึม
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นการดำเนินการทุกระยะ 10 ปี
ตามหลักสากลพร้อมกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ และได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วประเทศในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2543
พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 1 เมษายน 2543 มีจำนวน 60.6 ล้านคน เป็นชาย 29.8 ล้านคน และหญิง 30.8
ล้านคน อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของประชากรในช่วงปี 2533-2543 คิดเป็นร้อยละ 1.05 ต่อปี เมื่อจำแนกประชากรตามหมวดอายุ
พบว่าในปี 2543 มีประชากรวัยเด็กอายุ 0-14 ปี ร้อยละ 24.1 วัยทำงานอายุ 15-59 ปี ร้อยละ 66.5 และวัยสูงอายุ ร้อยละ 9.4
โดยมีอายุเฉลี่ยของประชากร (อายุมัธยฐาน) ประมาณ 29.7 ปี ซึ่งสูงกว่าอายุเฉลี่ยที่ได้จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
คือประมาณ 24.6 ปี ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปี 2543 เกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 99.5 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ร้อยละ 94.6
นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.6 นับถือศาสนาอิสลาม และที่เหลือนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์
ตารางที่ 1 จำนวนประชากร และลักษณะทางประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ลักษณะทางประชากร
ประชากรรวม (ล้านคน) 54.5 60.6
ประชากรตามหมวดอายุ
วัยเด็ก 0-14 ปี (%) 29.2 24.1
วัยแรงงาน 15-59 ปี (%) 63.4 66.5
วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (%) 7.4 9.4
อายุมัธยฐาน (ปี) 24.6 29.7
ประชากรที่เป็นโสดอายุ 13 ปีขึ้นไป (%)
ชาย 36.7 33.9
หญิง 30.4 27.8
ประชากรที่มีสัญชาติไทย (%) 98.9 (1/) 99.5
ประชากรนับถือศาสนาพุทธ (%) 95.2 94.6
ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (%) 4.1 4.6
หมายเหตุ: (1/)สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2513
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
ครัวเรือนในประเทศไทยในปี 2543 มีจำนวน 15.7 ล้านครัวเรือน ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.9 คน ครัวเรือนที่มี
ประชากรอยู่คนเดียวร้อยละ 8.6 ซึ่งเพิ่มจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะปี 2533 ซึ่งมีครัวเรือนลักษณะดังกล่าวร้อยละ 5.1
ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นหญิงก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 25.5 ของครัวเรือนทั้งสิ้น เปรียบเทียบกับ
ร้อยละ 19.4 ในปี 2533
ประชากรไทยมีแนวโน้มแต่งงานช้าลง โดยที่ผู้หญิงแต่งงานเร็วกว่าผู้ชาย ในปี 2543 ผู้หญิงแต่งงานครั้งแรกเมื่อมีอายุเฉลี่ย
ประมาณ 24.1 ปี ผู้ชายมีอายุประมาณ 27.2 ปี ในขณะที่ปี 2533 ผู้หญิงแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุ 23.5 ปี และผู้ชายอายุ 25.9 ปี
นอกจากนี้การมีบุตรของผู้หญิงโดยเฉลี่ยก็ลดลงเช่นกัน คือ ผู้หญิงที่เคยสมรสอายุ 15-49 ปี มีบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยประมาณ 2.4 คน
ในปี 2533 และลดลงเหลือ 1.7 คน ในปี 2543
ตารางที่ 2 จำนวนครัวเรือน ลักษณะทางครัวเรือนและภาวะเจริญพันธุ์
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ลักษณะทางครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนส่วนบุคคล (ล้านครัวเรือน) 12.3 15.7
ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 4.4 3.9
ครัวเรือนคนเดียว (%) 5.1 8.6
ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นหญิง (%) 19.4 25.5
อายุเฉลี่ยเมื่อแรกสมรส (ปี)
ชาย 25.9 27.2
หญิง 23.5 24.1
ภาวะเจริญพันธุ์
จำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 2.4 1.7
(ต่อสตรีเคยสมรสอายุ 15-49 ปี)
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
การศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้น จำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 5.7 ปี
ในปี 2533 เป็น 7.8 ปี ในปี 2543 การทำงานของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในภาคเกษตรกรรมลดลงในช่วง 10 ปี จากร้อยละ
66.8 เป็นร้อยละ 56.7
ตารางที่ 3 การศึกษาและการทำงานของประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
การศึกษา
จำนวนปีโดยเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาของ 5.7 7.8
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
ภาวะการทำงานของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
ประชากรในภาคเกษตรกรรม (%) 66.8 56.7
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
สำหรับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยโดยทั่ว ๆ ไป ในระหว่างปี 2533-2543 นับว่าดีขึ้น โดยครัวเรือนที่มีน้ำดื่มสะอาด
ซึ่งหมายถึงครัวเรือนที่ดื่มน้ำบรรจุขวด น้ำประปา น้ำฝน และน้ำบาดาล หรือน้ำบ่อที่ไม่ใช่สาธารณะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.3 ในปี 2533
เป็นร้อยละ 92.7 ในปี 2543 และมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ (ส้วมซึม หรือ ส้วมชักโครก) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 86.1 เป็นร้อยละ 97.7
ครัวเรือนที่ประกอบอาหารโดยใช้แก๊สและไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.9 เป็นร้อยละ 65.4 และพบว่า ในปี 2543
ครัวเรือนประมาณร้อยละ 91.5 มีโทรทัศน์ไว้ใช้ในครอบครอง อย่างไรก็ตาม พบว่าครัวเรือนที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองลดลงในช่วง
10 ปี ที่ผ่านมา คือจากร้อยละ 86.3 เป็นร้อยละ 81.6
ตารางที่ 4 มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากร
รายการ พ.ศ.2533 พ.ศ.2543
ครัวเรือนที่มีน้ำดื่มสะอาด 2/ (%) 80.3 92.7
ครัวเรือนที่มีส้วมถูกสุขลักษณะ 3/ (%) 86.1 97.7
ครัวเรือนที่ประกอบอาหารด้วยแก๊สและไฟฟ้า (%) 38.9 65.4
ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ (%) 86.8 91.5
ครัวเรือนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย (%) 86.3 81.6
หมายเหตุ: 2/ น้ำดื่มสะอาด ได้แก่ น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำประปา น้ำฝน และน้ำบาดาลหรือน้ำบ่อที่ไม่ใช่สาธารณะ
3/ ส้วมถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ส้วมชักโครก และ ส้วมซึม
แหล่งที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2533
สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง 1%)
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--