ตลาดแรก
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศเท่ากับ 248.5 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.64 โดยการออกหลักทรัพย์ใหม่ในตลาดแรกลดลงทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักทรัพย์ประเภทพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นบุริมสิทธิ์ของภาคเอกชน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์ใหม่ในตลาดแรก ดังนี้ (1) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มหันมาระดมทุนด้วยหุ้นบุริมสิทธิ์มากขึ้น โดยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสื่อสารได้ออกหุ้นบุริมสิทธิ์ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับกลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุได้เพิ่มทุนชั้นที่ 1 ด้วยการออกหุ้นบุริมสิทธิ์ 7,500 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารทหารไทยยังได้ออกหุ้นบุริมสิทธิ์ประมาณ 20,000 ล้านบาท ในการเข้าร่วมโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของกระทรวงการคลัง (2) ในเดือนมีนาคม 2543 ก.ล.ต.ได้ออกประกาศกำหนดให้ การออกหุ้นกู้ ด้วยวิธีขายเฉพาะเจาะจงที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องผ่านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ( Credit Rating) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2543 เป็นต้นไป ทำให้มีการเร่งออกหุ้นกู้ในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นมูลค่าสูงถึง 62 พันล้านบาท และ (3) แม้ว่าการออกพันธบัตรรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะลดลงมาก เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งมีการออกพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษเป็นจำนวนสูง แต่ในระยะต่อไป มีแนวโน้มจะมีการออกเพิ่มขึ้นมาก
ตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ค่อนข้างซบเซา ดัชนีราคาหลักทรัพย์เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยดัชนีราคามาปิดที่ 325.69 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ลดลงจากสิ้นปีก่อน และระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.4 และร้อยละ 38.7 ตามลำดับ และดัชนีราคาปิดสูงสุดที่ 498.46 จุด เมื่อ 4 มกราคม 2543 และปิดต่ำสุดที่ 307.23 จุด เมื่อ 25 พฤษภาคม 2543 โดยมีสำหรับมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการเท่ากับ 4,691.9 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 6,570.56 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ28.6
การที่ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะซบเซาเกิดจากสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ (1) การปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในการคำนวณ MSCI Index ( Morgan Stanley Capital International) เมื่อ 17 พฤษภาคม 2543 จากร้อยละ 2.52 เหลือ ร้อยละ 2.08 (2) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศ เพื่อป้องกันภาวะเงินทุนไหลออกและการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศต่างๆ ขณะที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดการเงินต่างประเทศสูงกว่าการลงทุนในไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินทุนไหลออก นอกจากนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ยังส่งผลต่อตลาดหุ้น ทำให้ดัชนี DOW JONES และดัชนีหุ้น NASDAQ ปรับตัวลดลงและมีความผันผวนสูง ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นไทยซึ่งได้ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ส่วนปัจจัยภายในที่สำคัญได้แก่ (1) ความไม่มั่นใจ ในทิศทางการเมืองไทย อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.งบประมาณ และกฏหมายเลือกตั้ง และ การกดดันให้ รัฐบาลยุบสภาจากการประกาศลาออกของ ส.ส. ส่วนใหญ่ของพรรคความหวังใหม่ (2) ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (3) การอ่อนตัวของค่าเงินบาท และ (4) การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศเท่ากับ 248.5 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.64 โดยการออกหลักทรัพย์ใหม่ในตลาดแรกลดลงทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักทรัพย์ประเภทพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นบุริมสิทธิ์ของภาคเอกชน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์ใหม่ในตลาดแรก ดังนี้ (1) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มหันมาระดมทุนด้วยหุ้นบุริมสิทธิ์มากขึ้น โดยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสื่อสารได้ออกหุ้นบุริมสิทธิ์ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับกลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุได้เพิ่มทุนชั้นที่ 1 ด้วยการออกหุ้นบุริมสิทธิ์ 7,500 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารทหารไทยยังได้ออกหุ้นบุริมสิทธิ์ประมาณ 20,000 ล้านบาท ในการเข้าร่วมโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของกระทรวงการคลัง (2) ในเดือนมีนาคม 2543 ก.ล.ต.ได้ออกประกาศกำหนดให้ การออกหุ้นกู้ ด้วยวิธีขายเฉพาะเจาะจงที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องผ่านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ( Credit Rating) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2543 เป็นต้นไป ทำให้มีการเร่งออกหุ้นกู้ในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นมูลค่าสูงถึง 62 พันล้านบาท และ (3) แม้ว่าการออกพันธบัตรรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะลดลงมาก เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งมีการออกพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษเป็นจำนวนสูง แต่ในระยะต่อไป มีแนวโน้มจะมีการออกเพิ่มขึ้นมาก
ตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ค่อนข้างซบเซา ดัชนีราคาหลักทรัพย์เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยดัชนีราคามาปิดที่ 325.69 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ลดลงจากสิ้นปีก่อน และระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.4 และร้อยละ 38.7 ตามลำดับ และดัชนีราคาปิดสูงสุดที่ 498.46 จุด เมื่อ 4 มกราคม 2543 และปิดต่ำสุดที่ 307.23 จุด เมื่อ 25 พฤษภาคม 2543 โดยมีสำหรับมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการเท่ากับ 4,691.9 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 6,570.56 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ28.6
การที่ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะซบเซาเกิดจากสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ (1) การปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในการคำนวณ MSCI Index ( Morgan Stanley Capital International) เมื่อ 17 พฤษภาคม 2543 จากร้อยละ 2.52 เหลือ ร้อยละ 2.08 (2) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศ เพื่อป้องกันภาวะเงินทุนไหลออกและการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศต่างๆ ขณะที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดการเงินต่างประเทศสูงกว่าการลงทุนในไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินทุนไหลออก นอกจากนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ยังส่งผลต่อตลาดหุ้น ทำให้ดัชนี DOW JONES และดัชนีหุ้น NASDAQ ปรับตัวลดลงและมีความผันผวนสูง ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นไทยซึ่งได้ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ส่วนปัจจัยภายในที่สำคัญได้แก่ (1) ความไม่มั่นใจ ในทิศทางการเมืองไทย อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.งบประมาณ และกฏหมายเลือกตั้ง และ การกดดันให้ รัฐบาลยุบสภาจากการประกาศลาออกของ ส.ส. ส่วนใหญ่ของพรรคความหวังใหม่ (2) ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (3) การอ่อนตัวของค่าเงินบาท และ (4) การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-