ประธานรัฐสภาให้การรับรองเอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย
วันนี้ (7 มี.ค.44) เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรองนางซิลเวีย เปโตรวิช (H.E. Mrs. Silvia Petrovici) เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย
ทั้งสองได้สนทนาถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนีย ในรูปแบบสมาชิกสหภาพรัฐสภา (IPU)
ร่วมกัน ทั้งนี้รัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนียได้มีการจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาขึ้น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐสภา
ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็น ตลอดจนแลกเปลี่ยน การเยือนซึ่งกันและกัน
แต่ในขณะนี้กลุ่มมิตรภาพฯ ดังกล่าวมีสมาชิกเฉพาะในส่วนของสมาชิก วุฒิสภา สำหรับสมาชิกกลุ่มฯ ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ชุดเดิมได้หมดวาระไปพร้อมกับการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ดังนั้นเอกอัครราชทูตจึงอยากให้ประธานรัฐสภา ดำเนินการ
ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และขอให้แจ้งรายชื่อไปยังสถานทูตโรมาเนียด้วย
นางซิลเวีย เปโตรวิช ได้กล่าวว่า โรมาเนียได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็น Partners for Cooperation
ขององค์กรว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ซึ่งโรมาเนียเป็นสมาชิกตั้งแต่แรกเริ่ม และเข้ารับหน้าที่เป็นประธาน OSCE
เมื่อเดือนมกราคม 2544 เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะทำให้ไทยและโรมาเนียประสานงานร่วมกันในการที่จะเป็น ตัวเชื่อมระหว่างภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เอกอัครราชทูตได้กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลโรมาเนียได้จัดลำดับความสำคัญสูงสุดไว้ในนโยบายต่างประเทศ
คือการเข้าเป็นสมาชิกองค์กร NATO และ EU นอกจากนี้โรมาเนียยังมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ และพยายามสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี
กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งภายหลังจากการปกครองแบบ ระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ
ของประชาชนในเดือนธันวาคม ค.ศ.1989 ประเทศโรมาเนียได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
ประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ.1991 เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่ว่าเป็น
รัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม โดยมีประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นประมุข รัฐสภาเป็นระบบรัฐสภาคู่ ประกอบด้วย
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในระบบพรรค และวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในระบบพรรคเช่นกัน เอกอัครราชทูตกล่าวว่า
การปกครองประเทศของโรมาเนียมีลักษณะระบบรัฐสภาเหมือนกับประเทศไทย จึงได้ให้ความสนใจการเมืองไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น
อยากจะขอให้ทางรัฐสภาไทยกรุณาส่งข้อมูล เอกสารสำคัญ ๆ เกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญ ๆ ของรัฐสภาไทย ตัวแทนกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
ให้กับสถานทูตด้วย
ในโอกาสเดียวกันนี้ เอกอัครราชทูตได้ฝากคำถามและขอให้ตอบไปยังสถานทูต ดังนี้
1. รัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนีย จะมีการแลกเปลี่ยนการเยือน ซึ่งกันและกันในระดับประธานรัฐสภานั้น จะมีความเป็นไปได้หรือไม่
2. รัฐมนตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาโรมาเนีย จะเดินทางมาเยือนไทยทางรัฐสภาไทยจะให้การต้อนรับได้หรือไม่ และวันเวลา
ในช่วงใดที่รัฐสภาสะดวก
3. โครงสร้างของกลุ่มมิตรภาพไทย - โรมาเนีย ไทยสามารถจะเลือกหัวหน้ากลุ่มได้เมื่อไร และจะมีใครบ้างในกลุ่มมิตรภาพไทย -
โรมาเนีย สำหรับทางโรมาเนียนั้นได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
4. ต้องการทราบโครงการการต่าง ๆ เกี่ยวกับประชุมกลุ่มรัฐสภานานาชาติ และจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ หรือมีวิธีการใดที่จะให้
โรมาเนียส่งตัวแทนเพื่อขอเข้าร่วมประชุมด้วยเอกอัครราชทูตได้กล่าวต่อไปว่า โดยส่วนตัวแล้วให้ความสนใจในรัฐธรรมนูญใหม่ของไทย
เป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นการปฏิรูปทางการเมืองที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
จากนั้น นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวว่า ประเทศไทยในขณะนี้ได้มีการปฏิรูปการเมือง
ไปในทางที่ดีขึ้น มีรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการทำประชาพิจารณ์ มีระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรทั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ นายกรัฐมนตรีมาจากบัญชีรายชื่อในลำดับแรก หมายความว่า ประชาชนรู้แล้วว่าจะเลือกใคร
เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เกิดจากการเอาข้อผิดพลาดต่าง ๆ และประสบการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงแก้ไขใน
รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยินดีที่จะ ให้ความร่วมมือในข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ของรัฐสภา ตามที่สถานทูตโรมาเนียต้องการ
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันต่อไป
----------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วันนี้ (7 มี.ค.44) เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรองนางซิลเวีย เปโตรวิช (H.E. Mrs. Silvia Petrovici) เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย
ทั้งสองได้สนทนาถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนีย ในรูปแบบสมาชิกสหภาพรัฐสภา (IPU)
ร่วมกัน ทั้งนี้รัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนียได้มีการจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาขึ้น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐสภา
ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็น ตลอดจนแลกเปลี่ยน การเยือนซึ่งกันและกัน
แต่ในขณะนี้กลุ่มมิตรภาพฯ ดังกล่าวมีสมาชิกเฉพาะในส่วนของสมาชิก วุฒิสภา สำหรับสมาชิกกลุ่มฯ ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ชุดเดิมได้หมดวาระไปพร้อมกับการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ดังนั้นเอกอัครราชทูตจึงอยากให้ประธานรัฐสภา ดำเนินการ
ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และขอให้แจ้งรายชื่อไปยังสถานทูตโรมาเนียด้วย
นางซิลเวีย เปโตรวิช ได้กล่าวว่า โรมาเนียได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็น Partners for Cooperation
ขององค์กรว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ซึ่งโรมาเนียเป็นสมาชิกตั้งแต่แรกเริ่ม และเข้ารับหน้าที่เป็นประธาน OSCE
เมื่อเดือนมกราคม 2544 เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะทำให้ไทยและโรมาเนียประสานงานร่วมกันในการที่จะเป็น ตัวเชื่อมระหว่างภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เอกอัครราชทูตได้กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลโรมาเนียได้จัดลำดับความสำคัญสูงสุดไว้ในนโยบายต่างประเทศ
คือการเข้าเป็นสมาชิกองค์กร NATO และ EU นอกจากนี้โรมาเนียยังมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ และพยายามสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี
กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งภายหลังจากการปกครองแบบ ระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ
ของประชาชนในเดือนธันวาคม ค.ศ.1989 ประเทศโรมาเนียได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
ประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ.1991 เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่ว่าเป็น
รัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม โดยมีประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นประมุข รัฐสภาเป็นระบบรัฐสภาคู่ ประกอบด้วย
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในระบบพรรค และวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในระบบพรรคเช่นกัน เอกอัครราชทูตกล่าวว่า
การปกครองประเทศของโรมาเนียมีลักษณะระบบรัฐสภาเหมือนกับประเทศไทย จึงได้ให้ความสนใจการเมืองไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น
อยากจะขอให้ทางรัฐสภาไทยกรุณาส่งข้อมูล เอกสารสำคัญ ๆ เกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญ ๆ ของรัฐสภาไทย ตัวแทนกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
ให้กับสถานทูตด้วย
ในโอกาสเดียวกันนี้ เอกอัครราชทูตได้ฝากคำถามและขอให้ตอบไปยังสถานทูต ดังนี้
1. รัฐสภาไทยและรัฐสภาโรมาเนีย จะมีการแลกเปลี่ยนการเยือน ซึ่งกันและกันในระดับประธานรัฐสภานั้น จะมีความเป็นไปได้หรือไม่
2. รัฐมนตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาโรมาเนีย จะเดินทางมาเยือนไทยทางรัฐสภาไทยจะให้การต้อนรับได้หรือไม่ และวันเวลา
ในช่วงใดที่รัฐสภาสะดวก
3. โครงสร้างของกลุ่มมิตรภาพไทย - โรมาเนีย ไทยสามารถจะเลือกหัวหน้ากลุ่มได้เมื่อไร และจะมีใครบ้างในกลุ่มมิตรภาพไทย -
โรมาเนีย สำหรับทางโรมาเนียนั้นได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
4. ต้องการทราบโครงการการต่าง ๆ เกี่ยวกับประชุมกลุ่มรัฐสภานานาชาติ และจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ หรือมีวิธีการใดที่จะให้
โรมาเนียส่งตัวแทนเพื่อขอเข้าร่วมประชุมด้วยเอกอัครราชทูตได้กล่าวต่อไปว่า โดยส่วนตัวแล้วให้ความสนใจในรัฐธรรมนูญใหม่ของไทย
เป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นการปฏิรูปทางการเมืองที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
จากนั้น นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวว่า ประเทศไทยในขณะนี้ได้มีการปฏิรูปการเมือง
ไปในทางที่ดีขึ้น มีรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการทำประชาพิจารณ์ มีระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรทั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ นายกรัฐมนตรีมาจากบัญชีรายชื่อในลำดับแรก หมายความว่า ประชาชนรู้แล้วว่าจะเลือกใคร
เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เกิดจากการเอาข้อผิดพลาดต่าง ๆ และประสบการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงแก้ไขใน
รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยินดีที่จะ ให้ความร่วมมือในข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ของรัฐสภา ตามที่สถานทูตโรมาเนียต้องการ
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันต่อไป
----------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร