ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในกรอบความตกลง ดังกล่าว ได้ระบุความร่วมมือในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในอาเซียนร่วมกัน ซึ่งการประชุม e-ASEAN Working Group และ e-ASEAN Task Force ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 8 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้มีการหารือการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปกรอบ ความตกลงที่ผู้นำได้ลงนามไว้ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (facilitate the establishment of the ASEAN Information Infrastructure) อาเซียนกำลังดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายสารสนเทศในภูมิภาค มาเลเซียรับที่จะจัดประชุม เพื่อการหารือเกี่ยวกับการเชื่อมระบบโครงข่ายสารสนเทศในภูมิภาค ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2544 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
การสร้างมาตรฐานทางเทคนิค จะมีการเผยแพร่ร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานในการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในเรื่องนี้ต่อไป
การจดทะเบียนใช้สิทธิชื่อเว็บไซต์ (Domain Name) ของภูมิภาคอาเซียน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ผลักดันการมีการจดทะเบียนการใช้สิทธิสำหรับเว็บไซต์ของภูมิภาค ในการประชุม Government Advisory Committee (GAC) ของ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2544 ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
2) การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (facilitate the growth of electronic commerce) อาเซียนได้จัดทำกรอบกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิง สำหรับประเทศ ที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว โดยจะได้มีแผนการที่จะจัดพิมพ์เอกสารฉบับนี้เพื่อเผยแพร่ต่อไป
3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (liberalisation of trade in ICT products, services and investments) ขณะนี้ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของอาเซียนกำลังพิจารณาการเปิดเสรีทั้งสามสาขาข้างต้น โดยในส่วนของการเปิดเสรีสินค้า IT ประเทศสมาชิกเดิมจะเริ่มลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง ITA1 ของ WTO ให้เหลือ 0% ในช่วงปี 2546-2548 และสมาชิกใหม่จะดำเนินการดังกล่าวในช่วงปี 2551-2553 สำหรับการเปิดเสรีบริการและการลงทุนคาดว่า จะเริ่มดำเนินการในเร็วๆ นี้ ให้เป็นไปตามกรอบความตกลง e-ASEAN
4) การพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี (e-Society) ที่ประชุมได้หารือการสร้างความตื่นตัวในการใช้เทคโนโลยี โดยเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น ทั้งนี้ จะมีการจัดเวทีพบปะนักธุรกิจ (e-ASEAN Business Forum) ในวันที่ 6 เมษายน 2544 ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ ภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินการภายใต้โครงการ e-ASEAN Initiative มากขึ้น โดยจะการจัดงาน นอกจากนี้ ไทยได้เสนอให้อาเซียนนำโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอาเซียน รวมทั้ง ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะมีการนำระบบแปลภาษาแบบหลากภาษา (Multi-Lingual Machine Translation) มาใช้แปลเว็บไซต์จากภาษาอื่นๆ ให้เป็นภาษาท้องถิ่น
5) การใช้เทคโนโลยีในการบริการภาครัฐ (e-Government) ที่ประชุมได้เสนอให้สมาชิกอาเซียนที่มีความพร้อมเริ่มใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) ซึ่งทางบริษัท NEC ได้นำเทคโนโลยีการอ่านลายนิ้วมือมาสาธิตและยินดีจะเดินทางมาสาธิตให้ประเทศที่สนใจอีกครั้ง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) แทนบัตรประชาชนและใบขับขี่ ในแผนการดำเนินการปี 2001-2002 ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (facilitate the establishment of the ASEAN Information Infrastructure) อาเซียนกำลังดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายสารสนเทศในภูมิภาค มาเลเซียรับที่จะจัดประชุม เพื่อการหารือเกี่ยวกับการเชื่อมระบบโครงข่ายสารสนเทศในภูมิภาค ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2544 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
การสร้างมาตรฐานทางเทคนิค จะมีการเผยแพร่ร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานในการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในเรื่องนี้ต่อไป
การจดทะเบียนใช้สิทธิชื่อเว็บไซต์ (Domain Name) ของภูมิภาคอาเซียน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ผลักดันการมีการจดทะเบียนการใช้สิทธิสำหรับเว็บไซต์ของภูมิภาค ในการประชุม Government Advisory Committee (GAC) ของ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2544 ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
2) การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (facilitate the growth of electronic commerce) อาเซียนได้จัดทำกรอบกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิง สำหรับประเทศ ที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว โดยจะได้มีแผนการที่จะจัดพิมพ์เอกสารฉบับนี้เพื่อเผยแพร่ต่อไป
3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (liberalisation of trade in ICT products, services and investments) ขณะนี้ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของอาเซียนกำลังพิจารณาการเปิดเสรีทั้งสามสาขาข้างต้น โดยในส่วนของการเปิดเสรีสินค้า IT ประเทศสมาชิกเดิมจะเริ่มลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง ITA1 ของ WTO ให้เหลือ 0% ในช่วงปี 2546-2548 และสมาชิกใหม่จะดำเนินการดังกล่าวในช่วงปี 2551-2553 สำหรับการเปิดเสรีบริการและการลงทุนคาดว่า จะเริ่มดำเนินการในเร็วๆ นี้ ให้เป็นไปตามกรอบความตกลง e-ASEAN
4) การพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี (e-Society) ที่ประชุมได้หารือการสร้างความตื่นตัวในการใช้เทคโนโลยี โดยเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น ทั้งนี้ จะมีการจัดเวทีพบปะนักธุรกิจ (e-ASEAN Business Forum) ในวันที่ 6 เมษายน 2544 ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ ภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินการภายใต้โครงการ e-ASEAN Initiative มากขึ้น โดยจะการจัดงาน นอกจากนี้ ไทยได้เสนอให้อาเซียนนำโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอาเซียน รวมทั้ง ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะมีการนำระบบแปลภาษาแบบหลากภาษา (Multi-Lingual Machine Translation) มาใช้แปลเว็บไซต์จากภาษาอื่นๆ ให้เป็นภาษาท้องถิ่น
5) การใช้เทคโนโลยีในการบริการภาครัฐ (e-Government) ที่ประชุมได้เสนอให้สมาชิกอาเซียนที่มีความพร้อมเริ่มใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) ซึ่งทางบริษัท NEC ได้นำเทคโนโลยีการอ่านลายนิ้วมือมาสาธิตและยินดีจะเดินทางมาสาธิตให้ประเทศที่สนใจอีกครั้ง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) แทนบัตรประชาชนและใบขับขี่ ในแผนการดำเนินการปี 2001-2002 ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-