กรุงเทพฯ--7 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2543 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ จะจัดการประชุมระดับคณะทำงานกับคณะเจ้าหน้าที่ของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) เพื่อพิจารรณาหารือร่วมกันในการจัดทำรายงานเผยแพร่แก่สาธารณชนเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรังสีในประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
คณะผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วย อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ (ประธาน) เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเวียนนา ในฐานะเอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรฯ ประจำทบวงการฯ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรองเลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และคณะผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าว คณะผู้แทนของทบวงการฯ ได้แก่ นาย Anthony Wrixon, Head, Radiation Safety Section, Division of Radiation and Waste Safety และนาย Istvan Turai นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีของทบวงการฯ
วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ คือการหารือเพื่อจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เช่น มาตรการด้านความปลอดภัย มาตรการด้านการป้องกัน การแก้ไขสถานการณ์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ทั้งในด้านการจัดเก็บรังสี และการดูแลผู้ป่วย รวมถึงบทเรียนที่ได้จากอุบัติเหตุในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานให้แก่สาธารณชนและประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจะได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือทางการแพทย์ในการปฏิบัติดูแลรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุดังกล่าว รวมทั้งการติดตามผลการรักษาและผลกระทบทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นด้วย รายงานฉบับนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยประเทศไทยและทบวงการฯ ได้มีแนวความคิดที่จะร่วมกันจัดการสัมมนาระดับภูมิภาคเรื่อง Radiation Safety ในต้นปี 2544 โดยใช้ประสบการณ์จากอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นกรณีศึกษา และจะใช้เอกสารรายงานดังกล่าวเป็นเอกสารอ้างอิงในการสัมมนาด้วย ทั้งนี้ แนวความคิดในการจัดสัมมนาครั้งนี้ สอดคล้องกับข้อที่ 4 และ 6 ของสนธิสัญญากรุงเทพ หรือ SEANWFZ ที่ระบุให้รัฐภาคีนำโครงการด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติมาไว้ภายใต้การประเมินด้านความปลอดภัย (safety assessment) ตามข้อเสนอแนะและมาตรฐานของทบวงการฯ รวมถึงการผลักดันให้รัฐภาคี SEANWFZ เข้าเป็นภาคี Convention on Early Notification of a Nuclear Accident ของทบวงการฯ ด้วย--จบ--
-อน-
ในระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2543 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ จะจัดการประชุมระดับคณะทำงานกับคณะเจ้าหน้าที่ของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) เพื่อพิจารรณาหารือร่วมกันในการจัดทำรายงานเผยแพร่แก่สาธารณชนเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรังสีในประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
คณะผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วย อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ (ประธาน) เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเวียนนา ในฐานะเอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรฯ ประจำทบวงการฯ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรองเลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และคณะผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าว คณะผู้แทนของทบวงการฯ ได้แก่ นาย Anthony Wrixon, Head, Radiation Safety Section, Division of Radiation and Waste Safety และนาย Istvan Turai นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีของทบวงการฯ
วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ คือการหารือเพื่อจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เช่น มาตรการด้านความปลอดภัย มาตรการด้านการป้องกัน การแก้ไขสถานการณ์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ทั้งในด้านการจัดเก็บรังสี และการดูแลผู้ป่วย รวมถึงบทเรียนที่ได้จากอุบัติเหตุในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานให้แก่สาธารณชนและประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจะได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือทางการแพทย์ในการปฏิบัติดูแลรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุดังกล่าว รวมทั้งการติดตามผลการรักษาและผลกระทบทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นด้วย รายงานฉบับนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยประเทศไทยและทบวงการฯ ได้มีแนวความคิดที่จะร่วมกันจัดการสัมมนาระดับภูมิภาคเรื่อง Radiation Safety ในต้นปี 2544 โดยใช้ประสบการณ์จากอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นกรณีศึกษา และจะใช้เอกสารรายงานดังกล่าวเป็นเอกสารอ้างอิงในการสัมมนาด้วย ทั้งนี้ แนวความคิดในการจัดสัมมนาครั้งนี้ สอดคล้องกับข้อที่ 4 และ 6 ของสนธิสัญญากรุงเทพ หรือ SEANWFZ ที่ระบุให้รัฐภาคีนำโครงการด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติมาไว้ภายใต้การประเมินด้านความปลอดภัย (safety assessment) ตามข้อเสนอแนะและมาตรฐานของทบวงการฯ รวมถึงการผลักดันให้รัฐภาคี SEANWFZ เข้าเป็นภาคี Convention on Early Notification of a Nuclear Accident ของทบวงการฯ ด้วย--จบ--
-อน-