การผลิตพืชผล ผลผลิตพืชผลในเดือนสิงหาคมออกสู่ตลาดมากกว่าเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ข้าวโพด
และมันสำปะหลังฤดูใหม่ ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ตามผล
ผลิตยางพารา ผักและผลไม้
สำหรับราคาพืชผลในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคามันสำปะหลัง ข้าวโพด ผักและผลไม้
แม้ว่าราคาข้าวหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้จะลดลงมาก ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 5,174 และ 4,801 บาทต่อตัน
หรือ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 37.1 และ 11.2 ตามลำดับ
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผลลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ผลผลิตที่ลดลง ได้แก่ อ้อย และ มันสำปะหลัง
ขณะที่ราคาพืชผลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผล และราคาพืชผลร้อยละ 1.6 และ 3.6 ตามลำดับ เช่นเดียวกับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขาย
พืชผลสำคัญของเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนกรกฎาคมและในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง
ร้อยละ 7.5 และ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวนมาก
หยุดทำการประมง กอปรกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ยังคงเข้มงวดในการอนุญาตให้เรือไทยเข้าไปทำประมง
ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์ เกือบทุกชนิดยกเว้นข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากมี
การแข่งขันตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย ประกอบกับข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณภาพคล้ายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามราคา
สินค้าเกษตรอื่น ๆ กลับอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสินค้าที่มีการส่งออก ได้แก่ ไก่เนื้อและมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ยกเว้น กุ้งกุลาดำ
ซึ่งราคาในเดือนนี้ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ถึงร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นผลจากภาวะอุปสงค์ของโลกที่ลดลง ขณะที่อุปทานกุ้งในตลาดโลก
กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งทั้งในเอเชียและละตินอเมริกา มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นมาก ตามแรงจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมา
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก
การส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7 เป็นผลจากภาวะอุปทาน
ส่วนเกินของสินค้าเกษตรในตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมันและถั่วเหลือง ตามภาวะอุปทาน
ในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 ก.ค. ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 113.1 113 110
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 6 3 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 105.6 104.8 101.4
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 9 3.6 2.6
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,559 5,174 5,835
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -31.3 -37.2 -20.6
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,815 4,801 4,537
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -5.5 -11.2 -7.6
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 22,600 21,300 22,290
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 9.9 -2.2 5.9
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 3,890 3,980 3,917
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 0 10.9 -12.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 1,060 1,030 830
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 60.6 77.6 30.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.3 119.8 112.7
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 14.3 13.5 9
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 129.8 132.5 134.5
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.7 -6.2 -0.9
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 1.5
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
และมันสำปะหลังฤดูใหม่ ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ตามผล
ผลิตยางพารา ผักและผลไม้
สำหรับราคาพืชผลในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคามันสำปะหลัง ข้าวโพด ผักและผลไม้
แม้ว่าราคาข้าวหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้จะลดลงมาก ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 5,174 และ 4,801 บาทต่อตัน
หรือ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 37.1 และ 11.2 ตามลำดับ
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผลลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ผลผลิตที่ลดลง ได้แก่ อ้อย และ มันสำปะหลัง
ขณะที่ราคาพืชผลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผล และราคาพืชผลร้อยละ 1.6 และ 3.6 ตามลำดับ เช่นเดียวกับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขาย
พืชผลสำคัญของเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนกรกฎาคมและในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง
ร้อยละ 7.5 และ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวนมาก
หยุดทำการประมง กอปรกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ยังคงเข้มงวดในการอนุญาตให้เรือไทยเข้าไปทำประมง
ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์ เกือบทุกชนิดยกเว้นข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากมี
การแข่งขันตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย ประกอบกับข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณภาพคล้ายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามราคา
สินค้าเกษตรอื่น ๆ กลับอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสินค้าที่มีการส่งออก ได้แก่ ไก่เนื้อและมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ยกเว้น กุ้งกุลาดำ
ซึ่งราคาในเดือนนี้ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ถึงร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นผลจากภาวะอุปสงค์ของโลกที่ลดลง ขณะที่อุปทานกุ้งในตลาดโลก
กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งทั้งในเอเชียและละตินอเมริกา มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นมาก ตามแรงจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมา
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก
การส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7 เป็นผลจากภาวะอุปทาน
ส่วนเกินของสินค้าเกษตรในตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมันและถั่วเหลือง ตามภาวะอุปทาน
ในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 ก.ค. ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 113.1 113 110
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 6 3 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 105.6 104.8 101.4
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 9 3.6 2.6
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,559 5,174 5,835
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -31.3 -37.2 -20.6
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,815 4,801 4,537
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -5.5 -11.2 -7.6
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 22,600 21,300 22,290
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 9.9 -2.2 5.9
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 3,890 3,980 3,917
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 0 10.9 -12.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 1,060 1,030 830
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 60.6 77.6 30.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.3 119.8 112.7
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 14.3 13.5 9
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 129.8 132.5 134.5
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.7 -6.2 -0.9
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 1.5
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-