การให้ความช่วยเหลือทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในภาคเหนือ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มีหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศโดยควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนโยบายการเงินจะมุ่งเน้นที่เป้าหมายเศรษฐกิจระดับประเทศมากกว่าจะใช้ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งซึ่งปกติจะใช้นโยบายการคลังมากกว่านโยบายของธนาคารที่ผ่านมาเน้นให้กลไกตลาดทำหน้าที่ ทั้งในส่วนของการกำหนดอัตราดอกเบี้ย และการจัดสรรสินเชื่อ โดยเชื่อว่ากลไกตลาดจะทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามในช่วงที่กลไกตลาดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ประกอบกับประเทศไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างสาขาเศรษฐกิจและประชาชนบางกลุ่มอาชีพ จึงได้มีการดำเนินนโยบายการเงินหลายมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
มาตรการที่สำคัญประการหนึ่งคือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ (Priority Sector) ทั้งประเทศรวมทั้งภาคเหนือด้วย เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและ/หรือมีเงินทุนระยะยาวในการลงทุนประกอบธุรกิจซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และส่งเสริมการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ชนบทมากขึ้น ด้วยการให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงิน โดยให้แรงจูงใจในด้านส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. คิดจากสถาบันการเงินและสถาบันการเงินคิดกับลูกค้าในภาคเศรษฐกิจสำคัญ สำหรับส่วนต่างนี้ได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและการจัดสรรสินเชื่อ ภายใต้ความช่วยเหลือทางการเงินนี้เป็นไปตามแนวโน้มและความต้องการของภาคเศรษฐกิจสำคัญ แต่ก็พยายามมิให้เป้าหมายทางด้านพัฒนาขัดแย้งกับเป้าหมาย ด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเกินสมควร
ประเภทกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือ
ประเภทกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นกิจการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ กิจการในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และกิจการที่ ธปท. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษประกอบด้วย
1.ภาคอุตสาหกรรม : ธปท. ให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมทั่วไป และผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 120 วัน ที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการมีระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคิดจาก MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 1 ต่อปี
2.ภาคเกษตรกรรม : ธปท. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการค้าพืชผลเกษตร กิจการ ค้าข้าวสารเพื่อการส่งออก และผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า หรือ ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้าที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้กิจการพืชผลและกิจการคลังสินค้า ธปท. จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 90 วัน ที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการ ขณะที่กิจการเลี้ยงสัตว์และกิจการค้าข้าวเพื่อการส่งออก ธปท. รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 60 เดือน และ 45 วัน ตามลำดับ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากันคือ MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี
3.กิจการที่ ธปท. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ โครงการด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท และโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 จากคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี การให้ความช่วยเหลือของ ธปท. ในภาคเหนือ
ในปี 2542 ธปท. สำนักงานภาคเหนือ (ทั้งที่เชียงใหม่ และสาขาลำปาง) ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากผู้ประกอบการต่างๆ รวม 150 ราย รวม 1,361.9 ล้านบาท จำแนกเป็น อุตสาหกรรมทั่วไป ขนาดย่อม และขนาดกลาง 2 ราย 99 ราย และ 12 ราย มูลค่า 24.0 ล้านบาท 310.5 ล้านบาท และ 417.9 ล้านบาท ตามลำดับ กิจการเลี้ยงสัตว์และค้าพืชผลเกษตร 3 ราย และ 33 ราย มูลค่า 73.1 และ 533.6 ล้านบาท ตามลำดับ และกิจการที่อยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน 1 ราย มูลค่า 2.8 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่างใช้บริการทางการเงินดังกล่าวผ่าน ธปท.ที่สำนักงานใหญ่ เนื่องจากใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า
ปัญหาการให้ความช่วยเหลือของ ธปท. ในภาคเหนือ
ปัญหาในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ ธปท. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจากการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการด้านต่างๆ นั้นต้องดำเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์ซึ่งไม่สู้สนใจที่จะแนะนำลูกค้ามาใช้บริการของธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะลูกค้าดังกล่าว ไม่มีอำนาจต่อรองกับธนาคารพาณิชย์และบางรายอาจขาดหลักประกันเงินกู้ที่มั่นคงทำให้การกู้ย่อมมีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทาง ธปท.ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกไป พบปะกับผู้ประกอบการเพื่อเผยแพร่ระเบียบการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงิน ของ ธปท. และชี้แจงวิธีการดำเนินการขอรับความอนุเคราะห์ จากสถาบันการเงินและช่วยประสานงาน กับธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการเป็นลูกค้าต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มีหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศโดยควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนโยบายการเงินจะมุ่งเน้นที่เป้าหมายเศรษฐกิจระดับประเทศมากกว่าจะใช้ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งซึ่งปกติจะใช้นโยบายการคลังมากกว่านโยบายของธนาคารที่ผ่านมาเน้นให้กลไกตลาดทำหน้าที่ ทั้งในส่วนของการกำหนดอัตราดอกเบี้ย และการจัดสรรสินเชื่อ โดยเชื่อว่ากลไกตลาดจะทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามในช่วงที่กลไกตลาดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ประกอบกับประเทศไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างสาขาเศรษฐกิจและประชาชนบางกลุ่มอาชีพ จึงได้มีการดำเนินนโยบายการเงินหลายมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
มาตรการที่สำคัญประการหนึ่งคือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ (Priority Sector) ทั้งประเทศรวมทั้งภาคเหนือด้วย เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและ/หรือมีเงินทุนระยะยาวในการลงทุนประกอบธุรกิจซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และส่งเสริมการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ชนบทมากขึ้น ด้วยการให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงิน โดยให้แรงจูงใจในด้านส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. คิดจากสถาบันการเงินและสถาบันการเงินคิดกับลูกค้าในภาคเศรษฐกิจสำคัญ สำหรับส่วนต่างนี้ได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและการจัดสรรสินเชื่อ ภายใต้ความช่วยเหลือทางการเงินนี้เป็นไปตามแนวโน้มและความต้องการของภาคเศรษฐกิจสำคัญ แต่ก็พยายามมิให้เป้าหมายทางด้านพัฒนาขัดแย้งกับเป้าหมาย ด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเกินสมควร
ประเภทกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือ
ประเภทกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นกิจการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ กิจการในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และกิจการที่ ธปท. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษประกอบด้วย
1.ภาคอุตสาหกรรม : ธปท. ให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมทั่วไป และผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 120 วัน ที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการมีระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคิดจาก MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 1 ต่อปี
2.ภาคเกษตรกรรม : ธปท. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการค้าพืชผลเกษตร กิจการ ค้าข้าวสารเพื่อการส่งออก และผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า หรือ ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้าที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้กิจการพืชผลและกิจการคลังสินค้า ธปท. จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 90 วัน ที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการ ขณะที่กิจการเลี้ยงสัตว์และกิจการค้าข้าวเพื่อการส่งออก ธปท. รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 60 เดือน และ 45 วัน ตามลำดับ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากันคือ MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี
3.กิจการที่ ธปท. ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ โครงการด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท และโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 จากคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารพาณิชย์ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี การให้ความช่วยเหลือของ ธปท. ในภาคเหนือ
ในปี 2542 ธปท. สำนักงานภาคเหนือ (ทั้งที่เชียงใหม่ และสาขาลำปาง) ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากผู้ประกอบการต่างๆ รวม 150 ราย รวม 1,361.9 ล้านบาท จำแนกเป็น อุตสาหกรรมทั่วไป ขนาดย่อม และขนาดกลาง 2 ราย 99 ราย และ 12 ราย มูลค่า 24.0 ล้านบาท 310.5 ล้านบาท และ 417.9 ล้านบาท ตามลำดับ กิจการเลี้ยงสัตว์และค้าพืชผลเกษตร 3 ราย และ 33 ราย มูลค่า 73.1 และ 533.6 ล้านบาท ตามลำดับ และกิจการที่อยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน 1 ราย มูลค่า 2.8 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่างใช้บริการทางการเงินดังกล่าวผ่าน ธปท.ที่สำนักงานใหญ่ เนื่องจากใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า
ปัญหาการให้ความช่วยเหลือของ ธปท. ในภาคเหนือ
ปัญหาในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ ธปท. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจากการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการด้านต่างๆ นั้นต้องดำเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์ซึ่งไม่สู้สนใจที่จะแนะนำลูกค้ามาใช้บริการของธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะลูกค้าดังกล่าว ไม่มีอำนาจต่อรองกับธนาคารพาณิชย์และบางรายอาจขาดหลักประกันเงินกู้ที่มั่นคงทำให้การกู้ย่อมมีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทาง ธปท.ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกไป พบปะกับผู้ประกอบการเพื่อเผยแพร่ระเบียบการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงิน ของ ธปท. และชี้แจงวิธีการดำเนินการขอรับความอนุเคราะห์ จากสถาบันการเงินและช่วยประสานงาน กับธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการเป็นลูกค้าต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-