แท็ก
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงการคลัง
อุตตม สาวนายน
นายอุตตม สาวนายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ที่ปรึกษา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการ
กำกับการลงทุนภาครัฐ และนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะเลขานุ
การคณะกรรมการกำกับการลงทุนภาครัฐ ได้แถลงความคืบหน้าในการจัดทำแผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาด
ใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐบาลมีนโยบายที่จะลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อยกระดับศักยภาพความสามารถใน
การแข่งขันของประเทศ และรองรับความต้องการอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการลงทุนภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย
กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ธนาคาร
แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาจัดทำ
แผนการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอย่างเป็นระบบ เพื่อบริหารจัดการการลงทุนดังกล่าวให้
เกิดประโยชน์สูงสุดและอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง
2. แผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548 — 2552
2.1 ภาพรวม
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้สรุปวงเงินการลงทุนเบื้องต้น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.702 ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
(2548-2552) และมีรายละเอียดของการลงทุนในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2548-2552 สัดส่วน (ร้อยละ)
Mass Transit 1 29 70 83 105 288 16.9
ที่อยู่อาศัย 3 42 78 76 36 235 13.8
ทรัพยากรน้ำ 0 50 50 50 50 200 11.7
การศึกษา 0 24 27 30 15 96 5.7
สาธารณสุข 0 21 25 25 25 96 5.6
คมนาคม 66 96 63 46 42 313 18.4
พลังงาน 64 64 76 84 113 401 23.6
อื่นๆ 7 13 16 23 14 73 4.3
รวมทั้งสิ้น 141 339 405 417 400 1,702 100
หมายเหตุ :
1 ไม่รวมงบลงทุนโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ของ กทม. เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่อง
ภาระค่าใช้จ่าย
2 ไม่รวมโครงการ on-going ที่ดำเนินการก่อนปี 2548 และยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ในช่วง
ปี 2548-2552 จำนวน 477 พันล้านบาท
2.2. ผลกระทบ
ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จากการศึกษาพบว่า แม้จะมีการกู้เงินเพื่อมาลงทุนตาม
วงเงินในข้อ 3 ก็ยังสามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนด โดย
ยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุล และสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 50 ต่อ GDP สัดส่วนภาระหนี้ต่อ
งบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด จากการศึกษาร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วพบว่า
จะมีผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดไม่สูงนัก โดยคาดว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะมี Import Content เฉลี่ย
ประมาณร้อยละ 30 ของวงเงินลงทุน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากจะ
ทยอยนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศในกรอบระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ ธปท. จะดูแลเพื่อไม่ให้การลงทุน
ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ไม่เกินร้อยละ 2
ของ GDP และหากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวเกินกว่านี้ กระทรวงการคลังและ ธปท. จะร่วมกันบริหาร
จัดการ โดยอาจชะลอหรือเลื่อนการลงทุนในโครงการลงทุนที่มีลำดับความสำคัญต่ำออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์
3. แนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
3.1 แนวทางการระดมทุนเบื้องต้น สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้กำหนดแนวทางการระดมทุนเบื้องต้นสำหรับโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่ คาดว่าจะมาจากงบประมาณ รายได้รัฐวิสาหกิจ เงินกู้ และอื่นๆ โดยในเบื้องต้นคาดว่า จะจัดสรร
จากเงินงบประมาณ ร้อยละ 38.5 เงินรายได้รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.5 เงินกู้ทั้งในและต่างประเทศ
ร้อยละ 36.9 และการระดมทุนด้วยวิธีอื่นๆ อีกร้อยละ 10.1
หน่วย : พันล้านบาท
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2548-2552 สัดส่วน (%)
งบประมาณ 30 159 182 163 121 655 38.5
รายได้รัฐวิสาหกิจ 63 44 43 52 45 247 14.5
เงินกู้ 35 118 155 158 162 628 36.9
อื่นๆ 13 18 26 43 72 172 10.1
รวม 141 339 406 416 400 1,702 100
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
3.2 กลยุทธ์ในการระดมทุน
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่
ดังนี้
การจัดสรรงบประมาณ เพื่อการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ในช่วงปี 2548-2552 จะอยู่ภายใต้
กรอบการจัดทำงบประมาณสมดุล โดยคาดว่าจะสามารถจัดสรรงบลงทุนตามกรอบวงเงินข้างต้นให้กับโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่ได้อย่างพอเพียง
การบริหารจัดการเงินกู้ จะเน้นการระดมทุนจากภายในประเทศเป็นหลัก โดยการออกพันธบัตร
และตราสารหนี้ แต่ก็จำเป็นต้องกู้เงินต่างประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาชดเชยการนำเข้า (Import Content)
โดยการกู้เงินจากแหล่งทางการผสมผสานกับการออกพันธบัตรรัฐบาลในตลาดเงินทุนต่างประเทศ เพื่อสร้าง
Benchmark ให้กับภาคเอกชน
ในระยะปานกลาง จะเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยเชื่อมโยงกับ
ตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาค ภายใต้ Asian Bond Market Framework เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้
เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศให้เป็นแหล่ง
ระดมทุนสำหรับการลงทุนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และในระดับภูมิภาคในระยะยาว
กระทรวงการคลังมีแผนจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้เงินกู้ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลก
เปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนหรือรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้จากการระดมเงินในตลาด
หลักทรัพย์และการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการชำระหนี้เงินกู้ และเพื่อใช้ใน
การลงทุนใหม่ (Future Investment) เช่น การ Securitize รายได้จากค่าสัมปทานหรือรายได้ในอนาคต
(Future Revenue) ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน และการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามแนวเส้นทางรถ
ไฟฟ้า เป็นต้น
4. การลงทุนในระบบราง
4.1 แผนการลงทุน
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้พิจารณาโครงการ Mass Transit ทั้งหมด 7 สายทาง ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้วโดยในชั้นนี้มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 563,117 ล้านบาท แบ่ง
เป็น
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) ประมาณ 425,190 ล้านบาท โดย รัฐจะเป็นผู้
ลงทุน
การลงทุนในระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stocks) ประมาณ 137,927 ล้านบาท โดยให้รัฐและ
เอกชนร่วมลงทุนในส่วนนี้
สำหรับรายละเอียดการลงทุนใน Civil Works แยกเป็นรายปี ได้ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
สาย 48 49 50 51 52 53 54 55 รวม
1. สายสีม่วง (รฟม.) 921 9,852 14,772 22,863 22,045 8,780 1,252 98 80,583
2. สายสีน้ำเงิน (รฟม.) 106 5,049 13,424 11,020 13,798 8,122 4,545 148 56,212
3. สายสีส้ม (รฟม.) 107 5,311 12,373 17,775 17,113 11,205 1,064 124 65,072
4. สายสีแดงเข้ม (รฟท.) 9,896 32,998 26,590 7,145 76,629
5. สายสีแดงอ่อน (รฟท.) 3,230 45,509 10,738 12,480 13,855 4,180 39,992
รวม 1,134 33,338 119,076 88,986 72,581 41,962 11,041 370 368,488
6. สายสีเขียวเข้ม (กทม.)* 3,743 11,540 11,155 7,981 5,942 40,361
7. สายสีเขียวอ่อน (กทม.)* 3,471 3,618 4,044 3,255 1,953 16,341
รวมทั้งสิ้น 1,134 40,552 134,234 104,185 83,817 49,857 11,041 370 425,190
หมายเหตุ * สำหรับสายสีเขียวของ กทม. ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาประเด็นการรับภาระ
4.2 แนวทางการระดมทุนและการบริหารงาน
รัฐจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด (ค่าจ้างที่ปรึกษา/ ค่าออกแบบสำรวจ/ ค่า
ก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและตัวราง) โดยจะใช้เงินลงทุนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประมาณ
ร้อยละ 30 และเงินกู้ ประมาณร้อยละ 70 (เงินกู้ต่างประเทศ ประมาณร้อยละ 30 และเงินกู้ในประเทศ
ประมาณร้อยละ 40)
กระทรวงการคลังจะจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้เงินกู้ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลก
เปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เพื่อช่วยแบ่งเบา
ภาระ การชำระหนี้เงินกู้ และเพื่อใช้ในการลงทุนในเส้นทางใหม่ (Future Investment) เช่น การ
Securitize รายได้จากค่าสัมปทาน และการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เป็นต้น
รัฐและเอกชนร่วมลงทุนในระบบรถไฟฟ้าและสัมปทานการเดินรถ โดยมีการจัดตั้ง Holding
Company เพื่อให้การบริหารระบบการเดินรถเป็นแบบ Single Operator
ขณะนี้สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รับมอบหมายให้หารือกับหน่วยงานเจ้าของโครงการในสาขาต่างๆ เพื่อสรุป
รายละเอียดของแผนการลงทุนและแนวทางการระดมทุนเป็นรายโครงการ และจะได้รายงานผลการประชุม
ตามลำดับต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2548 18 พฤษภาคม 48--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการ
กำกับการลงทุนภาครัฐ และนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะเลขานุ
การคณะกรรมการกำกับการลงทุนภาครัฐ ได้แถลงความคืบหน้าในการจัดทำแผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาด
ใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐบาลมีนโยบายที่จะลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อยกระดับศักยภาพความสามารถใน
การแข่งขันของประเทศ และรองรับความต้องการอันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการลงทุนภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย
กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ธนาคาร
แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาจัดทำ
แผนการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอย่างเป็นระบบ เพื่อบริหารจัดการการลงทุนดังกล่าวให้
เกิดประโยชน์สูงสุดและอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง
2. แผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548 — 2552
2.1 ภาพรวม
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้สรุปวงเงินการลงทุนเบื้องต้น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.702 ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
(2548-2552) และมีรายละเอียดของการลงทุนในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2548-2552 สัดส่วน (ร้อยละ)
Mass Transit 1 29 70 83 105 288 16.9
ที่อยู่อาศัย 3 42 78 76 36 235 13.8
ทรัพยากรน้ำ 0 50 50 50 50 200 11.7
การศึกษา 0 24 27 30 15 96 5.7
สาธารณสุข 0 21 25 25 25 96 5.6
คมนาคม 66 96 63 46 42 313 18.4
พลังงาน 64 64 76 84 113 401 23.6
อื่นๆ 7 13 16 23 14 73 4.3
รวมทั้งสิ้น 141 339 405 417 400 1,702 100
หมายเหตุ :
1 ไม่รวมงบลงทุนโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ของ กทม. เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่อง
ภาระค่าใช้จ่าย
2 ไม่รวมโครงการ on-going ที่ดำเนินการก่อนปี 2548 และยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ในช่วง
ปี 2548-2552 จำนวน 477 พันล้านบาท
2.2. ผลกระทบ
ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จากการศึกษาพบว่า แม้จะมีการกู้เงินเพื่อมาลงทุนตาม
วงเงินในข้อ 3 ก็ยังสามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนด โดย
ยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุล และสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 50 ต่อ GDP สัดส่วนภาระหนี้ต่อ
งบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด จากการศึกษาร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วพบว่า
จะมีผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดไม่สูงนัก โดยคาดว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะมี Import Content เฉลี่ย
ประมาณร้อยละ 30 ของวงเงินลงทุน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากจะ
ทยอยนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศในกรอบระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ ธปท. จะดูแลเพื่อไม่ให้การลงทุน
ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ไม่เกินร้อยละ 2
ของ GDP และหากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวเกินกว่านี้ กระทรวงการคลังและ ธปท. จะร่วมกันบริหาร
จัดการ โดยอาจชะลอหรือเลื่อนการลงทุนในโครงการลงทุนที่มีลำดับความสำคัญต่ำออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์
3. แนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
3.1 แนวทางการระดมทุนเบื้องต้น สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้กำหนดแนวทางการระดมทุนเบื้องต้นสำหรับโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่ คาดว่าจะมาจากงบประมาณ รายได้รัฐวิสาหกิจ เงินกู้ และอื่นๆ โดยในเบื้องต้นคาดว่า จะจัดสรร
จากเงินงบประมาณ ร้อยละ 38.5 เงินรายได้รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.5 เงินกู้ทั้งในและต่างประเทศ
ร้อยละ 36.9 และการระดมทุนด้วยวิธีอื่นๆ อีกร้อยละ 10.1
หน่วย : พันล้านบาท
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2548-2552 สัดส่วน (%)
งบประมาณ 30 159 182 163 121 655 38.5
รายได้รัฐวิสาหกิจ 63 44 43 52 45 247 14.5
เงินกู้ 35 118 155 158 162 628 36.9
อื่นๆ 13 18 26 43 72 172 10.1
รวม 141 339 406 416 400 1,702 100
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
3.2 กลยุทธ์ในการระดมทุน
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่
ดังนี้
การจัดสรรงบประมาณ เพื่อการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ในช่วงปี 2548-2552 จะอยู่ภายใต้
กรอบการจัดทำงบประมาณสมดุล โดยคาดว่าจะสามารถจัดสรรงบลงทุนตามกรอบวงเงินข้างต้นให้กับโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่ได้อย่างพอเพียง
การบริหารจัดการเงินกู้ จะเน้นการระดมทุนจากภายในประเทศเป็นหลัก โดยการออกพันธบัตร
และตราสารหนี้ แต่ก็จำเป็นต้องกู้เงินต่างประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาชดเชยการนำเข้า (Import Content)
โดยการกู้เงินจากแหล่งทางการผสมผสานกับการออกพันธบัตรรัฐบาลในตลาดเงินทุนต่างประเทศ เพื่อสร้าง
Benchmark ให้กับภาคเอกชน
ในระยะปานกลาง จะเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยเชื่อมโยงกับ
ตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาค ภายใต้ Asian Bond Market Framework เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้
เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศให้เป็นแหล่ง
ระดมทุนสำหรับการลงทุนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และในระดับภูมิภาคในระยะยาว
กระทรวงการคลังมีแผนจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้เงินกู้ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลก
เปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนหรือรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ได้จากการระดมเงินในตลาด
หลักทรัพย์และการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการชำระหนี้เงินกู้ และเพื่อใช้ใน
การลงทุนใหม่ (Future Investment) เช่น การ Securitize รายได้จากค่าสัมปทานหรือรายได้ในอนาคต
(Future Revenue) ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน และการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามแนวเส้นทางรถ
ไฟฟ้า เป็นต้น
4. การลงทุนในระบบราง
4.1 แผนการลงทุน
คณะกรรมการกำกับการลงทุนฯ ได้พิจารณาโครงการ Mass Transit ทั้งหมด 7 สายทาง ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้วโดยในชั้นนี้มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 563,117 ล้านบาท แบ่ง
เป็น
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) ประมาณ 425,190 ล้านบาท โดย รัฐจะเป็นผู้
ลงทุน
การลงทุนในระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stocks) ประมาณ 137,927 ล้านบาท โดยให้รัฐและ
เอกชนร่วมลงทุนในส่วนนี้
สำหรับรายละเอียดการลงทุนใน Civil Works แยกเป็นรายปี ได้ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
สาย 48 49 50 51 52 53 54 55 รวม
1. สายสีม่วง (รฟม.) 921 9,852 14,772 22,863 22,045 8,780 1,252 98 80,583
2. สายสีน้ำเงิน (รฟม.) 106 5,049 13,424 11,020 13,798 8,122 4,545 148 56,212
3. สายสีส้ม (รฟม.) 107 5,311 12,373 17,775 17,113 11,205 1,064 124 65,072
4. สายสีแดงเข้ม (รฟท.) 9,896 32,998 26,590 7,145 76,629
5. สายสีแดงอ่อน (รฟท.) 3,230 45,509 10,738 12,480 13,855 4,180 39,992
รวม 1,134 33,338 119,076 88,986 72,581 41,962 11,041 370 368,488
6. สายสีเขียวเข้ม (กทม.)* 3,743 11,540 11,155 7,981 5,942 40,361
7. สายสีเขียวอ่อน (กทม.)* 3,471 3,618 4,044 3,255 1,953 16,341
รวมทั้งสิ้น 1,134 40,552 134,234 104,185 83,817 49,857 11,041 370 425,190
หมายเหตุ * สำหรับสายสีเขียวของ กทม. ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาประเด็นการรับภาระ
4.2 แนวทางการระดมทุนและการบริหารงาน
รัฐจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด (ค่าจ้างที่ปรึกษา/ ค่าออกแบบสำรวจ/ ค่า
ก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและตัวราง) โดยจะใช้เงินลงทุนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประมาณ
ร้อยละ 30 และเงินกู้ ประมาณร้อยละ 70 (เงินกู้ต่างประเทศ ประมาณร้อยละ 30 และเงินกู้ในประเทศ
ประมาณร้อยละ 40)
กระทรวงการคลังจะจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้เงินกู้ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลก
เปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เพื่อช่วยแบ่งเบา
ภาระ การชำระหนี้เงินกู้ และเพื่อใช้ในการลงทุนในเส้นทางใหม่ (Future Investment) เช่น การ
Securitize รายได้จากค่าสัมปทาน และการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เป็นต้น
รัฐและเอกชนร่วมลงทุนในระบบรถไฟฟ้าและสัมปทานการเดินรถ โดยมีการจัดตั้ง Holding
Company เพื่อให้การบริหารระบบการเดินรถเป็นแบบ Single Operator
ขณะนี้สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รับมอบหมายให้หารือกับหน่วยงานเจ้าของโครงการในสาขาต่างๆ เพื่อสรุป
รายละเอียดของแผนการลงทุนและแนวทางการระดมทุนเป็นรายโครงการ และจะได้รายงานผลการประชุม
ตามลำดับต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2548 18 พฤษภาคม 48--