แท็ก
เกษตรกร
ฝ้าย : การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย
คณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้ายในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2544 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 ได้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ซึ่งประสบปัญหาได้รับราคาฝ้ายต่ำและไม่สามารถขายฝ้ายได้ เนื่องจากโรงหีบฝ้ายนอกเครือข่ายของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยไม่สามารถขายฝ้ายปุยให้โรงงานปั่นด้ายได้หรือขายได้ในระดับราคาค่อนข้างต่ำ สาเหตุเพราะราคาฝ้ายในตลาดโลกตกต่ำประกอบกับเกิดวิกฤตการณ์ในสหรัฐ-อเมริกาทำให้การค้าสิ่งทอซบเซา จึงทำให้โรงงานปั่นด้ายมีสต๊อกคงค้างค่อนข้างมาก ส่งผลต่อเนื่องถึงโรงหีบฝ้ายและพ่อค้าในพื้นที่ทำให้ต้องหยุดรับซื้อฝ้ายเป็นช่วง ๆ โดยราคาฝ้ายดอกชนิดคละที่เกษตรกรขายได้ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน 2544 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.75 บาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.06
เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้าย จึงมีมติให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย รับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกจากเกษตรกรตามบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทยที่ได้มีการลงนามระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กำหนดให้สมาคมฯ รับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกคุณภาพ 1 ก ความยาวเส้นใย 1 3/32 นิ้ว ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 ในราคาประกัน ณ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 15.10 บาท ส่วนคุณภาพอื่นๆ ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
ทั้งนี้ ผู้ซื้อจะต้องให้ราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรด้วย โดยมอบหมายให้คณะทำงานดูแลการรับซื้อฝ้ายในระดับจังหวัด ซึ่งมีเกษตรจังหวัดเป็นประธาน ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแจ้งปริมาณกำหนดวันและจุดรับซื้อต่อสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพื่อเข้าไปรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรตามวันและสถานที่ที่กำหนด ภายใน 3 วัน นับจากวันที่แจ้งให้สมาคมฯทราบ ทั้งนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงาน-เศรษฐกิจการเกษตร ดูแลติดตามผลการดำเนินงาน
หากมาตรการนี้ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ก็จะมีการหารือเพื่อทบทวนบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายต่อไป
มันสำปะหลัง : จีนเข้า WTO ส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยจัดสัมมนา เรื่อง “ จีนเข้า WTO : มันสำปะหลังไทยได้ประโยชน์อะไร “ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ผลการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
ในอดีตจีนนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยในปริมาณไม่มากนักประมาณร้อยละ 1-5 ต่อปีของปริมาณการส่งออกทั้งหมด แต่ในปี 2544 (มกราคม | สิงหาคม) จีนได้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 ล้านตัน เทียบกับ 0.014 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้นในปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ โดยในปีนี้จีนเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญอันดับ 2 รองจากสหภาพยุโรป เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเสียหายจึงได้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก โดยนำเข้ามันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง คิดเป็นร้อยละ 55, 40 และ 3 ของปริมาณการส่งออกตามลำดับ
หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2544 นี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย เนื่องจาก
ดังนั้น การที่จีนลดภาษีการนำเข้าจะทำให้ไทยสามารถแข่งขันกับเวียดนามได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันเวียดนามและจีนมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้เวียดนามส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังผ่านชายแดนภาคเหนือไปยังจีน โดยได้รับการลดหย่อนภาษีร้อยละ 50 ทั้งภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จีนต้องเปิดตลาดด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น
รัฐบาลจีนต้องเปิดตลาดด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ต่างประเทศมีการลงทุนในจีนมากขึ้น ทั้งเพื่อผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก ซึ่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าหนึ่งที่จีนจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อเป็นส่วนประกอบ/วัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูงขึ้น
3. จีนต้องปรับเปลี่ยนธุรกรรมทางด้านเงินตราต่างประเทศ
เดิมในการที่จีนสั่งซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศต่าง ๆ จะมีปัญหาในเรื่อง L/C การชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วจีนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความสะดวกและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะจูงใจให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนมากขึ้น
4. เศรษฐกิจของจีนเปิดกว้างและขยายตัวมากขึ้น
ประชากรของจีนจะมีความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้ง การบริโภคเนื้อสัตว์จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้ผลิตอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ข้อคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้จีนเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย จึงควรที่จะดำเนินการ ดังนี้
1. ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเส้นมันอัดเม็ด ซึ่งสาเหตุที่จีนนำเข้ามันเส้นจากเวียดนาม เพราะเป็นมันเส้นที่มีคุณภาพดีไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของเครื่องจักรในขบวนการแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ กรดมะนาว อาหารสัตว์ ฯลฯ
2. ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง รวมทั้งจัดนิทรรศการในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ในจีนในเรื่องมันสำปะหลังปลอด GMOs และมันเส้นคุณภาพดี เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องอาหารสัตว์และในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ไก่เนื้อ : ญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา
รายงานข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 ว่า กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นได้รับรายงานจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงโตเกียวว่า มีการพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N2 ที่เกิดขึ้นกับสัตว์ปีกที่ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่งในรัฐคอนเนกติกัต ฝูงไก่จำนวน 16,000 ตัว ถูกทำลายหลังจากตรวจพบว่ามีเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปสู่สัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ อาจมีผลทำให้ตายได้ แต่เชื้อดังกล่าวไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์และไม่แพร่กระจายไปในเนื้อสัตว์ กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นจะยกเลิกการห้ามนำเข้าเมื่อมั่นใจว่าสหรัฐปลอดจากเชื้อไวรัสนี้ โดยญี่ปุ่นเป็นผู้ซื้อสัตว์ปีกที่สำคัญอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกาในปี 2543 ญี่ปุ่นผลิตเนื้อสัตว์ปีกได้ 1.2 ล้านตัน และนำเข้าเนื้อไก่ปริมาณ 568,270 ตัน และสัตว์ปีกอื่น ๆ 15,965 ตัน เป็นการนำเข้าเนื้อไก่จากสหรัฐอเมริกา ปริมาณ 87,322 ตัน สัตว์ปีกอื่น ๆ 1,895 ตัน หรือประมาณร้อยละ 5 ของความต้องการบริโภคเนื้อไก่ทั้งประเทศ การนำเข้าเนื้อไก่ของญี่ปุ่นปีละกว่า 500,000 ตัน นั้น จีนมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดร้อยละ 44 ไทยร้อยละ 21 บราซิลร้อยละ 19 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 16
การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยไปตลาดญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนของปีนี้มีปริมาณ 117,761 ตัน มูลค่า 9,410.74 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และ 22.24 ตามลำดับ
ข้อคิดเห็น
การที่ญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา น่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย คาดว่าญี่ปุ่นจะสั่งซื้อไก่เพิ่มจากไทย เพื่อทดแทนส่วนที่หายไป คาดว่าปี 2544 การส่งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยจะมีปริมาณ 380,000 ตัน มูลค่า 32,700 ล้านบาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2544
-สส-
คณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้ายในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2544 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 ได้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ซึ่งประสบปัญหาได้รับราคาฝ้ายต่ำและไม่สามารถขายฝ้ายได้ เนื่องจากโรงหีบฝ้ายนอกเครือข่ายของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยไม่สามารถขายฝ้ายปุยให้โรงงานปั่นด้ายได้หรือขายได้ในระดับราคาค่อนข้างต่ำ สาเหตุเพราะราคาฝ้ายในตลาดโลกตกต่ำประกอบกับเกิดวิกฤตการณ์ในสหรัฐ-อเมริกาทำให้การค้าสิ่งทอซบเซา จึงทำให้โรงงานปั่นด้ายมีสต๊อกคงค้างค่อนข้างมาก ส่งผลต่อเนื่องถึงโรงหีบฝ้ายและพ่อค้าในพื้นที่ทำให้ต้องหยุดรับซื้อฝ้ายเป็นช่วง ๆ โดยราคาฝ้ายดอกชนิดคละที่เกษตรกรขายได้ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน 2544 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.75 บาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.06
เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้าย จึงมีมติให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย รับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกจากเกษตรกรตามบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทยที่ได้มีการลงนามระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กำหนดให้สมาคมฯ รับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกคุณภาพ 1 ก ความยาวเส้นใย 1 3/32 นิ้ว ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 ในราคาประกัน ณ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 15.10 บาท ส่วนคุณภาพอื่นๆ ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
ทั้งนี้ ผู้ซื้อจะต้องให้ราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรด้วย โดยมอบหมายให้คณะทำงานดูแลการรับซื้อฝ้ายในระดับจังหวัด ซึ่งมีเกษตรจังหวัดเป็นประธาน ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแจ้งปริมาณกำหนดวันและจุดรับซื้อต่อสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพื่อเข้าไปรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรตามวันและสถานที่ที่กำหนด ภายใน 3 วัน นับจากวันที่แจ้งให้สมาคมฯทราบ ทั้งนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงาน-เศรษฐกิจการเกษตร ดูแลติดตามผลการดำเนินงาน
หากมาตรการนี้ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ก็จะมีการหารือเพื่อทบทวนบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายต่อไป
มันสำปะหลัง : จีนเข้า WTO ส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยจัดสัมมนา เรื่อง “ จีนเข้า WTO : มันสำปะหลังไทยได้ประโยชน์อะไร “ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ผลการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
ในอดีตจีนนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยในปริมาณไม่มากนักประมาณร้อยละ 1-5 ต่อปีของปริมาณการส่งออกทั้งหมด แต่ในปี 2544 (มกราคม | สิงหาคม) จีนได้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 ล้านตัน เทียบกับ 0.014 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้นในปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ โดยในปีนี้จีนเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญอันดับ 2 รองจากสหภาพยุโรป เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเสียหายจึงได้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก โดยนำเข้ามันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง คิดเป็นร้อยละ 55, 40 และ 3 ของปริมาณการส่งออกตามลำดับ
หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2544 นี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย เนื่องจาก
ดังนั้น การที่จีนลดภาษีการนำเข้าจะทำให้ไทยสามารถแข่งขันกับเวียดนามได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันเวียดนามและจีนมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้เวียดนามส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังผ่านชายแดนภาคเหนือไปยังจีน โดยได้รับการลดหย่อนภาษีร้อยละ 50 ทั้งภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จีนต้องเปิดตลาดด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น
รัฐบาลจีนต้องเปิดตลาดด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ต่างประเทศมีการลงทุนในจีนมากขึ้น ทั้งเพื่อผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก ซึ่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าหนึ่งที่จีนจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อเป็นส่วนประกอบ/วัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูงขึ้น
3. จีนต้องปรับเปลี่ยนธุรกรรมทางด้านเงินตราต่างประเทศ
เดิมในการที่จีนสั่งซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศต่าง ๆ จะมีปัญหาในเรื่อง L/C การชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วจีนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความสะดวกและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะจูงใจให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนมากขึ้น
4. เศรษฐกิจของจีนเปิดกว้างและขยายตัวมากขึ้น
ประชากรของจีนจะมีความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้ง การบริโภคเนื้อสัตว์จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้ผลิตอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ข้อคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้จีนเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย จึงควรที่จะดำเนินการ ดังนี้
1. ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเส้นมันอัดเม็ด ซึ่งสาเหตุที่จีนนำเข้ามันเส้นจากเวียดนาม เพราะเป็นมันเส้นที่มีคุณภาพดีไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของเครื่องจักรในขบวนการแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ กรดมะนาว อาหารสัตว์ ฯลฯ
2. ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง รวมทั้งจัดนิทรรศการในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ในจีนในเรื่องมันสำปะหลังปลอด GMOs และมันเส้นคุณภาพดี เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องอาหารสัตว์และในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ไก่เนื้อ : ญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา
รายงานข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 ว่า กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นได้รับรายงานจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงโตเกียวว่า มีการพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N2 ที่เกิดขึ้นกับสัตว์ปีกที่ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่งในรัฐคอนเนกติกัต ฝูงไก่จำนวน 16,000 ตัว ถูกทำลายหลังจากตรวจพบว่ามีเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปสู่สัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ อาจมีผลทำให้ตายได้ แต่เชื้อดังกล่าวไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์และไม่แพร่กระจายไปในเนื้อสัตว์ กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นจะยกเลิกการห้ามนำเข้าเมื่อมั่นใจว่าสหรัฐปลอดจากเชื้อไวรัสนี้ โดยญี่ปุ่นเป็นผู้ซื้อสัตว์ปีกที่สำคัญอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกาในปี 2543 ญี่ปุ่นผลิตเนื้อสัตว์ปีกได้ 1.2 ล้านตัน และนำเข้าเนื้อไก่ปริมาณ 568,270 ตัน และสัตว์ปีกอื่น ๆ 15,965 ตัน เป็นการนำเข้าเนื้อไก่จากสหรัฐอเมริกา ปริมาณ 87,322 ตัน สัตว์ปีกอื่น ๆ 1,895 ตัน หรือประมาณร้อยละ 5 ของความต้องการบริโภคเนื้อไก่ทั้งประเทศ การนำเข้าเนื้อไก่ของญี่ปุ่นปีละกว่า 500,000 ตัน นั้น จีนมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดร้อยละ 44 ไทยร้อยละ 21 บราซิลร้อยละ 19 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 16
การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยไปตลาดญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนของปีนี้มีปริมาณ 117,761 ตัน มูลค่า 9,410.74 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และ 22.24 ตามลำดับ
ข้อคิดเห็น
การที่ญี่ปุ่นระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา น่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย คาดว่าญี่ปุ่นจะสั่งซื้อไก่เพิ่มจากไทย เพื่อทดแทนส่วนที่หายไป คาดว่าปี 2544 การส่งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยจะมีปริมาณ 380,000 ตัน มูลค่า 32,700 ล้านบาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2544
-สส-