ความก้าวหน้า : การรับซื้อลิ้นจี่ โดยใช้เงิน คชก. ของ อ.แม่ใจ จ.พะเยา
ตามที่เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ได้รวมตัวกันเรียกร้องขอให้รัฐเข้าไปแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ตกต่ำ ซึ่งภาครัฐโดยจังหวัดพะเยาได้เข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการจัดสถานที่ให้เกษตรกรนำผลผลิตไปจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งให้สหกรณ์ผู้ปลูกลิ้นจี่รวบรวมผลผลิตของเกษตรกรไปกระจายตามจุดจำหน่ายเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต นอกจากนั้นคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ยังได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 15 ล้านบาท ผ่านกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดสรรให้สหกรณ์ผู้ปลูกลิ้นจี่แม่ใจ จำกัด ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าลิ้นจี่และโรงงานแปรรูปนำไปรับซื้อลิ้นจี่จากเกษตรกรในราคานำตลาด โดยกำหนดระยะเวลารับซื้อเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2544 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอรายงานสถานการณ์การผลิตและราคาลิ้นจี่พร้อมทั้งความก้าวหน้าในการรับซื้อลิ้นจี่ โดยใช้เงิน คชก. ของ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ดังนี้
ในปี 2544 ผลผลิตลิ้นจี่ทั้งหมดจะมีประมาณ 20,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 50 จากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จ.พะเยา โดยเฉพาะ อ.แม่ใจ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุด มีผลผลิตเพียง 700 ตัน จากพื้นที่ปลูก 12,000 ไร่ และผลผลิตทั้งหมดได้ออกสู่ตลาดภายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนราคาลิ้นจี่ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคมชนิดดีเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.61 บาท ชนิดรอง 20.61 บาท และชนิดคละ 16.36 บาท สูงกว่าต้นทุนการผลิตซึ่งอยู่กิโลกรัมละ 10.24 บาท
สำหรับเงิน คชก.ที่ได้รับอนุมัตินั้น ปรากฎว่าไม่มีการนำมาใช้ดำเนินการแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากเงินที่ได้รับอนุมัติไปถึง จ.พะเยา หลังวันที่ 15 พฤษภาคม แล้วซึ่งเป็นระยะที่มีผลผลิตลิ้นจี่ออกสู่ตลาดเพียงร้อยละ 5 ของผลผลิตทั้งหมด จึงทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงที่ตกต่ำในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมจากกิโลกรัมละ 15-20 บาท เป็น 19-25 บาท ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2544 ที่ผ่านมา
ความก้าวหน้า : โครงการแทรกแซงตลาดสับปะรด ปี 2544 " จะจ่ายเงินชดเชยได้ 15 - 30 มิถุนายน"
ตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่ได้อนุมัติเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจ่ายชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงาน ที่จดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 โดยมีระยะเวลาดำเนินการเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 ระยะเวลาโครงการเดือนเมษายน-สิงหาคม 2544 นั้น สำหรับผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติ คชก. และแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลและติดตามการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ปี 2544 ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัดกุม และมีประสิทธิภาพ
2. คณะทำงานฯ ส่วนกลาง ได้กำหนดหลักการและวิธีการดำเนินงาน ในการชดเชย ดังนี้
2.1 จ่ายชดเชยเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงานที่ได้จดทะเบียนกับกรม ส่งเสริมการเกษตร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 ใน 13 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี ลำปาง หนองคาย และนครพนม ซึ่งในเบื้องต้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้แจ้งว่ามีจำนวน 14,666 ราย และหากมีรายชื่อเกษตรกรเพิ่มเติม ให้กรมส่งเสริมการเกษตร รับรองว่าเป็นเกษตรกรที่จดทะเบียนเป็นผู้ปลูกสับปะรด ปี 2543 จริง
2.2 การจ่ายชดเชยให้จ่ายตามเนื้อที่ปลูกจริงไร่ละ 300 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ หรือ 3,000 บาทต่อครัวเรือน โดยจะจ่ายผ่านประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ซึ่งมีจำนวน 332 กลุ่ม
3. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากบัญชี " กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (กชก.) โครงการแทรกแซงตลาดสับปะรด ปี 2544 " เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ให้ 13 จังหวัด ที่อยู่ในโครงการฯ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2544 เพื่อนำไปดำเนินการจ่ายชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ให้เป็นไปตามมติ คชก. ต่อไป ซึ่งจะดำเนินการจ่ายชดเชยพร้อมกันทุกจังหวัดในวันที่ 15 มิถุนายน 25444 และให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 ซึ่งเป็นไปตามระยะเวลาที่ คชก. กำหนด
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 4-10 มิ.ย. 2544--
-สส-
ตามที่เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ได้รวมตัวกันเรียกร้องขอให้รัฐเข้าไปแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ตกต่ำ ซึ่งภาครัฐโดยจังหวัดพะเยาได้เข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการจัดสถานที่ให้เกษตรกรนำผลผลิตไปจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งให้สหกรณ์ผู้ปลูกลิ้นจี่รวบรวมผลผลิตของเกษตรกรไปกระจายตามจุดจำหน่ายเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต นอกจากนั้นคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ยังได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 15 ล้านบาท ผ่านกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดสรรให้สหกรณ์ผู้ปลูกลิ้นจี่แม่ใจ จำกัด ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าลิ้นจี่และโรงงานแปรรูปนำไปรับซื้อลิ้นจี่จากเกษตรกรในราคานำตลาด โดยกำหนดระยะเวลารับซื้อเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2544 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอรายงานสถานการณ์การผลิตและราคาลิ้นจี่พร้อมทั้งความก้าวหน้าในการรับซื้อลิ้นจี่ โดยใช้เงิน คชก. ของ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ดังนี้
ในปี 2544 ผลผลิตลิ้นจี่ทั้งหมดจะมีประมาณ 20,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 50 จากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จ.พะเยา โดยเฉพาะ อ.แม่ใจ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุด มีผลผลิตเพียง 700 ตัน จากพื้นที่ปลูก 12,000 ไร่ และผลผลิตทั้งหมดได้ออกสู่ตลาดภายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนราคาลิ้นจี่ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคมชนิดดีเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.61 บาท ชนิดรอง 20.61 บาท และชนิดคละ 16.36 บาท สูงกว่าต้นทุนการผลิตซึ่งอยู่กิโลกรัมละ 10.24 บาท
สำหรับเงิน คชก.ที่ได้รับอนุมัตินั้น ปรากฎว่าไม่มีการนำมาใช้ดำเนินการแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากเงินที่ได้รับอนุมัติไปถึง จ.พะเยา หลังวันที่ 15 พฤษภาคม แล้วซึ่งเป็นระยะที่มีผลผลิตลิ้นจี่ออกสู่ตลาดเพียงร้อยละ 5 ของผลผลิตทั้งหมด จึงทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงที่ตกต่ำในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมจากกิโลกรัมละ 15-20 บาท เป็น 19-25 บาท ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2544 ที่ผ่านมา
ความก้าวหน้า : โครงการแทรกแซงตลาดสับปะรด ปี 2544 " จะจ่ายเงินชดเชยได้ 15 - 30 มิถุนายน"
ตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่ได้อนุมัติเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจ่ายชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงาน ที่จดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 โดยมีระยะเวลาดำเนินการเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 ระยะเวลาโครงการเดือนเมษายน-สิงหาคม 2544 นั้น สำหรับผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติ คชก. และแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลและติดตามการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ปี 2544 ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัดกุม และมีประสิทธิภาพ
2. คณะทำงานฯ ส่วนกลาง ได้กำหนดหลักการและวิธีการดำเนินงาน ในการชดเชย ดังนี้
2.1 จ่ายชดเชยเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงานที่ได้จดทะเบียนกับกรม ส่งเสริมการเกษตร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 ใน 13 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี ลำปาง หนองคาย และนครพนม ซึ่งในเบื้องต้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้แจ้งว่ามีจำนวน 14,666 ราย และหากมีรายชื่อเกษตรกรเพิ่มเติม ให้กรมส่งเสริมการเกษตร รับรองว่าเป็นเกษตรกรที่จดทะเบียนเป็นผู้ปลูกสับปะรด ปี 2543 จริง
2.2 การจ่ายชดเชยให้จ่ายตามเนื้อที่ปลูกจริงไร่ละ 300 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ หรือ 3,000 บาทต่อครัวเรือน โดยจะจ่ายผ่านประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ซึ่งมีจำนวน 332 กลุ่ม
3. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากบัญชี " กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (กชก.) โครงการแทรกแซงตลาดสับปะรด ปี 2544 " เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ให้ 13 จังหวัด ที่อยู่ในโครงการฯ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2544 เพื่อนำไปดำเนินการจ่ายชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ให้เป็นไปตามมติ คชก. ต่อไป ซึ่งจะดำเนินการจ่ายชดเชยพร้อมกันทุกจังหวัดในวันที่ 15 มิถุนายน 25444 และให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 ซึ่งเป็นไปตามระยะเวลาที่ คชก. กำหนด
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 4-10 มิ.ย. 2544--
-สส-