1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน วันที่ 12 กรกฎาคม 2544
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 93/2544 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 แจ้งผลการประชุมคณะกรรม
การนโยบายการเงินชุดใหม่ ซึ่งมีมติให้ดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบเดิม โดยจะดูแลอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานไม่เกินเพดานร้อยละ 3.5 ต่อปี
และยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน ในการส่งสัญญาณนโยบาย การเงินเช่นเดิม ทั้งนี้ นอกเหนือจากเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาว
ในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และมีเสถียรภาพราคาในประเทศ (Internal Stability) แล้ว ยังจะดูแลเกี่ยวกับเสถียร
ภาพภายนอก (External Stability) มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มี แนวโน้มลดลง และการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน
ระยะสั้นให้มีความผันผวนน้อยลง
คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของโลกยังมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่ก็มีปัจจัยบวกกรณีสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตร
การลดภาษี และประเทศญี่ปุ่นมีการเสนอมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน
ไว้ในระดับเดิม คือร้อยละ 2.5 ต่อปี การที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืน 14 วัน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา น่าจะเพียงพอ
ต่อการแก้ไขปัญหาความบิดเบือนของโครงสร้างอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นแล้ว ตลอดจนโอกาสที่อัตรา เงินเฟ้อจะขึ้นไปสูงกว่า
เป้าหมายยังมีน้อย
อนึ่ง ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 98/2544 เผยแพร่
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม 2544
2. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย : บสท. (Thai Asset Management Corporation : TAMC)
คณะรัฐมนตรีได้ออกพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 8 มิถุนายน
2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสินเชื่อ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมากของสถาบัน
การเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยพยายามลดความเสียหายแก่สถาบันการเงินให้เหลือน้อยที่สุด และเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ
บสท. จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และตั้งขึ้นเพื่อดำรงอยู่เพียงชั่วคราวเพื่อการแก้ไข
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในขณะนี้เท่านั้น และมีการกำหนดระยะเวลาที่ค่อนข้างชัดเจนในการยุบเลิก บสท. โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
-เป็นการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ของสถาบันการเงินไทยอย่างเบ็ดเสร็จใน คราวเดียวทั้งในส่วนของสถาบัน
การเงินของรัฐและของเอกชน
-การแก้ไขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าว ดำเนินการเฉพาะสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินไทย ไม่รวม
ถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ของสถาบันการเงินต่างประเทศ เช่น สาขาของธนาคารต่างประเทศ หรือกิจการวิเทศธนกิจของธนาคาร
ต่างประเทศในประเทศไทย
-สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพทั้งหลายของสถาบันการเงินไทย จะได้โอนมาเป็นของ บสท. เพื่อให้ บสท.
เป็นผู้บริหารจัดการ
-การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีการจำกัดเฉพาะสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เท่านั้น เพื่อมิให้ลูกหนี้ดีทำตัว
เป็นสินเชื่อที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อได้รับประโยชน์ดังกล่าว
-บสท. มีอำนาจกว้างขวางและเบ็ดเสร็จในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ได้รับโอนมา ได้แก่ อำนาจในการปรับ
โครงสร้างหนี้ การปรับ โครงสร้างกิจการ และการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็น หลักประกัน รวมถึงการให้สินเชื่อใหม่
-เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ที่สุจริตให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าว
และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
-มีมาตรการแบ่งผลกำไรขาดทุนระหว่างสถาบันการเงินและ บสท.
ทั้งนี้ บสท. จะเริ่มดำเนินงานประมาณปลายเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะใช้เวลาการโอนหนี้เสียใน 90 วัน จากนั้นจะเริ่มบริหาร
ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง หรือการ สั่งปิดกิจการขายทอดตลาด ซึ่งรัฐบาลจะเสนอร่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย (บสท.) เข้าสู่การพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 22 สิงหาคมนี้
หากผ่านการพิจารณาของสภาฯ ทั้ง 3 วาระ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ หลังจากนั้น ก็จะเริ่มโอนหนี้เสียจากสถาบัน
การเงินได้ปลายเดือนนี้
หากไม่ผ่านหรือเลื่อนการพิจารณาออกไป จะส่งผลให้การโอนหนี้เสียไป บสท. ล่าช้าออกไปเป็นปลายเดือนกันยายน ซึ่งขณะนี้
การโอนหนี้เสียจากสถาบันการเงินล่าช้ามากว่า 1 เดือนแล้ว ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎรจึงควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นการ
แก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
3. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เป้าหมายหลัก
ปรับฐานเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งสามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงระดับมหภาค
เน้นการพัฒนาแบบควบคู่กัน (Dual Track Plus Development Model) ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ที่มั่นคง คือ พัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศ โดยใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ลดการ
หวังพึ่งเศรษฐกิจโลก
2. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา
2.1 กรอบเศรษฐกิจมหภาค
เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาค
2544 2545 2546 2547 2548 2549 เฉลี่ย 2545-49
อัตราขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 2.5 4.0 5.3 5.6 6.0 6.0 5.4
GDP (พันล้านบาท ณ ราคาประจำปี 5,116 5,454 5,879 6,361 6,908 7,502 -
เงินเฟ้อ (%) 2.3 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 3.1 1.9 1.6 1.3 0.8 0.4 1.2
ปีงบประมาณ
สัดส่วนดุลเงินสดต่อ GDP (%) -2.2 -3.2 -2.2 -1.1 -0.4 0.2 -
ภาระหนี้ต่อ งบประมาณ (%) 10.9 11.3 16.0 15.6 16.4 16.0 -
สัดส่วนหนี้ภาครัฐคงค้างต่อ GDP (%) 57.2 58.7 56.8 53.2 50.8 47.0 -
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 การสร้างฐานรายได้
1) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2) ส่งเสริมการส่งออก ดูแล เร่งรัดการส่งออกรายสินค้าช่วงครึ่งปีหลังอย่างใกล้ชิด ขจัดอุปสรรค เพิ่มศักยภาพการส่งออก พัฒนา
ประสิทธิภาพ มาตรฐานแรงงาน
3) การสร้างฐานรายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้มีแผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ โดยจะเน้นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
4) มุ่งเน้นโครงการประหยัด เงินตราต่างประเทศ อาทิ รณรงค์ฟื้นฟูสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง แผนพลังงานทดแทน
2.3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
2.4 การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
แผนปฏิบัติงานและกลไกกำกับการดำเนินงาน
1. ปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารโดยการประชุม เชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติการร่วม (operator plan)
ที่มีกำหนดชัดเจน (Time Frame) และเกณฑ์ชี้วัดติดตามผล (Benchmarking) ที่ชัดเจน
2. มีคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางการกำกับ เร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 93/2544 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 แจ้งผลการประชุมคณะกรรม
การนโยบายการเงินชุดใหม่ ซึ่งมีมติให้ดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบเดิม โดยจะดูแลอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานไม่เกินเพดานร้อยละ 3.5 ต่อปี
และยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน ในการส่งสัญญาณนโยบาย การเงินเช่นเดิม ทั้งนี้ นอกเหนือจากเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาว
ในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และมีเสถียรภาพราคาในประเทศ (Internal Stability) แล้ว ยังจะดูแลเกี่ยวกับเสถียร
ภาพภายนอก (External Stability) มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มี แนวโน้มลดลง และการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน
ระยะสั้นให้มีความผันผวนน้อยลง
คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของโลกยังมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่ก็มีปัจจัยบวกกรณีสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตร
การลดภาษี และประเทศญี่ปุ่นมีการเสนอมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน
ไว้ในระดับเดิม คือร้อยละ 2.5 ต่อปี การที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืน 14 วัน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา น่าจะเพียงพอ
ต่อการแก้ไขปัญหาความบิดเบือนของโครงสร้างอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นแล้ว ตลอดจนโอกาสที่อัตรา เงินเฟ้อจะขึ้นไปสูงกว่า
เป้าหมายยังมีน้อย
อนึ่ง ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 98/2544 เผยแพร่
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม 2544
2. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย : บสท. (Thai Asset Management Corporation : TAMC)
คณะรัฐมนตรีได้ออกพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 8 มิถุนายน
2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสินเชื่อ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมากของสถาบัน
การเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยพยายามลดความเสียหายแก่สถาบันการเงินให้เหลือน้อยที่สุด และเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ
บสท. จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และตั้งขึ้นเพื่อดำรงอยู่เพียงชั่วคราวเพื่อการแก้ไข
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในขณะนี้เท่านั้น และมีการกำหนดระยะเวลาที่ค่อนข้างชัดเจนในการยุบเลิก บสท. โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
-เป็นการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ของสถาบันการเงินไทยอย่างเบ็ดเสร็จใน คราวเดียวทั้งในส่วนของสถาบัน
การเงินของรัฐและของเอกชน
-การแก้ไขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าว ดำเนินการเฉพาะสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินไทย ไม่รวม
ถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ของสถาบันการเงินต่างประเทศ เช่น สาขาของธนาคารต่างประเทศ หรือกิจการวิเทศธนกิจของธนาคาร
ต่างประเทศในประเทศไทย
-สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพทั้งหลายของสถาบันการเงินไทย จะได้โอนมาเป็นของ บสท. เพื่อให้ บสท.
เป็นผู้บริหารจัดการ
-การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีการจำกัดเฉพาะสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เท่านั้น เพื่อมิให้ลูกหนี้ดีทำตัว
เป็นสินเชื่อที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อได้รับประโยชน์ดังกล่าว
-บสท. มีอำนาจกว้างขวางและเบ็ดเสร็จในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ได้รับโอนมา ได้แก่ อำนาจในการปรับ
โครงสร้างหนี้ การปรับ โครงสร้างกิจการ และการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็น หลักประกัน รวมถึงการให้สินเชื่อใหม่
-เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ที่สุจริตให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าว
และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
-มีมาตรการแบ่งผลกำไรขาดทุนระหว่างสถาบันการเงินและ บสท.
ทั้งนี้ บสท. จะเริ่มดำเนินงานประมาณปลายเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะใช้เวลาการโอนหนี้เสียใน 90 วัน จากนั้นจะเริ่มบริหาร
ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง หรือการ สั่งปิดกิจการขายทอดตลาด ซึ่งรัฐบาลจะเสนอร่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย (บสท.) เข้าสู่การพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 22 สิงหาคมนี้
หากผ่านการพิจารณาของสภาฯ ทั้ง 3 วาระ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ หลังจากนั้น ก็จะเริ่มโอนหนี้เสียจากสถาบัน
การเงินได้ปลายเดือนนี้
หากไม่ผ่านหรือเลื่อนการพิจารณาออกไป จะส่งผลให้การโอนหนี้เสียไป บสท. ล่าช้าออกไปเป็นปลายเดือนกันยายน ซึ่งขณะนี้
การโอนหนี้เสียจากสถาบันการเงินล่าช้ามากว่า 1 เดือนแล้ว ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎรจึงควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นการ
แก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
3. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เป้าหมายหลัก
ปรับฐานเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งสามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงระดับมหภาค
เน้นการพัฒนาแบบควบคู่กัน (Dual Track Plus Development Model) ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ที่มั่นคง คือ พัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศ โดยใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ลดการ
หวังพึ่งเศรษฐกิจโลก
2. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา
2.1 กรอบเศรษฐกิจมหภาค
เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาค
2544 2545 2546 2547 2548 2549 เฉลี่ย 2545-49
อัตราขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 2.5 4.0 5.3 5.6 6.0 6.0 5.4
GDP (พันล้านบาท ณ ราคาประจำปี 5,116 5,454 5,879 6,361 6,908 7,502 -
เงินเฟ้อ (%) 2.3 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 3.1 1.9 1.6 1.3 0.8 0.4 1.2
ปีงบประมาณ
สัดส่วนดุลเงินสดต่อ GDP (%) -2.2 -3.2 -2.2 -1.1 -0.4 0.2 -
ภาระหนี้ต่อ งบประมาณ (%) 10.9 11.3 16.0 15.6 16.4 16.0 -
สัดส่วนหนี้ภาครัฐคงค้างต่อ GDP (%) 57.2 58.7 56.8 53.2 50.8 47.0 -
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 การสร้างฐานรายได้
1) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2) ส่งเสริมการส่งออก ดูแล เร่งรัดการส่งออกรายสินค้าช่วงครึ่งปีหลังอย่างใกล้ชิด ขจัดอุปสรรค เพิ่มศักยภาพการส่งออก พัฒนา
ประสิทธิภาพ มาตรฐานแรงงาน
3) การสร้างฐานรายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้มีแผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ โดยจะเน้นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
4) มุ่งเน้นโครงการประหยัด เงินตราต่างประเทศ อาทิ รณรงค์ฟื้นฟูสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง แผนพลังงานทดแทน
2.3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
2.4 การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
แผนปฏิบัติงานและกลไกกำกับการดำเนินงาน
1. ปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารโดยการประชุม เชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติการร่วม (operator plan)
ที่มีกำหนดชัดเจน (Time Frame) และเกณฑ์ชี้วัดติดตามผล (Benchmarking) ที่ชัดเจน
2. มีคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางการกำกับ เร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-