ฐานะการคลังรัฐบาลเดือนพฤษภาคม 2544
รายได้
รายได้รัฐบาลในเดือนพฤษภาคมลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของการจัดเก็บรายได้ภาษีอากรในเดือนพฤษภาคมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 3.1 ตามการลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงถึงร้อยละ 14.0 เนื่องจากจะมีการนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิส่วนหนึ่งในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม จากยอด ตัวเลขเบื้องต้น เมื่อรวมยอดการนำส่งในเดือนมิถุนายนประมาณ 24.0 พันล้านบาทแล้ว ภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนยังเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ ร้อยละ 24.0 และภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงลดลงร้อยละ 26.7 จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 19.0) เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวต่อเนื่องจึงได้กลับเข้ามาบริโภคในเดือนพฤษภาคมแทน นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับภาษีสรรพสามิตในเดือนมีนาคมด้วย ภาษีอากรขาเข้า (ร้อยละ 8.8) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 2.9)
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 4.7 เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 6.4 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 3.0 พันล้านบาท และการท่าเรือแห่งประเทศไทย 1.0 พันล้านบาท
รายจ่าย
ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยคือร้อยละ 0.4 รายจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร FIDF 1.9 พันล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ 1.7 พันล้านบาท
รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)ที่จัดสรรให้แก่ กทม. 2.4 พันล้านบาท
ดุลเงินสด
เดือนพฤษภาคมนับเป็นเดือนแรกในรอบปีงบประมาณ 2544 ที่รัฐบาลเกินดุลเงินสด 24.1 พันล้านบาทจากการที่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธินำส่ง นอกจากนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 6.2 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ ต่างประเทศ 0.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็น 52.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายได้
รายได้รัฐบาลในเดือนพฤษภาคมลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของการจัดเก็บรายได้ภาษีอากรในเดือนพฤษภาคมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 3.1 ตามการลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงถึงร้อยละ 14.0 เนื่องจากจะมีการนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิส่วนหนึ่งในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม จากยอด ตัวเลขเบื้องต้น เมื่อรวมยอดการนำส่งในเดือนมิถุนายนประมาณ 24.0 พันล้านบาทแล้ว ภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนยังเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ ร้อยละ 24.0 และภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงลดลงร้อยละ 26.7 จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 19.0) เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวต่อเนื่องจึงได้กลับเข้ามาบริโภคในเดือนพฤษภาคมแทน นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับภาษีสรรพสามิตในเดือนมีนาคมด้วย ภาษีอากรขาเข้า (ร้อยละ 8.8) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 2.9)
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 4.7 เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 6.4 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 3.0 พันล้านบาท และการท่าเรือแห่งประเทศไทย 1.0 พันล้านบาท
รายจ่าย
ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยคือร้อยละ 0.4 รายจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร FIDF 1.9 พันล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ 1.7 พันล้านบาท
รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)ที่จัดสรรให้แก่ กทม. 2.4 พันล้านบาท
ดุลเงินสด
เดือนพฤษภาคมนับเป็นเดือนแรกในรอบปีงบประมาณ 2544 ที่รัฐบาลเกินดุลเงินสด 24.1 พันล้านบาทจากการที่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธินำส่ง นอกจากนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 6.2 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ ต่างประเทศ 0.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็น 52.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-