ภาวะเศรษฐกิจการเงินของภาคใต้ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ขยายตัวจากระยะเดียวกัน ปีก่อนเล็กน้อย โดยปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญคือ การขยายตัวของการผลิตพืชผลการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมันและกาแฟ การขยายตัวของการผลิตภาคเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุกและยิปซัม การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวทางด้านการก่อสร้าง การขยายตัวทางด้านการค้า รถยนต์และรถจักรยานยนต์ และการขยายตัวทางด้านการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในภาคการประมงและการลงทุนยังอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว รวมทั้งการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินยังขยายตัวได้น้อย ซึ่ง ส่งผลให้การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก สำหรับระดับราคาขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.5
ภาคเกษตร
ในช่วง 9 เดือนแรกผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ขยายตัวไม่มากนัก โดยปริมาณการส่งออกยางพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 1.29 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันมีจำนวน 3.0 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.1 สำหรับกาแฟซึ่งได้เก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปีมีจำนวน 85,097.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ส่วนราคาพืชผลเกษตรดีขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยในช่วง 9 เดือนแรกยางแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.55 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงต้นปีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท ทำให้ราคายางในประเทศเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคายางในตลาดต่างประเทศจะลดลงก็ตาม ส่วนราคาปาล์มน้ำมันลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนค่อนข้างมาก โดยในช่วง 9 เดือนแรกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.40 บาท ลดลงร้อยละ 30.9 ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตปาล์มเพิ่มขึ้นมากเป็นสำคัญ ในขณะที่ราคากาแฟในช่วงต้นปี รัฐบาลได้เข้าแทรกแซง โดยรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท
ทางด้านการประมง อยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก เนื่องจากประสบปัญหาราคาน้ำมัน ประกอบกับการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลง โดยปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 324,625 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 10.6 ส่วนผลผลิตกุ้งกุลาดำจากการเพาะเลี้ยงนั้นมีปริมาณใกล้เคียงกับปีก่อน
สำหรับราคาสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ปรับตัวสูง เนื่องจากผลผลิตที่จับได้ลดลง ประกอบกับความต้องการของโรงงานอาหารทะเลแช่แข็งและการบริโภคของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการหวั่นวิตกของโรควัวบ้าที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ขณะที่ราคากุ้งกุลาดำได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนแรก กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 347.50 บาท ลดลง ร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีผลผลิตกุ้งจากลาตินอเมริกา อินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งมีราคาถูกกว่าเข้ามาแข่งขันในตลาดโลก
เหมืองแร่
ภาวะการผลิตแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกผลผลิตแร่ดีบุกมีจำนวน 1,711.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และในขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมมีจำนวน 3.0 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
ส่วนราคาแร่ดีบุกลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.68 บาท ลดลงร้อยละ 2.7
อุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อย โดยผลผลิตยางส่งออกรวมมีจำนวน 1.3 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผลผลิตน้ำยางข้นและน้ำยางสด เนื่องจากประเทศมาเลเซียลดพื้นที่การปลูกยางลง จึงได้หันมานำเข้าน้ำยางข้นและ น้ำยางสดจากภาคใต้ของประเทศไทยทดแทน ทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำยางข้นและน้ำยางสดผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 340,825 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 48.9 ส่วนปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งมีจำนวน 417,738 และ 510,816 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 3.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้ความต้องการยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ลดลง ประกอบกับมีการแข่งขันตัดราคายางแท่งจากประเทศอินโดนีเซีย สำหรับถุงมือยางนั้นขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีปริมาณการส่งออก 34,464.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 แต่ทางด้านไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ประสบปัญหาการ แข่งขันค่อนข้างรุนแรงจากต่างประเทศ ทำให้ปริมาณการส่งออกมีเพียง 195,587 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันร้อยละ 11.7
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ เนื่องจากการระบาดของโรค วัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์มาบริโภคอาหารทะเลแทน นอกจากนี้ โรงงานอาหารทะเลแช่แข็งได้นำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้ปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีจำนวน 172,181.6 และ 78,630.2 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 5.9 และ 1.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีจำนวน 15,040.9 และ 7,051.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ 24.4 ตามลำดับ
สำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ มีจำนวน 5.3 แสนเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.1 และผลิตโลหะดีบุกมีจำนวน 13,040.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวเล็กน้อย โดยในช่วง 8 เดือนแรก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในภาคใต้จำนวน 1.38 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปเดินทางเข้ามาเที่ยวบริเวณจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์เดินทางเข้ามาเที่ยวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ประกอบกับมีเหตุการณ์วางระเบิดสถานีรถไฟที่อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์มีจำนวน 5.6 และ 1.0 แสนคน ลดลงร้อยละ 3.7 และ 29.3 ตามลำดับ
การลงทุน
ในช่วง 8 เดือนแรกการลงทุนทางด้านการก่อสร้างขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในช่วง 8 เดือนมีจำนวน 694,303 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 โดยพื้นที่ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์เป็นสำคัญ
สำหรับการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน 1,835 ราย ทุนจดทะเบียน 3,644.1 ล้านบาท จำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่ทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 27.1
ส่วนการส่งเสริมการลงทุน มีโครงการลงทุนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 30 โครงการ เงินลงทุน 4,176.5 ล้านบาท โดยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นกิจการถุงมือยาง จำนวน 7 ราย แปรรูปไม้ยางพารา 7 ราย แปรรูปยางพารา 6 ราย แปรรูปอาหารทะเล 4 ราย น้ำมันปาล์ม 1 ราย โรงแรม 1 ราย และอื่น ๆ 4 ราย
การค้า
ในช่วง 8 เดือนแรกภาวะการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นปีเป็นช่วงการ เลือกตั้ง ประกอบกับประชาชนได้ซื้อสิ่งของทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ พร้อมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาวะการค้าดีขึ้นจากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้มีจำนวน 2,931.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และยอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 104,638 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 ยอดการจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 7,145 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 และยอดการจดทะเบียน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 11,796 คัน ลดลงร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งนิยมซื้อรถบรรทุก 4 ประตู ซึ่งจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ในช่วง 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 สำหรับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากได้แก่ หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ จากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิต เหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งหมวดผักและผลไม้ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศของภาคใต้ในช่วง 8 เดือนปี 2544 มีมูลค่า 138,354.8 ล้านบาท เป็นการส่งออกมูลค่า 103,246.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และการนำเข้ามูลค่า 35,108.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
มูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท โดยมูลค่าการส่งออกยางพารามีจำนวน 30,335.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.3 ถุงมือยาง 4,254.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 สัตว์น้ำแช่แข็งมีมูลค่า 15,041.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 อาหารทะเลกระป๋องมีมูลค่า 7,051.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ดีบุกมีมูลค่า 2,298.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 แร่ยิปซัมมีมูลค่า 1,933.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 และ น้ำมันดิบ 9,956.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 ส่วนสินค้าที่มูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูป ก๊าซธรรมชาติและสินค้าอื่น ๆ
ส่วนสินค้านำเข้า เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าทดแทน โดยนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์มูลค่า 10,511.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และการนำเข้าสัตว์น้ำ 4,976.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.5
การคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณของทางการใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง 8 เดือนแรก มีจำนวน 54,010.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณด้านการลงทุนชะลอตัวลง
ส่วนการจัดเก็บภาษีรายได้มีจำนวน 8,747.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 7,407.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากผล ประกอบการของนิติบุคคลที่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ ประกอบกับได้เริ่มระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายกลางเดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา และขณะเดียวกันสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สำหรับการจัดเก็บภาษีศุลกากรมีจำนวน 774.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 565.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.7 เนื่องจากจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ลดลง
การเงินและการธนาคาร
ปริมาณเงินสดหมุนเวียนผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์เบิกจากธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้แทนฯ มีจำนวน 117,638.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และปริมาณเงินนำส่งมีจำนวน 110,737.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
สำหรับปริมาณการใช้เช็คเพิ่มขึ้นเช่นกัน จำนวนเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 3.28 ล้านฉบับ มูลค่า 2.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 3.9 และ 6.2 ตามลำดับ
ส่วนการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ ปริมาณเงินฝาก ณ สิ้นเดือนสิงหาคมมีจำนวน 253,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ทั้งนี้ เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับได้มีการถอนเงินฝากส่วนหนึ่งเพื่อไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 154,700 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 ส่วนหนึ่งเกิดจากการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับเข้าสำนักงานใหญ่ ประกอบกับการชำระคืนหนี้เงินกู้ของลูกค้า และการเข้มงวดของสาขาธนาคารพาณิชย์ในการพิจารณาสินเชื่อและโครงการที่ขอเงินกู้ โดยสินเชื่อที่มีการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นบ้างได้แก่ สินเชื่อเกษตร สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบริการ
สำหรับการดำเนินงานของสถาบันการเงินอื่น ๆ นั้น สินเชื่อส่วนใหญ่ชะลอตัวลง เช่นกัน ทั้งนี้การให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้ามีจำนวน 7,948.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.0 เนื่องจากผู้ประกอบการหันไปใช้บริการจากสาขาธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประมาณร้อยละ 0.5-1.0 และยอดการให้สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวน 10,899.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 ทั้งนี้ เป็นผลจากโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สินเชื่อคงค้างของสำนักงานอำนวยสินเชื่อกลับขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยมียอดคงค้าง 5,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายแหล่งเงินกู้ของลูกค้าสาขาธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับ สอช. มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้นในเขตพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการขยายสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ ร่วมกับบรรดาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส 4 ปี 2544
ในไตรมาส 4 ปี 2544 เศรษฐกิจภาคใต้มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ปัจจัยที่เป็น ผลกระทบที่สำคัญได้แก่ ประการแรก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีผลทำให้มีการนำเข้าสินค้าลดลง ทำให้ราคายางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประการที่ 2 ภาวะสงครามที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวชะลอตัวลงด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต คาดว่าจะมีจำนวนลดลง ประการที่ 3 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ภาคการค้ารถยนต์และ รถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 9 เดือนแรกชะลอตัวลง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยการเช่าซื้อจะอยู่ในระดับต่ำ และมีการส่งเสริมการขายโดยการดาวน์ต่ำผ่อนนานก็ตาม อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งนโยบายขาดดุลงบประมาณ 200,000 ล้านบาทของปีงบประมาณ 2545 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2544 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องที่มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะสามารถกักตุนและสะดวกในการบริโภคในภาวะสงคราม ประกอบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลงจากการชะลอตัวของความต้องการน้ำมันในตลาดโลก จะส่งผลให้เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวลงไม่มากนัก และทำให้ระดับเงินเฟ้อลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคเกษตร
ในช่วง 9 เดือนแรกผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ขยายตัวไม่มากนัก โดยปริมาณการส่งออกยางพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 1.29 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันมีจำนวน 3.0 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.1 สำหรับกาแฟซึ่งได้เก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปีมีจำนวน 85,097.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ส่วนราคาพืชผลเกษตรดีขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยในช่วง 9 เดือนแรกยางแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.55 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงต้นปีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท ทำให้ราคายางในประเทศเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคายางในตลาดต่างประเทศจะลดลงก็ตาม ส่วนราคาปาล์มน้ำมันลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนค่อนข้างมาก โดยในช่วง 9 เดือนแรกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.40 บาท ลดลงร้อยละ 30.9 ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตปาล์มเพิ่มขึ้นมากเป็นสำคัญ ในขณะที่ราคากาแฟในช่วงต้นปี รัฐบาลได้เข้าแทรกแซง โดยรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท
ทางด้านการประมง อยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก เนื่องจากประสบปัญหาราคาน้ำมัน ประกอบกับการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลง โดยปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 324,625 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 10.6 ส่วนผลผลิตกุ้งกุลาดำจากการเพาะเลี้ยงนั้นมีปริมาณใกล้เคียงกับปีก่อน
สำหรับราคาสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ปรับตัวสูง เนื่องจากผลผลิตที่จับได้ลดลง ประกอบกับความต้องการของโรงงานอาหารทะเลแช่แข็งและการบริโภคของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการหวั่นวิตกของโรควัวบ้าที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ขณะที่ราคากุ้งกุลาดำได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนแรก กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 347.50 บาท ลดลง ร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีผลผลิตกุ้งจากลาตินอเมริกา อินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งมีราคาถูกกว่าเข้ามาแข่งขันในตลาดโลก
เหมืองแร่
ภาวะการผลิตแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกผลผลิตแร่ดีบุกมีจำนวน 1,711.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และในขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมมีจำนวน 3.0 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
ส่วนราคาแร่ดีบุกลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.68 บาท ลดลงร้อยละ 2.7
อุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อย โดยผลผลิตยางส่งออกรวมมีจำนวน 1.3 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผลผลิตน้ำยางข้นและน้ำยางสด เนื่องจากประเทศมาเลเซียลดพื้นที่การปลูกยางลง จึงได้หันมานำเข้าน้ำยางข้นและ น้ำยางสดจากภาคใต้ของประเทศไทยทดแทน ทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำยางข้นและน้ำยางสดผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวน 340,825 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 48.9 ส่วนปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งมีจำนวน 417,738 และ 510,816 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 3.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้ความต้องการยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ลดลง ประกอบกับมีการแข่งขันตัดราคายางแท่งจากประเทศอินโดนีเซีย สำหรับถุงมือยางนั้นขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีปริมาณการส่งออก 34,464.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 แต่ทางด้านไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ประสบปัญหาการ แข่งขันค่อนข้างรุนแรงจากต่างประเทศ ทำให้ปริมาณการส่งออกมีเพียง 195,587 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันร้อยละ 11.7
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ เนื่องจากการระบาดของโรค วัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์มาบริโภคอาหารทะเลแทน นอกจากนี้ โรงงานอาหารทะเลแช่แข็งได้นำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้ปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีจำนวน 172,181.6 และ 78,630.2 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 5.9 และ 1.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีจำนวน 15,040.9 และ 7,051.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ 24.4 ตามลำดับ
สำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ มีจำนวน 5.3 แสนเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.1 และผลิตโลหะดีบุกมีจำนวน 13,040.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวเล็กน้อย โดยในช่วง 8 เดือนแรก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในภาคใต้จำนวน 1.38 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปเดินทางเข้ามาเที่ยวบริเวณจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์เดินทางเข้ามาเที่ยวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ประกอบกับมีเหตุการณ์วางระเบิดสถานีรถไฟที่อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์มีจำนวน 5.6 และ 1.0 แสนคน ลดลงร้อยละ 3.7 และ 29.3 ตามลำดับ
การลงทุน
ในช่วง 8 เดือนแรกการลงทุนทางด้านการก่อสร้างขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในช่วง 8 เดือนมีจำนวน 694,303 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 โดยพื้นที่ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์เป็นสำคัญ
สำหรับการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน 1,835 ราย ทุนจดทะเบียน 3,644.1 ล้านบาท จำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่ทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 27.1
ส่วนการส่งเสริมการลงทุน มีโครงการลงทุนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 30 โครงการ เงินลงทุน 4,176.5 ล้านบาท โดยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นกิจการถุงมือยาง จำนวน 7 ราย แปรรูปไม้ยางพารา 7 ราย แปรรูปยางพารา 6 ราย แปรรูปอาหารทะเล 4 ราย น้ำมันปาล์ม 1 ราย โรงแรม 1 ราย และอื่น ๆ 4 ราย
การค้า
ในช่วง 8 เดือนแรกภาวะการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นปีเป็นช่วงการ เลือกตั้ง ประกอบกับประชาชนได้ซื้อสิ่งของทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ พร้อมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาวะการค้าดีขึ้นจากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้มีจำนวน 2,931.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และยอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 104,638 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 ยอดการจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 7,145 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 และยอดการจดทะเบียน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 11,796 คัน ลดลงร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งนิยมซื้อรถบรรทุก 4 ประตู ซึ่งจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ในช่วง 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 สำหรับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากได้แก่ หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ จากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิต เหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งหมวดผักและผลไม้ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศของภาคใต้ในช่วง 8 เดือนปี 2544 มีมูลค่า 138,354.8 ล้านบาท เป็นการส่งออกมูลค่า 103,246.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และการนำเข้ามูลค่า 35,108.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
มูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท โดยมูลค่าการส่งออกยางพารามีจำนวน 30,335.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.3 ถุงมือยาง 4,254.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 สัตว์น้ำแช่แข็งมีมูลค่า 15,041.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 อาหารทะเลกระป๋องมีมูลค่า 7,051.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ดีบุกมีมูลค่า 2,298.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 แร่ยิปซัมมีมูลค่า 1,933.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 และ น้ำมันดิบ 9,956.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 ส่วนสินค้าที่มูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูป ก๊าซธรรมชาติและสินค้าอื่น ๆ
ส่วนสินค้านำเข้า เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าทดแทน โดยนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์มูลค่า 10,511.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และการนำเข้าสัตว์น้ำ 4,976.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.5
การคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณของทางการใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง 8 เดือนแรก มีจำนวน 54,010.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณด้านการลงทุนชะลอตัวลง
ส่วนการจัดเก็บภาษีรายได้มีจำนวน 8,747.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 7,407.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากผล ประกอบการของนิติบุคคลที่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ ประกอบกับได้เริ่มระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายกลางเดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา และขณะเดียวกันสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สำหรับการจัดเก็บภาษีศุลกากรมีจำนวน 774.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 565.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.7 เนื่องจากจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ลดลง
การเงินและการธนาคาร
ปริมาณเงินสดหมุนเวียนผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์เบิกจากธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้แทนฯ มีจำนวน 117,638.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และปริมาณเงินนำส่งมีจำนวน 110,737.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
สำหรับปริมาณการใช้เช็คเพิ่มขึ้นเช่นกัน จำนวนเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ในช่วง 8 เดือนแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 3.28 ล้านฉบับ มูลค่า 2.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 3.9 และ 6.2 ตามลำดับ
ส่วนการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ ปริมาณเงินฝาก ณ สิ้นเดือนสิงหาคมมีจำนวน 253,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ทั้งนี้ เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับได้มีการถอนเงินฝากส่วนหนึ่งเพื่อไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 154,700 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 ส่วนหนึ่งเกิดจากการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับเข้าสำนักงานใหญ่ ประกอบกับการชำระคืนหนี้เงินกู้ของลูกค้า และการเข้มงวดของสาขาธนาคารพาณิชย์ในการพิจารณาสินเชื่อและโครงการที่ขอเงินกู้ โดยสินเชื่อที่มีการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นบ้างได้แก่ สินเชื่อเกษตร สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบริการ
สำหรับการดำเนินงานของสถาบันการเงินอื่น ๆ นั้น สินเชื่อส่วนใหญ่ชะลอตัวลง เช่นกัน ทั้งนี้การให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้ามีจำนวน 7,948.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.0 เนื่องจากผู้ประกอบการหันไปใช้บริการจากสาขาธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประมาณร้อยละ 0.5-1.0 และยอดการให้สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวน 10,899.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 ทั้งนี้ เป็นผลจากโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สินเชื่อคงค้างของสำนักงานอำนวยสินเชื่อกลับขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยมียอดคงค้าง 5,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายแหล่งเงินกู้ของลูกค้าสาขาธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับ สอช. มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้นในเขตพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการขยายสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ ร่วมกับบรรดาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส 4 ปี 2544
ในไตรมาส 4 ปี 2544 เศรษฐกิจภาคใต้มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ปัจจัยที่เป็น ผลกระทบที่สำคัญได้แก่ ประการแรก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีผลทำให้มีการนำเข้าสินค้าลดลง ทำให้ราคายางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประการที่ 2 ภาวะสงครามที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวชะลอตัวลงด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต คาดว่าจะมีจำนวนลดลง ประการที่ 3 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ภาคการค้ารถยนต์และ รถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 9 เดือนแรกชะลอตัวลง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยการเช่าซื้อจะอยู่ในระดับต่ำ และมีการส่งเสริมการขายโดยการดาวน์ต่ำผ่อนนานก็ตาม อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งนโยบายขาดดุลงบประมาณ 200,000 ล้านบาทของปีงบประมาณ 2545 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2544 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องที่มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะสามารถกักตุนและสะดวกในการบริโภคในภาวะสงคราม ประกอบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลงจากการชะลอตัวของความต้องการน้ำมันในตลาดโลก จะส่งผลให้เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวลงไม่มากนัก และทำให้ระดับเงินเฟ้อลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-