กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN-IAEA Workshop on the Implementation of the SEANWFZ Treaty)
วันนี้ (30 สิงหาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้จัด การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของทบวงการปรมาณู ระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) เข้าร่วมในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ ระหว่าง 23-25 สิงหาคม 2543
การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ สนธิสัญญา ตลอดจนความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี SEANWFZ กับ IAEA โดยสรุปสาระสำคัญของการ ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเน้นบทบาทของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เช่น SEANWFZ ต่อกระบวนการ ไม่แพร่ขยายและลดอาวุธนิวเคลียร์ของโลกตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT)
2. ที่ประชุมเห็นควรให้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ SEANWFZ โดยสร้างกลไกที่ เข้มแข็งให้กับกระบวนการปฏิบัติตามสนธิสัญญาฯ และเร่งเจรจากับประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ให้ ลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาญฯ โดยเร็ว
3. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับข้อเสนอการจัดตั้งระบบการพิทักษ์ความปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ของอาเซียน (ASEAN Safeguards System-ASAFS) ซึ่งจะทำให้ประเทศภาคี SEANWFZ มั่นใจว่า จะไม่มีประเทศใดนำเอาวัสดุนิวเคลียร์ปใช้เพื่อผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ และเพื่อเอื้ออำนวยให้ ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถปฏิบัติตามสนธิสัญญา SEANWFZ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังถือเป็น มาตรการเสริมสร้างความ ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันด้วย
4. ที่ประชุมได้หารือเรื่องความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์ โดยเห็นว่ามีแนวทางที่จะ สามารถเสริมสร้างและกระชับความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคได้ อาทิ การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ตรวจการ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
5. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการการดำเนินการว่าด้วยการพิทักษ์ ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์และรังสีภายใต้สนธิสัญญา SEANWFZ โดยที่ประชุมได้ระบุประเด็นต่างๆ ที่อาเซียนจะร่วมมือและดำเนินการระหว่างกันภายใต้สนธิสัญญาฯ ได้
6. ที่ประชุมได้จัดทำรายการกิจกรรมร่วมระหว่างกัน (Indicative List of Activities) สำหรับการดำเนินการตามสนธิสัญญา SEANWFZ เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับเพิ่มความร่วมมือ ระหว่างกัน ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับ IAEA นอกจากนี้ ที่ประชุมมี ทัศนะเพิ่มเติมว่าน่าที่จะเป็นประโยชน์ หากมีการส่งเสริมการติดต่อระหว่าง SEANWFZ กับองค์กรเขต ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ทบวงการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในลาตินอเมริกาและแคริเบียน (Agency for the Prohibition of Nuclear Weapons in Latin America and the Caribbean หรือ OPANAL) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการศึกษาการดำเนินการของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
7. การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างภาคีสนธิสัญญา SEANWFZ และถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากมีทั้งผู้แทนจากฝ่ายผู้ปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและ กระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบความร่วมมือเกี่ยวกับ SEANWFZ ร่วมหารือระหว่างกัน โดยมี ผู้แทนจาก IAEA เข้าร่วมด้วย การประชุมครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จด้วยดี โดยประเทศภาคีทุก ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางต่างๆ และได้จัดทำข้อเสนอแนะ รวมทั้งแนวทางความ ร่วมมือระหว่างกันและกับ IAEA ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการของสนธิสัญญาให้เป็นรูปธรรมต่อไป และปูทางสำหรับแผนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ IAEA ในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจึงต่างเห็น ประโยชน์ที่อาเซียนและ IAEA จะจัดการประชุมในลักษณะดังกล่าวในอนาคตต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN-IAEA Workshop on the Implementation of the SEANWFZ Treaty)
วันนี้ (30 สิงหาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้จัด การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของทบวงการปรมาณู ระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) เข้าร่วมในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ ระหว่าง 23-25 สิงหาคม 2543
การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ สนธิสัญญา ตลอดจนความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี SEANWFZ กับ IAEA โดยสรุปสาระสำคัญของการ ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเน้นบทบาทของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เช่น SEANWFZ ต่อกระบวนการ ไม่แพร่ขยายและลดอาวุธนิวเคลียร์ของโลกตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT)
2. ที่ประชุมเห็นควรให้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ SEANWFZ โดยสร้างกลไกที่ เข้มแข็งให้กับกระบวนการปฏิบัติตามสนธิสัญญาฯ และเร่งเจรจากับประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ให้ ลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาญฯ โดยเร็ว
3. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับข้อเสนอการจัดตั้งระบบการพิทักษ์ความปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ของอาเซียน (ASEAN Safeguards System-ASAFS) ซึ่งจะทำให้ประเทศภาคี SEANWFZ มั่นใจว่า จะไม่มีประเทศใดนำเอาวัสดุนิวเคลียร์ปใช้เพื่อผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ และเพื่อเอื้ออำนวยให้ ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถปฏิบัติตามสนธิสัญญา SEANWFZ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังถือเป็น มาตรการเสริมสร้างความ ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันด้วย
4. ที่ประชุมได้หารือเรื่องความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์ โดยเห็นว่ามีแนวทางที่จะ สามารถเสริมสร้างและกระชับความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคได้ อาทิ การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ตรวจการ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
5. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการการดำเนินการว่าด้วยการพิทักษ์ ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์และรังสีภายใต้สนธิสัญญา SEANWFZ โดยที่ประชุมได้ระบุประเด็นต่างๆ ที่อาเซียนจะร่วมมือและดำเนินการระหว่างกันภายใต้สนธิสัญญาฯ ได้
6. ที่ประชุมได้จัดทำรายการกิจกรรมร่วมระหว่างกัน (Indicative List of Activities) สำหรับการดำเนินการตามสนธิสัญญา SEANWFZ เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับเพิ่มความร่วมมือ ระหว่างกัน ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับ IAEA นอกจากนี้ ที่ประชุมมี ทัศนะเพิ่มเติมว่าน่าที่จะเป็นประโยชน์ หากมีการส่งเสริมการติดต่อระหว่าง SEANWFZ กับองค์กรเขต ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ทบวงการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในลาตินอเมริกาและแคริเบียน (Agency for the Prohibition of Nuclear Weapons in Latin America and the Caribbean หรือ OPANAL) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการศึกษาการดำเนินการของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
7. การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างภาคีสนธิสัญญา SEANWFZ และถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากมีทั้งผู้แทนจากฝ่ายผู้ปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและ กระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบความร่วมมือเกี่ยวกับ SEANWFZ ร่วมหารือระหว่างกัน โดยมี ผู้แทนจาก IAEA เข้าร่วมด้วย การประชุมครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จด้วยดี โดยประเทศภาคีทุก ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางต่างๆ และได้จัดทำข้อเสนอแนะ รวมทั้งแนวทางความ ร่วมมือระหว่างกันและกับ IAEA ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการของสนธิสัญญาให้เป็นรูปธรรมต่อไป และปูทางสำหรับแผนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ IAEA ในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจึงต่างเห็น ประโยชน์ที่อาเซียนและ IAEA จะจัดการประชุมในลักษณะดังกล่าวในอนาคตต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-