สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่าง ดร. อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับ นาย Birger Riis-Jorgensen รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศของเดนมาร์ก วันที่ 12 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือทวิภาคีกับนาย Birger Riis-Jorgensen รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศของเดนมาร์ก สรุปผลได้ ดังนี้
ฝ่ายเดนมาร์กได้แสดงความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเดนมาร์กมีการพัฒนามาเป็นลำดับ รวมทั้งเห็นว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งนี้ ประสบผลเกินคาด สำหรับการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกก็มีความคืบหน้าเช่นกัน
ฝ่ายไทยให้ความเห็นว่า ควรให้ความเข้าใจกับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากระดับการพัฒนาแตกต่างกัน จึงมีความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ซึ่งควรมีความยืดหยุ่น อีกประเด็นหนึ่งที่ไทยเห็นว่าสหภาพยุโรปไม่ควรผลักดันมากเกินไป คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาก็เห็นความสำคัญในการสงวนรักษา แต่อาจจะยังไม่มีความพร้อม
เดนมาร์กแจ้งว่า ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศในเอเชีย ลาติน และแอฟริกา และได้มี โครงการพัฒนาความร่วมมือว่าด้วยสิ่งแวดล้อมกับมาเลเซียและเวียดนามด้วย
เดนมาร์กจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซม ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 4) ในปีหน้า 2002 โดยกำหนดจะมีการประชุมรัฐมนตรีคลัง ในเดือนกรกฎาคม การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ การประชุมสภาธุรกิจเอเชียยุโรป รวมทั้งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซมในเดือนกันยายน ทั้งนี้เดนมาร์กได้กล่าวเสริมว่า การประชุมอาเซมได้ก่อให้เกิดแนวทางที่สร้างสรรค์ โดยเน้นความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งได้เชิญไทยเข้าร่วมการประชุมอาเซม
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้เดนมาร์กในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีที่สินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการโรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือทวิภาคีกับนาย Birger Riis-Jorgensen รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศของเดนมาร์ก สรุปผลได้ ดังนี้
ฝ่ายเดนมาร์กได้แสดงความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเดนมาร์กมีการพัฒนามาเป็นลำดับ รวมทั้งเห็นว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งนี้ ประสบผลเกินคาด สำหรับการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกก็มีความคืบหน้าเช่นกัน
ฝ่ายไทยให้ความเห็นว่า ควรให้ความเข้าใจกับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากระดับการพัฒนาแตกต่างกัน จึงมีความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ซึ่งควรมีความยืดหยุ่น อีกประเด็นหนึ่งที่ไทยเห็นว่าสหภาพยุโรปไม่ควรผลักดันมากเกินไป คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาก็เห็นความสำคัญในการสงวนรักษา แต่อาจจะยังไม่มีความพร้อม
เดนมาร์กแจ้งว่า ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศในเอเชีย ลาติน และแอฟริกา และได้มี โครงการพัฒนาความร่วมมือว่าด้วยสิ่งแวดล้อมกับมาเลเซียและเวียดนามด้วย
เดนมาร์กจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซม ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 4) ในปีหน้า 2002 โดยกำหนดจะมีการประชุมรัฐมนตรีคลัง ในเดือนกรกฎาคม การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ การประชุมสภาธุรกิจเอเชียยุโรป รวมทั้งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซมในเดือนกันยายน ทั้งนี้เดนมาร์กได้กล่าวเสริมว่า การประชุมอาเซมได้ก่อให้เกิดแนวทางที่สร้างสรรค์ โดยเน้นความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งได้เชิญไทยเข้าร่วมการประชุมอาเซม
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้เดนมาร์กในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีที่สินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการโรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-