ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 4.1 ในปี 43 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.43 ไทยมียอดเกินดุลการค้าจำนวน 600 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสูงถึง 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ.ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 3 ปี หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการส่งออกไปยัง สรอ. จีน และญี่ปุ่นขยายตัวในระดับสูง ขณะที่การนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคมีสัดส่วนการนำเข้าไม่สูงมาก เชื่อว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะสามารถเกินดุลต่อไปอีกประมาณ 3-4 ปี ส่วนการที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 ในปี 43 นั้น เป็นเพียงการพยากรณ์ที่มีสมมติฐานแตกต่างกับ ธปท. ทั้งนี้ จากการพิจารณาปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปในเบื้องต้น ประกอบกับการประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีความเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะสูงกว่าระดับร้อยละ 4.1 ส่วนกรณีที่เอสแอนด์พีวิเคราะห์ว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินยังเป็นปัญหาต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเอ็นพีแอลที่กลับมาใหม่หลังปรับโครงสร้างหนี้จะมีจำนวนถึงร้อยละ 20 ของเอ็นพีแอลทั้งระบบว่า ปัญหาดังกล่าวไม่น่ากังวล เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ หากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องการนำกระแสเงินสดของลูกหนี้ไปจนหมด หรือวิเคราะห์แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผิด แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินเจ้าหนี้คงต้องการให้ลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากกว่า (วัฏจักร 31)
2. ผลการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบการชำระเงิน รายงานข่าวจาก ธปท.ว่า ธปท.ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษากำหนดค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบการชำระเงิน ร่วมกับสถาบันเพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ผลการศึกษาคือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินรายใหญ่ในระบบบาทเน็ตจาก 250 บาทเหลือ 100 บาทต่อรายการ การโอนเงินรายย่อยจาก 10 บาท เหลือ 8 บาทต่อรายการ และเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้เช็คจากฉบับละ 5 บาท เป็น 6 บาท ขณะเดียวกัน ธปท.คิดค่าบริการเคลียริ่งเช็คเป็น 15 บาทต่อรายการ จากเดิมที่ไม่คิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มีนโยบายผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็คและการใช้เงินสด เพราะมีภาระต้นทุนสูงมาก แม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้บริการจะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ ธปท. พยายามจะให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกที่มีต้นทุนในระยะยาวถูกกว่า (แนวหน้า,เดลินิวส์ 31)
3. ก.คลังคาดว่าจะสามารถเก็บภาษีศุลกากรได้สูงกว่าเป้าหมายในปีงบประมาณ 43 รมว.คลังเปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากรในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 ว่า สามารถจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเพียงร้อยละ 0.03 หรือประมาณ 58 ล.บาท จากเป้าหมายประมาณการใหม่ที่ระดับ 86,000 ล.บาท คาดว่าในระยะ 2 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ (ส.ค.-ก.ย.) จะจัดเก็บได้อีกประมาณ 15,000 ล.บาท ทำให้เกินเป้าหมายใหม่มากกว่า 100 ล.บาท และเกินกว่าเป้าหมายเดิมมากกว่า 10,000 ล.บาท (ไทยโพสต์ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.7ในปี 43 รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 หนังสือพิมพ์รายวัน Le Monde ของฝรั่งเศสรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการว่า ในปี 43 จะขยายตัวร้อยละ 4.7 จากร้อยละ 3.4 ในปี 42 นับเป็นการเพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี และในปี 44 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.2 โดย ในปี 43 เศรษฐกิจ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ขณะที่ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร และ ญี่ปุ่น จะขยายตัวร้อยละ 3.4 และ 1.4 ตามลำดับ อนึ่ง การที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่รวดเร็ว เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากเศรษฐกิจ สรอ. ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจในยุโรปที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วย หลังจากประสบวิกฤตการเงินในครึ่งหลังทศวรรษ 1990 ทั้งนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังมีบทบาทที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 30)
2. การขายปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 30 ส.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่นรายงานว่า .เดือน ก.ค.43 การขายปลีกโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.0 ในเดือน มิ.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 40 โดยยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งรวมยอดขายของห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ต ที่ปรับปัจจัยแตกต่างแล้ว ลดลงร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ในเดือน มิ.ย.43 ทั้งนี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์ 30)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 30 ส.ค.43 Conference Board รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 107.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้ถูกปรับลดลงจากรายงานเบื้องต้นที่ลดลงร้อยละ 0.1 แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มขยายตัวอย่างชะลอตัวลง โดยในเดือน ก.ค.43 ส่วนประกอบของดัชนี 5 ใน 9 ตัว ต่างลดลง นำโดยการลดลงของสินค้าคงคลัง และ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์ 30)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เติบโตร้อยละ 3.4 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากกรุงโซล เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO)ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เติบโตร้อยละ 3.4 เทียบกับเดือน มิ.ย. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 2 เทียบต่อเดือน เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างมาก นาย Kim Sung-shik นักเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ LG กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตฯในเดือน ก.ค. สร้างความประหลาดใจอย่างมาก และช่วยขจัดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง (รอยเตอร์30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30ส.ค. 43 40.959(40.846)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 30ส.ค.43 ซื้อ 40.7608 (40.6499) ขาย 41.0671 (40.9540)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.86 (29.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 4.1 ในปี 43 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.43 ไทยมียอดเกินดุลการค้าจำนวน 600 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสูงถึง 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ.ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 3 ปี หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการส่งออกไปยัง สรอ. จีน และญี่ปุ่นขยายตัวในระดับสูง ขณะที่การนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคมีสัดส่วนการนำเข้าไม่สูงมาก เชื่อว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะสามารถเกินดุลต่อไปอีกประมาณ 3-4 ปี ส่วนการที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 ในปี 43 นั้น เป็นเพียงการพยากรณ์ที่มีสมมติฐานแตกต่างกับ ธปท. ทั้งนี้ จากการพิจารณาปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปในเบื้องต้น ประกอบกับการประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีความเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะสูงกว่าระดับร้อยละ 4.1 ส่วนกรณีที่เอสแอนด์พีวิเคราะห์ว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินยังเป็นปัญหาต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเอ็นพีแอลที่กลับมาใหม่หลังปรับโครงสร้างหนี้จะมีจำนวนถึงร้อยละ 20 ของเอ็นพีแอลทั้งระบบว่า ปัญหาดังกล่าวไม่น่ากังวล เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ หากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องการนำกระแสเงินสดของลูกหนี้ไปจนหมด หรือวิเคราะห์แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผิด แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินเจ้าหนี้คงต้องการให้ลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากกว่า (วัฏจักร 31)
2. ผลการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบการชำระเงิน รายงานข่าวจาก ธปท.ว่า ธปท.ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษากำหนดค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบการชำระเงิน ร่วมกับสถาบันเพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ผลการศึกษาคือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินรายใหญ่ในระบบบาทเน็ตจาก 250 บาทเหลือ 100 บาทต่อรายการ การโอนเงินรายย่อยจาก 10 บาท เหลือ 8 บาทต่อรายการ และเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้เช็คจากฉบับละ 5 บาท เป็น 6 บาท ขณะเดียวกัน ธปท.คิดค่าบริการเคลียริ่งเช็คเป็น 15 บาทต่อรายการ จากเดิมที่ไม่คิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มีนโยบายผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็คและการใช้เงินสด เพราะมีภาระต้นทุนสูงมาก แม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้บริการจะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ ธปท. พยายามจะให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกที่มีต้นทุนในระยะยาวถูกกว่า (แนวหน้า,เดลินิวส์ 31)
3. ก.คลังคาดว่าจะสามารถเก็บภาษีศุลกากรได้สูงกว่าเป้าหมายในปีงบประมาณ 43 รมว.คลังเปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากรในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 43 ว่า สามารถจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเพียงร้อยละ 0.03 หรือประมาณ 58 ล.บาท จากเป้าหมายประมาณการใหม่ที่ระดับ 86,000 ล.บาท คาดว่าในระยะ 2 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ (ส.ค.-ก.ย.) จะจัดเก็บได้อีกประมาณ 15,000 ล.บาท ทำให้เกินเป้าหมายใหม่มากกว่า 100 ล.บาท และเกินกว่าเป้าหมายเดิมมากกว่า 10,000 ล.บาท (ไทยโพสต์ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.7ในปี 43 รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 หนังสือพิมพ์รายวัน Le Monde ของฝรั่งเศสรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการว่า ในปี 43 จะขยายตัวร้อยละ 4.7 จากร้อยละ 3.4 ในปี 42 นับเป็นการเพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี และในปี 44 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.2 โดย ในปี 43 เศรษฐกิจ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ขณะที่ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร และ ญี่ปุ่น จะขยายตัวร้อยละ 3.4 และ 1.4 ตามลำดับ อนึ่ง การที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่รวดเร็ว เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากเศรษฐกิจ สรอ. ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจในยุโรปที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วย หลังจากประสบวิกฤตการเงินในครึ่งหลังทศวรรษ 1990 ทั้งนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังมีบทบาทที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 30)
2. การขายปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 30 ส.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่นรายงานว่า .เดือน ก.ค.43 การขายปลีกโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.0 ในเดือน มิ.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 40 โดยยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งรวมยอดขายของห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ต ที่ปรับปัจจัยแตกต่างแล้ว ลดลงร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ในเดือน มิ.ย.43 ทั้งนี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์ 30)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 30 ส.ค.43 Conference Board รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 107.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้ถูกปรับลดลงจากรายงานเบื้องต้นที่ลดลงร้อยละ 0.1 แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มขยายตัวอย่างชะลอตัวลง โดยในเดือน ก.ค.43 ส่วนประกอบของดัชนี 5 ใน 9 ตัว ต่างลดลง นำโดยการลดลงของสินค้าคงคลัง และ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์ 30)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เติบโตร้อยละ 3.4 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากกรุงโซล เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO)ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เติบโตร้อยละ 3.4 เทียบกับเดือน มิ.ย. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 2 เทียบต่อเดือน เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างมาก นาย Kim Sung-shik นักเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ LG กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตฯในเดือน ก.ค. สร้างความประหลาดใจอย่างมาก และช่วยขจัดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง (รอยเตอร์30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30ส.ค. 43 40.959(40.846)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 30ส.ค.43 ซื้อ 40.7608 (40.6499) ขาย 41.0671 (40.9540)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.86 (29.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-