บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2543
เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวเป็นไตรมาสที่ห้าในอัตรา
ร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเบื้องต้น(ไม่ปรับฤดูกาล) เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มูลค่า
การส่งออก เครื่องชี้การบริโภค เป็นต้น ชี้ว่าระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองจะต่ำกว่าของไตรมาสก่อน แต่จะขยาย
ตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์สูงเป็นปัจจัยสำคัญตามการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าโดย
เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทางด้านเสถียรภาพ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานแม้จะปรับตัวสูง
ขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะเดียวกันดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล หนี้ต่างประเทศลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน ส่งผลให้เงินทุนไหล
ออก และดุลการชำระเงินขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ
(1) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบัน การเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
(2) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข
(3) การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของภาค
อสังหาริมทรัพย์
(4) การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ที่ยังมีความไม่แน่นอนในด้าน รายได้จากภาวะการว่างงานสูงและราคา
สินค้าเกษตรตกต่ำ
(5) ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ได้แก่ ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากราคาน้ำมัน และการดำเนินนโยบาย
การเงินที่เข้มงวดขึ้นในหลายประเทศโดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส ที่สองชะลอตัวจากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส
นี้ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน (ถ้าไม่รวมการผลิตสุราซึ่งมีการผลิตต่ำมากเนื่องจากมีสินค้าคงคลังสูง ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.6 ในช่วงเดียวกัน) โดยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออก เช่น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งยัง
ขยายตัวสูงตามความต้องการทั้งในและนอกประเทศ การผลิตแผงวงจรไฟฟ้าตาม การส่งออก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 6.4 (ถ้าไม่รวมการผลิตสุราจะขยายตัวร้อยละ 13.5) ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 55.6
เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่บางอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตเต็มกำลังการผลิต
เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์โลหะเป็นต้น
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้ม ชะลอลง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่สองทรงตัวใกล้
เคียงกับ ไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางรายได้ซึ่งเกิดจากการลดลงของราคาพืชผลเกษตรและการจ้างงาน
อย่างไรก็ตามเครื่องชี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหมวดการบริโภค สินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้ายังคงขยายตัวใน
อัตราที่สูง
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสสองเร่งตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยมีการขยายตัวในหมวดของเครื่องจักร
อุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนจากยอดการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนภาคก่อสร้างทรงตัว อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งปี
แรกยังคงขยายตัวสูง ตามการขยายตัวของ ยอดจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ และการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับบางอุตสาหกรรม เช่น
แผง วงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์กระดาษ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ สอดคล้องกับสถิติการออกบัตรส่งเสริมการ
ลงทุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งมีวงเงินลงทุนสูงในหมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ
เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง
การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงมีบทบาทใน การกระตุ้นเศรษฐกิจ ดุลเงินสดภาครัฐบาลยังคงขาดดุลต่อเนื่องในไตรมาสที่สามของปี
งบประมาณจำนวน 12.5 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุลสดสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปี งบประมาณ 92.1 พันล้านบาท โดยรายจ่าย
จากงบประมาณของรัฐยังคงเป็นไปตาม เป้าหมาย ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล อากรสินค้าเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
การส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวในเกณฑ์สูงแม้จะชะลอตัวในไตรมาสที่สองส่วนหนึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โลกและประเทศคู่ค้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกเป็นหลักขณะที่ราคายัง ลดลง โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี
ขยายตัวในเกณฑ์สูง การนำเข้าขยายตัวสูงกว่าการส่งออก จากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการลงทุน ทำให้
ดุลการค้าเกินดุลลดลงจากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ในระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 7.1 เดือน สำหรับ
หนี้ต่างประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีสัดส่วนของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนของหนี้ระยะยาวยังคงมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ภายในเป้าหมายของคณะกรรมนโยบายการเงิน โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
0.2 ในไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาส ที่สอง ส่งผลให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในช่วงครึ่งปีแรก
อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารเป็นสำคัญ ตามการ
เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง รวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนตัวลง
ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงินในช่วงครึ่งปีแรกตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดยในช่วงไตรมาสแรกสถาบันการเงินส่วน
ใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ (1) สำรองการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาล (2) ส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (4) มีการโยกย้ายเงินฝากจากสถาบัน
การเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่า (5) ธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้
กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ (6) เป็นช่วง ปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและธนาคารของญี่ปุ่น สำหรับในไตรมาสที่สอง
สถาบันการเงินยังคงมีสภาพคล่องตึงตัวในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากต้องส่งมอบภาษีเงินได้นิติบุคคล และส่งเงิน สมทบเข้ากองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องตึงตัวส่วนใหญ่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสะท้อน
ในอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงขึ้น
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เนื่องจากประชาชนมีการเปลี่ยนไปออมในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ ผล
ตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ลดลง เนื่องจากอุปสงค์ ต่อสินเชื่อยังคงอ่อนตัว กอปรกับภาคเอกชนมีการ
ระดมทุนโดยตรงเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศของสินเชื่อวิเทศธนกิจและหนี้ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการตัดหนี้สูญ อย่างไรก็ตาม อัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทรงตัวตลอดครึ่งปีแรก
การระดมทุนโดยตรงในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทขนาดใหญ่ และขนาดกลางเร่งระดมทุนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และหนี้ธนาคาร
พาณิชย์ในประเทศรวมทั้งเป็นการออก หลักทรัพย์ที่โยงกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ (debt-equity swap) ในช่วงครึ่งปีแรก
ภาคเอกชนได้ออกหุ้นกู้รวม 75,303 ล้านบาท เป็นการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารจำนวน 55,393 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นของสถาบันการเงิน
ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชน
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans: NPLs) ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยอดคงเหลือของ NPLs
ของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน พฤษภาคม 2543 ปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนมาอยู่ที่ ร้อยละ 35.6 ของสินเชื่อรวม ส่วนหนึ่งจากความ
คืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงิน เนื่องจากมี การปรับปรุงกฎระเบียบใหม่ ณ วันที่ 7 มกราคม 2543
ทำให้ธนาคารพาณิชย์ มีความสนใจในการจัดตั้งบริษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงินมากขึ้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีการอนุมัติ
ให้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วจำนวน 8 ราย และอยู่ระหว่างการอนุมัติ 4 ราย ทั้งนี้ มีการโอนสินทรัพย์แล้วจำนวน 5 รายมูลค่า
304.7 พันล้านบาท
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
2541 2542 2543
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2
(เบื้องต้น)
GDP ณ ราคาปีปัจจุบัน -1.9 -2.1 -0.7 4.9 3.8 1.4 5.4 n.a.
GDP ณ ราคาปี 2531 -10.2 0.2 2.5 7.8 6.5 4.2 5.2 n.a.
- ภาคการเกษตร -1.3 5.4 7.1 9.4 -1.6 4 -1.6 n.a.
- ภาคนอกการเกษตร -11.1 -0.5 2.1 7.6 7.8 4.2 6.1 n.a.
-อุตสาหกรรม -10.5 4.7 9 16.9 15.1 11.3 9.5 n.a.
- อุปสงค์ภายในประเทศ -23.9 -3.3 9.8 5.7 9.1 5.2 9.2 n.a.
- การลงทุนรวม -44.2 -27.5 1.1 5.5 7 -4.8 17.7 n.a.
- การบริโภครวม -10.5 -2.7 2.8 3.9 7.7 2.9 5.9 n.a.
- การส่งออกสินค้าและบริการ 6.7 -1.8 7.6 13.2 16.5 8.9 25.1 n.a.
- การนำเข้าสินค้าและบริการ -22.3 8.3 23.3 21.2 25.1 19.6 33.8 n.a.
ระดับราคา
- อัตราเงินเฟ้อ 8.1 2.6 -0.5 -1.0 0.1 0.3 0.9 1.6
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 7.2 4.0 1.6 0.9 0.7 1.8 0.2 1.0
ภาคต่างประเทศ
- มูลค่าสินค้าออก (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) -6.8 -4.2 5.7 10.9 17.1 7.4 27.8 15.0
- ปริมาณสินค้าออก 8.1 -1.9 7.2 17.2 24.0 11.5 34.7 n.a.
- ราคาสินค้าออก -13.8 -2.3 -1.5 -5.4 -5.6 -3.7 -5.1 n.a.
- มูลค่าสินค้าเข้า (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) -33.8 -1.0 11.7 21.9 35.3 16.9 42.6 27.6
- ปริมาณสินค้าเข้า -27.4 9.0 23.6 24.4 33.1 23.0 39.3 n.a.
- ราคาสินค้าเข้า -8.8 -9.1 -9.6 -2.0 1.7 -4.9 2.4 n.a.
- ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์) 12.2 2.7 2.1 2.4 2.1 9.3 1.9 1.0
- ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 14.3 4.0 2.2 3.0 3.2 12.5 3.2 1.5
- ดุลการชำระเงิน (พันล้านดอลลาร์) 1.7 0.8 1.6 -0.1 2.3 4.6 -2.2 -0.4
- ยอดคงค้าหนี้ต่างประเทศ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 105.1 102.3 99.6 97.9 95.6 92.3 n.a.
- เงินสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 29.5 29.9 31.4 32.4 34.8 32.3 32.1
ภาคการเงิน
- สินเชื่อ ธพ. (รวมกิจการวิเทศธนกิจ)* -9.7 -4.2 -7.5 -4.9 -4.1 -5.2 -8.4
- เงินฝาก ธพ. 8.8 8.5 6.0 1.8 -0.5 -0.8 0.0
- ปริมาณเงิน (M2a) 6.1 4.9 3.1 0.8 1.3 0.3 1.2
- ฐานเงิน 0.3 9.2 1.1 -3.0 30.8 1.8 4.1
ภาคการคลัง (ปีงบประมาณ)
- ดุลเงินสดรัฐบาลปีงบประมาณ (% ของ GDP ตามปีงบประมาณ) -2.5 -0.87 0.0 -1.0 -1.02 -2.9 -1.23 -0.38
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) 41.37 37.05 37.18 38.33 38.81 37.84 37.65 38.66
* ไม่รวมผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 มิถุนายน 2540)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2543
เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวเป็นไตรมาสที่ห้าในอัตรา
ร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเบื้องต้น(ไม่ปรับฤดูกาล) เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มูลค่า
การส่งออก เครื่องชี้การบริโภค เป็นต้น ชี้ว่าระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองจะต่ำกว่าของไตรมาสก่อน แต่จะขยาย
ตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์สูงเป็นปัจจัยสำคัญตามการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าโดย
เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทางด้านเสถียรภาพ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานแม้จะปรับตัวสูง
ขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะเดียวกันดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล หนี้ต่างประเทศลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน ส่งผลให้เงินทุนไหล
ออก และดุลการชำระเงินขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ
(1) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบัน การเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
(2) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข
(3) การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของภาค
อสังหาริมทรัพย์
(4) การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ที่ยังมีความไม่แน่นอนในด้าน รายได้จากภาวะการว่างงานสูงและราคา
สินค้าเกษตรตกต่ำ
(5) ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ได้แก่ ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากราคาน้ำมัน และการดำเนินนโยบาย
การเงินที่เข้มงวดขึ้นในหลายประเทศโดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส ที่สองชะลอตัวจากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส
นี้ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน (ถ้าไม่รวมการผลิตสุราซึ่งมีการผลิตต่ำมากเนื่องจากมีสินค้าคงคลังสูง ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.6 ในช่วงเดียวกัน) โดยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออก เช่น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งยัง
ขยายตัวสูงตามความต้องการทั้งในและนอกประเทศ การผลิตแผงวงจรไฟฟ้าตาม การส่งออก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 6.4 (ถ้าไม่รวมการผลิตสุราจะขยายตัวร้อยละ 13.5) ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 55.6
เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่บางอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตเต็มกำลังการผลิต
เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์โลหะเป็นต้น
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้ม ชะลอลง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่สองทรงตัวใกล้
เคียงกับ ไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางรายได้ซึ่งเกิดจากการลดลงของราคาพืชผลเกษตรและการจ้างงาน
อย่างไรก็ตามเครื่องชี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหมวดการบริโภค สินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้ายังคงขยายตัวใน
อัตราที่สูง
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสสองเร่งตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยมีการขยายตัวในหมวดของเครื่องจักร
อุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนจากยอดการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนภาคก่อสร้างทรงตัว อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งปี
แรกยังคงขยายตัวสูง ตามการขยายตัวของ ยอดจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ และการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับบางอุตสาหกรรม เช่น
แผง วงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์กระดาษ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ สอดคล้องกับสถิติการออกบัตรส่งเสริมการ
ลงทุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งมีวงเงินลงทุนสูงในหมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ
เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง
การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงมีบทบาทใน การกระตุ้นเศรษฐกิจ ดุลเงินสดภาครัฐบาลยังคงขาดดุลต่อเนื่องในไตรมาสที่สามของปี
งบประมาณจำนวน 12.5 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุลสดสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปี งบประมาณ 92.1 พันล้านบาท โดยรายจ่าย
จากงบประมาณของรัฐยังคงเป็นไปตาม เป้าหมาย ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล อากรสินค้าเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
การส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวในเกณฑ์สูงแม้จะชะลอตัวในไตรมาสที่สองส่วนหนึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โลกและประเทศคู่ค้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกเป็นหลักขณะที่ราคายัง ลดลง โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี
ขยายตัวในเกณฑ์สูง การนำเข้าขยายตัวสูงกว่าการส่งออก จากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการลงทุน ทำให้
ดุลการค้าเกินดุลลดลงจากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ในระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 7.1 เดือน สำหรับ
หนี้ต่างประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีสัดส่วนของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนของหนี้ระยะยาวยังคงมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ภายในเป้าหมายของคณะกรรมนโยบายการเงิน โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
0.2 ในไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาส ที่สอง ส่งผลให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในช่วงครึ่งปีแรก
อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารเป็นสำคัญ ตามการ
เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง รวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนตัวลง
ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงินในช่วงครึ่งปีแรกตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดยในช่วงไตรมาสแรกสถาบันการเงินส่วน
ใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ (1) สำรองการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาล (2) ส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (4) มีการโยกย้ายเงินฝากจากสถาบัน
การเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่า (5) ธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้
กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ (6) เป็นช่วง ปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและธนาคารของญี่ปุ่น สำหรับในไตรมาสที่สอง
สถาบันการเงินยังคงมีสภาพคล่องตึงตัวในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากต้องส่งมอบภาษีเงินได้นิติบุคคล และส่งเงิน สมทบเข้ากองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องตึงตัวส่วนใหญ่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสะท้อน
ในอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงขึ้น
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เนื่องจากประชาชนมีการเปลี่ยนไปออมในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ ผล
ตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ลดลง เนื่องจากอุปสงค์ ต่อสินเชื่อยังคงอ่อนตัว กอปรกับภาคเอกชนมีการ
ระดมทุนโดยตรงเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศของสินเชื่อวิเทศธนกิจและหนี้ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการตัดหนี้สูญ อย่างไรก็ตาม อัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทรงตัวตลอดครึ่งปีแรก
การระดมทุนโดยตรงในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทขนาดใหญ่ และขนาดกลางเร่งระดมทุนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และหนี้ธนาคาร
พาณิชย์ในประเทศรวมทั้งเป็นการออก หลักทรัพย์ที่โยงกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ (debt-equity swap) ในช่วงครึ่งปีแรก
ภาคเอกชนได้ออกหุ้นกู้รวม 75,303 ล้านบาท เป็นการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารจำนวน 55,393 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นของสถาบันการเงิน
ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชน
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans: NPLs) ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยอดคงเหลือของ NPLs
ของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน พฤษภาคม 2543 ปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนมาอยู่ที่ ร้อยละ 35.6 ของสินเชื่อรวม ส่วนหนึ่งจากความ
คืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงิน เนื่องจากมี การปรับปรุงกฎระเบียบใหม่ ณ วันที่ 7 มกราคม 2543
ทำให้ธนาคารพาณิชย์ มีความสนใจในการจัดตั้งบริษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงินมากขึ้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีการอนุมัติ
ให้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วจำนวน 8 ราย และอยู่ระหว่างการอนุมัติ 4 ราย ทั้งนี้ มีการโอนสินทรัพย์แล้วจำนวน 5 รายมูลค่า
304.7 พันล้านบาท
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
2541 2542 2543
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2
(เบื้องต้น)
GDP ณ ราคาปีปัจจุบัน -1.9 -2.1 -0.7 4.9 3.8 1.4 5.4 n.a.
GDP ณ ราคาปี 2531 -10.2 0.2 2.5 7.8 6.5 4.2 5.2 n.a.
- ภาคการเกษตร -1.3 5.4 7.1 9.4 -1.6 4 -1.6 n.a.
- ภาคนอกการเกษตร -11.1 -0.5 2.1 7.6 7.8 4.2 6.1 n.a.
-อุตสาหกรรม -10.5 4.7 9 16.9 15.1 11.3 9.5 n.a.
- อุปสงค์ภายในประเทศ -23.9 -3.3 9.8 5.7 9.1 5.2 9.2 n.a.
- การลงทุนรวม -44.2 -27.5 1.1 5.5 7 -4.8 17.7 n.a.
- การบริโภครวม -10.5 -2.7 2.8 3.9 7.7 2.9 5.9 n.a.
- การส่งออกสินค้าและบริการ 6.7 -1.8 7.6 13.2 16.5 8.9 25.1 n.a.
- การนำเข้าสินค้าและบริการ -22.3 8.3 23.3 21.2 25.1 19.6 33.8 n.a.
ระดับราคา
- อัตราเงินเฟ้อ 8.1 2.6 -0.5 -1.0 0.1 0.3 0.9 1.6
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 7.2 4.0 1.6 0.9 0.7 1.8 0.2 1.0
ภาคต่างประเทศ
- มูลค่าสินค้าออก (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) -6.8 -4.2 5.7 10.9 17.1 7.4 27.8 15.0
- ปริมาณสินค้าออก 8.1 -1.9 7.2 17.2 24.0 11.5 34.7 n.a.
- ราคาสินค้าออก -13.8 -2.3 -1.5 -5.4 -5.6 -3.7 -5.1 n.a.
- มูลค่าสินค้าเข้า (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) -33.8 -1.0 11.7 21.9 35.3 16.9 42.6 27.6
- ปริมาณสินค้าเข้า -27.4 9.0 23.6 24.4 33.1 23.0 39.3 n.a.
- ราคาสินค้าเข้า -8.8 -9.1 -9.6 -2.0 1.7 -4.9 2.4 n.a.
- ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์) 12.2 2.7 2.1 2.4 2.1 9.3 1.9 1.0
- ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 14.3 4.0 2.2 3.0 3.2 12.5 3.2 1.5
- ดุลการชำระเงิน (พันล้านดอลลาร์) 1.7 0.8 1.6 -0.1 2.3 4.6 -2.2 -0.4
- ยอดคงค้าหนี้ต่างประเทศ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 105.1 102.3 99.6 97.9 95.6 92.3 n.a.
- เงินสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 29.5 29.9 31.4 32.4 34.8 32.3 32.1
ภาคการเงิน
- สินเชื่อ ธพ. (รวมกิจการวิเทศธนกิจ)* -9.7 -4.2 -7.5 -4.9 -4.1 -5.2 -8.4
- เงินฝาก ธพ. 8.8 8.5 6.0 1.8 -0.5 -0.8 0.0
- ปริมาณเงิน (M2a) 6.1 4.9 3.1 0.8 1.3 0.3 1.2
- ฐานเงิน 0.3 9.2 1.1 -3.0 30.8 1.8 4.1
ภาคการคลัง (ปีงบประมาณ)
- ดุลเงินสดรัฐบาลปีงบประมาณ (% ของ GDP ตามปีงบประมาณ) -2.5 -0.87 0.0 -1.0 -1.02 -2.9 -1.23 -0.38
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์ สรอ.) 41.37 37.05 37.18 38.33 38.81 37.84 37.65 38.66
* ไม่รวมผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 มิถุนายน 2540)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-