ผลผลิตเข้าตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
การผลิตพืชผล เดือนมิถุนายน 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา
ผักและผลไม้ เช่นเดียวกับราคาพืชผลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคา พืชผลที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง
เนื่องจากการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผล เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ปาล์มน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำหรับราคาพืชผลในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคาพืชผล
ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลังและอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนมิถุนายน ปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 เป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตพืชผล และราคาพืชผล ร้อยละ 3.9 และ 7.8 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 2.9 เป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาพืชผล ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 1.5 และ 1.4 ตามลำดับ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนพฤษภาคม ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 9.4 เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล
ที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กอปรกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญ
ของไทย ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมง ของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลัง อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน และผลจาก
ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งในเดือนนี้ยังคงปรับลดลงถึงร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกกุ้งที่มี
แนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตกุ้งในละตินอเมริกาบางประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งหลังจากประสบปัญหา
โรคระบาดตัวแดง ดวงขาว เมื่อกลางปี 2542 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงและการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัย
บวกที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะ
ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ตามอุปทานในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี เม.ย. พ.ค. มิ.ย. H1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 108.7 111.6 112.3 109
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.8 3.2 5.7 2.4
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 99.9 103.1 103.8 100.2
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.6 1.8 7.8 1.4
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,862 5,784 5,573 5,992
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.9 -22 -26.9 -15.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,430 4,414 4,640 4,447
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -8 -8.9 -4 -7.2
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,010 23,820 24,340 22,400
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 3.3 10.2 16.5 6.6
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,840 3,910 4,030 3,912
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -21.5 -19.2 -8.2 -17.5
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 690 830 990 750
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 7.8 23.9 41.4 18
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 108.3 118.3 120.4 110.2
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 9.7 17.8 15.6 7.4
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 136.8 131.8 130.8 135.7
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.6 -3.9 -6.4 1.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.4 103.4 103.4 103.8
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 5.1 -2.4 -2.4 2.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตพืชผล เดือนมิถุนายน 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา
ผักและผลไม้ เช่นเดียวกับราคาพืชผลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคา พืชผลที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง
เนื่องจากการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผล เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ปาล์มน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำหรับราคาพืชผลในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ราคาพืชผล
ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลังและอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนมิถุนายน ปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 เป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตพืชผล และราคาพืชผล ร้อยละ 3.9 และ 7.8 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 2.9 เป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาพืชผล ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 1.5 และ 1.4 ตามลำดับ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนพฤษภาคม ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 9.4 เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล
ที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กอปรกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญ
ของไทย ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมง ของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลัง อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน และผลจาก
ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งในเดือนนี้ยังคงปรับลดลงถึงร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกกุ้งที่มี
แนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตกุ้งในละตินอเมริกาบางประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งหลังจากประสบปัญหา
โรคระบาดตัวแดง ดวงขาว เมื่อกลางปี 2542 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงและการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัย
บวกที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะ
ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ตามอุปทานในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี เม.ย. พ.ค. มิ.ย. H1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 108.7 111.6 112.3 109
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.8 3.2 5.7 2.4
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 99.9 103.1 103.8 100.2
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.6 1.8 7.8 1.4
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,862 5,784 5,573 5,992
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.9 -22 -26.9 -15.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,430 4,414 4,640 4,447
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -8 -8.9 -4 -7.2
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,010 23,820 24,340 22,400
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 3.3 10.2 16.5 6.6
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,840 3,910 4,030 3,912
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -21.5 -19.2 -8.2 -17.5
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 690 830 990 750
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 7.8 23.9 41.4 18
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 108.3 118.3 120.4 110.2
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 9.7 17.8 15.6 7.4
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 136.8 131.8 130.8 135.7
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.6 -3.9 -6.4 1.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.4 103.4 103.4 103.8
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 5.1 -2.4 -2.4 2.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-