สหรัฐฯ เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีทั้งการผลิต การส่งออก และการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ในด้านการผลิตข้าว ในช่วงปีการเพาะปลูก 2543/44 สหรัฐฯ สามารถผลิตข้าวได้สูงถึง 8.7 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 32.4 ของปริมาณการผลิตข้าวรวมทั้งโลก ในด้านการส่งออก สหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากไทย เวียดนาม และจีน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ต้องนำเข้าข้าวบางประเภทที่ไม่สามารถผลิตได้เอง โดยส่วนใหญ่สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทย ทำให้สหรัฐฯ เป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าข้าวที่น่าสนใจของไทย ซึ่งสามารถสรุป ข้อมูลตลาดข้าวของสหรัฐฯ ในด้านต่างๆ ได้ดังนี้
1. ภาวะการผลิต การแปรรูป และราคาข้าวของสหรัฐฯ
- ชนิดของข้าวที่ผลิตได้ ข้าวเมล็ดยาว (Long Grain) ข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้น (Medium Grain and Short Grain)
- แหล่งเพาะปลูกข้าว ผลผลิตข้าวของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 99 ของทั้งหมดมาจาก 6 มลรัฐ คือ อาร์คันซอ ลุยเซียนา มิสซูรี แคลิฟอร์เนีย มิสซิสซิปปี และเทกซัส
- ปริมาณผลผลิตข้าว ในช่วงปีการเพาะปลูก 2543/44 สหรัฐฯ ผลิตข้าวได้ประมาณ 8.7 ล้านตัน
แบ่งเป็นข้าวเมล็ดยาวประมาณ 5.9 ล้านตันหรือร้อยละ 67.8 ของปริมาณการผลิตข้าวรวมของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 2.8 ล้านตันเป็นข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้น
- การแปรรูปข้าว นอกจากสหรัฐฯ บริโภคข้าวด้วยการหุงเป็นข้าวสวยกว่าร้อยละ 50 ของข้าวที่ผลิตได้แล้ว ข้าวส่วนที่เหลือสหรัฐฯ ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศและนำไปแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปประเภทต่างๆ อาทิ อาหารเช้าประเภทธัญพืช (Breakfast cereals) อาหารสัตว์ (Pet foods) อาหารเด็กทารก (Baby food) อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง (Frozen dinners) ขนมปังอบกรอบ (Cracker) ขนมทานเล่น (Snack) ลูกอม (Candy) และเบียร์ ฯลฯ
- ราคาข้าวของสหรัฐฯ สำหรับในช่วงปีการเพาะปลูก 2543/44 ราคาข้าวของสหรัฐฯ ต่ำสุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกอ่อนตัวลงมากตั้งแต่ต้นปี 2542 ทำให้สหรัฐฯ ต้องลดราคาข้าวทั้งในประเทศและที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกไว้
2. การส่งออกข้าวของสหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การส่งออกข้าวของสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการผลิตค่อนข้างคงที่ ปัจจุบันสหรัฐฯ ส่งออกข้าวราวร้อยละ 40 ของข้าวที่สหรัฐฯ ผลิตได้ทั้งหมด ประเภทของข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก ข้าวขาว และข้าวแดงที่ผ่านการสีแล้ว โดยส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
- ข้าวเมล็ดยาว ตลาดส่งออกหลัก คือ สหภาพยุโรป (European Union: EU) ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าข้าวแดงเมล็ดยาวที่นึ่งแล้ว ตลาดสำคัญรองลงมา ได้แก่ แคนาดา ประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน เม็กซิโก
(เป็นตลาดส่งออกข้าวเปลือกที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ) รวมทั้งประเทศในแถบลาตินอเมริกาและอเมริกากลางอีกด้วย
- ข้าวเมล็ดกลาง ตลาดส่งออกหลัก คือ ญี่ปุ่น ซึ่งนิยมนำเข้าข้าวขาวและข้าวแดงเมล็ดกลางที่ผ่านการขัดสีแล้ว รองลงมา คือ ตุรกี ซึ่งปัจจุบันนิยมนำเข้าข้าวเปลือกเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แทนการนำเข้าข้าวเมล็ดกลางที่ผ่านการขัดสีแล้ว
- ข้าวเมล็ดสั้น ตลาดส่งออกหลัก คือ ญี่ปุ่นและแคนาดา
อย่างไรก็ตาม การที่ต้นทุนการผลิตข้าวของสหรัฐฯ สูงกว่าประเทศในแถบเอเชียและปริมาณผลผลิตที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัดทำให้สหรัฐฯ ไม่สามารถขยายการส่งออกข้าวได้มากนัก สหรัฐฯ จึงเป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวของไทยเพียงบางตลาดเท่านั้น เช่น ตลาด EU ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดลาตินอเมริกา (สหรัฐฯ มีความได้เปรียบด้านระยะทางในตลาดนี้) เป็นต้น
3. การนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การบริโภคข้าวของชาวสหรัฐฯ จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ลักษณะการนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ แบ่งเป็น
- ประเภทข้าวที่นำเข้า ข้าวที่สหรัฐฯ นำเข้าเกือบทั้งหมดเป็นข้าวเมล็ดยาว โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหอมชนิดต่างๆ ที่สหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตได้เอง
- แหล่งนำเข้า สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการนำเข้ารวม ชนิดของข้าวที่สหรัฐฯ นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด ได้แก่ ข้าวขาว 100% รองลงมา คือ ข้าวเหนียว และข้าวขาว 5-10% ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 เป็นการนำเข้าข้าวจากอินเดีย ปากีสถาน และประเทศอื่นๆ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 นี้ สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยเป็นมูลค่า 2,352.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐฯ จัดเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญอันดับ 3 ของไทย รองจากไนจีเรียและฮ่องกง
- กลุ่มผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียและชาวลาตินอเมริกา (Hispanic) ที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
1. ภาวะการผลิต การแปรรูป และราคาข้าวของสหรัฐฯ
- ชนิดของข้าวที่ผลิตได้ ข้าวเมล็ดยาว (Long Grain) ข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้น (Medium Grain and Short Grain)
- แหล่งเพาะปลูกข้าว ผลผลิตข้าวของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 99 ของทั้งหมดมาจาก 6 มลรัฐ คือ อาร์คันซอ ลุยเซียนา มิสซูรี แคลิฟอร์เนีย มิสซิสซิปปี และเทกซัส
- ปริมาณผลผลิตข้าว ในช่วงปีการเพาะปลูก 2543/44 สหรัฐฯ ผลิตข้าวได้ประมาณ 8.7 ล้านตัน
แบ่งเป็นข้าวเมล็ดยาวประมาณ 5.9 ล้านตันหรือร้อยละ 67.8 ของปริมาณการผลิตข้าวรวมของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 2.8 ล้านตันเป็นข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้น
- การแปรรูปข้าว นอกจากสหรัฐฯ บริโภคข้าวด้วยการหุงเป็นข้าวสวยกว่าร้อยละ 50 ของข้าวที่ผลิตได้แล้ว ข้าวส่วนที่เหลือสหรัฐฯ ส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศและนำไปแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปประเภทต่างๆ อาทิ อาหารเช้าประเภทธัญพืช (Breakfast cereals) อาหารสัตว์ (Pet foods) อาหารเด็กทารก (Baby food) อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง (Frozen dinners) ขนมปังอบกรอบ (Cracker) ขนมทานเล่น (Snack) ลูกอม (Candy) และเบียร์ ฯลฯ
- ราคาข้าวของสหรัฐฯ สำหรับในช่วงปีการเพาะปลูก 2543/44 ราคาข้าวของสหรัฐฯ ต่ำสุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกอ่อนตัวลงมากตั้งแต่ต้นปี 2542 ทำให้สหรัฐฯ ต้องลดราคาข้าวทั้งในประเทศและที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกไว้
2. การส่งออกข้าวของสหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การส่งออกข้าวของสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการผลิตค่อนข้างคงที่ ปัจจุบันสหรัฐฯ ส่งออกข้าวราวร้อยละ 40 ของข้าวที่สหรัฐฯ ผลิตได้ทั้งหมด ประเภทของข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก ข้าวขาว และข้าวแดงที่ผ่านการสีแล้ว โดยส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
- ข้าวเมล็ดยาว ตลาดส่งออกหลัก คือ สหภาพยุโรป (European Union: EU) ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าข้าวแดงเมล็ดยาวที่นึ่งแล้ว ตลาดสำคัญรองลงมา ได้แก่ แคนาดา ประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน เม็กซิโก
(เป็นตลาดส่งออกข้าวเปลือกที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ) รวมทั้งประเทศในแถบลาตินอเมริกาและอเมริกากลางอีกด้วย
- ข้าวเมล็ดกลาง ตลาดส่งออกหลัก คือ ญี่ปุ่น ซึ่งนิยมนำเข้าข้าวขาวและข้าวแดงเมล็ดกลางที่ผ่านการขัดสีแล้ว รองลงมา คือ ตุรกี ซึ่งปัจจุบันนิยมนำเข้าข้าวเปลือกเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แทนการนำเข้าข้าวเมล็ดกลางที่ผ่านการขัดสีแล้ว
- ข้าวเมล็ดสั้น ตลาดส่งออกหลัก คือ ญี่ปุ่นและแคนาดา
อย่างไรก็ตาม การที่ต้นทุนการผลิตข้าวของสหรัฐฯ สูงกว่าประเทศในแถบเอเชียและปริมาณผลผลิตที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัดทำให้สหรัฐฯ ไม่สามารถขยายการส่งออกข้าวได้มากนัก สหรัฐฯ จึงเป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวของไทยเพียงบางตลาดเท่านั้น เช่น ตลาด EU ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดลาตินอเมริกา (สหรัฐฯ มีความได้เปรียบด้านระยะทางในตลาดนี้) เป็นต้น
3. การนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การบริโภคข้าวของชาวสหรัฐฯ จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ลักษณะการนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ แบ่งเป็น
- ประเภทข้าวที่นำเข้า ข้าวที่สหรัฐฯ นำเข้าเกือบทั้งหมดเป็นข้าวเมล็ดยาว โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหอมชนิดต่างๆ ที่สหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตได้เอง
- แหล่งนำเข้า สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการนำเข้ารวม ชนิดของข้าวที่สหรัฐฯ นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด ได้แก่ ข้าวขาว 100% รองลงมา คือ ข้าวเหนียว และข้าวขาว 5-10% ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 เป็นการนำเข้าข้าวจากอินเดีย ปากีสถาน และประเทศอื่นๆ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 นี้ สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยเป็นมูลค่า 2,352.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐฯ จัดเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญอันดับ 3 ของไทย รองจากไนจีเรียและฮ่องกง
- กลุ่มผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียและชาวลาตินอเมริกา (Hispanic) ที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-