ในเดือนกรกฎาคม ภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอลง ขณะที่อุปสงค์ภายในและ การส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง แม้การนำเข้าจะขยายตัวในอัตราสูง ดุลการค้าและดุลบริการเกินดุลเพิ่มขึ้น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงที่สุดในรอบ 4 เดือน ดุลการชำระเงินจึงกลับมาเกินดุลเล็กน้อย ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุลลดลง สำหรับภาคการเงิน สภาพคล่องโดยรวมสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินจึงยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน(หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7) หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่งลดลงตามผลผลิตสุรา และ หมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งลดลงตามการส่งออกปูนซีเมนต์และภาวะก่อสร้างในประเทศที่ยังคงซบเซา สำหรับหมวดสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวตามการผลิต ผลิตภัณฑ์เหล็กเพื่อการส่งออกและตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน(หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.6)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยพิจารณาจากเครื่องชี้ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์(เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6) รถยนต์นั่ง(เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1) และ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค(เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9) การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ตามการใช้จ่ายในประเทศ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 2.5 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 2.8 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.3 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้รายได้จากฐานการบริโภคขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.9 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 12.2 สำหรับ รายได้จากฐานการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 17.2 รายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือรายจ่ายจากเงินกู้ SAL จำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด เป็นผู้บริหาร สำหรับรายจ่ายตามโครงการมาตรการเพิ่ม การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการมิยาซาวา) เดือนกรกฎาคมมีจำนวน 0.7 พันล้านบาท และสะสมจนถึงเดือนกรกฎาคมทั้งสิ้น 48.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.7 ของวงเงินทั้งหมด
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 7 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.1 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง ร้อยละ 1.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 22.7 และ 36.6 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 645 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเปลี่ยนจากขาดดุลในเดือนก่อนเป็นเกินดุล 8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับต่ำ ด้านอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ซึ่งปรับลดลงจากร้อยละ 3.50 ต่อปี ณ สิ้นเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) ส่วน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทางด้าน ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนเป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับเงินสกุลสำคัญและเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาค มาอยู่ ณ ระดับ 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเอกชนในประเทศมีการเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องกอปรกับมีแรงกดดันจากการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน(หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7) หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่งลดลงตามผลผลิตสุรา และ หมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งลดลงตามการส่งออกปูนซีเมนต์และภาวะก่อสร้างในประเทศที่ยังคงซบเซา สำหรับหมวดสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวตามการผลิต ผลิตภัณฑ์เหล็กเพื่อการส่งออกและตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน(หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.6)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยพิจารณาจากเครื่องชี้ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์(เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6) รถยนต์นั่ง(เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1) และ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค(เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9) การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ตามการใช้จ่ายในประเทศ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 2.5 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 2.8 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.3 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้รายได้จากฐานการบริโภคขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.9 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 12.2 สำหรับ รายได้จากฐานการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 17.2 รายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือรายจ่ายจากเงินกู้ SAL จำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด เป็นผู้บริหาร สำหรับรายจ่ายตามโครงการมาตรการเพิ่ม การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการมิยาซาวา) เดือนกรกฎาคมมีจำนวน 0.7 พันล้านบาท และสะสมจนถึงเดือนกรกฎาคมทั้งสิ้น 48.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.7 ของวงเงินทั้งหมด
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 7 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.1 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง ร้อยละ 1.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 22.7 และ 36.6 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 645 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเปลี่ยนจากขาดดุลในเดือนก่อนเป็นเกินดุล 8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับต่ำ ด้านอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี ซึ่งปรับลดลงจากร้อยละ 3.50 ต่อปี ณ สิ้นเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) ส่วน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทางด้าน ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนเป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับเงินสกุลสำคัญและเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาค มาอยู่ ณ ระดับ 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเอกชนในประเทศมีการเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องกอปรกับมีแรงกดดันจากการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-