เขตเสรีโคลอน (Colon Free Zone) เป็นเมืองท่าเสรีที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากฮ่องกง ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองปานามา ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างอเมริกากลางกับอเมริกาใต้ คลองปานามาเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก และช่วยย่นระยะทางคมนาคมระหว่างมหาสมุทรทั้งสองนี้ได้มาก คลองปานามาอยู่ภายใต้การดูแลและบริหารงานของสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่เริ่มแรกนานถึง 96 ปี จนกระทั่งสัญญาการเช่าหมดอายุลงเมื่อปี 2542 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 คลองปานามาและเขตเสรีโคลอนจึงได้กลับมาอยู่ภายใต้การดูแลและบริหารของรัฐบาลปานามา ซึ่งได้จัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะชัยภูมิของคลองปานามาประกอบกับความพร้อมทางด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้เขตเสรีโคลอนที่ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองปานามาเป็นชุมทางการคมนาคมและการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก บริเวณใกล้เคียงกับเขตเสรีโคลอน ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือ Manzanillo International Terminal (MIT) 1 ใน 5 ของท่าเรือที่ทันสมัยที่สุดในปานามา มีเรือสินค้าแล่นผ่านคลองปานามากว่า 13,000 ลำ จาก 84 ประเทศทั่วโลกในแต่ละปี และมีสาขาของธนาคารต่างชาติเปิดให้บริการอยู่ในเขตเสรีโคลอนราว 20 แห่ง ทำให้ธุรกิจการค้าส่งออก-นำเข้าในเขตเสรีโคลอนได้รับความสะดวกเป็นอันมาก
นักลงทุนที่ประกอบกิจการในเขตเสรีโคลอน ซึ่งทำการส่งออกต่อ (Re-Export) ไปยังประเทศอื่นไม่น้อยกว่า 60% ของปริมาณธุรกิจทั้งหมด จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหลายประการ อาทิ
- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าและส่งออก
- ได้รับการยกเว้นภาษีการค้า (Sale Tax) ภาษีการผลิต (Production Tax) ภาษีโรงเรือน (Residential Tax) และภาษีขนส่งสินค้า (Shipment Tax)
- ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในเขตเสรีโคลอน และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่โอนเข้ามาจากต่างประเทศ
นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจในเขตเสรีโคลอนยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทำให้ปัจจุบันมีกิจการกว่า 1,750 บริษัท เข้ามาเปิดดำเนินการในเขตเสรีโคลอน นอกจากนี้ นักธุรกิจจากประเทศต่าง ๆ ยังได้เข้ามาเช่าคลังสินค้า เพื่อกระจายสินค้าของตนไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
สำหรับปริมาณการค้าในเขตเสรีโคลอนในปี 1997 มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากฮ่องกงมากที่สุด รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และไต้หวัน ตามลำดับ ทางด้านการส่งออกต่อไปยังประเทศต่าง ๆ มีมูลค่ากว่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออกต่อไปยังโคลัมเบียมากที่สุด รองลงมา คือ เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญเพื่อส่งออกต่อ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา ผ้าผืน เครื่องจักร และอัญมณีที่มีตัวเรือนเป็นทองคำ เป็นต้น
ปัจจุบันการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนยังมีน้อยมาก เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าสูง ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าไทยที่สนใจตลาดในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน อาจพิจารณาเช่าคลังสินค้าในเขตเสรีโคลอนเป็นลู่ทางหนึ่งในการขยายตลาดส่งออกสินค้าไทยไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน--จบ--
-อน-
นักลงทุนที่ประกอบกิจการในเขตเสรีโคลอน ซึ่งทำการส่งออกต่อ (Re-Export) ไปยังประเทศอื่นไม่น้อยกว่า 60% ของปริมาณธุรกิจทั้งหมด จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหลายประการ อาทิ
- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าและส่งออก
- ได้รับการยกเว้นภาษีการค้า (Sale Tax) ภาษีการผลิต (Production Tax) ภาษีโรงเรือน (Residential Tax) และภาษีขนส่งสินค้า (Shipment Tax)
- ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในเขตเสรีโคลอน และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่โอนเข้ามาจากต่างประเทศ
นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจในเขตเสรีโคลอนยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทำให้ปัจจุบันมีกิจการกว่า 1,750 บริษัท เข้ามาเปิดดำเนินการในเขตเสรีโคลอน นอกจากนี้ นักธุรกิจจากประเทศต่าง ๆ ยังได้เข้ามาเช่าคลังสินค้า เพื่อกระจายสินค้าของตนไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
สำหรับปริมาณการค้าในเขตเสรีโคลอนในปี 1997 มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากฮ่องกงมากที่สุด รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และไต้หวัน ตามลำดับ ทางด้านการส่งออกต่อไปยังประเทศต่าง ๆ มีมูลค่ากว่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออกต่อไปยังโคลัมเบียมากที่สุด รองลงมา คือ เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญเพื่อส่งออกต่อ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา ผ้าผืน เครื่องจักร และอัญมณีที่มีตัวเรือนเป็นทองคำ เป็นต้น
ปัจจุบันการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนยังมีน้อยมาก เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าสูง ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าไทยที่สนใจตลาดในภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน อาจพิจารณาเช่าคลังสินค้าในเขตเสรีโคลอนเป็นลู่ทางหนึ่งในการขยายตลาดส่งออกสินค้าไทยไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน--จบ--
-อน-