กรุงเทพฯ--16 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 พฤษภาคม 2544) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกได้แถลงผลการเชิญนายเมียว มินต์ (Myo Myint) เอกอัครราชทูตพม่ามาพบที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกได้มอบเอกสารให้เอกอัครราชทูตพม่า 2 ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นหนังสือปฏิเสธกรณีเครื่องบิน F16 ของกองทัพอากาศไทยที่พม่ากล่าวหาว่าได้บินล่วงละเมิดเข้าไปในน่านฟ้าพม่า และฉบับที่สองเป็นบันทึกช่วยจำประท้วงพม่า 2 ประเด็น ได้แก่
1. การละเมิดอธิปไตยของไทยซึ่งเกิดขึ้นใน 2 กรณีคือ
1.1 ไทยได้ประท้วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ บ้านหมื่นฤาไชย อ.พบพระ จ. ตาก โดยไทยได้ระบุในบันทึกฉบับนี้ว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 (ค.ศ. 2001) หน่วยกำลัง ภายใต้อาณัติที่ได้รับการจัดตั้งโดยกองทัพพม่าซึ่งรู้จักกันในนาม DKPA จำนวนประมาณ 30 คน ได้เข้าโจมตีฐานตรวจการของไทยภายใต้พื้นที่บ้านหมื่นฤาไชย ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียกับทางฝ่ายไทยเป็นอย่างมาก ทำให้พลเรือนของไทยเสียชีวิต 5 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหาร 2 คน และมีผู้บาดเจ็บ 4 คน
1.2 ไทยได้ประท้วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นมา ณ เนินหัวโล้น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยมีกองกำลัง 2 หน่วยซึ่งจัดตั้งภายใต้อาณัติของกองทัพพม่าเข้ายึดและตั้งฐานที่เนินหัวโล้น ซึ่งเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าอยู่ในเขตแดนของไทย การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย โดยทางฝ่ายไทย ได้พยายามจนถึงที่สุดที่จะไม่ใช้กำลังทางทหาร และในวันที่ 5 พฤษภาคม 2544 ไทยได้ติดต่อประสานงานไปยังผู้บังคับหน่วยท้องถิ่นของพม่า โดยไทยได้ขอให้ทางพม่าถอนกำลังออกไปภายในเวลา 14.00 น. ในวันเดียวกัน แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนกำหนดเป็นเวลา 18.00 น. ตามคำขอของ ผู้บังคับหน่วยในท้องถิ่นของพม่า แต่เมื่อผ่านกำหนดเวลา 18.00 น. ก็ยังไม่มีการถอนกำลังเกิดขึ้น จนกระทั่งวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เวลา 08.00 น. ฝ่ายไทยจึงได้ยื่นประท้วงอย่างเป็นทางการโดยผ่านทาง TBC (Township Border Committee) ที่ อ. แม่สาย โดยไทยได้ขอให้พม่าถอนกำลังออกภายในเวลา 12.00 น. และต่อมาพม่าได้แจ้งว่า พม่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มนี้ และไทยสามารถขับไล่กองกำลังดังกล่าวได้ตราบใดที่ไม่มีกระสุนตกในดินแดนพม่า ดังนั้นไทยจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการใช้สิทธิในการใช้กำลังทางทหารยึดบริเวณเนินหัวโล้นของไทยกลับคืนมา
2. ไทยประท้วงพม่าที่ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อกองกำลังที่ละเมิดอธิปไตยของไทยดังกล่าวข้างต้น
ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหาย นายกฤษณ์ฯ ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีการคำนวณมูลค่าความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณเนินหัวโล้น และในบันทึกการประท้วงยังไม่ได้มีการกล่าวถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น นายกฤษณ์ฯ ได้กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ตนได้ยื่นบันทึกการประท้วงแล้วได้แจ้งเอกอัครราชทูตพม่าว่า ไทยต้องการแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่มีร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณพรมแดนไทย-พม่า โดยให้ใช้กลไก ท้องถิ่นให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาระดับชาติ และนายเมียว มินต์ก็เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวและยืนยันในความตั้งใจของพม่าที่จะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายกฤษณ์ฯ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ได้สอบถามถึงการยื่นบันทึกการประท้วงแล้ว ไม่เกิดผลจะทำเช่นไรว่า เรื่องนี้เป็นการดำเนินการทางการทูต ไทยได้ชี้แจงท่าทีของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ชัด โดยหวังว่าจะได้มีการหารือกันตามกลไกที่ได้ตกลงกันไว้ แล้วสามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก แต่ที่สำคัญจะต้องมีการหารือกัน และพิจารณาข้อกังวลของแต่ละฝ่ายให้เข้าใจกันอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้ การที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการ
จากข้อซักถามในประเด็นต่อไปที่ว่า เหตุใดกระทรวงการต่างประเทศจึงเพิ่งยื่น บันทึกการประท้วง นายกฤษณ์ฯ ได้ตอบว่าสำหรับเรื่องนี้เป็นมุมมองในเชิงการทูตที่จะต้องดำเนินการในลักษณะที่มีความมั่นใจในข้อมูล และมีความมั่นใจในข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่ เป็นเพียงการรายงานข่าวสู่สาธารณชน
นายกฤษณ์ฯ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการหาวันเวลาที่สะดวกที่สุดของทั้งไทยและพม่า เพื่อจัดการประชุม JBC ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาพรมแดน ไทย | พม่า แต่โดยความเห็นส่วนตัวของนายกฤษณ์ฯ เห็นว่า การเยือนพม่าของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เพื่อต้องการให้เกิดความประสงค์ร่วมกันที่จะ ให้ JBC และกลไกอื่นๆ ในระดับที่สูงกว่าคือ คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) พบกันหลังจากที่ว่างเว้นการประชุมมานาน ดร.สุรเกียรติ์ฯ มีความประสงค์ที่จะขอให้รัฐบาลแต่งตั้ง ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-พม่า โดยพม่าก็รับทราบแล้ว
นายกฤษณ์ฯ ได้กล่าวถึงการปักปันเขตแดนไทย-พม่า ซึ่งมีระยะทาง 2,400 กิโลเมตร ว่า ตามลักษณะภูมิประเทศบริเวณพรมแดนไทย-พม่าซึ่งมีลักษณะไม่เป็นเส้นตรง เขตแดนไม่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดปัญหาการล้ำเขตแดน ในส่วนที่เกี่ยวกับบริเวณดอยลางและดอยแม่ฮะ ก็มีเขตแดนที่ไม่เป็นเส้นตรง ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ ปัจจุบันได้ทำการปักปันหลักเขตไปแล้วเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร โดยฝ่ายไทยก็ยังคงมีการทำนุบำรุงรักษามาโดยตลอด (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (15 พฤษภาคม 2544) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกได้แถลงผลการเชิญนายเมียว มินต์ (Myo Myint) เอกอัครราชทูตพม่ามาพบที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกได้มอบเอกสารให้เอกอัครราชทูตพม่า 2 ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นหนังสือปฏิเสธกรณีเครื่องบิน F16 ของกองทัพอากาศไทยที่พม่ากล่าวหาว่าได้บินล่วงละเมิดเข้าไปในน่านฟ้าพม่า และฉบับที่สองเป็นบันทึกช่วยจำประท้วงพม่า 2 ประเด็น ได้แก่
1. การละเมิดอธิปไตยของไทยซึ่งเกิดขึ้นใน 2 กรณีคือ
1.1 ไทยได้ประท้วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ บ้านหมื่นฤาไชย อ.พบพระ จ. ตาก โดยไทยได้ระบุในบันทึกฉบับนี้ว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 (ค.ศ. 2001) หน่วยกำลัง ภายใต้อาณัติที่ได้รับการจัดตั้งโดยกองทัพพม่าซึ่งรู้จักกันในนาม DKPA จำนวนประมาณ 30 คน ได้เข้าโจมตีฐานตรวจการของไทยภายใต้พื้นที่บ้านหมื่นฤาไชย ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียกับทางฝ่ายไทยเป็นอย่างมาก ทำให้พลเรือนของไทยเสียชีวิต 5 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหาร 2 คน และมีผู้บาดเจ็บ 4 คน
1.2 ไทยได้ประท้วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นมา ณ เนินหัวโล้น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยมีกองกำลัง 2 หน่วยซึ่งจัดตั้งภายใต้อาณัติของกองทัพพม่าเข้ายึดและตั้งฐานที่เนินหัวโล้น ซึ่งเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าอยู่ในเขตแดนของไทย การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย โดยทางฝ่ายไทย ได้พยายามจนถึงที่สุดที่จะไม่ใช้กำลังทางทหาร และในวันที่ 5 พฤษภาคม 2544 ไทยได้ติดต่อประสานงานไปยังผู้บังคับหน่วยท้องถิ่นของพม่า โดยไทยได้ขอให้ทางพม่าถอนกำลังออกไปภายในเวลา 14.00 น. ในวันเดียวกัน แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนกำหนดเป็นเวลา 18.00 น. ตามคำขอของ ผู้บังคับหน่วยในท้องถิ่นของพม่า แต่เมื่อผ่านกำหนดเวลา 18.00 น. ก็ยังไม่มีการถอนกำลังเกิดขึ้น จนกระทั่งวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เวลา 08.00 น. ฝ่ายไทยจึงได้ยื่นประท้วงอย่างเป็นทางการโดยผ่านทาง TBC (Township Border Committee) ที่ อ. แม่สาย โดยไทยได้ขอให้พม่าถอนกำลังออกภายในเวลา 12.00 น. และต่อมาพม่าได้แจ้งว่า พม่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มนี้ และไทยสามารถขับไล่กองกำลังดังกล่าวได้ตราบใดที่ไม่มีกระสุนตกในดินแดนพม่า ดังนั้นไทยจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการใช้สิทธิในการใช้กำลังทางทหารยึดบริเวณเนินหัวโล้นของไทยกลับคืนมา
2. ไทยประท้วงพม่าที่ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อกองกำลังที่ละเมิดอธิปไตยของไทยดังกล่าวข้างต้น
ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหาย นายกฤษณ์ฯ ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีการคำนวณมูลค่าความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณเนินหัวโล้น และในบันทึกการประท้วงยังไม่ได้มีการกล่าวถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น นายกฤษณ์ฯ ได้กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ตนได้ยื่นบันทึกการประท้วงแล้วได้แจ้งเอกอัครราชทูตพม่าว่า ไทยต้องการแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่มีร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณพรมแดนไทย-พม่า โดยให้ใช้กลไก ท้องถิ่นให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาระดับชาติ และนายเมียว มินต์ก็เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวและยืนยันในความตั้งใจของพม่าที่จะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายกฤษณ์ฯ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ได้สอบถามถึงการยื่นบันทึกการประท้วงแล้ว ไม่เกิดผลจะทำเช่นไรว่า เรื่องนี้เป็นการดำเนินการทางการทูต ไทยได้ชี้แจงท่าทีของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ชัด โดยหวังว่าจะได้มีการหารือกันตามกลไกที่ได้ตกลงกันไว้ แล้วสามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก แต่ที่สำคัญจะต้องมีการหารือกัน และพิจารณาข้อกังวลของแต่ละฝ่ายให้เข้าใจกันอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้ การที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการ
จากข้อซักถามในประเด็นต่อไปที่ว่า เหตุใดกระทรวงการต่างประเทศจึงเพิ่งยื่น บันทึกการประท้วง นายกฤษณ์ฯ ได้ตอบว่าสำหรับเรื่องนี้เป็นมุมมองในเชิงการทูตที่จะต้องดำเนินการในลักษณะที่มีความมั่นใจในข้อมูล และมีความมั่นใจในข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่ เป็นเพียงการรายงานข่าวสู่สาธารณชน
นายกฤษณ์ฯ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการหาวันเวลาที่สะดวกที่สุดของทั้งไทยและพม่า เพื่อจัดการประชุม JBC ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาพรมแดน ไทย | พม่า แต่โดยความเห็นส่วนตัวของนายกฤษณ์ฯ เห็นว่า การเยือนพม่าของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เพื่อต้องการให้เกิดความประสงค์ร่วมกันที่จะ ให้ JBC และกลไกอื่นๆ ในระดับที่สูงกว่าคือ คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) พบกันหลังจากที่ว่างเว้นการประชุมมานาน ดร.สุรเกียรติ์ฯ มีความประสงค์ที่จะขอให้รัฐบาลแต่งตั้ง ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-พม่า โดยพม่าก็รับทราบแล้ว
นายกฤษณ์ฯ ได้กล่าวถึงการปักปันเขตแดนไทย-พม่า ซึ่งมีระยะทาง 2,400 กิโลเมตร ว่า ตามลักษณะภูมิประเทศบริเวณพรมแดนไทย-พม่าซึ่งมีลักษณะไม่เป็นเส้นตรง เขตแดนไม่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดปัญหาการล้ำเขตแดน ในส่วนที่เกี่ยวกับบริเวณดอยลางและดอยแม่ฮะ ก็มีเขตแดนที่ไม่เป็นเส้นตรง ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ ปัจจุบันได้ทำการปักปันหลักเขตไปแล้วเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร โดยฝ่ายไทยก็ยังคงมีการทำนุบำรุงรักษามาโดยตลอด (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-