เกาหลีใต้เป็นประเทศในกลุ่มเอเชีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ปัจจุบันมีประชากรกว่า 47 ล้านคน นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ มีภาษาเกาหลีเป็นภาษาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรม
เกาหลีใต้กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมากโดยเฉพาะนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของรฐบาลเกาหลีที่มีมาตรการดำเนินงานอย่างเฉียบขาด ทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบเดียวกันในปี 2540 ซึ่งเห็นได้จากการจัดอันดับความเสี่ยงของสถาบัน Fitch's IBCA (สหรัฐอเมริกา)และ Standard & Poor's ซึ่งปัจจุบันเกาหลีใต้อยู่ในระดับ "positive"
ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีการผ่อนปรนมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจภายในประเทศให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้นและเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน มีการปฏิรูประบบธนาคารโดยการแยกหนี้ดีหนี้เสียออกจากกัน รวมทั้งซื้อหนี้เสียจากธนาคารพาณิชย์มาบริหารเอง นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการค้าเสรีเพื่อกระตุ้นการค้าและการลงทุนของชาวต่างชาติ รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแก้ไขกฎหมาย 4,465 ฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินในปัจจุบันอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจะไม่ประสบผลสำเร็จหากภาคเอกชนไม่ปรับตัวร่วมกับภาครัฐบาล ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกในเกาหลีใต้ต่างหาทางเพิ่มปริมาณการส่งออก โดยอาศัยโอกาสของค่าเงินวอนที่ลดต่ำลง กอปรกับความช่วยเหลือของภาครัฐบาลไม่ว่าจะเป็นเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง หรือการเข้ามาช่วยปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจขนาดใหญ่ (Cheabols) สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกาหลีใต้สามารถคลี่คลายปัญหาทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้นำประเทศของเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือได้มีการประชุมกันระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2543 ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพอันถาวรของคาบสมุทรเกาหลี นอกจากนี้ยังมีการตกลงร่วมมือกันทางด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และกีฬา เป็นต้น
สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น เกาหลีใต้จัดเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ในปี 2542 ไทยได้ส่งสินค้าไปยังเกาหลีใต้เป็นมูลค่าถึง 34,496,800,000 บาท เพิ่ม่ขึ้นจากปี 2541 ถึงร้อยละ 34 โดยมากเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ไดโอดทรานซิสเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
นโยบายส่งเสริมการค้าเสรีของรัฐบาลเกาหลีใต้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ส่งออกไทย ไม่ว่าจะเป็นการคิดอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าเดิมสำหรับสินค้าเกือบทุกชนิด (ยกเว้นสินค้าประเภทข้าวและเนื้อวัว) เช่น สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจการลงทุน 1,148 ประเภทเพื่อให้นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเข้าไปตั้งบริษัทเองได้ รวมทั้งสามารถดำเนินการควบกิจการ หรือเข้าถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทเกาหลีที่ต้องอยุ่แล้วได้ โดยที่นกลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดโดย KOREAN INVESTMENT SERVICE CENTER OF THE INVESTMENT และนโยบายการเปิดการค้าเสรีในธุรกิจประเภทการบริการ เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจรับประกันซึ่งถือเป็นภาคการบริการที่ถูกจำกัดอย่างมากในอดีต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 เกาหลีใต้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินวอนที่แข็งขึ้น ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพื่อรักษาระดับเกินดุลทางการค้า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงบางประการที่น่าจับตามอง เช่น ปัญหาการประท้วงของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและปัญหามาตรการควบคุมการนำเข้าเนื้อสัตว์และวัตถุดิบ รวมถึงอาหารสัตว์ที่จะส่งผลต่อผู้ส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทย นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องมาจากเงินเฟ้ออาจส่งผลให้การชำระค่าสินค้าของบริษัทต่างๆ ในเกาหลีใต้ต้องใช้เวลายาวนานขึ้นจากระยะเวลาที่เคยชำระตามปกติ (60-90 วัน)
เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับชำระเงินตรงตามกำหนด ผู้ส่งออกควรใช้วิธีการชำระเงินแบ L/C ซึ่งยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่รัดกุมที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้ากับคู่ค้าใหม่ ส่วนวิธีการชำระเงินแบบ D/P, D/A หรือ Open Account (T/T after shipment) ก็สามารถจะกระทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ซื้อประกอบด้วย
โดยสรุปแล้ว ตลาดเกาหลีใต้เป็นตลาดที่น่าสนใจเพราะผู้ส่งออกและนักลงทุนของไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากนโยบายเปิดเสรีทางการค้าของรัฐบาลเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกท่านใดต้องการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำการค้ากับประเทศเกาหลีใต้ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2543--
-อน-
เกาหลีใต้กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมากโดยเฉพาะนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของรฐบาลเกาหลีที่มีมาตรการดำเนินงานอย่างเฉียบขาด ทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบเดียวกันในปี 2540 ซึ่งเห็นได้จากการจัดอันดับความเสี่ยงของสถาบัน Fitch's IBCA (สหรัฐอเมริกา)และ Standard & Poor's ซึ่งปัจจุบันเกาหลีใต้อยู่ในระดับ "positive"
ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีการผ่อนปรนมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจภายในประเทศให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้นและเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน มีการปฏิรูประบบธนาคารโดยการแยกหนี้ดีหนี้เสียออกจากกัน รวมทั้งซื้อหนี้เสียจากธนาคารพาณิชย์มาบริหารเอง นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการค้าเสรีเพื่อกระตุ้นการค้าและการลงทุนของชาวต่างชาติ รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแก้ไขกฎหมาย 4,465 ฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินในปัจจุบันอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจะไม่ประสบผลสำเร็จหากภาคเอกชนไม่ปรับตัวร่วมกับภาครัฐบาล ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกในเกาหลีใต้ต่างหาทางเพิ่มปริมาณการส่งออก โดยอาศัยโอกาสของค่าเงินวอนที่ลดต่ำลง กอปรกับความช่วยเหลือของภาครัฐบาลไม่ว่าจะเป็นเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง หรือการเข้ามาช่วยปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจขนาดใหญ่ (Cheabols) สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกาหลีใต้สามารถคลี่คลายปัญหาทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้นำประเทศของเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือได้มีการประชุมกันระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2543 ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพอันถาวรของคาบสมุทรเกาหลี นอกจากนี้ยังมีการตกลงร่วมมือกันทางด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และกีฬา เป็นต้น
สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น เกาหลีใต้จัดเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ในปี 2542 ไทยได้ส่งสินค้าไปยังเกาหลีใต้เป็นมูลค่าถึง 34,496,800,000 บาท เพิ่ม่ขึ้นจากปี 2541 ถึงร้อยละ 34 โดยมากเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ไดโอดทรานซิสเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
นโยบายส่งเสริมการค้าเสรีของรัฐบาลเกาหลีใต้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ส่งออกไทย ไม่ว่าจะเป็นการคิดอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าเดิมสำหรับสินค้าเกือบทุกชนิด (ยกเว้นสินค้าประเภทข้าวและเนื้อวัว) เช่น สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจการลงทุน 1,148 ประเภทเพื่อให้นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเข้าไปตั้งบริษัทเองได้ รวมทั้งสามารถดำเนินการควบกิจการ หรือเข้าถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทเกาหลีที่ต้องอยุ่แล้วได้ โดยที่นกลงทุนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดโดย KOREAN INVESTMENT SERVICE CENTER OF THE INVESTMENT และนโยบายการเปิดการค้าเสรีในธุรกิจประเภทการบริการ เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจรับประกันซึ่งถือเป็นภาคการบริการที่ถูกจำกัดอย่างมากในอดีต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 เกาหลีใต้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินวอนที่แข็งขึ้น ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพื่อรักษาระดับเกินดุลทางการค้า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงบางประการที่น่าจับตามอง เช่น ปัญหาการประท้วงของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและปัญหามาตรการควบคุมการนำเข้าเนื้อสัตว์และวัตถุดิบ รวมถึงอาหารสัตว์ที่จะส่งผลต่อผู้ส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทย นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องมาจากเงินเฟ้ออาจส่งผลให้การชำระค่าสินค้าของบริษัทต่างๆ ในเกาหลีใต้ต้องใช้เวลายาวนานขึ้นจากระยะเวลาที่เคยชำระตามปกติ (60-90 วัน)
เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับชำระเงินตรงตามกำหนด ผู้ส่งออกควรใช้วิธีการชำระเงินแบ L/C ซึ่งยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่รัดกุมที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้ากับคู่ค้าใหม่ ส่วนวิธีการชำระเงินแบบ D/P, D/A หรือ Open Account (T/T after shipment) ก็สามารถจะกระทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ซื้อประกอบด้วย
โดยสรุปแล้ว ตลาดเกาหลีใต้เป็นตลาดที่น่าสนใจเพราะผู้ส่งออกและนักลงทุนของไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากนโยบายเปิดเสรีทางการค้าของรัฐบาลเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกท่านใดต้องการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำการค้ากับประเทศเกาหลีใต้ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2543--
-อน-