ในปี 2543 ภาวะเศรษฐกิจการเงินโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2542 แม้ว่าในช่วงต้นปีการขยายตัวจะยังไม่เด่นชัดนัก เนื่องจากมีปัญหาความไม่มั่นใจเรื่อง Y2K และผลกระทบจากระบบคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเลื่อนการเดินทางออกไปเพราะไม่มั่นใจในการใช้บริการของสายการบิน การใช้บริการของระบบสื่อสาร รวมตลอดถึงระบบการเบิกจ่ายและการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต แต่ต่อมาเศรษฐกิจได้ขยายตัวดีขึ้นเป็นลำดับ ด้วยแรงหนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้าทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ราคายางพาราที่ดีขึ้น การขยายการผลิตของภาคอุตสาหกรรม การลงทุนและการค้า แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายนได้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด เช่น สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์-ธานี เป็นต้น โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ประสบภัยเสียหายมาก ทั้งภาคการผลิต การค้า การท่องเที่ยว และภาคการเงินการธนาคาร ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าที่คาดไว้
1. ภาคเกษตร
ในช่วงต้นของไตรมาสแรกต่อเนื่องถึงกลางปีมีผลไม้ออกสู่ตลาด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด และลองกอง ซึ่งเป็นการออกผลผิดฤดู ทำให้ราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนพืชผล อื่น ๆ ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตามฤดูกาล ทั้งข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ เพียงแต่ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงจากปีก่อน และคุณภาพผลผลิตกาแฟลดลง ทางด้านราคาผลผลิตการเกษตรส่วนใหญ่ราคาลดลงจากปีก่อน ยกเว้นราคายางพาราซึ่งราคาขยับเพิ่มขึ้น เพราะได้รับผลดีจากการที่ผู้ส่งออกสามารถทำสัญญาจำหน่ายยางพาราได้ในราคาที่สูงกว่าเมื่อปีก่อน
ทั้งนี้ โดยมีความเคลื่อนไหวของผลผลิตแต่ละประเภท ดังนี้
1.1 ยางพารา : การผลิตยังมีออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตามฤดูกาล ขณะที่ราคายางพาราขยับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะได้รับผลดีจากการที่ผู้ส่งออกสามารถทำสัญญาจำหน่ายยางพาราได้ในราคาที่สูงกว่าเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากทั้งอุปสงค์และสถานการณ์น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยผันแปรต่อราคายางธรรมชาติในตลาดโลก นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจากการที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้หารือร่วมกันที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อพยุงราคายางพารา สำหรับรับซื้อยางพาราจากองค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (INRO) ที่กำหนดระบายสต็อก จำนวน 138,296 เมตริกตัน ให้หมดภายใน 18 เดือน (สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2544) นั้น ส่งผลให้ราคายางที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ำกว่าเมื่อปีก่อน สำหรับราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.76 บาทเมื่อปีก่อนร้อยละ 18.3
1.2 ปาล์มน้ำมัน : ผลผลิตปาล์มในปีนี้มีจำนวนไม่มากกว่าปีก่อน เนื่องจากเมื่อ ปี 2542 นั้น ต้นปาล์มเลื่อนฤดูกาลผลิตและให้ผลผลิตมากกว่าปกติ ส่วนทางด้านความเคลื่อนไหวของราคาผลปาล์มนั้น แม้ว่าได้มีการแทรกแซงราคาจากทางการ และทางการได้ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงราคาผลปาล์มน้ำมันภายในประเทศโดยองค์การคลังสินค้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542 ถึงมกราคม 2543 ไปสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2543 ก็ตาม แต่ราคาผลปาล์มยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำ เนื่องจากปริมาณสินค้าในสต็อกยังมีเหลืออีกมาก สำหรับราคาผลปาล์มทั้งทะลายในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.93 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 2.47 บาท เมื่อปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.9
1.3 กาแฟ : มีรายงานจากสำนักรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร กรมการค้า ภายในว่า ในฤดูการผลิตปี 2542/43 มีผลผลิตรวมทั้งประเทศ 80,293 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 54,871 เมตริกตัน เมื่อฤดูการผลิตปี 2541/42 ร้อยละ 46.3 และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้มีคุณภาพด้อยกว่าเมื่อปีก่อน
1.4 ข้าว : การผลิตข้าวนาปีในฤดูการผลิตปี 2542/43 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมี ผลผลิตไม่มากนัก ขณะที่ในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เช่น จังหวัดพัทลุงนั้น สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ขณะเดียวกันเนื่องจากผลผลิตข้าวเปลือกมีความชื้นสูง อีกทั้งปัญหาราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต้นทุนของโรงสี จึงส่งผลให้โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่ไม่สูงนัก
1.5 ประมงทะล : ตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องถึงในปีนี้ การทำประมงทะเลได้ประสบกับข้อจำกัดในการผลิตหลายประการ อาทิ การทำประมงร่วมกับประเทศเมียนมาร์มีอุปสรรคจากการที่เมียนมาร์ยกเลิกสัมปทานการทำประมงในเขตน่านน้ำเมียนมาร์ และปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันเหไปทำการประมงในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงเขตน่านน้ำอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทั้ง ๆ ที่ยังมีภาวะความเสี่ยงภัยสูง ก็ตาม
1.6 กุ้งกุลาดำ : ในการผลิตกุ้งกุลาดำนั้นเกษตรกรยังคงประสบปัญหาโรคระบาด ดังนั้น เกษตรกรจึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการจับกุ้งขนาดเล็กลงกว่าเดิมจำหน่าย ทำให้ในช่วงกลางปีราคากุ้งเคลื่อนไหวในเกณฑ์สูง เพราะตลาดยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
1.7 ปศุสัตว์ : ผลิตภัณฑ์จากภาคปศุสัตว์เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลผลิตทั้งจากภายในภาคใต้และจากการระบายผลผลิตมาจากภาคกลาง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์จากภาค ปศุสัตว์อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก
2. ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตและการค้าของภาคอุตสาหกรรมยังดำเนินไปได้ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง
2.1 เหมืองแร่
2.1.1 แร่ดีบุก : การผลิตสินแร่ดีบุกของภาคใต้ยังคงลดลง เนื่องจากราคา สินแร่ดีบุกยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่จูงใจในการขยายการลงทุนทำเหมืองแร่ดีบุก เพราะต้นทุนการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนสูง ประกอบกับขณะนี้มีกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติต่อต้านคัดค้านเพื่อสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้สำหรับการท่องเที่ยว ดังนั้นธุรกิจที่ยังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันจึงมีเพียงธุรกิจซึ่งเคยทำเหมืองแร่มาตั้งแต่ดั้งเดิม สำหรับผลผลิตสินแร่ดีบุกซึ่งผลิตได้ในปีนี้มีทั้งสิ้น 2,379.7 เมตริกตัน ลดลงจากจำนวน 3,349.7 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 29.0
ส่วนทางด้านการผลิตโลหะดีบุกนั้นยังคงสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยโรงงานถลุงแร่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการนำเข้าวัตถุดิบสินแร่จากต่างประเทศเข้ามา ทดแทนเพื่อนำมาถลุงเป็นโลหะดีบุกแล้วส่งจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในปีนี้โรงงานถลุงแร่สามารถผลิตโลหะดีบุกได้ทั้งสิ้น 16,961.2 เมตริกตัน ลดลงจากจำนวน 17,331.3 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 2.1 ในจำนวนดังกล่าวสามารถส่งออกได้ทั้งสิ้น 13,490.4 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,856.1 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 12,262.6 เมตริกตันและมูลค่า 2,489.1 ล้านบาท เมื่อปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และร้อยละ 15.1 ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของราคานั้น ราคาสินแร่ดีบุกกิโลกรัมละ 151.04 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และราคาส่งออกโลหะดีบุกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.10 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ตามลำดับ
2.1.2 แร่ยิปซัม : ในปีนี้มีผลผลิตแร่ยิปซัม 4,130,628.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3,418,365.0 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 20.8 ทั้งนี้ การผลิตและการจำหน่ายยังผูกพันโดยตรงกับตลาดญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ระดับราคายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก หากเป็นไปได้รัฐบาลควรจะมีการจำกัดการส่งออก เพื่อสงวนทรัพยากรของชาติไว้
2.2 อุตสาหกรรมยางพารา
ในปี 2543 นั้น ธุรกรรมการผลิต การค้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมยางพารา แจ่มใสทุกประเภท ทั้งยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ไม้ยางพาราแปรรูป น้ำยางข้น และถุง มือยาง ทั้งนี้ เพราะในช่วงต้นปีลูกค้าในตลาดต่างประเทศหลายแห่งซึ่งเคยทำธุรกิจกับผู้ส่งออกของอินโดนีเซียได้เปลี่ยนมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยทดแทน เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ภายในประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังสามารถทำสัญญาจำหน่ายสินค้าในราคาที่สูงกว่าปีก่อนอีกด้วย จึงช่วยดึงให้มูลค่าส่งออกสินค้ายางแผ่นรมควันและยางแท่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ทางตลาดมาเลเซียได้เพิ่มความต้องการน้ำยางข้นและถุงมือยางมากขึ้น เนื่องจากทาง มาเลเซียได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยหันเหไปปลูกปาล์มทดแทนยางพารา จึงทำให้ขาดวัตถุดิบ ส่วนทางด้านไม้ยางพาราแปรรูปนั้นการผลิตและการค้ายังขยายตัวมาก เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และมีการขยายตลาดจากญี่ปุ่นไปยังสหรัฐอเมริกา อิตาลีด้วย พร้อมมีการปรับปรุงคุณภาพและ รูปแบบผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด
2.3 อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในปีนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ราคาสินค้า น้ำมันปาล์มดิบอ่อนตัวลงจากปีก่อนมากทั้ง ๆ ที่มีผลผลิตน้อย ทั้งนี้ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามา เกี่ยวข้องหลายประการ คือ
1. ปริมาณ Stock ของโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มภายในประเทศยังมีเหลืออีกมาก จากการที่เมื่อปี 2542 ต้นปาล์มให้ผลผลิตมากกว่าปกติ
2. มีการขนย้ายสินค้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพราะทาง มาเลเซียมี Stock เหลือมากเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศซึ่งมาเลเซียเคยส่งออกถูกทางผู้ประกอบการของอินโดนีเซียแข่งขันตัดราคาจำหน่าย จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในมาเลเซีย ลดลง และจูงใจให้มีการขนย้ายสินค้าเข้ามาจำหน่ายตามแนวบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
3. มีสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองเข้ามาแข่งขันในตลาดน้ำมันพืช เพราะในช่วงที่ผ่านมาราคาถั่วเหลืองตกต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและสามารถแข่งขันกับสินค้าน้ำมันพืชซึ่งผลิตจากปาล์มได้มาก
สำหรับราคาน้ำมันปาล์มดิบในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.04 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.58 บาท เมื่อปีก่อนร้อยละ 33.4
2.4 อุตสาหกรรมอาหารทะเล
2.4.1 อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง : ในปีนี้แม้ว่าโรงงานประสบปัญหาขาดวัตถุดิบที่มีคุณภาพ (ชนิด ขนาด และความสด) ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศเมียนมาร์ประสบปัญหาจากการที่ทางการเมียนมาร์งดให้สัมปทาน แต่ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหาโดยหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่น เช่น จากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม ทดแทน นอกจากนี้ยังใช้วัตถุดิบกุ้งกุลาดำในประเทศทดแทน ทั้งนี้ เพราะตลาดต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในปีนี้จำนวนทั้งสิ้น 258,954.7 เมตริกตัน มูลค่า 20,815.9 ล้านบาท เทียบกับปริมาณ 254,321.4 เมตริกตัน และมูลค่า 19,180.4 ล้านบาท เมื่อปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ
2.4.2 อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง : ในปีนี้ธุรกรรมการผลิตและการค้าลดลงอย่างเป็นที่น่าสังเกต ทั้งนี้ ความต้องการของตลาด (Demand) ลดลง ทั้ง ๆ ที่ราคาสินค้าลดลงเช่นเดียวกัน ทางด้านการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในปีนี้มีทั้งสิ้น 122,676.5 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 9,269.8 ล้านบาท เทียบกับปริมาณ 132,178.8 เมตริกตัน และมูลค่า 10,131.3 ล้านบาท เมื่อปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.2 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ
จากการประมวลปัญหา ข้อจำกัดของธุรกิจอาหารทะเลกระป๋องนั้น ประกอบด้วย
1. มีประเด็นข้อกีดกันทางการค้า โดยอ้างว่าสินค้าอาหารทะเลกระป๋องมีสาร ปนเปื้อนจากน้ำมันถั่วเหลือง GMO
2. สันนิษฐานว่า ได้มีแหล่งผลิตใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาด เช่น การขยายกำลังการผลิตของคู่แข่งขัน หรือมีการสร้างโรงงานใหม่ ดังนั้น แม้ว่าราคาสินค้าลดต่ำลงยังทำให้ปริมาณ ธุรกรรมลดลงด้วย ทั้ง ๆ ที่อาหารกระป๋องเป็นสินค้าที่จำเป็น เป็นสินค้าบริโภคซึ่งใช้แล้วหมดไป และตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
3. มีกระแสข่าวว่า ผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องในกลุ่ม EU ได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลทำให้มีต้นทุนต่ำลงและสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น (ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของไทยลดลง)
3. ภาคการลงทุน
บรรยากาศการลงทุนของเอกชนในปีนี้ดีขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา โดยเป็นการขยายตัว เพื่อรองรับธุรกรรมการส่งออกธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตน้ำมันปาล์ม และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จาก
3.1 กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีนี้มีจำนวน 97 ราย เงินลงทุน 12,473.5 ล้านบาท สามารถจ้างงานได้ 21,958 คน ขณะที่ปีก่อนมีกิจการได้รับอนุมัติ 66 ราย เงิน ลงทุน 7,926.3 ล้านบาท และสามารถจ้างงานได้ 14,357 คน โครงการที่ได้รับการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในจังหวัดสงขลาและการผลิตน้ำมันปาล์มในจังหวัด สุราษฎร์ธานี
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในปีนี้มีจำนวน 2,577 ราย เงินลงทุน 6,863.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น 327 ราย และ 2,202.7 ล้านบาท เนื่องจากมีการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์และการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์
3.3 พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในปีนี้รวมทั้งสิ้น 885,788 ตารางเมตร เทียบกับจำนวน 769,900 ตารางเมตร ปีก่อนเพิ่มขึ้น 115,888 ตารางเมตร หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.1
4. ภาคการท่องเที่ยว
บรรยากาศการท่องเที่ยวของภาคใต้เริ่มแจ่มใสขึ้นตั้งแต่ประมาณปลายไตรมาสแรกเป็นต้นมา หลังจากได้ผ่านพ้นช่วงที่นักท่องเที่ยวคลายกังวลในปัญหา Y2K และธุรกิจการท่องเที่ยวได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเพิ่มเที่ยวบินและขยายเส้นทางการบินของสายการบินจากต่างประเทศ ตลอดจนการจัดประชุมนานาชาติต่าง ๆ เทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น ตรุษจีน สงกรานต์ รวมถึงช่วงวันปิดภาคเรียนของมาเลเซียและสิงคโปร์ และวันหยุดของ มาเลเซีย อาทิ วันแรงงานและวันชาติมาเลเซีย ได้จูงใจให้นักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเข้ามามากขึ้น ดังเห็นได้จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภาคใต้ในปีนี้ มีจำนวน 2,071,717 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1,898,678 คน เมื่อปีก่อนร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ เป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 869,689 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สิงคโปร์ 198,058 คน ลดลงร้อยละ 2.9 และชาติอื่น ๆ 1,003,970 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5
5. ภาคการค้า
5.1 การค้าในท้องถิ่น : ปริมาณการจำหน่ายยานพาหนะยังคงเพิ่มขึ้นทุกประเภท ดังเห็นได้จากสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปีนี้ จำแนกเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 6,935 คัน เพิ่มขึ้น 1,981 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 16,408 คัน เพิ่มขึ้น 2,580 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 125,352 คัน เพิ่มขึ้น 35,634 คัน ส่วนทางด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคยังคงขยายตัวช้า ๆ เนื่องจากประชาชนยังกังวลและไม่มั่นใจในการฟื้นตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ และปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
5.2 การค้าระหว่างประเทศ : จากผลของการขยายตัวของความต้องการในตลาดโลก รวมถึงการอ่อนค่าลงของค่าเงินบาท ได้ส่งผลให้ธุรกรรมการค้าส่งออกขยายตัวขึ้นจากปีก่อน ดังเห็นได้จากปริมาณสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในปีนี้มีมูลค่า 156,471.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42,726.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกยางแผ่นรมควันและอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าสินค้านำเข้าเท่ากับ 51,121.3 ล้านบาท ลดลง 6,755.7 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้เป็นการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ อันเป็นผลจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทุนได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์และสัตว์น้ำซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบอาหารกระป๋อง
5.3 ดัชนีราคา : อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้โดยเฉลี่ยในปีนี้เท่ากับร้อยละ 1.5 และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยค่าเงินบาท อ่อนค่า ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มของค่าสาธารณูปโภค ยานพาหนะ การขนส่ง ค่าตรวจรักษาและยารักษาโรค ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลง จากการลดลงของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ
6. ภาคการจ้างงาน
ในปีนี้ภาวะการจ้างงานของภาคใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวของการ ลงทุน ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากประกอบด้วย ธุรกิจค้ารถยนต์ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม สำหรับในปีนี้มีตำแหน่งงานว่าง 90,410 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 39,143 คน และสามารถบรรจุได้ 12,100 คน ขณะที่เมื่อปีก่อนมีตำแหน่งงานว่าง 57,727 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 40,053 คน และสามารถบรรจุได้ 14,657 คน ความต้องการแรงงานในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับล่าง ในภาคการเกษตร ประมง การค้า เป็นต้น
7. ภาคการคลัง
ทางด้านการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ ในปีนี้ มีจำนวน 80,261.7 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายในงบ รายจ่ายประจำ ตามโครงสร้างของงบประมาณปี 2543 อย่างไรก็ตามการลงทุนภาครัฐก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร อาคารสำนักงานของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นต้น
ส่วนทางด้านรายได้ ในปีนี้มีจำนวน 12,197.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.5 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลได้ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2543 โดยหากพิจารณาตามประเภทของภาษี พบว่าภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 10,196.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 940.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 54.7 สาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเปิดเสรีเหล้า ผู้ประกอบการจึงเร่งผลิตเหล้าขาวเพื่อสต็อกไว้เป็นจำนวนมากในปีก่อน ส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีสุราได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 1,060.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ตามการจัดเก็บภาษีส่งออกไม้ยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
อนึ่ง สำหรับมาตรการด้านการคลังที่สำคัญของรัฐบาลในปีนี้ ได้แก่ การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 อย่างไรก็ตามจะไม่กระทบต่อประมาณการรายได้ของงบประมาณปี 2544 เนื่องจากได้ใช้อัตราร้อยละ 7 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว
8. ภาคการเงินการธนาคาร
ธุรกรรมทางด้านการเงินการธนาคารในภาคใต้ยังอยู่ในภาวะซบเซา เนื่องจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องเข้ามากระทบ ขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหาเดิมของระบบสถาบันการเงิน นั่นก็คือปัญหา สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก นอกจากนั้นการลงทุนในโครงการ ใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นน้อยมาก
จากการชะลอและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของภาคใต้ยังคงขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินสดรับจ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ ขยายตัว ในส่วนของปริมาณเงินสดจ่ายตลอดปีนี้มีจำนวน 162,098.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.2 ขณะที่เงินสดรับมีจำนวน 152,732.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ส่วนทางด้านการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้จำนวน 4,729,251 ฉบับ มูลค่า 397,003.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 และ 4.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็ครับเข้าอยู่ในอัตราร้อยละ 1.3 ต่ำกว่าร้อยละ 1.6 ในปีก่อน
ทางด้านการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่สามารถขยายสินเชื่อได้ ส่งผลให้มีสภาพคล่องล้นระบบธนาคาร โดยในส่วนของภาคใต้มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคมนี้จำนวน 245,594.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 ทั้งนี้เนื่องจากทางเลือกการออมของ ประชาชนมีน้อย ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะต่ำ ประชาชนก็ยังฝากเงินกับธนาคาร ส่วนทางด้านสินเชื่ออยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากธนาคารเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดในการปล่อย สินเชื่อมากขึ้น เพราะกลัว NPL ใหม่ โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง จำนวน 173,037.5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3
ทางด้านสำนักงานอำนวยสินเชื่อ ซึ่งเปิดดำเนินการจำนวน 9 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนตุลาคมนี้มียอดให้กู้ยืมคงค้างจำนวน 3,656.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 162.6 เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจถึงแม้จะมีสัดส่วนสินเชื่อไม่มากนัก
ในด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ยังอยู่ในภาวะซบเซาเนื่องจากหลักทรัพย์หลักของตลาดคือกลุ่มสถาบันการเงิน มีผลการประกอบการที่ไม่ดี ส่งผลให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในภาคใต้ ในช่วง เดือนมกราคม-ตุลาคมของปีนี้มีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่ารวม 62,831.1 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.6
9. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
สำหรับปี 2544 เศรษฐกิจของภาคใต้ยังมีทิศทางที่แจ่มใส เนื่องจาก IMF และ World Bank คาดการณ์ว่าราคาผลิตผลการเกษตรโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาผลิตผลการเกษตรของภาคใต้ขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยางพาราและกุ้งกุลาดำ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังมีอนาคตที่แจ่มใสและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตรเพื่อการส่งออกยังมีทิศทางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านการลงทุนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งจากนักลงทุนภายในประเทศเองและจากนักลงทุนในต่างประเทศ ส่วนสถาบันการเงินได้มีการปรับปรุงฐานะและการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการแก้ไขไปบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ดียังมีปัญหาเรื่องการแก้ไขหนี้ NPL และการขยายสินเชื่อเพื่อสร้างรายได้อยู่บ้าง และผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ของภาคใต้ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจของภาคใต้ปี 2544 ยังมีทิศทางที่ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2543 แต่ทั้งนี้จะขยายตัวมากน้อยเพียงใดยังขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และฟื้นฟูป้องกันภัยจากอุทกภัย การนำนโยบายการเงินการคลังมาใช้ในภาวะที่เหมาะสม ค่าของเงินบาท และความสามารถของนักธุรกิจ ตลอดจนความรับผิดชอบของประชาชนต่อเศรษฐกิจของภาค นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจโลก โดยพิจารณาจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ และระดับราคาน้ำมันซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ภาคเกษตร
ในช่วงต้นของไตรมาสแรกต่อเนื่องถึงกลางปีมีผลไม้ออกสู่ตลาด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด และลองกอง ซึ่งเป็นการออกผลผิดฤดู ทำให้ราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนพืชผล อื่น ๆ ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตามฤดูกาล ทั้งข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ เพียงแต่ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงจากปีก่อน และคุณภาพผลผลิตกาแฟลดลง ทางด้านราคาผลผลิตการเกษตรส่วนใหญ่ราคาลดลงจากปีก่อน ยกเว้นราคายางพาราซึ่งราคาขยับเพิ่มขึ้น เพราะได้รับผลดีจากการที่ผู้ส่งออกสามารถทำสัญญาจำหน่ายยางพาราได้ในราคาที่สูงกว่าเมื่อปีก่อน
ทั้งนี้ โดยมีความเคลื่อนไหวของผลผลิตแต่ละประเภท ดังนี้
1.1 ยางพารา : การผลิตยังมีออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตามฤดูกาล ขณะที่ราคายางพาราขยับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะได้รับผลดีจากการที่ผู้ส่งออกสามารถทำสัญญาจำหน่ายยางพาราได้ในราคาที่สูงกว่าเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากทั้งอุปสงค์และสถานการณ์น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยผันแปรต่อราคายางธรรมชาติในตลาดโลก นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจากการที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้หารือร่วมกันที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อพยุงราคายางพารา สำหรับรับซื้อยางพาราจากองค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (INRO) ที่กำหนดระบายสต็อก จำนวน 138,296 เมตริกตัน ให้หมดภายใน 18 เดือน (สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2544) นั้น ส่งผลให้ราคายางที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ำกว่าเมื่อปีก่อน สำหรับราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.76 บาทเมื่อปีก่อนร้อยละ 18.3
1.2 ปาล์มน้ำมัน : ผลผลิตปาล์มในปีนี้มีจำนวนไม่มากกว่าปีก่อน เนื่องจากเมื่อ ปี 2542 นั้น ต้นปาล์มเลื่อนฤดูกาลผลิตและให้ผลผลิตมากกว่าปกติ ส่วนทางด้านความเคลื่อนไหวของราคาผลปาล์มนั้น แม้ว่าได้มีการแทรกแซงราคาจากทางการ และทางการได้ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงราคาผลปาล์มน้ำมันภายในประเทศโดยองค์การคลังสินค้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542 ถึงมกราคม 2543 ไปสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2543 ก็ตาม แต่ราคาผลปาล์มยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำ เนื่องจากปริมาณสินค้าในสต็อกยังมีเหลืออีกมาก สำหรับราคาผลปาล์มทั้งทะลายในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.93 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 2.47 บาท เมื่อปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.9
1.3 กาแฟ : มีรายงานจากสำนักรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร กรมการค้า ภายในว่า ในฤดูการผลิตปี 2542/43 มีผลผลิตรวมทั้งประเทศ 80,293 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 54,871 เมตริกตัน เมื่อฤดูการผลิตปี 2541/42 ร้อยละ 46.3 และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้มีคุณภาพด้อยกว่าเมื่อปีก่อน
1.4 ข้าว : การผลิตข้าวนาปีในฤดูการผลิตปี 2542/43 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมี ผลผลิตไม่มากนัก ขณะที่ในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เช่น จังหวัดพัทลุงนั้น สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ขณะเดียวกันเนื่องจากผลผลิตข้าวเปลือกมีความชื้นสูง อีกทั้งปัญหาราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต้นทุนของโรงสี จึงส่งผลให้โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาที่ไม่สูงนัก
1.5 ประมงทะล : ตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องถึงในปีนี้ การทำประมงทะเลได้ประสบกับข้อจำกัดในการผลิตหลายประการ อาทิ การทำประมงร่วมกับประเทศเมียนมาร์มีอุปสรรคจากการที่เมียนมาร์ยกเลิกสัมปทานการทำประมงในเขตน่านน้ำเมียนมาร์ และปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันเหไปทำการประมงในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงเขตน่านน้ำอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทั้ง ๆ ที่ยังมีภาวะความเสี่ยงภัยสูง ก็ตาม
1.6 กุ้งกุลาดำ : ในการผลิตกุ้งกุลาดำนั้นเกษตรกรยังคงประสบปัญหาโรคระบาด ดังนั้น เกษตรกรจึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการจับกุ้งขนาดเล็กลงกว่าเดิมจำหน่าย ทำให้ในช่วงกลางปีราคากุ้งเคลื่อนไหวในเกณฑ์สูง เพราะตลาดยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
1.7 ปศุสัตว์ : ผลิตภัณฑ์จากภาคปศุสัตว์เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลผลิตทั้งจากภายในภาคใต้และจากการระบายผลผลิตมาจากภาคกลาง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์จากภาค ปศุสัตว์อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก
2. ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตและการค้าของภาคอุตสาหกรรมยังดำเนินไปได้ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง
2.1 เหมืองแร่
2.1.1 แร่ดีบุก : การผลิตสินแร่ดีบุกของภาคใต้ยังคงลดลง เนื่องจากราคา สินแร่ดีบุกยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่จูงใจในการขยายการลงทุนทำเหมืองแร่ดีบุก เพราะต้นทุนการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนสูง ประกอบกับขณะนี้มีกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติต่อต้านคัดค้านเพื่อสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้สำหรับการท่องเที่ยว ดังนั้นธุรกิจที่ยังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันจึงมีเพียงธุรกิจซึ่งเคยทำเหมืองแร่มาตั้งแต่ดั้งเดิม สำหรับผลผลิตสินแร่ดีบุกซึ่งผลิตได้ในปีนี้มีทั้งสิ้น 2,379.7 เมตริกตัน ลดลงจากจำนวน 3,349.7 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 29.0
ส่วนทางด้านการผลิตโลหะดีบุกนั้นยังคงสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยโรงงานถลุงแร่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการนำเข้าวัตถุดิบสินแร่จากต่างประเทศเข้ามา ทดแทนเพื่อนำมาถลุงเป็นโลหะดีบุกแล้วส่งจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในปีนี้โรงงานถลุงแร่สามารถผลิตโลหะดีบุกได้ทั้งสิ้น 16,961.2 เมตริกตัน ลดลงจากจำนวน 17,331.3 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 2.1 ในจำนวนดังกล่าวสามารถส่งออกได้ทั้งสิ้น 13,490.4 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,856.1 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 12,262.6 เมตริกตันและมูลค่า 2,489.1 ล้านบาท เมื่อปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และร้อยละ 15.1 ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของราคานั้น ราคาสินแร่ดีบุกกิโลกรัมละ 151.04 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และราคาส่งออกโลหะดีบุกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.10 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ตามลำดับ
2.1.2 แร่ยิปซัม : ในปีนี้มีผลผลิตแร่ยิปซัม 4,130,628.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3,418,365.0 เมตริกตัน เมื่อปีก่อนร้อยละ 20.8 ทั้งนี้ การผลิตและการจำหน่ายยังผูกพันโดยตรงกับตลาดญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ระดับราคายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก หากเป็นไปได้รัฐบาลควรจะมีการจำกัดการส่งออก เพื่อสงวนทรัพยากรของชาติไว้
2.2 อุตสาหกรรมยางพารา
ในปี 2543 นั้น ธุรกรรมการผลิต การค้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมยางพารา แจ่มใสทุกประเภท ทั้งยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ไม้ยางพาราแปรรูป น้ำยางข้น และถุง มือยาง ทั้งนี้ เพราะในช่วงต้นปีลูกค้าในตลาดต่างประเทศหลายแห่งซึ่งเคยทำธุรกิจกับผู้ส่งออกของอินโดนีเซียได้เปลี่ยนมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยทดแทน เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ภายในประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังสามารถทำสัญญาจำหน่ายสินค้าในราคาที่สูงกว่าปีก่อนอีกด้วย จึงช่วยดึงให้มูลค่าส่งออกสินค้ายางแผ่นรมควันและยางแท่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ทางตลาดมาเลเซียได้เพิ่มความต้องการน้ำยางข้นและถุงมือยางมากขึ้น เนื่องจากทาง มาเลเซียได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยหันเหไปปลูกปาล์มทดแทนยางพารา จึงทำให้ขาดวัตถุดิบ ส่วนทางด้านไม้ยางพาราแปรรูปนั้นการผลิตและการค้ายังขยายตัวมาก เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และมีการขยายตลาดจากญี่ปุ่นไปยังสหรัฐอเมริกา อิตาลีด้วย พร้อมมีการปรับปรุงคุณภาพและ รูปแบบผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด
2.3 อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในปีนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ราคาสินค้า น้ำมันปาล์มดิบอ่อนตัวลงจากปีก่อนมากทั้ง ๆ ที่มีผลผลิตน้อย ทั้งนี้ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามา เกี่ยวข้องหลายประการ คือ
1. ปริมาณ Stock ของโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มภายในประเทศยังมีเหลืออีกมาก จากการที่เมื่อปี 2542 ต้นปาล์มให้ผลผลิตมากกว่าปกติ
2. มีการขนย้ายสินค้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพราะทาง มาเลเซียมี Stock เหลือมากเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศซึ่งมาเลเซียเคยส่งออกถูกทางผู้ประกอบการของอินโดนีเซียแข่งขันตัดราคาจำหน่าย จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในมาเลเซีย ลดลง และจูงใจให้มีการขนย้ายสินค้าเข้ามาจำหน่ายตามแนวบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
3. มีสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองเข้ามาแข่งขันในตลาดน้ำมันพืช เพราะในช่วงที่ผ่านมาราคาถั่วเหลืองตกต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและสามารถแข่งขันกับสินค้าน้ำมันพืชซึ่งผลิตจากปาล์มได้มาก
สำหรับราคาน้ำมันปาล์มดิบในปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.04 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.58 บาท เมื่อปีก่อนร้อยละ 33.4
2.4 อุตสาหกรรมอาหารทะเล
2.4.1 อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง : ในปีนี้แม้ว่าโรงงานประสบปัญหาขาดวัตถุดิบที่มีคุณภาพ (ชนิด ขนาด และความสด) ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศเมียนมาร์ประสบปัญหาจากการที่ทางการเมียนมาร์งดให้สัมปทาน แต่ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหาโดยหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่น เช่น จากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม ทดแทน นอกจากนี้ยังใช้วัตถุดิบกุ้งกุลาดำในประเทศทดแทน ทั้งนี้ เพราะตลาดต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในปีนี้จำนวนทั้งสิ้น 258,954.7 เมตริกตัน มูลค่า 20,815.9 ล้านบาท เทียบกับปริมาณ 254,321.4 เมตริกตัน และมูลค่า 19,180.4 ล้านบาท เมื่อปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ
2.4.2 อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง : ในปีนี้ธุรกรรมการผลิตและการค้าลดลงอย่างเป็นที่น่าสังเกต ทั้งนี้ ความต้องการของตลาด (Demand) ลดลง ทั้ง ๆ ที่ราคาสินค้าลดลงเช่นเดียวกัน ทางด้านการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในปีนี้มีทั้งสิ้น 122,676.5 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 9,269.8 ล้านบาท เทียบกับปริมาณ 132,178.8 เมตริกตัน และมูลค่า 10,131.3 ล้านบาท เมื่อปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.2 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ
จากการประมวลปัญหา ข้อจำกัดของธุรกิจอาหารทะเลกระป๋องนั้น ประกอบด้วย
1. มีประเด็นข้อกีดกันทางการค้า โดยอ้างว่าสินค้าอาหารทะเลกระป๋องมีสาร ปนเปื้อนจากน้ำมันถั่วเหลือง GMO
2. สันนิษฐานว่า ได้มีแหล่งผลิตใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาด เช่น การขยายกำลังการผลิตของคู่แข่งขัน หรือมีการสร้างโรงงานใหม่ ดังนั้น แม้ว่าราคาสินค้าลดต่ำลงยังทำให้ปริมาณ ธุรกรรมลดลงด้วย ทั้ง ๆ ที่อาหารกระป๋องเป็นสินค้าที่จำเป็น เป็นสินค้าบริโภคซึ่งใช้แล้วหมดไป และตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
3. มีกระแสข่าวว่า ผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องในกลุ่ม EU ได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลทำให้มีต้นทุนต่ำลงและสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น (ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของไทยลดลง)
3. ภาคการลงทุน
บรรยากาศการลงทุนของเอกชนในปีนี้ดีขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา โดยเป็นการขยายตัว เพื่อรองรับธุรกรรมการส่งออกธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตน้ำมันปาล์ม และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จาก
3.1 กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีนี้มีจำนวน 97 ราย เงินลงทุน 12,473.5 ล้านบาท สามารถจ้างงานได้ 21,958 คน ขณะที่ปีก่อนมีกิจการได้รับอนุมัติ 66 ราย เงิน ลงทุน 7,926.3 ล้านบาท และสามารถจ้างงานได้ 14,357 คน โครงการที่ได้รับการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในจังหวัดสงขลาและการผลิตน้ำมันปาล์มในจังหวัด สุราษฎร์ธานี
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในปีนี้มีจำนวน 2,577 ราย เงินลงทุน 6,863.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น 327 ราย และ 2,202.7 ล้านบาท เนื่องจากมีการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์และการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์
3.3 พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในปีนี้รวมทั้งสิ้น 885,788 ตารางเมตร เทียบกับจำนวน 769,900 ตารางเมตร ปีก่อนเพิ่มขึ้น 115,888 ตารางเมตร หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.1
4. ภาคการท่องเที่ยว
บรรยากาศการท่องเที่ยวของภาคใต้เริ่มแจ่มใสขึ้นตั้งแต่ประมาณปลายไตรมาสแรกเป็นต้นมา หลังจากได้ผ่านพ้นช่วงที่นักท่องเที่ยวคลายกังวลในปัญหา Y2K และธุรกิจการท่องเที่ยวได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเพิ่มเที่ยวบินและขยายเส้นทางการบินของสายการบินจากต่างประเทศ ตลอดจนการจัดประชุมนานาชาติต่าง ๆ เทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น ตรุษจีน สงกรานต์ รวมถึงช่วงวันปิดภาคเรียนของมาเลเซียและสิงคโปร์ และวันหยุดของ มาเลเซีย อาทิ วันแรงงานและวันชาติมาเลเซีย ได้จูงใจให้นักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเข้ามามากขึ้น ดังเห็นได้จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภาคใต้ในปีนี้ มีจำนวน 2,071,717 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1,898,678 คน เมื่อปีก่อนร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ เป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 869,689 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สิงคโปร์ 198,058 คน ลดลงร้อยละ 2.9 และชาติอื่น ๆ 1,003,970 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5
5. ภาคการค้า
5.1 การค้าในท้องถิ่น : ปริมาณการจำหน่ายยานพาหนะยังคงเพิ่มขึ้นทุกประเภท ดังเห็นได้จากสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปีนี้ จำแนกเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 6,935 คัน เพิ่มขึ้น 1,981 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 16,408 คัน เพิ่มขึ้น 2,580 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 125,352 คัน เพิ่มขึ้น 35,634 คัน ส่วนทางด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคยังคงขยายตัวช้า ๆ เนื่องจากประชาชนยังกังวลและไม่มั่นใจในการฟื้นตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ และปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
5.2 การค้าระหว่างประเทศ : จากผลของการขยายตัวของความต้องการในตลาดโลก รวมถึงการอ่อนค่าลงของค่าเงินบาท ได้ส่งผลให้ธุรกรรมการค้าส่งออกขยายตัวขึ้นจากปีก่อน ดังเห็นได้จากปริมาณสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในปีนี้มีมูลค่า 156,471.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42,726.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกยางแผ่นรมควันและอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าสินค้านำเข้าเท่ากับ 51,121.3 ล้านบาท ลดลง 6,755.7 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้เป็นการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ อันเป็นผลจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทุนได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์และสัตว์น้ำซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบอาหารกระป๋อง
5.3 ดัชนีราคา : อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้โดยเฉลี่ยในปีนี้เท่ากับร้อยละ 1.5 และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยค่าเงินบาท อ่อนค่า ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มของค่าสาธารณูปโภค ยานพาหนะ การขนส่ง ค่าตรวจรักษาและยารักษาโรค ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลง จากการลดลงของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ
6. ภาคการจ้างงาน
ในปีนี้ภาวะการจ้างงานของภาคใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวของการ ลงทุน ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากประกอบด้วย ธุรกิจค้ารถยนต์ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม สำหรับในปีนี้มีตำแหน่งงานว่าง 90,410 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 39,143 คน และสามารถบรรจุได้ 12,100 คน ขณะที่เมื่อปีก่อนมีตำแหน่งงานว่าง 57,727 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 40,053 คน และสามารถบรรจุได้ 14,657 คน ความต้องการแรงงานในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับล่าง ในภาคการเกษตร ประมง การค้า เป็นต้น
7. ภาคการคลัง
ทางด้านการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ ในปีนี้ มีจำนวน 80,261.7 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายในงบ รายจ่ายประจำ ตามโครงสร้างของงบประมาณปี 2543 อย่างไรก็ตามการลงทุนภาครัฐก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร อาคารสำนักงานของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นต้น
ส่วนทางด้านรายได้ ในปีนี้มีจำนวน 12,197.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.5 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลได้ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2543 โดยหากพิจารณาตามประเภทของภาษี พบว่าภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 10,196.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 940.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 54.7 สาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเปิดเสรีเหล้า ผู้ประกอบการจึงเร่งผลิตเหล้าขาวเพื่อสต็อกไว้เป็นจำนวนมากในปีก่อน ส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีสุราได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 1,060.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ตามการจัดเก็บภาษีส่งออกไม้ยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
อนึ่ง สำหรับมาตรการด้านการคลังที่สำคัญของรัฐบาลในปีนี้ ได้แก่ การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 อย่างไรก็ตามจะไม่กระทบต่อประมาณการรายได้ของงบประมาณปี 2544 เนื่องจากได้ใช้อัตราร้อยละ 7 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว
8. ภาคการเงินการธนาคาร
ธุรกรรมทางด้านการเงินการธนาคารในภาคใต้ยังอยู่ในภาวะซบเซา เนื่องจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องเข้ามากระทบ ขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหาเดิมของระบบสถาบันการเงิน นั่นก็คือปัญหา สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก นอกจากนั้นการลงทุนในโครงการ ใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นน้อยมาก
จากการชะลอและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของภาคใต้ยังคงขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินสดรับจ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ ขยายตัว ในส่วนของปริมาณเงินสดจ่ายตลอดปีนี้มีจำนวน 162,098.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.2 ขณะที่เงินสดรับมีจำนวน 152,732.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ส่วนทางด้านการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้จำนวน 4,729,251 ฉบับ มูลค่า 397,003.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 และ 4.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็ครับเข้าอยู่ในอัตราร้อยละ 1.3 ต่ำกว่าร้อยละ 1.6 ในปีก่อน
ทางด้านการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่สามารถขยายสินเชื่อได้ ส่งผลให้มีสภาพคล่องล้นระบบธนาคาร โดยในส่วนของภาคใต้มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคมนี้จำนวน 245,594.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 ทั้งนี้เนื่องจากทางเลือกการออมของ ประชาชนมีน้อย ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะต่ำ ประชาชนก็ยังฝากเงินกับธนาคาร ส่วนทางด้านสินเชื่ออยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากธนาคารเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดในการปล่อย สินเชื่อมากขึ้น เพราะกลัว NPL ใหม่ โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง จำนวน 173,037.5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3
ทางด้านสำนักงานอำนวยสินเชื่อ ซึ่งเปิดดำเนินการจำนวน 9 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนตุลาคมนี้มียอดให้กู้ยืมคงค้างจำนวน 3,656.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 162.6 เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจถึงแม้จะมีสัดส่วนสินเชื่อไม่มากนัก
ในด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ยังอยู่ในภาวะซบเซาเนื่องจากหลักทรัพย์หลักของตลาดคือกลุ่มสถาบันการเงิน มีผลการประกอบการที่ไม่ดี ส่งผลให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในภาคใต้ ในช่วง เดือนมกราคม-ตุลาคมของปีนี้มีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่ารวม 62,831.1 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.6
9. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
สำหรับปี 2544 เศรษฐกิจของภาคใต้ยังมีทิศทางที่แจ่มใส เนื่องจาก IMF และ World Bank คาดการณ์ว่าราคาผลิตผลการเกษตรโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาผลิตผลการเกษตรของภาคใต้ขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยางพาราและกุ้งกุลาดำ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังมีอนาคตที่แจ่มใสและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตรเพื่อการส่งออกยังมีทิศทางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านการลงทุนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งจากนักลงทุนภายในประเทศเองและจากนักลงทุนในต่างประเทศ ส่วนสถาบันการเงินได้มีการปรับปรุงฐานะและการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการแก้ไขไปบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ดียังมีปัญหาเรื่องการแก้ไขหนี้ NPL และการขยายสินเชื่อเพื่อสร้างรายได้อยู่บ้าง และผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ของภาคใต้ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจของภาคใต้ปี 2544 ยังมีทิศทางที่ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2543 แต่ทั้งนี้จะขยายตัวมากน้อยเพียงใดยังขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และฟื้นฟูป้องกันภัยจากอุทกภัย การนำนโยบายการเงินการคลังมาใช้ในภาวะที่เหมาะสม ค่าของเงินบาท และความสามารถของนักธุรกิจ ตลอดจนความรับผิดชอบของประชาชนต่อเศรษฐกิจของภาค นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจโลก โดยพิจารณาจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ และระดับราคาน้ำมันซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-