บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เนื่องจากนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรไปราชการต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว
นางลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งเรื่อง นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
ที่ประชุมยืนไว้อาลัยเป็นเวลา ๑ นาที
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา ให้คำรับรอง จำนวน ๘ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ. …. ซึ่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. ซึ่ง นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารและวิธีการต้องห้าม ทางการกีฬา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาอาชีพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ เห็นชอบแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) รายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ประจำปี ๒๕๔๔
ประจำปี ๒๕๔๕ และประจำปี ๒๕๔๖
(๒) รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม ประจำปี ๒๕๔๔
(๓) รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้ง
กรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ และนายวินัย วิริยกิจจา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๐๒. นางพันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์
๐๓. นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ ๐๔. นางดนุชา ยินดีพิธ
๐๕. นายเสรี นนทสูติ ๐๖. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๐๗. นายณัฎฐพล กรรณสูต ๐๘. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๐๙. พลเอก สมชาย วิษณุวงศ์ ๑๐. นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
๑๑. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ไชย ๑๒. นางผณินทรา ภัคเกษม
๑๓. นางสาวอรุณี ชำนาญยา ๑๔. นายพรชัย อรรถปรียางกูร
๑๕. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๖. นายเอกพร รักความสุข
๑๗. นายทศพล สังขทรัพย์ ๑๘. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๑๙. นายอุดร ทองประเสริฐ ๒๐. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๒๑. นายวิทยา บุรณศิริ ๒๒. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๒๓. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ๒๔. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๒๕. รองศาสตราจารย์ญาณเดช ทองสิมา ๒๖. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
๒๗. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ๒๘. นายกรณ์ จาติกวณิช
๒๙. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ๓๐. หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
๓๑. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๓๒. นางนันทพร วีรกุลสุนทร
๓๓. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๓๔. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๕. นางสาวสุภัตรา วิมลสมบัติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. .…. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต่อมารองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน จากนั้นได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๔. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ
คือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายยุทธนา โพธสุธน และนายเสมอกัน เที่ยงธรรม เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๔)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) และ
ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติ
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวราเทพ รัตนากร ๐๒. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ
๐๓. นายตรีทศ นิโครธางกูร ๐๔. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
๐๕. นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ๐๖. นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
๐๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๐๘. นายเรวัต สิรินุกุล
๐๙. นายอิทธิพล คุณปลื้ม ๑๐. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร
๑๑. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ๑๒. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร
๑๓. นายสันติ พร้อมพัฒน์ ๑๔. นายนาวิน บุญเสรฐ
๑๕. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายธเนศ เครือรัตน์ ๑๘. นายอุทัย มิ่งขวัญ
๑๙. นายไชยา พรหมา ๒๐. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
๒๑. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๒๒. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๒๓. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๒๔. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร
๒๕. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๒๖. นายอำนาจ โตวชิรกุล
๒๗. นายพันธ์เลิศ ใบหยก ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายสุวโรช พะลัง ๓๐. นายจุติ ไกรฤกษ์
๓๑. นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ ๓๒. นายอับดุลการิม เด็งระกีนา
๓๓. นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ๓๔. นายยุทธนา โพธสุธน
๓๕. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๑๑ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
******************************
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เนื่องจากนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรไปราชการต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว
นางลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งเรื่อง นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
ที่ประชุมยืนไว้อาลัยเป็นเวลา ๑ นาที
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา ให้คำรับรอง จำนวน ๘ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ. …. ซึ่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. ซึ่ง นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารและวิธีการต้องห้าม ทางการกีฬา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาอาชีพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ เห็นชอบแล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) รายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ประจำปี ๒๕๔๔
ประจำปี ๒๕๔๕ และประจำปี ๒๕๔๖
(๒) รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม ประจำปี ๒๕๔๔
(๓) รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้ง
กรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ และนายวินัย วิริยกิจจา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๐๒. นางพันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์
๐๓. นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ ๐๔. นางดนุชา ยินดีพิธ
๐๕. นายเสรี นนทสูติ ๐๖. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๐๗. นายณัฎฐพล กรรณสูต ๐๘. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๐๙. พลเอก สมชาย วิษณุวงศ์ ๑๐. นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
๑๑. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ไชย ๑๒. นางผณินทรา ภัคเกษม
๑๓. นางสาวอรุณี ชำนาญยา ๑๔. นายพรชัย อรรถปรียางกูร
๑๕. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๖. นายเอกพร รักความสุข
๑๗. นายทศพล สังขทรัพย์ ๑๘. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๑๙. นายอุดร ทองประเสริฐ ๒๐. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๒๑. นายวิทยา บุรณศิริ ๒๒. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๒๓. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ๒๔. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๒๕. รองศาสตราจารย์ญาณเดช ทองสิมา ๒๖. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
๒๗. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ๒๘. นายกรณ์ จาติกวณิช
๒๙. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ๓๐. หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
๓๑. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๓๒. นางนันทพร วีรกุลสุนทร
๓๓. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๓๔. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๕. นางสาวสุภัตรา วิมลสมบัติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. .…. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต่อมารองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน จากนั้นได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๔. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ
คือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายยุทธนา โพธสุธน และนายเสมอกัน เที่ยงธรรม เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๔)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) และ
ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติ
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวราเทพ รัตนากร ๐๒. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ
๐๓. นายตรีทศ นิโครธางกูร ๐๔. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
๐๕. นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ๐๖. นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
๐๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๐๘. นายเรวัต สิรินุกุล
๐๙. นายอิทธิพล คุณปลื้ม ๑๐. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร
๑๑. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ๑๒. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร
๑๓. นายสันติ พร้อมพัฒน์ ๑๔. นายนาวิน บุญเสรฐ
๑๕. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายธเนศ เครือรัตน์ ๑๘. นายอุทัย มิ่งขวัญ
๑๙. นายไชยา พรหมา ๒๐. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
๒๑. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๒๒. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๒๓. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๒๔. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร
๒๕. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๒๖. นายอำนาจ โตวชิรกุล
๒๗. นายพันธ์เลิศ ใบหยก ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายสุวโรช พะลัง ๓๐. นายจุติ ไกรฤกษ์
๓๑. นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ ๓๒. นายอับดุลการิม เด็งระกีนา
๓๓. นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ๓๔. นายยุทธนา โพธสุธน
๓๕. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๑๑ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
******************************