นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยรายงานจากบริษัท Vermulst & Waer ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้าน GSP ของไทยในสหภาพยุโรป ว่าสหภาพยุโรปให้สิทธิ GSP สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศผู้รับสิทธิภายใต้หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสม (Cumulation of origin) กับกลุ่มประเทศ SAARC (The South Asian Association for Regional Co-operation) ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฐาน อินเดีย มัลดีฟ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา ตาม Regulation (EC) No 1602/2000 ซึ่งภายใต้หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสมที่กำหนดให้กับกลุ่มประเทศ SAARC ดังกล่าว ประเทศผู้รับสิทธิสามารถนับวัตถุดิบนำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกเสมือนหนึ่งเป็นวัตถุดิบในประเทศได้ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป
อนึ่ง การให้สิทธิ GSP ในลักษณะนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รับสิทธิภายใต้หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าแบบ สะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี สินค้าที่จะได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรปจะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) คือ
1. สินค้าจะต้องมีแหล่งกำเนิดจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP และผลิตถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิด (Origin Criteria) ดังนี้
- ใช้วัตถุดิบที่เกิดจากภายในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained)
- สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบนำเข้า วัตถุดิบดังกล่าวจะต้องแปรสภาพอย่างเพียงพอหรือมีขั้นตอนการผลิตตามที่สหภาพยุโรปกำหนด
- วัตถุดิบนำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ถือเสมือนหนึ่ง เป็นวัตถุดิบในประเทศผู้ผลิตตามกฎเกณฑ์ ASEAN Cumulation of Origin
- วัตถุดิบนำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสหภาพยุโรปให้ถือเสมือนหนึ่ง เป็นวัตถุดิบในประเทศผู้ผลิตตามกฎเกณฑ์ Donor Country Content Rule
2. สินค้าจะต้องถูกส่งตรงจากประเทศผู้ผลิตที่เป็นผู้รับสิทธิ GSP ไปยังประเทศสหภาพยุโรปโดยตรง ในกรณีส่งผ่านดินแดนของประเทศอื่นจะต้องไม่มีการดำเนินการ อื่นใดกับสินค้านอกจากขนขึ้น-ลง จากเรือ หรือดำเนินการเพื่อเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพดีเท่านั้น
3. ผู้นำเข้าสหภาพยุโรปจะต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM A) ซึ่งออกโดยหน่วยงานของผู้รับสิทธิ GSP ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรสหภาพยุโรป--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2543--
-อน-
อนึ่ง การให้สิทธิ GSP ในลักษณะนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รับสิทธิภายใต้หลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าแบบ สะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี สินค้าที่จะได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรปจะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) คือ
1. สินค้าจะต้องมีแหล่งกำเนิดจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP และผลิตถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิด (Origin Criteria) ดังนี้
- ใช้วัตถุดิบที่เกิดจากภายในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained)
- สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบนำเข้า วัตถุดิบดังกล่าวจะต้องแปรสภาพอย่างเพียงพอหรือมีขั้นตอนการผลิตตามที่สหภาพยุโรปกำหนด
- วัตถุดิบนำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ถือเสมือนหนึ่ง เป็นวัตถุดิบในประเทศผู้ผลิตตามกฎเกณฑ์ ASEAN Cumulation of Origin
- วัตถุดิบนำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสหภาพยุโรปให้ถือเสมือนหนึ่ง เป็นวัตถุดิบในประเทศผู้ผลิตตามกฎเกณฑ์ Donor Country Content Rule
2. สินค้าจะต้องถูกส่งตรงจากประเทศผู้ผลิตที่เป็นผู้รับสิทธิ GSP ไปยังประเทศสหภาพยุโรปโดยตรง ในกรณีส่งผ่านดินแดนของประเทศอื่นจะต้องไม่มีการดำเนินการ อื่นใดกับสินค้านอกจากขนขึ้น-ลง จากเรือ หรือดำเนินการเพื่อเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพดีเท่านั้น
3. ผู้นำเข้าสหภาพยุโรปจะต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM A) ซึ่งออกโดยหน่วยงานของผู้รับสิทธิ GSP ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรสหภาพยุโรป--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2543--
-อน-