สุกรสรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้สุกรมีชีวิตปรับราคาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ โดยผลผลิตยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงนี้อยู่ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาที่ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคามีโอกาสปรับลดลงได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย ทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.22 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.08 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.06 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.57 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อในประเทศโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้ราคามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สำหรับตลาดต่างประเทศยังค่อนข้างเงียบ โดยการส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) มีปริมาณ 118,567 ตัน มูลค่า 9,487 ล้านบาท แยกเป็นเนื้อไก่สดแช่แข็ง 89,794 ตัน และเนื้อไก่แปรรูป 28,773 ตัน โดยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 60 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 30 และร้อยละ 10 ส่งไปตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.30 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.81 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.80 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ค่อนข้างทรงตัว โดยผลผลิตยังมีมากกว่าความต้องการ แม้ว่าจะมีการปลดไก่แก่ออกในบางฟาร์ม แต่ก็มีผลผลิตไข่เป็ดไล่ทุ่งออกมาแย่งตลาดไข่ไก่ ทำให้ราคาไข่ไก่มีโอกาสอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 143 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 144 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 141 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 148 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 163 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 167 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 195 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โคราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 36.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
กระบือราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-
สัปดาห์นี้สุกรมีชีวิตปรับราคาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ โดยผลผลิตยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงนี้อยู่ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาที่ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคามีโอกาสปรับลดลงได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย ทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.22 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.08 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.06 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.57 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อในประเทศโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้ราคามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สำหรับตลาดต่างประเทศยังค่อนข้างเงียบ โดยการส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) มีปริมาณ 118,567 ตัน มูลค่า 9,487 ล้านบาท แยกเป็นเนื้อไก่สดแช่แข็ง 89,794 ตัน และเนื้อไก่แปรรูป 28,773 ตัน โดยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 60 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 30 และร้อยละ 10 ส่งไปตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.30 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.81 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.80 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ค่อนข้างทรงตัว โดยผลผลิตยังมีมากกว่าความต้องการ แม้ว่าจะมีการปลดไก่แก่ออกในบางฟาร์ม แต่ก็มีผลผลิตไข่เป็ดไล่ทุ่งออกมาแย่งตลาดไข่ไก่ ทำให้ราคาไข่ไก่มีโอกาสอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 143 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 144 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 141 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 148 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 163 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 167 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 195 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โคราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 36.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
กระบือราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-