ข่าวในประเทศ
1. ธปท. รายงานฐานะการเงินประจำปี 43 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของฝ่ายการธนาคาร (ไม่รวมฝ่ายออกบัตรธนาคาร) เสนอต่อ รมว.คลังว่า ในปี 43 ธปท. มีสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นปีจำนวน 883,954 ล.บาท และ 1,012,372 ล.บาทตามลำดับ มีรายได้ทั้งสิ้น 27,551 ล.บาท ค่าใช้จ่าย 27,977 ล.บาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 35,826 ล.บาท ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง จึงทำให้ ธปท. มีหนี้สินต่างประเทศเทียบค่าเป็นเงินบาทมากขึ้น สำหรับฝ่ายออกบัตรธนาคารมีสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นปี 43 จำนวน 1,126,888 ล.บาท และ 634 ล.บาทตามลำดับ มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 46,131 ล.บาท หากรวมกำไรที่เกิดขึ้นจากการตีราคาสินทรัพย์และการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นปีจำนวน 137,514 ล.บาท จะมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ 183,645 ล.บาท และหากรวมผลการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารแล้ว ธปท. จะมีกำไรสุทธิประจำปี 43 จำนวน 130,710 ล.บาท (ข่าวสด 16)
2. ธปท. ยืนยันยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดเกณฑ์การกันสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่อดีต รมว.คลัง และที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาล (นายวีรพงษ์ รามางกูร) เสนอให้ ธปท. ปรับลดเกณฑ์การกันสำรองหนี้จัดชั้นและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จาก 3 เดือนเป็น 6-12 เดือน และลดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงมาตรฐานบีไอเอสลงว่า ในส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ธปท. พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ส่วนการปรับเปลี่ยนการกันสำรองหนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการปรับเปลี่ยน (ข่าวสด 16)
3. ธปท.ติดตามการเคลื่อนย้ายเงินผ่านรายงานการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังติดตามการเคลื่อนย้ายเงินในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้ส่งออกและบริษัทเอกชนไทยและต่างชาติที่มีรายได้และหนี้เป็นเงินดอลลาร์ โดยยังไม่พบความผิดปกติหรือการเก็งกำไรเกิดขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ได้มีการตรวจสอบผ่าน ธพ.และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ โดยดูจากรายงาน ธ.ต.1 และ ธ.ต.11 ในกรณีการนำเงินบาทและเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ และ ธ.ต.2 และ ธ.ต.12 ในกรณีนำเงินบาทและเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้เพียงพอต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน แต่หากพบว่ามีการเก็งกำไรค่าเงินผ่านช่องทางนี้มากเกินไป อาจจะแก้กฎเกณฑ์เพิ่มเติม (แนวหน้า, โลกวันนี้ 18)
4. สศช.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 44 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.จะมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 44 จากเดิมร้อยละ 3.5-4 เป็นร้อยละ 3-3.5 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของญี่ปุ่นซึ่งต่ำกว่าที่ สศช.คาดการณ์ไว้มาก (กรุงเทพธุรกิจ 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 15 มิ.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 44 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากต้นทุนราคาเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าสูงขึ้น และราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 43 ส่วน Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค. 44 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43(รอยเตอร์15)
2. ราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือนและร้อยละ 4.0 ต่อปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน พ.ค.44 ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 4.0 เทียบต่อปี ซึ่งสูงกว่าความคาดหมายของตลาดที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปี แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน และร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยการเพิ่มขึ้นของราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.มีสาเหตุจากการสูงขึ้นของราคาผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว น้ำมันสำหรับทำความร้อนและเมล็ดกาแฟ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.4, 3.6 และ 2.3 ตามลำดับ ขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 4.3 แต่เมื่อเทียบปีต่อปี สุกรมีชีวิต เป็ดไก่ รวมถึงเนื้อหมูยังคงมีราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 30 สะท้อนถึงแรงกดดันที่เกิดจากการที่ผู้บริโภคหันมาใช้เนื้อสัตว์ดังกล่าวทดแทนเนื้อวัว เนื่องจากการติดเชื้อวัวบ้า สำหรับเดือน เม.ย.44 ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี แต่หากไม่รวมราคาน้ำมัน ราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเดือนเดียวกันปี 43(รอยเตอร์ 15)
3. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.5 ในปี 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 15 มิ.ย. 44 ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่า ในครึ่งแรกปี 44 เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8 และตลอดปี 44 จะขยายตัวร้อยละ 7.5 เทียบกับปี 43 ที่เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 8 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายจำนวนมากของรัฐบาล รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและการบริโภคที่ฟื้นตัว สำหรับในช่วงไตรมาสแรกปี 44 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 8.1 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากขณะนี้ความต้องการในประเทศของจีนกำลังค่อยๆเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่รัฐบาลต้องมีมาตรการช่วยกระตุ้นการส่งออก ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44ไว้ที่ร้อยละ 7 และจะออก พธบ. พิเศษ จำนวน 150 พัน ล. หยวน (18.12 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพื่อช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์15)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 15 มิ.ย.44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนเม.ย.44 สำหรับในช่วงม.ค.44 - พ.ค.44 CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 มิ.ย. 44 45.299 (45.337)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15 มิ.ย. 44ซื้อ 45.1160 (45.1406) ขาย 45.4321 (45.4522)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,800) ขาย 5,850 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.28 (26.47)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. รายงานฐานะการเงินประจำปี 43 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของฝ่ายการธนาคาร (ไม่รวมฝ่ายออกบัตรธนาคาร) เสนอต่อ รมว.คลังว่า ในปี 43 ธปท. มีสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นปีจำนวน 883,954 ล.บาท และ 1,012,372 ล.บาทตามลำดับ มีรายได้ทั้งสิ้น 27,551 ล.บาท ค่าใช้จ่าย 27,977 ล.บาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 35,826 ล.บาท ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง จึงทำให้ ธปท. มีหนี้สินต่างประเทศเทียบค่าเป็นเงินบาทมากขึ้น สำหรับฝ่ายออกบัตรธนาคารมีสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นปี 43 จำนวน 1,126,888 ล.บาท และ 634 ล.บาทตามลำดับ มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 46,131 ล.บาท หากรวมกำไรที่เกิดขึ้นจากการตีราคาสินทรัพย์และการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นปีจำนวน 137,514 ล.บาท จะมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ 183,645 ล.บาท และหากรวมผลการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารแล้ว ธปท. จะมีกำไรสุทธิประจำปี 43 จำนวน 130,710 ล.บาท (ข่าวสด 16)
2. ธปท. ยืนยันยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดเกณฑ์การกันสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่อดีต รมว.คลัง และที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาล (นายวีรพงษ์ รามางกูร) เสนอให้ ธปท. ปรับลดเกณฑ์การกันสำรองหนี้จัดชั้นและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จาก 3 เดือนเป็น 6-12 เดือน และลดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงมาตรฐานบีไอเอสลงว่า ในส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ธปท. พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ส่วนการปรับเปลี่ยนการกันสำรองหนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการปรับเปลี่ยน (ข่าวสด 16)
3. ธปท.ติดตามการเคลื่อนย้ายเงินผ่านรายงานการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังติดตามการเคลื่อนย้ายเงินในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้ส่งออกและบริษัทเอกชนไทยและต่างชาติที่มีรายได้และหนี้เป็นเงินดอลลาร์ โดยยังไม่พบความผิดปกติหรือการเก็งกำไรเกิดขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ได้มีการตรวจสอบผ่าน ธพ.และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ โดยดูจากรายงาน ธ.ต.1 และ ธ.ต.11 ในกรณีการนำเงินบาทและเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ และ ธ.ต.2 และ ธ.ต.12 ในกรณีนำเงินบาทและเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้เพียงพอต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน แต่หากพบว่ามีการเก็งกำไรค่าเงินผ่านช่องทางนี้มากเกินไป อาจจะแก้กฎเกณฑ์เพิ่มเติม (แนวหน้า, โลกวันนี้ 18)
4. สศช.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 44 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.จะมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 44 จากเดิมร้อยละ 3.5-4 เป็นร้อยละ 3-3.5 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของญี่ปุ่นซึ่งต่ำกว่าที่ สศช.คาดการณ์ไว้มาก (กรุงเทพธุรกิจ 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 15 มิ.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 44 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากต้นทุนราคาเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าสูงขึ้น และราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 43 ส่วน Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค. 44 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43(รอยเตอร์15)
2. ราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือนและร้อยละ 4.0 ต่อปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 มิ.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน พ.ค.44 ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 4.0 เทียบต่อปี ซึ่งสูงกว่าความคาดหมายของตลาดที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปี แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน และร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยการเพิ่มขึ้นของราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.มีสาเหตุจากการสูงขึ้นของราคาผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว น้ำมันสำหรับทำความร้อนและเมล็ดกาแฟ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.4, 3.6 และ 2.3 ตามลำดับ ขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 4.3 แต่เมื่อเทียบปีต่อปี สุกรมีชีวิต เป็ดไก่ รวมถึงเนื้อหมูยังคงมีราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 30 สะท้อนถึงแรงกดดันที่เกิดจากการที่ผู้บริโภคหันมาใช้เนื้อสัตว์ดังกล่าวทดแทนเนื้อวัว เนื่องจากการติดเชื้อวัวบ้า สำหรับเดือน เม.ย.44 ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี แต่หากไม่รวมราคาน้ำมัน ราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเดือนเดียวกันปี 43(รอยเตอร์ 15)
3. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.5 ในปี 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 15 มิ.ย. 44 ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่า ในครึ่งแรกปี 44 เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8 และตลอดปี 44 จะขยายตัวร้อยละ 7.5 เทียบกับปี 43 ที่เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 8 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายจำนวนมากของรัฐบาล รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและการบริโภคที่ฟื้นตัว สำหรับในช่วงไตรมาสแรกปี 44 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 8.1 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากขณะนี้ความต้องการในประเทศของจีนกำลังค่อยๆเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่รัฐบาลต้องมีมาตรการช่วยกระตุ้นการส่งออก ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44ไว้ที่ร้อยละ 7 และจะออก พธบ. พิเศษ จำนวน 150 พัน ล. หยวน (18.12 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เพื่อช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์15)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 15 มิ.ย.44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนเม.ย.44 สำหรับในช่วงม.ค.44 - พ.ค.44 CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 มิ.ย. 44 45.299 (45.337)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15 มิ.ย. 44ซื้อ 45.1160 (45.1406) ขาย 45.4321 (45.4522)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,800) ขาย 5,850 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.28 (26.47)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-