หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปรากฏว่า นักธุรกิจ องค์กรเอกชน และสื่อมวลชนบางส่วน ได้แสดงความคิดเห็นในทำนองว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวเอื้ออำนวยให้คนต่างชาติเข้ามาแย่งงานคนไทย ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนชาวไทยได้
ในเรื่องนี้ นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ได้ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เอื้ออำนวยให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยแต่อย่างใด วัตถุประสงค์ของกฎหมายก็เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการดูแลการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวยิ่งขึ้น ตลอดจนให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นการปรับปรุง ปว.281 ที่ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเริ่มแก้ไขปรับปรุงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ผ่านการแก้ไขร่างมาทุกรัฐบาล และเสร็จสิ้นในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน จนประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542
2. หลักการของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไป ไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานหรือประกอบวิชาชีพ ส่วนการอนุญาตให้ทำงานได้หรือไม่เพียงใด มีกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวหรือกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้นๆ บังคับใช้อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้มีกฎหมายกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำไว้แล้ว เช่น อาชีพนายหน้า มัคคุเทศก์ นำเที่ยว เป็นต้น ดังนั้น แม้คนต่างด้าวจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ถือหุ้นข้างมาก แต่ธุรกิจก็ยังคงต้องจ้างคนไทยทำงานอยู่นั่นเอง นอกจากนั้นกฎหมายนี้ยังบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้ากฎหมายอื่นกำหนดเรื่องการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไว้อย่างไรโดยเฉพาะแล้วก็ให้ใช้บังคับตามกฎหมายดังกล่าวและไม่ให้นำฎหมายนี้มาใช้บังคับในส่วนที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้นั้น
3. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว อาจแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
3.1 ด้านที่เปิดให้ คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้มากประเภทขึ้น เพื่อให้มีการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุน มีการจ้างแรงงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้
3.2 ในอีกด้านหนี่งกฎหมายใหม่มีมาตรการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเข้มงวดมากกว่า ปว.281 ในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้คนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำและดำรงทุนขั้นต่ำไว้ในประเทศ แม้แต่คนต่างด้าวที่เข้ามาใช้สิทธิตามสนธิสัญญาก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ นอกจากนี้ยังกำหนดสัดส่วนจำนวนหุ้นสูงสุดที่คนต่างด้าวจะถือได้สำหรับธุรกิจบางประเภทและกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลคนต่างด้าวให้ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการเพิ่มโทษที่รุนแรงขึ้นโดยมีโทษปรับสูงขึ้นถึงหนึ่งล้านบาทรวมทั้งมีบทลงโทษถึงโทษจำคุกด้วย
4. การแก้ไข ปว.281 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ไม่ได้ผูกมัดกับพันธกรณี หรือข้อตกลงระหว่าง ประเทศใดๆ แต่ได้กระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชนไทย อย่างไรก็ดี ในบางประเด็นของกฎหมายก็มีความสอดคล้องกับ WTO ที่มีแนวทางที่จะให้ประเทศสมาชิกลดข้อจำกัดการค้าจากต่างประเทศยิ่งขึ้น
5. การอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามกฎหมายใหม่ ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายลำดับชั้น โดยต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียต่อประเทศไทยในทุกๆด้าน ซึ่งแต่เดิมการอนุญาตตามปว.281 เป็นอำนาจและดุลยพินิจของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าเพียงลำพัง แต่กฎหมายใหม่ได้วางหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้ ดังนี้
5.1 ธุรกิจตามบัญชีสอง ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
5.2 ธุรกิจตามบัญชีสาม ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 25 คน รวมทั้งผู้ ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งอีก 5 คน ส่วนธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจประเภทซึ่งไม่เปิดให้คนต่างด้าวขออนุญาตได้--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า พฤศจิกายน 2543--
-อน-
ในเรื่องนี้ นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ได้ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เอื้ออำนวยให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยแต่อย่างใด วัตถุประสงค์ของกฎหมายก็เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการดูแลการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวยิ่งขึ้น ตลอดจนให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นการปรับปรุง ปว.281 ที่ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเริ่มแก้ไขปรับปรุงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ผ่านการแก้ไขร่างมาทุกรัฐบาล และเสร็จสิ้นในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน จนประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542
2. หลักการของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไป ไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานหรือประกอบวิชาชีพ ส่วนการอนุญาตให้ทำงานได้หรือไม่เพียงใด มีกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวหรือกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้นๆ บังคับใช้อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้มีกฎหมายกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำไว้แล้ว เช่น อาชีพนายหน้า มัคคุเทศก์ นำเที่ยว เป็นต้น ดังนั้น แม้คนต่างด้าวจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ถือหุ้นข้างมาก แต่ธุรกิจก็ยังคงต้องจ้างคนไทยทำงานอยู่นั่นเอง นอกจากนั้นกฎหมายนี้ยังบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้ากฎหมายอื่นกำหนดเรื่องการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไว้อย่างไรโดยเฉพาะแล้วก็ให้ใช้บังคับตามกฎหมายดังกล่าวและไม่ให้นำฎหมายนี้มาใช้บังคับในส่วนที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้นั้น
3. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าว อาจแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
3.1 ด้านที่เปิดให้ คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้มากประเภทขึ้น เพื่อให้มีการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุน มีการจ้างแรงงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้
3.2 ในอีกด้านหนี่งกฎหมายใหม่มีมาตรการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเข้มงวดมากกว่า ปว.281 ในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้คนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำและดำรงทุนขั้นต่ำไว้ในประเทศ แม้แต่คนต่างด้าวที่เข้ามาใช้สิทธิตามสนธิสัญญาก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ นอกจากนี้ยังกำหนดสัดส่วนจำนวนหุ้นสูงสุดที่คนต่างด้าวจะถือได้สำหรับธุรกิจบางประเภทและกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลคนต่างด้าวให้ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการเพิ่มโทษที่รุนแรงขึ้นโดยมีโทษปรับสูงขึ้นถึงหนึ่งล้านบาทรวมทั้งมีบทลงโทษถึงโทษจำคุกด้วย
4. การแก้ไข ปว.281 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ไม่ได้ผูกมัดกับพันธกรณี หรือข้อตกลงระหว่าง ประเทศใดๆ แต่ได้กระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชนไทย อย่างไรก็ดี ในบางประเด็นของกฎหมายก็มีความสอดคล้องกับ WTO ที่มีแนวทางที่จะให้ประเทศสมาชิกลดข้อจำกัดการค้าจากต่างประเทศยิ่งขึ้น
5. การอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามกฎหมายใหม่ ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายลำดับชั้น โดยต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียต่อประเทศไทยในทุกๆด้าน ซึ่งแต่เดิมการอนุญาตตามปว.281 เป็นอำนาจและดุลยพินิจของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าเพียงลำพัง แต่กฎหมายใหม่ได้วางหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้ ดังนี้
5.1 ธุรกิจตามบัญชีสอง ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
5.2 ธุรกิจตามบัญชีสาม ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 25 คน รวมทั้งผู้ ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งอีก 5 คน ส่วนธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจประเภทซึ่งไม่เปิดให้คนต่างด้าวขออนุญาตได้--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า พฤศจิกายน 2543--
-อน-