ภาวะเศรษฐกิจการเงินของภาคใต้ ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ 5 ประการ คือ ประการแรก ผลผลิตพืชผลเกษตรมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมันและกาแฟ ประการที่ 2 ราคาพืชผลเกษตรหลัก โดยเฉพาะยางพาราปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.9 ประการที่ 3 อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยน้ำมันปาล์ม อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องขยายตัวดี ประการที่ 4 การท่องเที่ยวยังคงขยายตัว โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และประการสุดท้าย การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งใช้เป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อในภาคใต้ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการขึ้นภาษีสรรพสามิต
ภาคเกษตร
ภาวะอุปทานตึงตัวในช่วงการเปิดกรีดยางใหม่ ส่งผลให้ราคายางพาราปรับสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ปาล์มน้ำมันราคาปรับลดลง เนื่องจากผลผลิตทั้งในและต่างประเทศมีเป็นจำนวนมาก ส่วนกาแฟ มาตรการ แทรกแซงของภาครัฐมีผลทำให้เกษตรกรจำหน่ายกาแฟได้สูงกว่าราคาตามกลไกตลาด สำหรับข้าวเกษตรกร เก็บผลผลิตเสร็จแล้วและกำลังจำหน่ายผลผลิต ส่วนปศุสัตว์ราคาปรับตัวสูงขึ้นจากการระบาดของโรควัวบ้า ทำให้ส่งออกไก่เนื้อได้เพิ่มขึ้น สำหรับการประมง สัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณลดลง แต่มูลค่ายังคงเพิ่มขึ้น
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เกษตรกรชาวสวนยางกรีดยางได้เฉพาะในช่วงต้นไตรมาสแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ส่วนราคายางพาราปรับสูงขึ้นเล็กน้อย โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยในครึ่งแรกปีนี้กิโลกรัมละ 24.03 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ หรือ INRO จำหน่ายยางในมูลภัณฑ์กันชนหมด และอุปทานยางในช่วงต้นฤดูการเปิดกรีดใหม่ตึงตัว
ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากการกระจายของน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตปาล์มสดจึงมีจำนวนมาก โดยในช่วงครึ่งแรกปีนี้ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรจำนวน 2.2 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 67.9 กดดันให้ราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปาล์มน้ำมันทั้งทะลายในระยะเดียวกันนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.21 บาท ลดลงจากราคาเฉลี่ยในระยะเดียวกัน ปีก่อนมากถึงร้อยละ 42.4
กาแฟ การเก็บเกี่ยวและจำหน่ายผลผลิตกาแฟเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ในปีการผลิต 2543/44 มีผลผลิตรวม 85,097.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 6.0 และเนื่องจากในปีนี้ผลผลิตรวมทั้งโลกเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของผู้ผลิตจากประเทศผู้ผลิตรายใหม่ โดยเฉพาะเวียดนาม ทำให้ราคากาแฟต่ำ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกาแฟไทย เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ตามราคาแทรกแซงที่รัฐให้การช่วยเหลือ โดยกาแฟที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13.0 และมีข้อบกพร่องไม่เกินร้อยละ 7.0 รับซื้อ ณ จุดรับซื้อขององค์การคลังสินค้า กิโลกรัมละ 32.00 บาท
สำหรับการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร โดยองค์การคลังสินค้า ณ จุดรับซื้อในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่และพังงา รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2544 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 54,762.4 เมตริกตัน
ข้าว ผลผลิตในฤดูการผลิตปี 2543/44 มีจำนวน 946.6 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้น และการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของภาคใต้ เสร็จสิ้นแล้วในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ในช่วงของการเก็บเกี่ยวบางพื้นที่มีฝนตก ทำให้ข้าวมีความชื้นสูง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตก็ยังเป็นที่ต้องการของ ผู้เลี้ยงสัตว์พื้นเมืองค่อนข้างมาก ราคาเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เมตริกตันละ 3,673.79 บาท
ประมงทะเล ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพงและการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 235,371.9 เมตริกตัน มูลค่า 6,164.6 ล้านบาท ปริมาณลดลงร้อยละ 10.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1
กุ้งกุลาดำ การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนลูกกุ้ง โดยภาวะตลาดในช่วงนี้ต้องการกุ้งขนาดเล็ก ส่วนราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จากช่วงต้นปี โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 362.30 บาท
ปศุสัตว์ ปริมาณความต้องการบริโภคสุกรในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีสุกรถูกฆ่าเพื่อการบริโภคในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จำนวน 146,007 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 สำหรับสถานการณ์ด้านราคาเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 เพราะเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น โดยราคาสุกรขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกกิโลกรัมละ 37.37 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.2
สำหรับความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากการเกิดโรควัวบ้า ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคเนื้อไก่แทน ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดไก่เนื้อ โดยราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 29.85 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5
เหมืองแร่
ดีบุก ผลผลิตแร่ดีบุกในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 1,319.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.3 ส่วนราคาสินแร่ดีบุกเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 151.18 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.8
ยิปซัม ปริมาณผลผลิตแร่ยิปซัมในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,246,623 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.4
ก๊าซธรรมชาติ ผลผลิตก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 36,962.6 เมตริกตัน มูลค่า 447.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 90.1 และ 84.0 ตามลำดับ
น้ำมันดิบ ปริมาณส่งออกน้ำมันดิบออกจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 804,561.6 เมตริกตัน มูลค่าส่งออก 7,135.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.6 และ 40.4 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่ราคาปรับลดลง โดยผลิตภัณฑ์ยางหลายชนิดราคาลดลง เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดโลกเป็นสำคัญ ขณะที่ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีการส่งออกยางธรรมชาติรวม 903,438.9 เมตริกตัน มูลค่า 21,432.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 และ 4.1 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันปาล์มมีแรงกดดันจากภาวะอุปทานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ราคาลดลง แต่ทางด้าน ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากประมงยังคงขยายตัวดี
ยางแผ่นรมควัน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.10 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 และมีการส่งออกยางเฉพาะที่ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ จำนวน 272,296.7 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.2 ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวม 7,432.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5
ยางแท่ง ผลผลิตยางซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางมีน้อย ส่งผลให้การผลิตยางแท่ง ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีการผลิตรวม 365,027.6 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 และราคายางแท่ง STR20 เฉลี่ยในระยะดังกล่าวกิโลกรัมละ 24.46 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากตลาดให้ความสนใจยางจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีราคาต่ำเป็นสำคัญ
ด้านการส่งออกมีจำนวนทั้งสิ้น 389,876.3 เมตริกตัน มูลค่า 9,861.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 และ 0.1 ตามลำดับ
น้ำยาง การส่งออกน้ำยางสดและน้ำยางข้น เฉพาะที่ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 228,654.0 เมตริกตัน มูลค่า 3,928.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 70.3 และ 59.0 ตามลำดับ และเป็นที่น่าสังเกตว่า สัดส่วนการส่งออกน้ำยางต่อการส่งออกยางรวมในช่วงครึ่งแรกของ ปีนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25.3 จากที่มีสัดส่วนร้อยละ 15.5 ในระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ประเทศมาเลเซียจำกัดพื้นที่ปลูกยางและหันมานำเข้ายางในลักษณะวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านทดแทน
ถุงมือยาง การผลิตและการค้าถุงมือยางในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีการส่งออกรวม 23,843.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมมีจำนวน 2,872.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ สถานการณ์ด้านการแข่งขันในตลาดโลกที่มีอยู่ในระดับสูง ทำให้ในช่วงครึ่งแรกปีนี้การผลิตและการค้าชะลอตัว โดยมีการส่งออกรวม 152,895.5 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกจำนวน 1,494.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0
น้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตปาล์มสดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวนมาก ส่งผลให้มีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบมากขึ้น ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้จำนวน 393,506.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.2
ด้านราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร เฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 9.36บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.0 เนื่องจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ต่างพยายามผลักดันน้ำมันปาล์มดิบออกนอกประเทศ และแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยในส่วนของมาเลเซีย ได้อนุมัติให้มีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบโดยไม่ต้องเสียภาษีส่งออก จำนวน 1.0 ล้านเมตริกตัน และมีการให้สินเชื่อระยะยาวแก่ประเทศผู้นำเข้าในวงเงิน 135.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. (5,713.2 ล้านบาท) แก่ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ 5 ประเทศ คือ รัสเซีย พม่า บังคลาเทศ อียิปต์ และเกาหลีเหนือ ขณะที่อินโดนีเซีย ใช้ปัจจัยด้านราคาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันกับมาเลเซีย
อาหารทะเลกระป๋อง ภาวะการผลิตขยายตัว เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์และหันมาบริโภคอาหารทะเลกระป๋องทดแทน การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 58,666.9 เมตริกตัน มูลค่า 5,156.1 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และ 25.4 ตามลำดับ
อาหารทะเลแช่แข็ง การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 126,728.1 เมตริกตัน มูลค่า 10,630.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.4 และ 21.9 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมปลาป่น การประสบปัญหาขาดแคลนปลาป่นทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการใช้มากขึ้น ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาปลาป่นโปรตีนสูงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป เฉลี่ยครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 21.13 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.3 โดยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ
โลหะดีบุก ปริมาณการส่งออกโลหะดีบุก ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 7,205.9 เมตริกตัน มูลค่า 1,579.1 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 8.8 ตามลำดับ โดยมีราคา ส่งออกเฉลี่ยในครึ่งปีแรกกิโลกรัมละ 221.40 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้โดยรวมดีขึ้นเล็กน้อย โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ทั้งสิ้น 1,035,824 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและ สิงคโปร์ลดลงมาก
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคน เข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 458,998 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปเป็นสำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศสวีเดน ทำให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปครองสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.9 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 45.4 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกลดลงเหลือเพียงร้อยละ 43.7 จากร้อยละ 51.5 ในปีก่อน
ภาคใต้ตอนล่าง ภาวะการท่องเที่ยวซบเซา เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ คือ เหตุการณ์วางระเบิด การเปลี่ยนเส้นทางเดินทางของเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ และการหยุดบินชั่วคราวของสายการบินมาเลเซียและการหยุดบินของสายการบินไทย ระหว่างหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเพียง 576,826 คน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7
การลงทุน
ภาวะการลงทุนของภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ขยายตัว ซึ่งพิจารณาได้จากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง โดยมีพื้นที่ก่อสร้างทั้งสิ้น 495,738 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 และมีมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว ประกอบกับมีการจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ขณะที่โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 22 โครงการ เงินลงทุน 1,439.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.1 และ 73.8 ตามลำดับ
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ภาคใต้มีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 4.2 ของทั้งประเทศ
ส่วนการจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ทั้งสิ้น 27,759 อัตรา ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 49.7 ส่วนการสมัครงาน มีผู้สนใจสมัครงาน จำนวน 20,294 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.1 และมีการบรรจุงาน 5,811 อัตรา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.7
ภาคการค้า
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากในช่วงต้นปีนี้ เป็นช่วงของการเลือกตั้งทำให้มีเงินสะพัดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นประชาชน ส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมภาคใต้ในช่วงปลายปี 2543 ได้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสิ่งของ ทดแทนส่วนที่เสียหาย ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และจากสาเหตุดังกล่าวทำให้ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,196.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7
สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์ มียอดจำหน่าย 5,228 และ 75,754 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 และ 26.0 ตามลำดับ เนื่องจากประชาชนซื้อรถใหม่เพื่อทดแทนรถที่เสียหายจากภาวะน้ำท่วม ในขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 8,950 คัน ลดลงร้อยละ 4.7
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อของภาคใต้โดยเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 อันเป็นผลเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.3 และหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.3 สำหรับราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและ เครื่องดื่มที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ได้แก่สินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งสาธารณะ และหมวดย่อยไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 7.9 และ 8.1 ตามลำดับ นอกจากนั้นราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และค่าบริการในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 4.0 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่เป็นปัจจัยผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ทำให้วัตถุดิบที่นำเข้ามีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้การที่รัฐบาลได้ปรับภาษี สรรพสามิต เหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า สำหรับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ส่วนหมวดปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เนื่องจากมูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 10.9 ตามลำดับ
การส่งออก ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ การส่งออกมีมูลค่า 73,671.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 5.6 มูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา ถุงมือยาง อาหารบรรจุกระป๋อง และสัตว์น้ำล้วนส่งออกเพิ่มขึ้น โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 22.2 25.4 และ 21.9 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท การพบเชื้อโรควัวบ้ามากขึ้นในสหภาพยุโรป ตลอดจนการจำกัดการจับปลาทูน่าของโลก ทำให้ราคาปลาทูน่าปรับตัวดีขึ้น ทำให้การส่งออกอาหารบรรจุกระป๋องและสัตว์น้ำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่วนไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 17.0 เนื่องจากผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประสบปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอให้การสงเคราะห์ปลูกยางทดแทน ตลอดจนปัญหาเรื่องเครื่องเลื่อยยนต์หรือเลื่อยโซ่ ซึ่งรัฐบาลควบคุมการนำเข้า ส่งผลให้ขาดแคลนไม้ยางพาราในการส่งออก
การนำเข้า สำหรับมูลค่าสินค้านำเข้าในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 26,846.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 โดยสาเหตุที่มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และการนำเข้าสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ภาคการคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณ ในครึ่งแรกของปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 39,829.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2544 ล่าช้า ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินประจำงวดที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ โดยการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการ เบิกจ่ายงบประจำมากกว่างบลงทุน ทำให้งบประมาณที่จะไปก่อให้เกิดการจ้างงานมีน้อย ส่งผลให้การใช้จ่าย ภาครัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลได้
ภาษี รายได้ในการจัดเก็บภาษีในครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 6,352.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 422.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.4 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 558.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่วนภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 5,371.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3
การเงินและการธนาคาร
เงินสด ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ มีจำนวนรวม 169,121.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 ทั้งนี้แยกประเภทเป็นเงินสดรับจำนวน 83,326.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และเงินสดจ่ายจำนวน 85,795.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
เงินโอน ปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวม 75,680.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.9 แยกเป็นเงินโอนออกทั้งสิ้น 38,928.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 และเงินโอนเข้าจำนวน 36,751.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.0
เช็ค การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีมีมูลค่า 203,475.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ามีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 1.3 เท่ากับเมื่อระยะเดียวกันปีก่อน
สาขาธนาคารพาณิชย์ ยอดเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 251,967.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 แยกประเภทเป็นเงินฝากกระแสรายวัน 6,523.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เงินฝากออมทรัพย์ 79,336.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 เงินฝากประจำ 166,098.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.9 และเงินฝากประเภทอื่น ๆ 8.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.9 ส่วนยอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 166,748.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5 แยกประเภทเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 51,168.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.8 เงินให้กู้ 102,632.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 7.1 ตั๋วเงินและอื่น ๆ 12,947.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.1
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ เงินให้สินเชื่อของสำนักงานอำนวยสินเชื่อเท่ากับ 5,055.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.5 ลักษณะที่ปรากฏเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายแหล่งขอกู้เงินของลูกค้า อันเนื่องมาจากความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับผู้ประกอบการคาดหวังว่าภาวะเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น จึงมีการวางแผนดำเนินธุรกิจในอนาคต
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อเพื่อการส่งออก 4,774.7 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 10,492.7 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 54.5 และสินเชื่ออื่น ๆ จำนวน 1,542.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.0 ตามลำดับ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การอนุมัติเงินให้สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาเดียวกันเท่ากับ 1,449.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อเท่ากับ 8,653.8 ล้านบาท ลดลงจากเมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังปี 2544
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 คาดว่าน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าในช่วง ครึ่งปีแรก เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลังเป็นช่วงที่ผลผลิตพืชผลเกษตรออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะไม้ผล ขณะเดียวกัน การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ออกไปอีก 2 ชั่วโมง จะทำให้การค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมาเลเซียและสิงคโปร์มีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการคลัง ได้แก่ การเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน รวมทั้งนโยบายการเงินที่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น จะช่วยให้มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน คาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ในระดับที่ต่ำลง เนื่องจากราคา ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ ประกอบกับได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและอาเซียน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคเกษตร
ภาวะอุปทานตึงตัวในช่วงการเปิดกรีดยางใหม่ ส่งผลให้ราคายางพาราปรับสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ปาล์มน้ำมันราคาปรับลดลง เนื่องจากผลผลิตทั้งในและต่างประเทศมีเป็นจำนวนมาก ส่วนกาแฟ มาตรการ แทรกแซงของภาครัฐมีผลทำให้เกษตรกรจำหน่ายกาแฟได้สูงกว่าราคาตามกลไกตลาด สำหรับข้าวเกษตรกร เก็บผลผลิตเสร็จแล้วและกำลังจำหน่ายผลผลิต ส่วนปศุสัตว์ราคาปรับตัวสูงขึ้นจากการระบาดของโรควัวบ้า ทำให้ส่งออกไก่เนื้อได้เพิ่มขึ้น สำหรับการประมง สัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณลดลง แต่มูลค่ายังคงเพิ่มขึ้น
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เกษตรกรชาวสวนยางกรีดยางได้เฉพาะในช่วงต้นไตรมาสแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ส่วนราคายางพาราปรับสูงขึ้นเล็กน้อย โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยในครึ่งแรกปีนี้กิโลกรัมละ 24.03 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ หรือ INRO จำหน่ายยางในมูลภัณฑ์กันชนหมด และอุปทานยางในช่วงต้นฤดูการเปิดกรีดใหม่ตึงตัว
ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากการกระจายของน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตปาล์มสดจึงมีจำนวนมาก โดยในช่วงครึ่งแรกปีนี้ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรจำนวน 2.2 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 67.9 กดดันให้ราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปาล์มน้ำมันทั้งทะลายในระยะเดียวกันนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.21 บาท ลดลงจากราคาเฉลี่ยในระยะเดียวกัน ปีก่อนมากถึงร้อยละ 42.4
กาแฟ การเก็บเกี่ยวและจำหน่ายผลผลิตกาแฟเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ในปีการผลิต 2543/44 มีผลผลิตรวม 85,097.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 6.0 และเนื่องจากในปีนี้ผลผลิตรวมทั้งโลกเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของผู้ผลิตจากประเทศผู้ผลิตรายใหม่ โดยเฉพาะเวียดนาม ทำให้ราคากาแฟต่ำ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกาแฟไทย เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ตามราคาแทรกแซงที่รัฐให้การช่วยเหลือ โดยกาแฟที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13.0 และมีข้อบกพร่องไม่เกินร้อยละ 7.0 รับซื้อ ณ จุดรับซื้อขององค์การคลังสินค้า กิโลกรัมละ 32.00 บาท
สำหรับการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร โดยองค์การคลังสินค้า ณ จุดรับซื้อในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่และพังงา รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2544 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 54,762.4 เมตริกตัน
ข้าว ผลผลิตในฤดูการผลิตปี 2543/44 มีจำนวน 946.6 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้น และการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของภาคใต้ เสร็จสิ้นแล้วในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ในช่วงของการเก็บเกี่ยวบางพื้นที่มีฝนตก ทำให้ข้าวมีความชื้นสูง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตก็ยังเป็นที่ต้องการของ ผู้เลี้ยงสัตว์พื้นเมืองค่อนข้างมาก ราคาเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เมตริกตันละ 3,673.79 บาท
ประมงทะเล ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพงและการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 235,371.9 เมตริกตัน มูลค่า 6,164.6 ล้านบาท ปริมาณลดลงร้อยละ 10.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1
กุ้งกุลาดำ การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนลูกกุ้ง โดยภาวะตลาดในช่วงนี้ต้องการกุ้งขนาดเล็ก ส่วนราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จากช่วงต้นปี โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 362.30 บาท
ปศุสัตว์ ปริมาณความต้องการบริโภคสุกรในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีสุกรถูกฆ่าเพื่อการบริโภคในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จำนวน 146,007 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 สำหรับสถานการณ์ด้านราคาเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 เพราะเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น โดยราคาสุกรขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกกิโลกรัมละ 37.37 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.2
สำหรับความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากการเกิดโรควัวบ้า ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคเนื้อไก่แทน ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดไก่เนื้อ โดยราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 29.85 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5
เหมืองแร่
ดีบุก ผลผลิตแร่ดีบุกในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 1,319.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.3 ส่วนราคาสินแร่ดีบุกเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 151.18 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.8
ยิปซัม ปริมาณผลผลิตแร่ยิปซัมในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,246,623 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.4
ก๊าซธรรมชาติ ผลผลิตก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 36,962.6 เมตริกตัน มูลค่า 447.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 90.1 และ 84.0 ตามลำดับ
น้ำมันดิบ ปริมาณส่งออกน้ำมันดิบออกจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 804,561.6 เมตริกตัน มูลค่าส่งออก 7,135.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.6 และ 40.4 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่ราคาปรับลดลง โดยผลิตภัณฑ์ยางหลายชนิดราคาลดลง เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดโลกเป็นสำคัญ ขณะที่ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีการส่งออกยางธรรมชาติรวม 903,438.9 เมตริกตัน มูลค่า 21,432.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 และ 4.1 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันปาล์มมีแรงกดดันจากภาวะอุปทานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ราคาลดลง แต่ทางด้าน ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากประมงยังคงขยายตัวดี
ยางแผ่นรมควัน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.10 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 และมีการส่งออกยางเฉพาะที่ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ จำนวน 272,296.7 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.2 ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวม 7,432.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5
ยางแท่ง ผลผลิตยางซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางมีน้อย ส่งผลให้การผลิตยางแท่ง ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีการผลิตรวม 365,027.6 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 และราคายางแท่ง STR20 เฉลี่ยในระยะดังกล่าวกิโลกรัมละ 24.46 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากตลาดให้ความสนใจยางจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีราคาต่ำเป็นสำคัญ
ด้านการส่งออกมีจำนวนทั้งสิ้น 389,876.3 เมตริกตัน มูลค่า 9,861.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 และ 0.1 ตามลำดับ
น้ำยาง การส่งออกน้ำยางสดและน้ำยางข้น เฉพาะที่ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 228,654.0 เมตริกตัน มูลค่า 3,928.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 70.3 และ 59.0 ตามลำดับ และเป็นที่น่าสังเกตว่า สัดส่วนการส่งออกน้ำยางต่อการส่งออกยางรวมในช่วงครึ่งแรกของ ปีนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25.3 จากที่มีสัดส่วนร้อยละ 15.5 ในระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ประเทศมาเลเซียจำกัดพื้นที่ปลูกยางและหันมานำเข้ายางในลักษณะวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านทดแทน
ถุงมือยาง การผลิตและการค้าถุงมือยางในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีการส่งออกรวม 23,843.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมมีจำนวน 2,872.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ สถานการณ์ด้านการแข่งขันในตลาดโลกที่มีอยู่ในระดับสูง ทำให้ในช่วงครึ่งแรกปีนี้การผลิตและการค้าชะลอตัว โดยมีการส่งออกรวม 152,895.5 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกจำนวน 1,494.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0
น้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตปาล์มสดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวนมาก ส่งผลให้มีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบมากขึ้น ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้จำนวน 393,506.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.2
ด้านราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร เฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 9.36บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.0 เนื่องจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ต่างพยายามผลักดันน้ำมันปาล์มดิบออกนอกประเทศ และแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยในส่วนของมาเลเซีย ได้อนุมัติให้มีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบโดยไม่ต้องเสียภาษีส่งออก จำนวน 1.0 ล้านเมตริกตัน และมีการให้สินเชื่อระยะยาวแก่ประเทศผู้นำเข้าในวงเงิน 135.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. (5,713.2 ล้านบาท) แก่ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ 5 ประเทศ คือ รัสเซีย พม่า บังคลาเทศ อียิปต์ และเกาหลีเหนือ ขณะที่อินโดนีเซีย ใช้ปัจจัยด้านราคาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันกับมาเลเซีย
อาหารทะเลกระป๋อง ภาวะการผลิตขยายตัว เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์และหันมาบริโภคอาหารทะเลกระป๋องทดแทน การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 58,666.9 เมตริกตัน มูลค่า 5,156.1 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และ 25.4 ตามลำดับ
อาหารทะเลแช่แข็ง การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 126,728.1 เมตริกตัน มูลค่า 10,630.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.4 และ 21.9 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมปลาป่น การประสบปัญหาขาดแคลนปลาป่นทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการใช้มากขึ้น ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาปลาป่นโปรตีนสูงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป เฉลี่ยครึ่งแรกของปีนี้กิโลกรัมละ 21.13 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.3 โดยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ
โลหะดีบุก ปริมาณการส่งออกโลหะดีบุก ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 7,205.9 เมตริกตัน มูลค่า 1,579.1 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 8.8 ตามลำดับ โดยมีราคา ส่งออกเฉลี่ยในครึ่งปีแรกกิโลกรัมละ 221.40 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้โดยรวมดีขึ้นเล็กน้อย โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ทั้งสิ้น 1,035,824 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและ สิงคโปร์ลดลงมาก
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคน เข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 458,998 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปเป็นสำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศสวีเดน ทำให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปครองสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.9 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 45.4 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกลดลงเหลือเพียงร้อยละ 43.7 จากร้อยละ 51.5 ในปีก่อน
ภาคใต้ตอนล่าง ภาวะการท่องเที่ยวซบเซา เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ คือ เหตุการณ์วางระเบิด การเปลี่ยนเส้นทางเดินทางของเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ และการหยุดบินชั่วคราวของสายการบินมาเลเซียและการหยุดบินของสายการบินไทย ระหว่างหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเพียง 576,826 คน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7
การลงทุน
ภาวะการลงทุนของภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ขยายตัว ซึ่งพิจารณาได้จากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง โดยมีพื้นที่ก่อสร้างทั้งสิ้น 495,738 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 และมีมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว ประกอบกับมีการจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ขณะที่โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 22 โครงการ เงินลงทุน 1,439.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.1 และ 73.8 ตามลำดับ
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ภาคใต้มีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 4.2 ของทั้งประเทศ
ส่วนการจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ทั้งสิ้น 27,759 อัตรา ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 49.7 ส่วนการสมัครงาน มีผู้สนใจสมัครงาน จำนวน 20,294 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.1 และมีการบรรจุงาน 5,811 อัตรา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.7
ภาคการค้า
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากในช่วงต้นปีนี้ เป็นช่วงของการเลือกตั้งทำให้มีเงินสะพัดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นประชาชน ส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมภาคใต้ในช่วงปลายปี 2543 ได้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสิ่งของ ทดแทนส่วนที่เสียหาย ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และจากสาเหตุดังกล่าวทำให้ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,196.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7
สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์ มียอดจำหน่าย 5,228 และ 75,754 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 และ 26.0 ตามลำดับ เนื่องจากประชาชนซื้อรถใหม่เพื่อทดแทนรถที่เสียหายจากภาวะน้ำท่วม ในขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 8,950 คัน ลดลงร้อยละ 4.7
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อของภาคใต้โดยเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 อันเป็นผลเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.3 และหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.3 สำหรับราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและ เครื่องดื่มที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ได้แก่สินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งสาธารณะ และหมวดย่อยไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 7.9 และ 8.1 ตามลำดับ นอกจากนั้นราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และค่าบริการในหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 4.0 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่เป็นปัจจัยผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ทำให้วัตถุดิบที่นำเข้ามีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้การที่รัฐบาลได้ปรับภาษี สรรพสามิต เหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า สำหรับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ส่วนหมวดปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เนื่องจากมูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 10.9 ตามลำดับ
การส่งออก ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ การส่งออกมีมูลค่า 73,671.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 5.6 มูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา ถุงมือยาง อาหารบรรจุกระป๋อง และสัตว์น้ำล้วนส่งออกเพิ่มขึ้น โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 22.2 25.4 และ 21.9 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท การพบเชื้อโรควัวบ้ามากขึ้นในสหภาพยุโรป ตลอดจนการจำกัดการจับปลาทูน่าของโลก ทำให้ราคาปลาทูน่าปรับตัวดีขึ้น ทำให้การส่งออกอาหารบรรจุกระป๋องและสัตว์น้ำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่วนไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 17.0 เนื่องจากผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประสบปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอให้การสงเคราะห์ปลูกยางทดแทน ตลอดจนปัญหาเรื่องเครื่องเลื่อยยนต์หรือเลื่อยโซ่ ซึ่งรัฐบาลควบคุมการนำเข้า ส่งผลให้ขาดแคลนไม้ยางพาราในการส่งออก
การนำเข้า สำหรับมูลค่าสินค้านำเข้าในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 26,846.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 โดยสาเหตุที่มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และการนำเข้าสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ภาคการคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณ ในครึ่งแรกของปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 39,829.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2544 ล่าช้า ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินประจำงวดที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ โดยการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการ เบิกจ่ายงบประจำมากกว่างบลงทุน ทำให้งบประมาณที่จะไปก่อให้เกิดการจ้างงานมีน้อย ส่งผลให้การใช้จ่าย ภาครัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลได้
ภาษี รายได้ในการจัดเก็บภาษีในครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 6,352.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 422.5 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.4 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 558.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่วนภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 5,371.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3
การเงินและการธนาคาร
เงินสด ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ มีจำนวนรวม 169,121.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 ทั้งนี้แยกประเภทเป็นเงินสดรับจำนวน 83,326.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และเงินสดจ่ายจำนวน 85,795.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
เงินโอน ปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวม 75,680.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.9 แยกเป็นเงินโอนออกทั้งสิ้น 38,928.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 และเงินโอนเข้าจำนวน 36,751.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.0
เช็ค การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีมีมูลค่า 203,475.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ามีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 1.3 เท่ากับเมื่อระยะเดียวกันปีก่อน
สาขาธนาคารพาณิชย์ ยอดเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 251,967.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 แยกประเภทเป็นเงินฝากกระแสรายวัน 6,523.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เงินฝากออมทรัพย์ 79,336.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 เงินฝากประจำ 166,098.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.9 และเงินฝากประเภทอื่น ๆ 8.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.9 ส่วนยอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 166,748.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5 แยกประเภทเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 51,168.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.8 เงินให้กู้ 102,632.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 7.1 ตั๋วเงินและอื่น ๆ 12,947.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.1
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ เงินให้สินเชื่อของสำนักงานอำนวยสินเชื่อเท่ากับ 5,055.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.5 ลักษณะที่ปรากฏเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายแหล่งขอกู้เงินของลูกค้า อันเนื่องมาจากความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับผู้ประกอบการคาดหวังว่าภาวะเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น จึงมีการวางแผนดำเนินธุรกิจในอนาคต
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อเพื่อการส่งออก 4,774.7 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 10,492.7 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 54.5 และสินเชื่ออื่น ๆ จำนวน 1,542.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.0 ตามลำดับ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การอนุมัติเงินให้สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาเดียวกันเท่ากับ 1,449.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อเท่ากับ 8,653.8 ล้านบาท ลดลงจากเมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังปี 2544
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 คาดว่าน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าในช่วง ครึ่งปีแรก เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลังเป็นช่วงที่ผลผลิตพืชผลเกษตรออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะไม้ผล ขณะเดียวกัน การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ออกไปอีก 2 ชั่วโมง จะทำให้การค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมาเลเซียและสิงคโปร์มีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการคลัง ได้แก่ การเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน รวมทั้งนโยบายการเงินที่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น จะช่วยให้มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน คาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ในระดับที่ต่ำลง เนื่องจากราคา ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ ประกอบกับได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและอาเซียน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-