กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO) สมัยที่ 31 ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Universal Declaration on Cultural Diversity) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาคมโลกรับรองเอกสารที่กำหนดมาตรฐานในด้านนี้ ปฏิญญาดังกล่าวปฏิเสธโดยสิ้นเชิงความคิดที่ว่า ความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมและอารย-ธรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรอง Convention on the Protection of the Underwater Cultural Heritage อนุสัญญาดังกล่าวประกาศห้ามปล้นเรือโบราณที่แตกและที่ตั้งของเรือโบราณที่จมเพื่อการค้า
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่ได้ส่งสารแสดงความยินดีต่อเลขาธิการ ฯ และสหประชาชาติในโอกาสที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และขอบคุณประเทศไทยที่ได้มีส่วนร่วมอย่างมากในงานของสหประชา-ชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนและมิตรภาพส่วนตัวของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และหวังว่า จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
มูลนิธิสหประชาชาติ นาย Timothy E. Wirth ประธานมูลนิธิสหประชาชาติ (United Nations Foundation)ได้แถลงว่า คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) มูลนิธิ ฯ ได้รับรองโครงการจำนวน 18 โครงการ ซึ่งเสนอโดยหน่วยงานและกองทุนภายใต้สหประชาชาติ เป็นเงินจำนวน 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย Ted Turner ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ฯ ยังได้ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ฯ ได้พยายามกันเอาเงินไปให้ ประเทศกำลังพัฒนา สหประชาชาติได้จัดตั้งมูลนิธิสหประชาชาติขึ้นเพื่อบริหารจัดการเงินจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่นาย Ted Turner ได้บริจาคให้แก่สหประชาชาติ
แรงงานบังคับในพม่า
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ได้รายงานว่า หลังการที่ Commission of Inquiry ภายใต้ ILO ได้รายงานว่า มีการใช้แรงงานบังคับอยู่อย่างกว้างขวางในพม่าเมื่อปี 2541 นั้น พม่าได้รับรองมาตรการห้ามการใช้แรงงานบังคับและทำให้การใช้แรงงานบังคับเป็นความผิดทางอาญา เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2543 อย่างไรก็ตาม การใช้แรงงานบังคับยังคงมีอยู่ในพม่า เนื่องจาก ในทางปฏิบัติ ยังคงมีการไม่ต้องรับโทษของทหารจากการฟ้องร้องทางอาญา ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ILO ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในพม่า และให้ประชาคมโลกเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้
การประชุมเพื่อเร่งรัดการมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ สหประชาชาติจะจัดการประชุมเพื่อเร่งรัดการมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญาห้ามทดลอง อาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Conference on Facilitating the Entry into Force of the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty - CTBT) ตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 13 พฤศจิกายนศกนี้ ณ นครนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคี CTBT ทั้งนี้ CTBT จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศครอบครองการวิจัยนิวเคลียร์หรือปฏิกรพลังนิวเคลียร์จำนวน 44 ประเทศเข้าเป็นภาคี ซึ่ง ในขณะนี้ 41 ประเทศได้ลงนาม CTBT และ 31 ประเทศได้ให้สัตยาบัน CTBT แล้ว และ 3 ประเทศที่ยังไม่ได้ลงนามหรือให้สัตยาบัน CTBT คือ อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ CTBT ห้ามการระเบิดนิวเคลียร์ ทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารหรือทางพลเรือน
พิธีสารเกียวโต ที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน 2544 ที่เมือง Marrakech ประเทศโมร็อกโก ประสบผลสำเร็จในการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดของพิธีสารเกียวโต ค.ศ. 1997 เกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ประชุม ฯ หวังว่าพิธีสาร ฯ จะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 2545 หลังจากที่มีรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าเป็นภาคีพิธีสาร ฯ ครบ 55 ประเทศ และในจำนวนนั้นจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณก๊าซที่ปล่อยทั้งหมดในปี ค.ศ. 1990 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศที่ให้สัตยาบันพิธีสาร ฯ แล้ว 40 ประเทศ โดยเป็นประเทศอุตสาหกรรม (โรมาเนีย) 1 ประเทศ อนึ่ง ที่ประชุมรัฐภาคี ฯ ยังได้มีการรับรองปฏิญญา Marrakech ที่เตรียมจะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยังยืนที่ในเดือนกันยายน 2545 ที่นครโจฮันเนสเบอร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ด้วย--จบ--
-อน-
ปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO) สมัยที่ 31 ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Universal Declaration on Cultural Diversity) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาคมโลกรับรองเอกสารที่กำหนดมาตรฐานในด้านนี้ ปฏิญญาดังกล่าวปฏิเสธโดยสิ้นเชิงความคิดที่ว่า ความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมและอารย-ธรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรอง Convention on the Protection of the Underwater Cultural Heritage อนุสัญญาดังกล่าวประกาศห้ามปล้นเรือโบราณที่แตกและที่ตั้งของเรือโบราณที่จมเพื่อการค้า
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่ได้ส่งสารแสดงความยินดีต่อเลขาธิการ ฯ และสหประชาชาติในโอกาสที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และขอบคุณประเทศไทยที่ได้มีส่วนร่วมอย่างมากในงานของสหประชา-ชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนและมิตรภาพส่วนตัวของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และหวังว่า จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
มูลนิธิสหประชาชาติ นาย Timothy E. Wirth ประธานมูลนิธิสหประชาชาติ (United Nations Foundation)ได้แถลงว่า คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) มูลนิธิ ฯ ได้รับรองโครงการจำนวน 18 โครงการ ซึ่งเสนอโดยหน่วยงานและกองทุนภายใต้สหประชาชาติ เป็นเงินจำนวน 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย Ted Turner ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ฯ ยังได้ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ฯ ได้พยายามกันเอาเงินไปให้ ประเทศกำลังพัฒนา สหประชาชาติได้จัดตั้งมูลนิธิสหประชาชาติขึ้นเพื่อบริหารจัดการเงินจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่นาย Ted Turner ได้บริจาคให้แก่สหประชาชาติ
แรงงานบังคับในพม่า
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ได้รายงานว่า หลังการที่ Commission of Inquiry ภายใต้ ILO ได้รายงานว่า มีการใช้แรงงานบังคับอยู่อย่างกว้างขวางในพม่าเมื่อปี 2541 นั้น พม่าได้รับรองมาตรการห้ามการใช้แรงงานบังคับและทำให้การใช้แรงงานบังคับเป็นความผิดทางอาญา เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2543 อย่างไรก็ตาม การใช้แรงงานบังคับยังคงมีอยู่ในพม่า เนื่องจาก ในทางปฏิบัติ ยังคงมีการไม่ต้องรับโทษของทหารจากการฟ้องร้องทางอาญา ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ILO ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในพม่า และให้ประชาคมโลกเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้
การประชุมเพื่อเร่งรัดการมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ สหประชาชาติจะจัดการประชุมเพื่อเร่งรัดการมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญาห้ามทดลอง อาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Conference on Facilitating the Entry into Force of the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty - CTBT) ตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 13 พฤศจิกายนศกนี้ ณ นครนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคี CTBT ทั้งนี้ CTBT จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศครอบครองการวิจัยนิวเคลียร์หรือปฏิกรพลังนิวเคลียร์จำนวน 44 ประเทศเข้าเป็นภาคี ซึ่ง ในขณะนี้ 41 ประเทศได้ลงนาม CTBT และ 31 ประเทศได้ให้สัตยาบัน CTBT แล้ว และ 3 ประเทศที่ยังไม่ได้ลงนามหรือให้สัตยาบัน CTBT คือ อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ CTBT ห้ามการระเบิดนิวเคลียร์ ทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารหรือทางพลเรือน
พิธีสารเกียวโต ที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน 2544 ที่เมือง Marrakech ประเทศโมร็อกโก ประสบผลสำเร็จในการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดของพิธีสารเกียวโต ค.ศ. 1997 เกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ประชุม ฯ หวังว่าพิธีสาร ฯ จะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 2545 หลังจากที่มีรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าเป็นภาคีพิธีสาร ฯ ครบ 55 ประเทศ และในจำนวนนั้นจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณก๊าซที่ปล่อยทั้งหมดในปี ค.ศ. 1990 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศที่ให้สัตยาบันพิธีสาร ฯ แล้ว 40 ประเทศ โดยเป็นประเทศอุตสาหกรรม (โรมาเนีย) 1 ประเทศ อนึ่ง ที่ประชุมรัฐภาคี ฯ ยังได้มีการรับรองปฏิญญา Marrakech ที่เตรียมจะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยังยืนที่ในเดือนกันยายน 2545 ที่นครโจฮันเนสเบอร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ด้วย--จบ--
-อน-