กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่หนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2544 ได้ลงพิมพ์บทความเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมที่จังหวัดยะลาและสงขลา โดยได้รายงานข่าวว่ากลุ่ม Bersatu ต้องการเรียกร้องความสนใจจากองค์การการประชุมอิสลาม เพื่อหวังผลการสนับสนุนด้านงบประมาณ นั้น
โดยที่ประเทศไทยเป็นผู้สังเกตการณ์ขององค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference หรือ OIC) มีสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกและได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในไทยมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประชุมของ OIC ที่ผ่านมาจึงไม่เคยมีการพาดพิงถึงประเด็นปัญหาชาวมุสลิมกลุ่มน้อยในไทย แม้ว่าจะได้มีการพิจารณาวาระเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมแยกต่างหากเป็นการเฉพาะในระหว่างการประชุมของ OIC อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยไม่มีภาพพจน์ในด้านลบในแง่นี้ในทัศนะของสมาชิก OIC
ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 และได้เข้าร่วมการประชุมสำคัญๆ ของ OIC อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ICFM) ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ และมาเลเซีย เมื่อปี 2542 และ 2543 ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นได้เป็นผู้แทนของนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของ OIC ที่ประเทศกาตาร์ ซึ่งในการเข้าร่วมประชุมของ OIC ทุกครั้งที่ผ่านมา คณะผู้แทนไทยได้ใช้โอกาสเหล่านี้ทำความเข้าใจกับสมาชิก OIC องค์กรเอกชน และกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมผ่านถ้อยแถลง สิ่งตีพิมพ์และวีดิทัศน์ ที่นำไปแจกจ่ายในที่ประชุม เพื่อให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลไทยต่อชาวไทยมุสลิม ซึ่งแม้จะมีจำนวนเพียงประมาณ 2 ล้านคน แต่ก็ได้รับการประกันสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ จากกฎหมายไทย และจากนโยบายของรัฐบาลไทยตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนับถือศาสนา การศึกษา การดำรงชีพ และอื่นๆ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ของไทยก็ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ยังได้จัดทำหนังสือศาสนสถานของชาวมุสลิมในประเทศไทย (Muslim Worship Sites in Thailand) ซึ่งรวบรวมภาพถ่ายของมัสยิดทั่วประเทศไทยเข้าไว้เป็นสมุดภาพ เพื่อแจกจ่ายแก่มิตรประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม (ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกของ OIC) อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวมุสลิมในไทยมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นการนำมาซึ่งความผาสุกและความกินดีอยู่ดีของชาวไทยมุสลิมโดยทั่วไป
โดยสรุปแล้วการประชุม OIC ที่ผ่านมาไม่เคยมีการพาดพิงถึงประเด็นปัญหาชาวมุสลิมในไทย แม้ว่าจะมีการพิจารณาวาระเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมแยกต่างหากเป็นการเฉพาะในการประชุมของ OIC แสดงให้เห็นว่าไทยมิได้มีภาพลักษณ์ในด้านลบในเรื่องนี้ในทัศนะของสมาชิก OIC แต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่หนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2544 ได้ลงพิมพ์บทความเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมที่จังหวัดยะลาและสงขลา โดยได้รายงานข่าวว่ากลุ่ม Bersatu ต้องการเรียกร้องความสนใจจากองค์การการประชุมอิสลาม เพื่อหวังผลการสนับสนุนด้านงบประมาณ นั้น
โดยที่ประเทศไทยเป็นผู้สังเกตการณ์ขององค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference หรือ OIC) มีสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกและได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในไทยมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประชุมของ OIC ที่ผ่านมาจึงไม่เคยมีการพาดพิงถึงประเด็นปัญหาชาวมุสลิมกลุ่มน้อยในไทย แม้ว่าจะได้มีการพิจารณาวาระเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมแยกต่างหากเป็นการเฉพาะในระหว่างการประชุมของ OIC อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยไม่มีภาพพจน์ในด้านลบในแง่นี้ในทัศนะของสมาชิก OIC
ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 และได้เข้าร่วมการประชุมสำคัญๆ ของ OIC อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ICFM) ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ และมาเลเซีย เมื่อปี 2542 และ 2543 ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นได้เป็นผู้แทนของนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของ OIC ที่ประเทศกาตาร์ ซึ่งในการเข้าร่วมประชุมของ OIC ทุกครั้งที่ผ่านมา คณะผู้แทนไทยได้ใช้โอกาสเหล่านี้ทำความเข้าใจกับสมาชิก OIC องค์กรเอกชน และกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมผ่านถ้อยแถลง สิ่งตีพิมพ์และวีดิทัศน์ ที่นำไปแจกจ่ายในที่ประชุม เพื่อให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลไทยต่อชาวไทยมุสลิม ซึ่งแม้จะมีจำนวนเพียงประมาณ 2 ล้านคน แต่ก็ได้รับการประกันสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ จากกฎหมายไทย และจากนโยบายของรัฐบาลไทยตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนับถือศาสนา การศึกษา การดำรงชีพ และอื่นๆ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ของไทยก็ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ยังได้จัดทำหนังสือศาสนสถานของชาวมุสลิมในประเทศไทย (Muslim Worship Sites in Thailand) ซึ่งรวบรวมภาพถ่ายของมัสยิดทั่วประเทศไทยเข้าไว้เป็นสมุดภาพ เพื่อแจกจ่ายแก่มิตรประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม (ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกของ OIC) อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวมุสลิมในไทยมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นการนำมาซึ่งความผาสุกและความกินดีอยู่ดีของชาวไทยมุสลิมโดยทั่วไป
โดยสรุปแล้วการประชุม OIC ที่ผ่านมาไม่เคยมีการพาดพิงถึงประเด็นปัญหาชาวมุสลิมในไทย แม้ว่าจะมีการพิจารณาวาระเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมแยกต่างหากเป็นการเฉพาะในการประชุมของ OIC แสดงให้เห็นว่าไทยมิได้มีภาพลักษณ์ในด้านลบในเรื่องนี้ในทัศนะของสมาชิก OIC แต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-