สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้มิถุนายน 2544

ข่าวเศรษฐกิจ Sunday July 8, 2001 17:36 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ เดือนมิถุนายนยังขยายตัวขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน เล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตพืชผลการเกษตร 
อุตสาหกรรมต่อเนื่องยังคงขยายตัว ประกอบกับการส่งออกขยายตัวดี โดยมูลค่าส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม
อาหารทะเลที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.7 นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณก็เพิ่มขึ้น โดยเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
และพร้อมทั้งทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวม 28,316.2
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.3 เป็นเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 13,104.1
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ส่วนปริมาณเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย) มีจำนวน
15,212.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.8
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวน 11,022.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวปีก่อนร้อยละ 60.1
การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนมิถุนายนมีจำนวนรวม 384,214 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 36,261.5 ล้านบาท
เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนจำนวนลดลงร้อยละ 3.0 ขณะที่มูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่วนสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวม
ในเดือนมิถุนายนเท่ากับร้อยละ 1.18 สูงกว่าร้อยละ 1.07 เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
ทางด้านสถาบันการเงิน เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 257,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 7.0 และเงินฝากของสาขาธนาคารออมสินมีจำนวน 32,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ในขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินกลับลดลง
โดยสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 174,900 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 และขณะเดียวกันการให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของ
ธ.ก.ส. มีจำนวน 1,657.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.1 สินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยมีจำนวน 1,117.6
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.2 และสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีจำนวน 359.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.4
ภาคการคลัง
ในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 7,375.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 เพราะมี
การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากใกล้สิ้นปี งบประมาณ
ส่วนทางด้านรายได้ในเดือนนี้จัดเก็บได้ 889.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 ทั้งนี้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 733.4
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 59.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 และภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 97.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
12.7 เพราะจัดเก็บภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้เพิ่มขึ้น
การค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนมิถุนายน สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 13,235.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.3 สินค้า
ส่งออกสำคัญหลายประเภทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็งและถุงมือยางโดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3, 32.7 และ 37.1 ตาม
ลำดับ ส่วนมูลค่าส่งออกอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0 ขณะที่ปริมาณลดลงร้อยละ 14.0 เพราะมีการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้า
ส่งออกที่มีมูลค่าลดลงได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูป โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 39.0 เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และก๊าซธรรมชาติ
เหลวซึ่งมูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 87.6
ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,870.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
และการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เพราะผลจากการที่ราคาปลาทูน่าปรับเพิ่มขึ้นและค่าเงินอ่อนตัว
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตของพืชผลเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน โดยยางพาราเริ่มผลิตได้แล้ว ขณะที่
ปาล์มน้ำมันผลผลิตจากพื้นที่ปลูกใหม่ให้ผลเป็นจำนวนมาก
ทางด้านราคาพืชผลนั้น ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.58 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 เนื่องจาก
มีการแข่งขันรับซื้อวัตถุดิบ ทั้งเพื่อส่งไปมาเลเซียและจากการทำสัญญาขายยางกับประเทศจีน จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคา
ผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.46 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.9 เพราะผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ทางด้านราคาข้าวเปลือก
เจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,505.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1
ส่วนสาขาการประมง ปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยในเดือนนี้การส่งออกกุ้งกุลาดำผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า
1,301.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.2 ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นกุ้งกุลาดำขนาดเล็ก ส่วนทางด้านราคายังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 321.50 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 สำหรับสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบ
เรือของทางการในเดือนนี้มีมูลค่า 1,243.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 เพราะผลสืบเนื่องจากการส่งออกดึงให้ราคา
สัตว์น้ำในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณสัตว์น้ำโดยรวมลดลง
ส่วนราคาปศุสัตว์นั้นปรับเพิ่มขึ้นทั้งสุกรและไก่เนื้อ เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น จากผลของโรควัวบ้าและ
โรคปากและเท้าเปื่อยระบาด
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพารา โดยในเดือนนี้ผลผลิต
ยางส่งออกมีจำนวนรวม 178,988 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 เป็นผลผลิตยางแผ่นรมควัน 52,375 เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ผลผลิตยางแท่ง 68,940.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 และผลผลิตน้ำยางสดและน้ำยางข้น 54,998.5 เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.4
ขณะเดียวกันทางด้านอาหารทะเลแช่แข็ง ปริมาณการส่งออกมีจำนวน 22,538 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 ขณะที่อาหารทะเล
กระป๋องปริมาณการส่งออกมีจำนวน 9,444.9 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 14.0 เพราะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และราคาวัตถุดิบปลาทูน่าเพิ่ม
สูงขึ้น
ทางด้านการผลิตอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ คาดว่าผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 58,616.6 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.1 เพราะวัตถุดิบ
เอื้ออำนวย ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยเท่ากับกิโลกรัมละ 10.24 บาท ลดลงร้อยละ 36.3
สำหรับทางด้านเหมืองแร่ ปริมาณการผลิตและการส่งออกโลหะดีบุกและแร่ยิปซัมขยายตัวดี โดยในเดือนนี้ปริมาณการส่งออกโลหะดีบุก
และแร่ยิปซัมมีจำนวน 1,440.0 และ 561,741 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.1 และ 25.5 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว
และน้ำมันดิบกลับลดลง โดยมีจำนวน 45,549 และ 142,957 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 43.7 และ 1.9 ตามลำดับ
ภาคการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักผ่อนในเดือนมิถุนายนมีจำนวนรวม 174,531 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3
อีกทั้งมีเทศกาลมหกรรมลดราคาสินค้า ช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์มีจำนวน 21,034 คน ลดลง
ร้อยละ 20.4 เนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือของเรือโดยสารขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ และปัญหาเศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลง ส่วนนักท่อง
เที่ยวชาติอื่น ๆ มีจำนวน 73,059 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่นและไต้หวัน ส่วนนักท่องเที่ยว
จากยุโรปมีไม่มากนัก เพราะช่วงนี้ทางฝั่งตะวันตกมีฝนตก นักท่องเที่ยวไม่นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางการได้มีการ
ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทั้งในภูมิภาคเอเชียให้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์และในยุโรป เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศส เพื่อกระตุ้นให้มีนักท่องเที่ยว
เดินทางเข้ามามากขึ้น
ภาคการลงทุน
ในเดือนมิถุนายนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน 4 โครงการ เงินลงทุน 129.0 ล้านบาท โครงการลงทุนประกอบด้วย
การผลิตยางแท่ง น้ำยางข้น หลังคาโลหะและม่าน และผลิตส่วนประกอบมอเตอร์ ซึ่งเดือนนี้ภาวะการลงทุนชะลอตัวลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
โดยเงินลงทุนลดลงร้อยละ 94.3 เป็นที่น่าสังเกตว่าภาวะการลงทุนชะลอตัวนั้น อาจได้รับผลจากเศรษฐกิจของ มาเลเซียและสิงคโปร์ชะลอตัว
อีกทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอตัว ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 226 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 566.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เงินทุน
ลดลงร้อยละ 5.8 สำหรับพื้นที่ก่อสร้างมีจำนวนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.8 เช่นกัน
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้ยังคงขยายตัวทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและยานพาหนะ เพราะมีการจัดโครงการ “อเมซิ่งไทยแลนด์แกรนด์เซลล์”
โดยลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นให้นัก ท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ดังเห็นได้จากสถิติการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้รวม 360.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
จูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 79.0 ยอดจำหน่าย
รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 ในขณะที่ยอดการจำหน่ายรถบรรทุก ส่วนบุคคลมีจำนวนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
8.1
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนมิถุนายนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.0 ทั้งนี้มีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นในราคาสินค้าหมวด
อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.6 และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.3
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ค. — ส.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง โดยมีสัญญาณบ่งชี้จากการที่ราคาสินค้า
เกษตรมีแนวโน้มลดลง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งกุลาดำ นอกจากนี้ภาวะการประมงทะเลยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น รวมถึงการลงทุนและการ
ท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของมาเลเซีย และสิงคโปร์ชะลอตัว ส่วนปัจจัยที่คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวไปได้มีเพียง
ความคาดหวังจากนโยบายการคลังในการกระตุ้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และการส่งออกอาหารทะเลที่ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้
รายการ 2543 2544
มิ.ย. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.
1. การเงิน
การรับ จ่ายเงินสดหมุนเวียน (ล้านบาท)
- เงินสดรับ 11,619.70 13,557.10 14,746.90 13,104.10
-6.8 -14.5 -16.4 -12.7
- เงินสดจ่าย 13,597.10 14,379.90 14,450.30 15,212.10
-11.7 -23.7 -12.1 -11.8
ธนาคารพาณิชย์ (สำนักงาน) 417 412 411 411
(-0.5) (-1.2) (-1.4) (-1.4)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ (ล้านบาท) 240299.7 252487.3 253,750* 257,100*
-2.9 -5.6 -6 -7
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (ล้านบาท) 191417.3 166568.1 169,900* 174,900*
(-6.3) (-14.8) (-12.9) (-8.6)
- สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 79.7 66 67.0* 68.0 *
- เช็คหมุนเวียน
จำนวน (ฉบับ) 396,074 395,513 423,667 384,214
(-5.2) -19.2 (-0.7) (-3.0)
มูลค่า (ล้านบาท) 33,619.20 31,042.20 35,225.00 36,261.50
(-7.1) -13.1 -6.3 -7.8
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืน/เช็ครับเข้า (ร้อยละ) 1.07 1.38 1.41 1.18
(-26.2) 0 -6 -10.3
สินเชื่อสำนักงานอำนวยสินเชื่อ (ล้านบาท) 2,964.40 4,993.10 5,359.50 5,520*
-159.8 -100.8 -95.4 -86.2
เงินฝากธนาคารออมสิน (ล้านบาท) 28,349.40 31,652.60 31,484.30 32,000*
-16.3 -11.7 -11.7 -12.9
สินเชื่อ ธ.ก.ส. (ล้านบาท) 1,841.00 903.4 1,394.90 1,657.40
(-4.7) (-22.7) -1.4 (-10.1)
สินเชื่อ EXIM (ล้านบาท) 1,579.10 668.6 829.3 1,117.60
-2.8 (-49.2) (-54.6) (-29.2)
สินเชื่อ IFCT (ล้านบาท) 501.7 179.5 134.5 359
-354.4 -53.9 (-28.4)
2. การคลัง
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (ล้านบาท) 6,989.60 5,664.40 6,741.20 7,375.40
(-7.5) (-8.7) 0 -5.5
การจัดเก็บภาษีอากร (ล้านบาท) 900.7 964.5 1,465.60 889.7
(-22.8) -8.1 -12 (-1.2)
- สรรพากร 750.4 805.2 1,276.90 733.4
(-13.1) -7.7 -13.4 (-2.3)
- สรรพสามิต 64.2 68.8 80.7 59.3
(-73.0) (-2.3) (-7.6) (-7.6)
- ภาษีศุลกากร 86.1 90.5 108 97
-31.3 -22 -13.2 -12.7
ภาษีส่งออก 5.9 4.9 5 5.4
-63.9 (-7.5) (-20.6) (-8.4)
ภาษีนำเข้า 80.2 85.6 103 91.6
-29.4 -24.2 -15.6 -14.2
3. การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก (ล้านบาท) 11,785.80 11,552.80 12,028.60 13,235.60
-46.8 -5.9 -10.9 -12.3
- ยาง 3,417.40 2,897.20 3,225.00 4,178.30
-50 (-2.7) (-4.6) -22.3
- ยางแผ่นรมควัน 1,394.00 914.8 916.8 1,469.70
-34.3 (-20.2) (-29.4) -5.4
- ยางแท่ง 1,478.10 1,455.20 1,699.80 1,708.70
-82.4 (-8.4) -5.2 -15.6
- น้ำยาง 534 490.8 565.8 957.9
-31.8 -107.9 -25.2 -79.4
- ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 324.6 259.7 268 216.7
-77.8 (-11.3) (-17.4) (-33.2)
- ถุงมือยาง 453.8 588.5 679.3 622.2
-14 -69.9 -72.6 -37.1
- สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,760.90 1,545.80 1,940.80 2,337.20
-35.7 -18.9 -36.6 -32.7
- อาหารกระป๋อง 735.5 810 939.5 894.6
-5.5 -22.8 -34.8 -21.6
- ดีบุก 167.4 250.6 207.5 319.9
(-34.0) -4.5 -22.5 -91.1
- แร่อื่น ๆ 202.8 362.2 288.7 284.3
-51.5 -112.9 -62.8 -40.2
- ก๊าซธรรมชาติ 451 81.9 81.3 56
-199.7 -57.8 -32.1 (-87.6)
- น้ำมันดิบ 1,267.70 1,570.40 832.5 1,459.60
- -128.2 (-16.9) -15.1
การนำเข้า (ล้านบาท) 4,163.90 4,846.10 4,706.20 4,870.60
(-62.1) -43.3 (-12.8) -16.9
- เครื่องจักรอุปกรณ์ 675.9 1,277.50 1,732.20 1,760.30
(-92.1) -696 (-2.2) -160.4
- น้ำมันเชื้อเพลิง 0 0 69.1 22
(-100.0) (-100.0) -164.8
- อุปกรณ์ก่อสร้าง 97.4 95.5 102 94
(-19.1) (-2.7) (-2.5) (-3.5)
- สัตว์น้ำ 369.4 796.4 672.2 882.3
-7.6 -332.1 -78.5 -138.8
4. ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม
ปาล์มน้ำมัน (เมตริกตัน) 166484.5 363618 377,314.1* 344,803.5*
(-59.6) -73.1 -99.7 -107.1
5. สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง
ปริมาณ (เมตริกตัน) 49,048.10 37,294.80 41,318.60 43,384.0*
-1.2 (-17.0) (-9.9) (-11.5)
มูลค่า (ล้านบาท) 1,081.10 1,041.90 1,152.00 1,243.0*
-11.6 -7.6 -22.9 -15
6. ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 22.97 24.11 25.54 25.58
-18.4 -2.7 -9.7 -11.4
ปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย (บาท/กก.) 2.75 1.14 1.18 1.46
-60.8 (-41.2) (-49.8) (-46.9)
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) n.a. 3,726.00 3,467.50 3,505.00
กาแฟ (บาท/กก.) n.a. 31.47 n.a. n.a.
-46.4
กุ้งกุลาดำ (บาท/กก.) 359.7 344.8 344.8 321.5
- - - (-10.6)
7. ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
น้ำมันปาล์มดิบ (เมตริกตัน) 30,509 63,485 65,129.6* 58,616.6*
(-58.4) -41.8 -94.6 -92.1
ยางแท่ง (เมตริกตัน) 68,485 54,079 60,518 59,703
-17.2 (-13.0) (-9.6) (-12.8)
8. ผลผลิตแร่
ดีบุก (เมตริกตัน) 217 244 222 245
-37.7 -30.8 -68.9 -13
ยิปซัม (เมตริกตัน) 386,335 403,785 402,658 410,711
(-2.2) -36.1 -6.9 -6.3
ชาติ (คน)
9. จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านชาติ (คน)
ตรวจคนเข้าเมือง 161,098 170,383 150,191 174,531
-3.1 (-10.7) (-3.8) -8.3
มาเลเซีย (คน) 67,351 74,518 72,779 80,438
-3.2 (-20.0) -1.2 -19.4
สิงคโปร์ (คน) 26,412 11,032 13,080 21,034
-4 (-47.3) (-21.9) (-20.4)
อื่น ๆ (คน) 67,335 84,833 64,332 73,059
-2.6 -10.7 (-4.6) -8.5
10. การลงทุนของภาคเอกชน
ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน
- ราย 12 2 5 4
-300 (-33.3) -25 (-66.7)
- เงินลงทุน (ล้านบาท) 2,252.30 24 704.6 129
-348.5 (-94.1) (-25.3) (-94.2)
การจดทะเบียนธุรกิจ
- ราย 202 191 230 226*
-3.6 -15.1 -5.5 -11.9
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 601.5 357.9 435.8 566.5*
(-4.2) (-73.3) (-10.4) (-5.8)
พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง (ตารางเมตร) 93,017 67,417 92,375 82,040*
-45.4 -8.5 -21.4 (-11.8)
- ที่อยู่อาศัย 72,851 44,903 59,400 n.a.
-76.2 -21 -29
- พาณิชยกรรม 9,950 9,815 23,269 n.a.
(-23.1) (-6.7) (-3.8)
- บริการขนส่ง 5,397 8,660 2,498 n.a.
-172.6 -95.1 (-25.3)
11. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
อัตราการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 2.3 2.7 3.4 3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ