องค์การการค้าโลกกำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ขณะนี้เหลือเวลาอีก 10 สัปดาห์ หรือ 70 วัน
ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่อย่างไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานะของการเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2544 นั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่และผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกประเมินว่า โอกาสที่จะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่โดฮานั้นก้ำกึ่งกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกันมากในเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน การทุ่มตลาด และเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย
อย่างไรก็ดี หลายประเทศยังไม่หยุดยั้งความพยายามที่จะให้เกิดการเจรจารอบใหม่ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ให้ได้ จึงได้มีการเรียกประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรีการค้าในเดือนสิงหาคมและกันยายน โดยเริ่มต้นด้วย เม็กซิโกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าของประเทศสมาชิก WTO จำนวน 17 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐฯ อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา สหภาพยุโรป อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จาไมก้า ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ทานซาเนีย อุรุกวัย และ กาตาร์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2544 ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ เพื่อพิจารณาประเด็นที่ยังเป็นข้อ ถกเถียงและหาข้อยุติไม่ได้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อาทิ การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย เกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และปัญหายาราคาแพง เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯและสหภาพยุโรปแจ้งว่า สามารถประนีประนอมท่าทีในเรื่องเกษตรกับประเทศสมาชิกกลุ่มเคร์นส์ที่เข้าร่วมประชุมได้มากขึ้น และพร้อมที่จะมีความยืดหยุ่นเพิ่มเติมในเรื่องการ แก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม พันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย อย่างไรก็ดีอินเดียยังคงยืนยันท่าทีเดิมที่จะไม่สนับสนุนการเปิดการเจรจารอบใหม่หากการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยไม่มีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในประเด็นที่เป็นข้อกังวลของอินเดียโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งทอ และเกษตรก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กรุงโดฮา
เอสแคปจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี/เจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนโยบาย การค้าที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและพิจารณาการประสานท่าทีร่วมกันสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กาตาร์
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ศกนี้ ประธานคณะมนตรีทั่วไปได้จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับประเทศสมาชิกเพื่อหาทางลดความแตกต่างรวมทั้งหยั่งท่าทีสมาชิกว่าจะสามารถเจรจาแลกเปลี่ยน (trade-off) ในเรื่องใดได้บ้าง โดยจะเปลี่ยนวิธีการหารือจากเดิมที่เป็นการหารือในแต่ละเรื่อง (single issue) มาใช้แนวทางการหารือหลายๆเรื่องไปพร้อมๆกันและเชื่อมโยงเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน และในช่วง 10 วันข้างหน้า ประธานคณะมนตรีใหญ่จะเร่งรัดการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและหาท่าทีร่วมกันในเรื่องต่างๆ โดยประธานจะเชิญสมาชิกเข้าหารือเป็นรายประเทศหรือกลุ่มประเทศ นอกจากนี้ประธานจะนำเสนอร่างประเด็นที่จะบรรจุในปฏิญญารัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ประเด็นสำคัญจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม พันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย (Implementation) ซึ่งคณะกรรมการย่อยต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจะต้องเร่งรัดการพิจารณาให้เสร็จตามกำหนดในวันที่ 30 กันยายน 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ในการประชุมคณะมนตรีใหญ่อย่างไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานะของการเตรียมการการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2544 นั้น ประธานคณะมนตรีใหญ่และผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกประเมินว่า โอกาสที่จะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่โดฮานั้นก้ำกึ่งกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกยังมีท่าทีแตกต่างกันมากในเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน การทุ่มตลาด และเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย
อย่างไรก็ดี หลายประเทศยังไม่หยุดยั้งความพยายามที่จะให้เกิดการเจรจารอบใหม่ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ให้ได้ จึงได้มีการเรียกประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรีการค้าในเดือนสิงหาคมและกันยายน โดยเริ่มต้นด้วย เม็กซิโกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าของประเทศสมาชิก WTO จำนวน 17 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐฯ อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา สหภาพยุโรป อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จาไมก้า ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ทานซาเนีย อุรุกวัย และ กาตาร์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2544 ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ เพื่อพิจารณาประเด็นที่ยังเป็นข้อ ถกเถียงและหาข้อยุติไม่ได้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อาทิ การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย เกษตร สิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และปัญหายาราคาแพง เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯและสหภาพยุโรปแจ้งว่า สามารถประนีประนอมท่าทีในเรื่องเกษตรกับประเทศสมาชิกกลุ่มเคร์นส์ที่เข้าร่วมประชุมได้มากขึ้น และพร้อมที่จะมีความยืดหยุ่นเพิ่มเติมในเรื่องการ แก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม พันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย อย่างไรก็ดีอินเดียยังคงยืนยันท่าทีเดิมที่จะไม่สนับสนุนการเปิดการเจรจารอบใหม่หากการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยไม่มีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในประเด็นที่เป็นข้อกังวลของอินเดียโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งทอ และเกษตรก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กรุงโดฮา
เอสแคปจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี/เจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนโยบาย การค้าที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและพิจารณาการประสานท่าทีร่วมกันสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กาตาร์
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ศกนี้ ประธานคณะมนตรีทั่วไปได้จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับประเทศสมาชิกเพื่อหาทางลดความแตกต่างรวมทั้งหยั่งท่าทีสมาชิกว่าจะสามารถเจรจาแลกเปลี่ยน (trade-off) ในเรื่องใดได้บ้าง โดยจะเปลี่ยนวิธีการหารือจากเดิมที่เป็นการหารือในแต่ละเรื่อง (single issue) มาใช้แนวทางการหารือหลายๆเรื่องไปพร้อมๆกันและเชื่อมโยงเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน และในช่วง 10 วันข้างหน้า ประธานคณะมนตรีใหญ่จะเร่งรัดการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและหาท่าทีร่วมกันในเรื่องต่างๆ โดยประธานจะเชิญสมาชิกเข้าหารือเป็นรายประเทศหรือกลุ่มประเทศ นอกจากนี้ประธานจะนำเสนอร่างประเด็นที่จะบรรจุในปฏิญญารัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ประเด็นสำคัญจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม พันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย (Implementation) ซึ่งคณะกรรมการย่อยต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจะต้องเร่งรัดการพิจารณาให้เสร็จตามกำหนดในวันที่ 30 กันยายน 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-