1. ความเป็นมา
(1) การเจรจารอบโดฮาเริ่มตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ปลายปี 2544 ซึ่งปฏิญญารัฐมนตรีกำหนดให้เจรจา 8 เรื่องโดยมีเรื่องที่สำคัญได้แก่ การเปิดเสรีสินค้าเกษตร การเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (Non-Agriculture Market Access: NAMA) และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ก็ให้พิจารณาว่าจะนำเรื่องที่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ มอบหมายให้ศึกษาหรือที่เรียกว่า Singapore Issues (ประกอบด้วย 4 เรื่องคือ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐฯ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า) เข้ามาเจรจาภายใต้รอบโดฮาด้วยหรือไม่
(2) การเจรจารอบโดฮามีกำหนดสิ้นสุด 1 มกราคม 2548 แต่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ที่แคนคูนในปี 2546 ล้มเหลว สาเหตุหลักคือประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้ที่ประชุมตัดสินใจนำเรื่อง Singapore Issues เข้ามาเจรจาด้วยแต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่คัดค้าน นอกจากนั้น ยังแสดงความไม่พอใจข้อเสนอของสหรัฐฯและสหภาพฯ ในเรื่องสินค้าเกษตร รวมทั้งประเทศกลุ่มผู้ส่งออกฝ้ายในอัฟริกาเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดการอุดหนุนฝ้ายเป็นการแลกเปลี่ยน แต่สหรัฐฯ ไม่ยอม
(3) ความล้มเหลวของการประชุมระดับรัฐมนตรีที่แคนคูนทำให้การเจรจารอบโดฮาชะงักงันไปหลายเดือน จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2547 สหรัฐฯ และสหภาพฯ ได้แสดงท่าทียืดหยุ่นขึ้นในเรื่องสินค้าเกษตร ว่าพร้อมที่จะยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก ลดการอุดหนุนภายในลงอย่างมาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้เพิ่มขึ้น สมาชิกจึงได้กลับมาเจรจาต่อโดยเน้นที่ 4 เรื่องสำคัญ คือ (1) สินค้าเกษตร (2) สินค้าอุตสาหกรรมและประมง (3) การค้าบริการ และ(4) การอำนวยความสะดวกทางการค้า
(4) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547 สมาชิกสามารถกำหนดกรอบข้อผูกพัน (Framework for establishment of modalities) ในเรื่องสำคัญทั้ง 4 เรื่องได้สำเร็จโดยเรียก Framework ดังกล่าวว่า “July Package” โดยตัดสินใจที่จะให้เริ่มการเจรจาเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าตาม framework ดังกล่าว และให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13 — 18 ธันวาคม ศกนี้
2. สถานะล่าสุด
ขณะนี้ สมาชิกกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาประเด็นทางเทคนิคซึ่งเดิมทีมีเป้าหมายที่จะให้สามารถจัดทำร่างรูปแบบข้อผูกพัน (modalities) ฉบับแรกหรือที่เรียกว่า “First Approximation” ออกมาในปลายเดือนกรกฎาคมก่อนหยุดพักฤดูร้อน แต่ไม่สามารถจัดทำ First Approximation ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากสมาชิกมีท่าทีแตกต่างกันหลายเรื่อง ส่งผลให้สมาชิกต้องเร่งหาทางออกกันในช่วงหลังพักฤดูร้อน (กันยายน-พฤศจิกายน) เพื่อให้การประชุมรัฐมนตรีที่ฮ่องกงในเดือนธันวาคม ศกนี้ ประสบผลสำเร็จ
2.1 เกษตร
สถานะล่าสุด
July Framework กำหนดให้ลดภาษีและลดการอุดหนุนภายในโดยใช้สูตร tier formula (แบ่งอัตราภาษีออกเป็นกลุ่มๆและกำหนดสูตรเฉพาะที่จะลดภายในแต่ละกลุ่ม: อัตราสูงลดมากอัตราต่ำลดน้อย) ส่วนการอุดหนุนส่งออกก็ให้ยกเลิกทุกรูปแบบภายในเวลาที่จะตกลงกัน
? สมาชิกได้ตกลงวิธีการแปลงอัตราภาษีจากอัตราตามสภาพ (specific rate) เป็นอัตราตามราคา (Ad Valorem Equivalents: AVEs) ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจัดทำ first approximation ได้ในเรื่องต่อไปนี้
การเปิดตลาด: จำนวน tier และสูตรการลดภาษี แม้ว่าสมาชิกตกลงใช้ข้อเสนอกลุ่ม G20 (ซึ่งให้หา middle ground ระหว่างสูตร Uruguay Round และสูตรสวิส) เป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อไป ทั้งนี้ กลุ่ม G20 [1
]และกลุ่มแคร์นส์ [2
]และสหรัฐฯ ต้องการสูตรที่ลดภาษีต่ำลงมากในขณะที่สหภาพฯและ G10[3
] ต้องการปกป้องเกษตรในประเทศจึงไม่ต้องการลดภาษีลงมากนัก
การอุดหนุนภายใน: จำนวน tier และสูตรการลดการอุดหนุนภายใน รวมทั้งการทบทวนมาตรการการอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า (Green Box) ทั้งนี้ สหรัฐฯและสหภาพฯ ยืนยันที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งลดการอุดหนุนลง
การอุดหนุนการส่งออก: ไม่สามารถตกลงเรื่อง end date ในการยกเลิกการอุดหนุนส่งออกได้
2.2 NAMA
สถานะล่าสุด
? การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วยประเด็นสำคัญคือสูตรการลดภาษี การลดภาษีแบบรายสาขา การผูกพันรายการสินค้าที่ยังไม่ผูกพันอัตราภาษี (Unbound Items)ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา และการลดเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี
? สำหรับเรื่องสูตรการลดภาษี กระแสของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนให้ใช้สูตรการลดภาษีแบบสวิส ซึ่งจะทำให้ภาษีลดลงมาสู่อัตราที่ต่ำมาก โดยให้มีความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าสูตรอื่นๆในรูปแบบต่างๆ แต่ อาร์เจนตินาบราซิล อินเดียและประเทศกลุ่มแอฟริกาบางประเทศต้องการสูตร Girard จึงไม่สามารถกำหนด First Approximation ในเรื่องนี้ได้
? การลดภาษีแบบรายสาขา (Sectoral Approach) ประเทศสมาชิกหลายประเทศเริ่มหารือในสาขาต่าง เช่น สหรัฐฯเป็นเจ้าภาพในการจัดการหารือสาขาเคมีภัณฑ์ ญี่ปุ่นและเกาหลีในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในสาขาประมง แคนาดาในสาขาป่าไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้ริเริ่มหารือในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ
? สำหรับเรื่องการผูกพันรายการสินค้าที่ยังไม่มีข้อผูกพันอัตราภาษี สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าควรผูกพันทุกรายการ และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะผูกพันรายการสินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำอยู่แล้วอย่างไร เช่น กำหนดอัตราขั้นต่ำสุด (Floor rate) หรือ mark up ให้อยู่ในอัตราสูงก่อนเข้าสูตรลดภาษี เป็นต้น
2.3 การอำนวยความสะดวกทางการค้า
สถานะล่าสุด
? การเจรจาเรื่องนี้เน้นปรับปรุงกฏเกณฑ์ของแกตต์ใน 3 มาตราคือมาตรา V (เสรีภาพในการผ่านแดน), มาตรา VIII (ค่าธรรมเนียมและพิธีการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก) และมาตรา X (การเผยแพร่กฏระเบียบทางการค้าให้มีความโปร่งใส)
? สมาชิกกำลังอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ดังกล่าวที่สำคัญ เช่น การใช้ระบบ Single Window สำหรับยื่นเอกสารนำเข้า การจัดตั้งศูนย์สอบถามข้อมูลทางการค้า (enquiry point) การตรวจปล่อยของล่วงหน้า (pre-arrival clearance) การวางประกันเพื่อนำสินค้าออกก่อนชำระภาษี การยื่นใบขนครั้งเดียวสำหรับสินค้าที่เหมือนกัน เป็นต้น
2.4 บริการ
สถานะล่าสุด
การเจรจาด้านการค้าบริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การเปิดตลาดและ (2) การจัดทำกฎเกณฑ์ ซึ่งแม้จำนวนประเทศสมาชิกที่ได้ยื่นข้อเสนอ/ข้อเรียกร้องการเปิดตลาดทั้งฉบับแรกและฉบับปรับปรุงจะมีเพิ่มขึ้น แต่การเจรจาก็ไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะข้อเสนอไม่มีคุณค่าและความจริงใจในการเปิดตลาดที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ในการจัดทำกฎเกณฑ์ก็ไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านสาระและกำหนดเวลา
(1) การเปิดตลาด
? ภายหลังความล้มเหลวของการประชุมรัฐมนตรี WTO ณ เมืองแคนคูน การเจรจาเปิดตลาดมีความคืบหน้าน้อยมาก จนถึงปัจจุบันมี initial offer ที่ยื่นต่อ WTO ทั้งหมด 72 ฉบับ ทั้งนี้ ไทยได้ยื่น initial offer ไปแล้วตั้งแต่ 29 สิงหาคม 2546 ส่วนประเทศที่ยังไม่ได้ยื่นมี 28 ประเทศ ไม่นับรวมประเทศพัฒนาน้อยที่สุดซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่บังคับให้ต้องยื่น offer อย่างไรก็ตาม WTO ได้กำหนดให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่น initial offer ต้องยื่นโดยเร็วที่สุด ส่วนสมาชิกที่ยื่นไปแล้วต้องยื่นข้อเสนอเปิดตลาดฉบับปรับปรุงใหม่ (revised offer) ภายในเดือนพฤษภาคม 2548 (May Benchmark) ณ ปัจจุบันมี revised offer ที่ยื่นต่อ WTO 26 ฉบับจากออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ จีนไทเป บาห์เรน สหรัฐฯ ไอซ์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ สุรินัม สหภาพฯ สวิตเซอร์แลนด์ อุรุกวัย นิวซีแลนด์ บราซิล ญี่ปุ่น เป็นต้น
? ในการประชุมรัฐมนตรี WTO กลุ่มย่อย จำนวน 31 ประเทศ ที่เมืองต้าเหลี่ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ประชุมได้กำหนด new deadline ของการยื่น new revised offer เป็นปี 2006
? ไทยยังไม่ได้ยื่น Revised offer คาดว่าคงจะยื่นได้ก่อนเดือนธันวาคม 2548
(2) การจัดทำกฎเกณฑ์การค้าบริการ
1. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ สมาชิกยังมีความเห็นแตกต่างกันใน mandate ของการเจรจา ประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้การเจรจาครอบคลุม Market Access, National Treatment, และ MFN แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ (นำโดยอินเดีย) เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ mandate ของการเจรจา
2. การอุดหนุน การเจรจาที่ผ่านมาไม่คืบหน้านัก สมาชิกไม่ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการอุดหนุนบริการระหว่างกัน โดยอ้างว่ายังไม่มีคำจำกัดความ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ประเทศสมาชิกต่างๆเริ่มผ่อนปรนและยินยอมที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันแล้ว แต่ยังคงมีความเห็นแตกต่างกันว่าควรดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะบางสาขาก่อน (ตามที่สหรัฐฯเสนอ) หรือทำพร้อมกันไปในทุกสาขา
3. มาตรการปกป้องฉุกเฉิน (ESMs) อยู่ในภาวะ deadlock โดยที่ประเด็นด้านเทคนิคและความจำเป็นของการมี ESM สำหรับการบริการก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติในการเจรจาได้
4. การเจรจาว่าด้วยหลักเกณฑ์สำหรับการออกกฎระเบียบภายในประเทศ ประเทศกำลังพัฒนา (นำโดยอินเดีย) พยายามเร่งให้มีการกำหนดหลักการและขั้นตอนการพิสูจน์คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทำให้การเปิดตลาดการค้าบริการเกิดผลในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ เน้นเรื่องความโปร่งใสในการออกกฎระเบียบในประเทศ
2.5 ความคืบหน้าของการเจรจาเรื่องอื่นๆ
นอกจากเรื่องเจรจาสำคัญ 4 เรื่องข้างต้นที่มีการกำหนดกรอบข้อผูกพันอย่างชัดเจนแล้ว ประเทศสมาชิก WTO ได้กำหนดเป้าหมายว่าในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ควรจะมีความคืบหน้าในการเจรจาเรื่องการปรับปรุงกฎระเบียบของ WTO และเรื่องการพัฒนา
2.5.1 การปรับปรุงกฎระเบียบ (Rules) ของ WTO
ประกอบด้วย (1) ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด (2) ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ (3) การอุดหนุนประมง และ (4) การจัดทำเขตการค้าเสรี/การรวมกลุ่มภูมิภาค ซึ่งไม่คืบหน้ามากนัก โดยที่ผ่านมาเป็นเพียงการยื่นข้อเสนอของประเทศสมาชิก
2.5.2 การพัฒนา (Development Issues)
ประกอบด้วย (1) การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (Implementation-Related Issues and Concerns) และ (2) การแก้ไขบทบัญญัติในความตกลงต่างๆของ WTO เรื่องการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment) ซึ่งการเจรจายังไม่มีข้อสรุป เพราะท่าทีที่แตกต่างกันและไม่ยืดหยุ่นระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศกำลังพัฒนาใช้เป็นเบี้ยต่อรองกับการเจรจาเรื่องอื่นๆ
------------------------------------------------------------------------------
[1
] กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 21 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อินเดีย ไทย อาร์เจนตินา อียิปต์ ชิลี จีน อินโดนีเซีย อัฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ โบลิเวีย คิวบา กัวเตมาลา เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวัย แทนซานีย เวนซุเอลา อุรุกวัยและซิมบับเว
2 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลางและเล็ก 17 ประเทศซึ่งรวมตัวกันสร้างอำนาจเจรจาต่อรองกับประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสุทธิ ประกอบด้วยไทย อัฟริกาใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ แคนาดา บราซิล ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย โคลัมเบีย คอสตาริกา ชิลี กัวเตมาลา ปารากวัย ฟิลิปปินส์ อินโดนีซีย และอุรุกวัย
3 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสุทธิประกอบด้วยญี่ปุ่น เกาหลี ลิคเต็นสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน นอร์เวย์ บัลแกเรีย อิสราเอล มอริเชียส และไอซ์แลนด์ ซึ่งรวมตัวเพื่อคานอำนาจกลุ่ม G20 ที่ผลักดันการเปิดเสรีสินค้าเกษตร
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-
(1) การเจรจารอบโดฮาเริ่มตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ปลายปี 2544 ซึ่งปฏิญญารัฐมนตรีกำหนดให้เจรจา 8 เรื่องโดยมีเรื่องที่สำคัญได้แก่ การเปิดเสรีสินค้าเกษตร การเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (Non-Agriculture Market Access: NAMA) และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ก็ให้พิจารณาว่าจะนำเรื่องที่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ มอบหมายให้ศึกษาหรือที่เรียกว่า Singapore Issues (ประกอบด้วย 4 เรื่องคือ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐฯ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า) เข้ามาเจรจาภายใต้รอบโดฮาด้วยหรือไม่
(2) การเจรจารอบโดฮามีกำหนดสิ้นสุด 1 มกราคม 2548 แต่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ที่แคนคูนในปี 2546 ล้มเหลว สาเหตุหลักคือประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้ที่ประชุมตัดสินใจนำเรื่อง Singapore Issues เข้ามาเจรจาด้วยแต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่คัดค้าน นอกจากนั้น ยังแสดงความไม่พอใจข้อเสนอของสหรัฐฯและสหภาพฯ ในเรื่องสินค้าเกษตร รวมทั้งประเทศกลุ่มผู้ส่งออกฝ้ายในอัฟริกาเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดการอุดหนุนฝ้ายเป็นการแลกเปลี่ยน แต่สหรัฐฯ ไม่ยอม
(3) ความล้มเหลวของการประชุมระดับรัฐมนตรีที่แคนคูนทำให้การเจรจารอบโดฮาชะงักงันไปหลายเดือน จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2547 สหรัฐฯ และสหภาพฯ ได้แสดงท่าทียืดหยุ่นขึ้นในเรื่องสินค้าเกษตร ว่าพร้อมที่จะยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก ลดการอุดหนุนภายในลงอย่างมาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้เพิ่มขึ้น สมาชิกจึงได้กลับมาเจรจาต่อโดยเน้นที่ 4 เรื่องสำคัญ คือ (1) สินค้าเกษตร (2) สินค้าอุตสาหกรรมและประมง (3) การค้าบริการ และ(4) การอำนวยความสะดวกทางการค้า
(4) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547 สมาชิกสามารถกำหนดกรอบข้อผูกพัน (Framework for establishment of modalities) ในเรื่องสำคัญทั้ง 4 เรื่องได้สำเร็จโดยเรียก Framework ดังกล่าวว่า “July Package” โดยตัดสินใจที่จะให้เริ่มการเจรจาเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าตาม framework ดังกล่าว และให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13 — 18 ธันวาคม ศกนี้
2. สถานะล่าสุด
ขณะนี้ สมาชิกกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาประเด็นทางเทคนิคซึ่งเดิมทีมีเป้าหมายที่จะให้สามารถจัดทำร่างรูปแบบข้อผูกพัน (modalities) ฉบับแรกหรือที่เรียกว่า “First Approximation” ออกมาในปลายเดือนกรกฎาคมก่อนหยุดพักฤดูร้อน แต่ไม่สามารถจัดทำ First Approximation ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากสมาชิกมีท่าทีแตกต่างกันหลายเรื่อง ส่งผลให้สมาชิกต้องเร่งหาทางออกกันในช่วงหลังพักฤดูร้อน (กันยายน-พฤศจิกายน) เพื่อให้การประชุมรัฐมนตรีที่ฮ่องกงในเดือนธันวาคม ศกนี้ ประสบผลสำเร็จ
2.1 เกษตร
สถานะล่าสุด
July Framework กำหนดให้ลดภาษีและลดการอุดหนุนภายในโดยใช้สูตร tier formula (แบ่งอัตราภาษีออกเป็นกลุ่มๆและกำหนดสูตรเฉพาะที่จะลดภายในแต่ละกลุ่ม: อัตราสูงลดมากอัตราต่ำลดน้อย) ส่วนการอุดหนุนส่งออกก็ให้ยกเลิกทุกรูปแบบภายในเวลาที่จะตกลงกัน
? สมาชิกได้ตกลงวิธีการแปลงอัตราภาษีจากอัตราตามสภาพ (specific rate) เป็นอัตราตามราคา (Ad Valorem Equivalents: AVEs) ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจัดทำ first approximation ได้ในเรื่องต่อไปนี้
การเปิดตลาด: จำนวน tier และสูตรการลดภาษี แม้ว่าสมาชิกตกลงใช้ข้อเสนอกลุ่ม G20 (ซึ่งให้หา middle ground ระหว่างสูตร Uruguay Round และสูตรสวิส) เป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อไป ทั้งนี้ กลุ่ม G20 [1
]และกลุ่มแคร์นส์ [2
]และสหรัฐฯ ต้องการสูตรที่ลดภาษีต่ำลงมากในขณะที่สหภาพฯและ G10[3
] ต้องการปกป้องเกษตรในประเทศจึงไม่ต้องการลดภาษีลงมากนัก
การอุดหนุนภายใน: จำนวน tier และสูตรการลดการอุดหนุนภายใน รวมทั้งการทบทวนมาตรการการอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า (Green Box) ทั้งนี้ สหรัฐฯและสหภาพฯ ยืนยันที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งลดการอุดหนุนลง
การอุดหนุนการส่งออก: ไม่สามารถตกลงเรื่อง end date ในการยกเลิกการอุดหนุนส่งออกได้
2.2 NAMA
สถานะล่าสุด
? การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วยประเด็นสำคัญคือสูตรการลดภาษี การลดภาษีแบบรายสาขา การผูกพันรายการสินค้าที่ยังไม่ผูกพันอัตราภาษี (Unbound Items)ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา และการลดเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี
? สำหรับเรื่องสูตรการลดภาษี กระแสของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนให้ใช้สูตรการลดภาษีแบบสวิส ซึ่งจะทำให้ภาษีลดลงมาสู่อัตราที่ต่ำมาก โดยให้มีความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าสูตรอื่นๆในรูปแบบต่างๆ แต่ อาร์เจนตินาบราซิล อินเดียและประเทศกลุ่มแอฟริกาบางประเทศต้องการสูตร Girard จึงไม่สามารถกำหนด First Approximation ในเรื่องนี้ได้
? การลดภาษีแบบรายสาขา (Sectoral Approach) ประเทศสมาชิกหลายประเทศเริ่มหารือในสาขาต่าง เช่น สหรัฐฯเป็นเจ้าภาพในการจัดการหารือสาขาเคมีภัณฑ์ ญี่ปุ่นและเกาหลีในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในสาขาประมง แคนาดาในสาขาป่าไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้ริเริ่มหารือในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ
? สำหรับเรื่องการผูกพันรายการสินค้าที่ยังไม่มีข้อผูกพันอัตราภาษี สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าควรผูกพันทุกรายการ และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะผูกพันรายการสินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำอยู่แล้วอย่างไร เช่น กำหนดอัตราขั้นต่ำสุด (Floor rate) หรือ mark up ให้อยู่ในอัตราสูงก่อนเข้าสูตรลดภาษี เป็นต้น
2.3 การอำนวยความสะดวกทางการค้า
สถานะล่าสุด
? การเจรจาเรื่องนี้เน้นปรับปรุงกฏเกณฑ์ของแกตต์ใน 3 มาตราคือมาตรา V (เสรีภาพในการผ่านแดน), มาตรา VIII (ค่าธรรมเนียมและพิธีการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก) และมาตรา X (การเผยแพร่กฏระเบียบทางการค้าให้มีความโปร่งใส)
? สมาชิกกำลังอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ดังกล่าวที่สำคัญ เช่น การใช้ระบบ Single Window สำหรับยื่นเอกสารนำเข้า การจัดตั้งศูนย์สอบถามข้อมูลทางการค้า (enquiry point) การตรวจปล่อยของล่วงหน้า (pre-arrival clearance) การวางประกันเพื่อนำสินค้าออกก่อนชำระภาษี การยื่นใบขนครั้งเดียวสำหรับสินค้าที่เหมือนกัน เป็นต้น
2.4 บริการ
สถานะล่าสุด
การเจรจาด้านการค้าบริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การเปิดตลาดและ (2) การจัดทำกฎเกณฑ์ ซึ่งแม้จำนวนประเทศสมาชิกที่ได้ยื่นข้อเสนอ/ข้อเรียกร้องการเปิดตลาดทั้งฉบับแรกและฉบับปรับปรุงจะมีเพิ่มขึ้น แต่การเจรจาก็ไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะข้อเสนอไม่มีคุณค่าและความจริงใจในการเปิดตลาดที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ในการจัดทำกฎเกณฑ์ก็ไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านสาระและกำหนดเวลา
(1) การเปิดตลาด
? ภายหลังความล้มเหลวของการประชุมรัฐมนตรี WTO ณ เมืองแคนคูน การเจรจาเปิดตลาดมีความคืบหน้าน้อยมาก จนถึงปัจจุบันมี initial offer ที่ยื่นต่อ WTO ทั้งหมด 72 ฉบับ ทั้งนี้ ไทยได้ยื่น initial offer ไปแล้วตั้งแต่ 29 สิงหาคม 2546 ส่วนประเทศที่ยังไม่ได้ยื่นมี 28 ประเทศ ไม่นับรวมประเทศพัฒนาน้อยที่สุดซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่บังคับให้ต้องยื่น offer อย่างไรก็ตาม WTO ได้กำหนดให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่น initial offer ต้องยื่นโดยเร็วที่สุด ส่วนสมาชิกที่ยื่นไปแล้วต้องยื่นข้อเสนอเปิดตลาดฉบับปรับปรุงใหม่ (revised offer) ภายในเดือนพฤษภาคม 2548 (May Benchmark) ณ ปัจจุบันมี revised offer ที่ยื่นต่อ WTO 26 ฉบับจากออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ จีนไทเป บาห์เรน สหรัฐฯ ไอซ์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ สุรินัม สหภาพฯ สวิตเซอร์แลนด์ อุรุกวัย นิวซีแลนด์ บราซิล ญี่ปุ่น เป็นต้น
? ในการประชุมรัฐมนตรี WTO กลุ่มย่อย จำนวน 31 ประเทศ ที่เมืองต้าเหลี่ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ประชุมได้กำหนด new deadline ของการยื่น new revised offer เป็นปี 2006
? ไทยยังไม่ได้ยื่น Revised offer คาดว่าคงจะยื่นได้ก่อนเดือนธันวาคม 2548
(2) การจัดทำกฎเกณฑ์การค้าบริการ
1. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ สมาชิกยังมีความเห็นแตกต่างกันใน mandate ของการเจรจา ประเทศพัฒนาแล้วต้องการให้การเจรจาครอบคลุม Market Access, National Treatment, และ MFN แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ (นำโดยอินเดีย) เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ mandate ของการเจรจา
2. การอุดหนุน การเจรจาที่ผ่านมาไม่คืบหน้านัก สมาชิกไม่ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการอุดหนุนบริการระหว่างกัน โดยอ้างว่ายังไม่มีคำจำกัดความ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ประเทศสมาชิกต่างๆเริ่มผ่อนปรนและยินยอมที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันแล้ว แต่ยังคงมีความเห็นแตกต่างกันว่าควรดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะบางสาขาก่อน (ตามที่สหรัฐฯเสนอ) หรือทำพร้อมกันไปในทุกสาขา
3. มาตรการปกป้องฉุกเฉิน (ESMs) อยู่ในภาวะ deadlock โดยที่ประเด็นด้านเทคนิคและความจำเป็นของการมี ESM สำหรับการบริการก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติในการเจรจาได้
4. การเจรจาว่าด้วยหลักเกณฑ์สำหรับการออกกฎระเบียบภายในประเทศ ประเทศกำลังพัฒนา (นำโดยอินเดีย) พยายามเร่งให้มีการกำหนดหลักการและขั้นตอนการพิสูจน์คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทำให้การเปิดตลาดการค้าบริการเกิดผลในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ เน้นเรื่องความโปร่งใสในการออกกฎระเบียบในประเทศ
2.5 ความคืบหน้าของการเจรจาเรื่องอื่นๆ
นอกจากเรื่องเจรจาสำคัญ 4 เรื่องข้างต้นที่มีการกำหนดกรอบข้อผูกพันอย่างชัดเจนแล้ว ประเทศสมาชิก WTO ได้กำหนดเป้าหมายว่าในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ควรจะมีความคืบหน้าในการเจรจาเรื่องการปรับปรุงกฎระเบียบของ WTO และเรื่องการพัฒนา
2.5.1 การปรับปรุงกฎระเบียบ (Rules) ของ WTO
ประกอบด้วย (1) ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด (2) ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ (3) การอุดหนุนประมง และ (4) การจัดทำเขตการค้าเสรี/การรวมกลุ่มภูมิภาค ซึ่งไม่คืบหน้ามากนัก โดยที่ผ่านมาเป็นเพียงการยื่นข้อเสนอของประเทศสมาชิก
2.5.2 การพัฒนา (Development Issues)
ประกอบด้วย (1) การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (Implementation-Related Issues and Concerns) และ (2) การแก้ไขบทบัญญัติในความตกลงต่างๆของ WTO เรื่องการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment) ซึ่งการเจรจายังไม่มีข้อสรุป เพราะท่าทีที่แตกต่างกันและไม่ยืดหยุ่นระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศกำลังพัฒนาใช้เป็นเบี้ยต่อรองกับการเจรจาเรื่องอื่นๆ
------------------------------------------------------------------------------
[1
] กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 21 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อินเดีย ไทย อาร์เจนตินา อียิปต์ ชิลี จีน อินโดนีเซีย อัฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ โบลิเวีย คิวบา กัวเตมาลา เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวัย แทนซานีย เวนซุเอลา อุรุกวัยและซิมบับเว
2 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลางและเล็ก 17 ประเทศซึ่งรวมตัวกันสร้างอำนาจเจรจาต่อรองกับประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสุทธิ ประกอบด้วยไทย อัฟริกาใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ แคนาดา บราซิล ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย โคลัมเบีย คอสตาริกา ชิลี กัวเตมาลา ปารากวัย ฟิลิปปินส์ อินโดนีซีย และอุรุกวัย
3 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วผู้นำเข้าสินค้าเกษตรสุทธิประกอบด้วยญี่ปุ่น เกาหลี ลิคเต็นสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน นอร์เวย์ บัลแกเรีย อิสราเอล มอริเชียส และไอซ์แลนด์ ซึ่งรวมตัวเพื่อคานอำนาจกลุ่ม G20 ที่ผลักดันการเปิดเสรีสินค้าเกษตร
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-