วันนี้(9 ธ.ค.48 )นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสัมภาษณ์ในรายการ “ข่าวยามเช้า” ว่าบรรยากาศการเมืองวันนี้โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งภายในพรรครัฐบาล ตนอยากให้ทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยจัดการเรื่องนี้ เพราะว่าข่าวออกมาเช่นนี้ กระทบกับความเชื่อมั่น และก็จะทำให้ปัญหาการบริหารงานบ้านเมืองมีอุปสรรค และทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
ต่อข้อถามที่ว่า มีข่าวบอกพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ โผล่ไปป่วนพรรคไทยรักไทย และรือกันว่า จะไปจับมือกับทางไทยรักไทยแล้วมาขโมย ส.ส.ของพรรคประชิปัตย์ ไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอบว่าตนคิดว่าขณะนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินหน้าทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าแนวที่พรรคทำงานเป็นเรื่องของการเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบ พรรคก็ทำไปตามระบบ แล้วก็ไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเล่นการเมืองกันข้ามพรรค หรืออะไร พรรคยืนยันมาตลอดว่าเป็นสิทธิ์ของแต่ละพรรคว่าจะตัดสินใจอย่างไร
“ในส่วนของพรรคมหาชนในขณะนี้ ผมก็ไม่คิดว่าจะมีปัญหา เพราะว่าไปหาเสียงต่อหน้าประชาชนด้วยกันมาว่าจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และได้พบกับทางนายศิริวัฒน์ ซึ่งมาปฏิญาณตนเป็น ส.ส.เมื่อวันพุธ แล้วเจ้าตัวกำลังจะเข้ามาเป็นวิปหรือกรรมการประสานงานด้วย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า กรณีปัญหาครู ก็เป็นอย่างที่ตนได้อภิปรายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจริงๆ ปัญหาพื้นฐานคือ ปัญหาในการบริหาร และก็ความไม่ชัดเจนในเชิงนโยบายว่าจะทำอย่างไรในเรื่องของการศึกษา รวมทั้งเรื่องของการกระจายอำนาจ แล้วไปคิดว่าให้ ส.ส.ไปลองเจรจาดูแล้วก็แก้กฎหมาย โดยแก้แล้วก็ไม่มีความชัดเจน จะแก้ปัญหาได้ พอเอาเข้าจริงๆ กลายเป็นเรื่องหนักกว่าเดิม เพราะว่ากฎหมายออกมาแล้วค่อยทำก็ไม่ตรงกับความต้องการของข้าราชการ และกฎหมายจะต้องไปต่อที่วุฒิสภา แต่ว่าความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายในเรื่องของการกระจายอำนาจเองก็มีต่อไป เพราะว่ากระบวนการตอนนี้ก็จะซับซ้อนมากขึ้นไปอีก เพราะเป็นเรื่อง ต่างคนต่างเดิน กล่าวคือคณะกรรมการกระจายอำนาจก็จะมีอำนาจในการเดินไปส่วนหนึ่ง แล้วกระทรวงก็จะมาเดินอีกส่วนหนึ่ง แต่ว่าจริงๆ คนที่รับผิดชอบคือรัฐบาล ซึ่งไม่ได้ออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลคิดอย่างไรในเชิงการขับเคลื่อนนโยบายของการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ตนได้ย้ำมาตลอดว่า ขอให้รัฐบาลมีความชัดเจน ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อเรื่องกระจายอำนาจก็ควรจะประกาศออกมาตรงๆ แต่ว่าถ้ายังเดินหน้าอยู่ แล้วก็อ้างว่า เหมือนกับไม่เต็มใจจะทำ พอเกิดปัญหาก็พยายามไปโยนความผิดไปยังกฎหมาย ซึ่งออกก่อนตัวเองเข้ามาเป็นรัฐบาล คงจะไม่ได้
“เวลาผ่านมา 5 ปีแล้ว ความชัดเจนในเรื่องของนโยบายเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ และมีเรื่องอีกตั้งหลายเรื่องซึ่งยังอยู่ในภาวะแบบนี้อยู่ คือขาดความชัดเจน แต่ว่าแล้วพอถึงเวลาจะเป็นปัญหาอีก อย่างที่เอาไปคุยกันเรื่องกองทุนกู้ยืม ผูกพันรายได้กับอนาคต IPL แล้วพอเดือนพฤษภาคมมาเป็นปัญหา เพราะว่าไม่เอาสิ่งเหล่านี้มาพูดกัน แล้วก็เวทีของรัฐสภา ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเองก็มักจะเรียกร้องว่า ทุกคนให้เล่นกันในระบบรัฐสภา เอาเข้าจริงๆ ก็กลายเป็นว่าฝ่ายรัฐบาลเองขัดขวางหลายเรื่อง ยกตัวอย่างให้เห็น วันพุธหลังจากที่วันนั้นฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมให้ฝ่ายค้านใช้วาระของคุณรัตนาเป็นเรื่องการพิจารณา และบอกว่าถ้าอยากจะพิจารณามีมติเรื่องนี้ก็ต้องไปขอที่ประชุมร่วม ผมก็เสนอญัตติเข้าที่ประชุมร่วม ก็ปรากฎว่าฝ่ายรัฐบาลไม่อนุญาต หรือข้างมากไม่อนุญาตให้พิจารณาเรื่องคุณรัตนาอีก แล้วพอถัดมาอีกวันหนึ่ง ก็พยายามที่จะบอกว่าเรื่องของกรรมการสิทธิมนุษยชน ทั้งเรื่องของท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งเรื่องของโรงไฟฟ้า จะให้เป็นเรื่องเพื่อทราบเท่านั้น และที่สำคัญก็คือว่า รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องเหล่านี้ ไม่มาสภาเลย กรณีคุณรัตนาก็ไม่มีใครมาที่จะมาบอกกับสมาชิกเลยว่า ในที่สุดเรื่องนี้รัฐบาลมีแนวคิด มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ทำไมถึงเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า กฎหมายกระจายอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ หรือนายวิษณุ เครืองงาม รองนายกฯ ในสัปดาห์นี้ไม่ให้ความสนใจงานที่รัฐสภา และ ปล่อยให้เป็นเรื่องกรรมาธิการเสียงข้างมากข้างน้อย ส.ส.ถกเถียงกัน โดยที่ผู้แทนของหน่วยงานของรัฐเอง และไม่มีความชัดเจนว่ากฎหมายที่เขียนออกไปแล้ว รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างไร และปัญหาก็จะทิ้งค้างไว้ เพราะฉะนั้นเวลานี้เป็นเวลาที่ดีที่จะมาสะสางเรื่องต่างๆ
“ปิดสมัยประชุมนี้ เป็นโอกาสดีของรัฐบาลที่จะไปทบทวนดูเรื่องหลักๆ แล้วผมคิดว่าพอมาถึงเดือนเปิดสภาเดือนมีนาคม จะต้องรายงานผลการดำเนินงานตามรัฐธรรมนูญ 1 ปีก็ดี หรือว่าการตั้งหลักเรื่องของการจะเสนอแผนนิติบัญญัติหรืออะไรก็ดี ควรจะไปสะสางเรื่องเหล่านี้มากกว่า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมา แล้วก็ปิดสมัยประชุมทั้งสองพรรคก็ไปสัมมนา ซึ่งเป็นโอกาสที่พรรคการเมืองจะทบทวนดูว่า ในการทำงานของตัวเองจะช่วยขับเคลื่อนให้การแก้ปัญหาดีขึ้นอย่างไร” ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีเรื่องหลักๆในการสัมมนา ที่จังหงหวัดอุดรธานี 2 เรื่อง หลักๆ คือ การสนองแนวพระราชดำริเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงว่า จะมีการระดมความคิดเห็น ทั้งในแง่ของการสิ่งที่พรรคสามารถทำได้ ในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และสิ่งที่พรรคจะต้องทำในแง่ของการใช้กรอบแนวพระราชดำรินี้เป็นกรอบในการที่จะกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในหลายๆ ด้าน ในส่วน กทม.ก็ทำโครงการเรื่องชีวิตพอเพียง ก็เป็นแนวทางที่ดีด้วยในการที่จะสนองแนวพระราชดำริ ส่วนอีกเรื่องคือปีหน้าก็เป็นวาระครบ 60 ปีของพรรคด้วย จึงจะไปดูถึงกิจกรรมที่คิดว่าเหมาะสมในการที่จะสนองครบรอบ 60 ปีของพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ธ.ค. 2548--จบ--
ต่อข้อถามที่ว่า มีข่าวบอกพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ โผล่ไปป่วนพรรคไทยรักไทย และรือกันว่า จะไปจับมือกับทางไทยรักไทยแล้วมาขโมย ส.ส.ของพรรคประชิปัตย์ ไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอบว่าตนคิดว่าขณะนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินหน้าทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าแนวที่พรรคทำงานเป็นเรื่องของการเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบ พรรคก็ทำไปตามระบบ แล้วก็ไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเล่นการเมืองกันข้ามพรรค หรืออะไร พรรคยืนยันมาตลอดว่าเป็นสิทธิ์ของแต่ละพรรคว่าจะตัดสินใจอย่างไร
“ในส่วนของพรรคมหาชนในขณะนี้ ผมก็ไม่คิดว่าจะมีปัญหา เพราะว่าไปหาเสียงต่อหน้าประชาชนด้วยกันมาว่าจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และได้พบกับทางนายศิริวัฒน์ ซึ่งมาปฏิญาณตนเป็น ส.ส.เมื่อวันพุธ แล้วเจ้าตัวกำลังจะเข้ามาเป็นวิปหรือกรรมการประสานงานด้วย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า กรณีปัญหาครู ก็เป็นอย่างที่ตนได้อภิปรายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจริงๆ ปัญหาพื้นฐานคือ ปัญหาในการบริหาร และก็ความไม่ชัดเจนในเชิงนโยบายว่าจะทำอย่างไรในเรื่องของการศึกษา รวมทั้งเรื่องของการกระจายอำนาจ แล้วไปคิดว่าให้ ส.ส.ไปลองเจรจาดูแล้วก็แก้กฎหมาย โดยแก้แล้วก็ไม่มีความชัดเจน จะแก้ปัญหาได้ พอเอาเข้าจริงๆ กลายเป็นเรื่องหนักกว่าเดิม เพราะว่ากฎหมายออกมาแล้วค่อยทำก็ไม่ตรงกับความต้องการของข้าราชการ และกฎหมายจะต้องไปต่อที่วุฒิสภา แต่ว่าความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายในเรื่องของการกระจายอำนาจเองก็มีต่อไป เพราะว่ากระบวนการตอนนี้ก็จะซับซ้อนมากขึ้นไปอีก เพราะเป็นเรื่อง ต่างคนต่างเดิน กล่าวคือคณะกรรมการกระจายอำนาจก็จะมีอำนาจในการเดินไปส่วนหนึ่ง แล้วกระทรวงก็จะมาเดินอีกส่วนหนึ่ง แต่ว่าจริงๆ คนที่รับผิดชอบคือรัฐบาล ซึ่งไม่ได้ออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลคิดอย่างไรในเชิงการขับเคลื่อนนโยบายของการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ตนได้ย้ำมาตลอดว่า ขอให้รัฐบาลมีความชัดเจน ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อเรื่องกระจายอำนาจก็ควรจะประกาศออกมาตรงๆ แต่ว่าถ้ายังเดินหน้าอยู่ แล้วก็อ้างว่า เหมือนกับไม่เต็มใจจะทำ พอเกิดปัญหาก็พยายามไปโยนความผิดไปยังกฎหมาย ซึ่งออกก่อนตัวเองเข้ามาเป็นรัฐบาล คงจะไม่ได้
“เวลาผ่านมา 5 ปีแล้ว ความชัดเจนในเรื่องของนโยบายเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ และมีเรื่องอีกตั้งหลายเรื่องซึ่งยังอยู่ในภาวะแบบนี้อยู่ คือขาดความชัดเจน แต่ว่าแล้วพอถึงเวลาจะเป็นปัญหาอีก อย่างที่เอาไปคุยกันเรื่องกองทุนกู้ยืม ผูกพันรายได้กับอนาคต IPL แล้วพอเดือนพฤษภาคมมาเป็นปัญหา เพราะว่าไม่เอาสิ่งเหล่านี้มาพูดกัน แล้วก็เวทีของรัฐสภา ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเองก็มักจะเรียกร้องว่า ทุกคนให้เล่นกันในระบบรัฐสภา เอาเข้าจริงๆ ก็กลายเป็นว่าฝ่ายรัฐบาลเองขัดขวางหลายเรื่อง ยกตัวอย่างให้เห็น วันพุธหลังจากที่วันนั้นฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมให้ฝ่ายค้านใช้วาระของคุณรัตนาเป็นเรื่องการพิจารณา และบอกว่าถ้าอยากจะพิจารณามีมติเรื่องนี้ก็ต้องไปขอที่ประชุมร่วม ผมก็เสนอญัตติเข้าที่ประชุมร่วม ก็ปรากฎว่าฝ่ายรัฐบาลไม่อนุญาต หรือข้างมากไม่อนุญาตให้พิจารณาเรื่องคุณรัตนาอีก แล้วพอถัดมาอีกวันหนึ่ง ก็พยายามที่จะบอกว่าเรื่องของกรรมการสิทธิมนุษยชน ทั้งเรื่องของท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งเรื่องของโรงไฟฟ้า จะให้เป็นเรื่องเพื่อทราบเท่านั้น และที่สำคัญก็คือว่า รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องเหล่านี้ ไม่มาสภาเลย กรณีคุณรัตนาก็ไม่มีใครมาที่จะมาบอกกับสมาชิกเลยว่า ในที่สุดเรื่องนี้รัฐบาลมีแนวคิด มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ทำไมถึงเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า กฎหมายกระจายอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ หรือนายวิษณุ เครืองงาม รองนายกฯ ในสัปดาห์นี้ไม่ให้ความสนใจงานที่รัฐสภา และ ปล่อยให้เป็นเรื่องกรรมาธิการเสียงข้างมากข้างน้อย ส.ส.ถกเถียงกัน โดยที่ผู้แทนของหน่วยงานของรัฐเอง และไม่มีความชัดเจนว่ากฎหมายที่เขียนออกไปแล้ว รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างไร และปัญหาก็จะทิ้งค้างไว้ เพราะฉะนั้นเวลานี้เป็นเวลาที่ดีที่จะมาสะสางเรื่องต่างๆ
“ปิดสมัยประชุมนี้ เป็นโอกาสดีของรัฐบาลที่จะไปทบทวนดูเรื่องหลักๆ แล้วผมคิดว่าพอมาถึงเดือนเปิดสภาเดือนมีนาคม จะต้องรายงานผลการดำเนินงานตามรัฐธรรมนูญ 1 ปีก็ดี หรือว่าการตั้งหลักเรื่องของการจะเสนอแผนนิติบัญญัติหรืออะไรก็ดี ควรจะไปสะสางเรื่องเหล่านี้มากกว่า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมา แล้วก็ปิดสมัยประชุมทั้งสองพรรคก็ไปสัมมนา ซึ่งเป็นโอกาสที่พรรคการเมืองจะทบทวนดูว่า ในการทำงานของตัวเองจะช่วยขับเคลื่อนให้การแก้ปัญหาดีขึ้นอย่างไร” ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีเรื่องหลักๆในการสัมมนา ที่จังหงหวัดอุดรธานี 2 เรื่อง หลักๆ คือ การสนองแนวพระราชดำริเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงว่า จะมีการระดมความคิดเห็น ทั้งในแง่ของการสิ่งที่พรรคสามารถทำได้ ในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และสิ่งที่พรรคจะต้องทำในแง่ของการใช้กรอบแนวพระราชดำรินี้เป็นกรอบในการที่จะกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในหลายๆ ด้าน ในส่วน กทม.ก็ทำโครงการเรื่องชีวิตพอเพียง ก็เป็นแนวทางที่ดีด้วยในการที่จะสนองแนวพระราชดำริ ส่วนอีกเรื่องคือปีหน้าก็เป็นวาระครบ 60 ปีของพรรคด้วย จึงจะไปดูถึงกิจกรรมที่คิดว่าเหมาะสมในการที่จะสนองครบรอบ 60 ปีของพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ธ.ค. 2548--จบ--