การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา โดยมีรองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ คำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
๒.๒ เรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบตามที่ประธานการประชุมได้ขอปรึกษาให้เลื่อนระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรคณะต่าง ๆ ดังนี้
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมแต่งตั้ง นายนริศ ขำนุรักษ์
และนายอิสสระ สมชัย เป็นกรรมาธิการแทน นายประพนธ์ นิลวัชรมณี และนายไพฑูรย์ แก้วทอง
ซึ่งลาออก
คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้แต่งตั้ง นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นกรรมาธิการแทน นางปวีณา หงสกุล ซึ่งลาออก
จากนั้น ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขสาระสำคัญโดยเพิ่มบทบัญญัติในเรื่องของการห้ามไม่ให้มหาวิทยาลัยอ้างเหตุในการ ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อให้นักศึกษาผู้นั้นพ้นสภาพความเป็นนักศึกษา ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ และควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เรื่อง ของการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ชัดเจน ในเรื่องการบัญญัติเพิ่มเติมให้นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยได้เพียงแห่งเดียวน่าจะไม่เหมาะสม ในเรื่องของการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษาในอนาคตนั้นเห็นด้วย เรื่องของการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีการกำหนดองค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาไว้ในร่างฯ ฉบับนี้น่าจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการสรรหา ซึ่งควร แก้ไขให้การสรรหากระทำโดยข้อบังคับของมหาวิทยาลัยจะเหมาะสมกว่า ในเรื่องของสภาพนักงานของมหาวิทยาลัย วุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมให้มีอำนาจติดตาม ตรวจสอบการบริหารงานบุคคลในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นการไม่เหมาะสมและไม่เห็นด้วยที่วุฒิสภาแก้ไขสาระสำคัญเรื่องระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงสถานะของบุคลากรของมหาวิทยาลัยภายหลังการปรับจากมหาวิทยาลัยในระบบมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างฯ ฉบับนี้ให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้วได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขสาระสำคัญบางประการในเรื่องของปฏิเสธการรับผู้ใดเข้าศึกษาหรือยุติหรือชะลอ การศึกษาขอผู้ใดด้วยเหตุว่าขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงจะกระทำมิได้ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ในอนาคตได้ แต่หากมีผู้ใดขาดแคลนทุนทรัพย์จริงควรมีการกำหนดในเรื่องของการให้ทุนการศึกษา โดยระบุไว้ในร่างฯ จะเหมาะสมกว่าในเรื่องของการกำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัยที่มีการกำหนดให้ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยได้เพียงแห่งเดียวนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม และในเรื่องของการให้อำนาจสภา ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยในการติดตามตรวจสอบการบริหารงานบุคคลนั้นน่าจะไม่สอดคล้อง กับหลักการของการบริหารสถาบันฯ แต่น่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดกลไกในเรื่องของการอุทธรณ์ การร้องทุกข์ หรือการใช้สิทธิผ่านทางศาลปกครองจะเหมาะสมกว่า จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ประชุม
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขในประเด็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการของศาลในเรื่องของการออกหมายศาลและเรื่องของการค้นในที่รโหฐาน การให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุม ค้นและคุมขัง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติเอาไว้ เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว และไม่ทำให้กฎหมายขาดความสมบูรณ์ แต่อย่างใด หลังจากที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้วได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕ (๓)
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องการที่กำหนดให้ธนาคารสามารถตั้งสาขาของธนาคารในต่างประเทศได้นั้นไม่เห็นด้วย เนื่องจากต้องเสีย ค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่ากับการดำเนินการ ในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นที่กำหนดไว้ในร่างฯฉบับนี้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ในเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของธนาคารนั้นขอให้มีการกำหนดเพื่อให้เป็นไปเพื่อการช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรเป็นหลัก ในเรื่องของเงินกองทุนและเงินสดสำรองของธนาคารที่กำหนดหลักเกณฑ์โดยออกเป็นกฎกระทรวงนั้นไม่เห็นด้วยแต่ควรให้เป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเหมาะสมกว่า จากนั้นคณะกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงว่า การที่ระบุให้ธนาคารสามารถตั้งสาขาของธนาคารในต่างประเทศนั้นเป็นการขยายบทบาทของธนาคาร ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นสู่ระดับต่างประเทศ รวมไปถึงเรื่องของการให้บริการแก่แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศด้วย ซึ่งการที่จะเปิดสาขาที่ใดนั้นต้องดูถึงความคุ้มค่าในการดำเนินการอย่างแน่นอน แต่ยังยึดในหลักการเดิมคือเพื่อช่วยเหลือเกษตรเป็นหลักสำคัญในเรื่องของสัดส่วนของการถือหุ้นที่กำหนดให้กระทรวงการคลังต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้านั้นก็เนื่องจากต้องการให้การดำเนินการในการกระจายหุ้นเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไปและอยู่ภายใต้ การควบคุมของรัฐเป็นสำคัญรวมทั้งการกระจายหุ้นก็ยังกำหนดให้ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถือหุ้นได้ไม่เกิน
ร้อยละห้า เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการของธนาคารจะยังคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ ช่วยเหลือเกษตรกรเป็นสำคัญ และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของธนาคารที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นไป เพื่อการช่วยเหลือทางการเงินเกษตรกรเป็นหลักอย่างแน่นอน ในเรื่องของเงินกองทุนและเงินสดสำรองของธนาคารที่กำหนดหลักเกณฑ์โดยออกเป็นกฎกระทรวงนั้น เนื่องจากเป็นธนาคารเฉพาะกิจ จึงอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งต่างจากธนาคารทั่วไปที่อยู่ในการดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีการประสานงานในการกำกับดูแลการดำเนินการของธนาคารทุกประเภทอยู่แล้ว
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๙๒ เสียง
๕. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (นายยุทธนา โพธสุธน และนายเสมอกัน เที่ยงธรรม เป็นผู้เสนอ) และร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร เป็นผู้เสนอ) และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณากำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยให้ถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายประเด็นข้อสงสัยดังนี้
๑. เหตุใดจึงไม่นำเลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ
เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติมาร่วมเป็นคณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลเครดิต
๒. ควรมีการเพิ่มโทษจำคุกในมาตรา ๘ แก้ไขมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ กรณีสมาชิกผู้ใดไม่ส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิกหรือไม่แจ้งให้ลูกค้าของตนทราบเกี่ยวกับการข้อมูลที่ส่งให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต เนื่องจากข้อมูลเครดิตมีความสำคัญมาก เพราะเป็นความลับของลูกค้า หากมีผู้ใดมีเจตนานำข้อมูลไปแสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจจะเป็นที่สร้างความเสียหายให้กับลูกค้ามาก
๓. ไม่ควรเพิ่ม “ถ้อยคำ” โดยทุจริต “ลงในมาตรา ๙ เนื่องจากจะก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อผู้กระทำผิดโดยส่งผลเสีย และมิใช่เกิดจากการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและผู้อื่น
๔. ควรนำเรื่องของการเปรียบเทียบปรับไปเพิ่มในข้อสังเกต เพื่อให้ในทางปฏิบัติ
ดำเนินการได้ง่ายขึ้น
ต่อมาประธานฯ คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ชี้แจงตอบข้อสงสัยดังนี้
๑. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตจะประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล
เครดิต รวมทั้งผู้บริโภค ส่วนด้านเทคโนโลยี (IT) นั้นมีผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นกรรมการอยู่แล้ว หากในอนาคตมีความจำเป็นต้องใช้ด้านการสื่อสารมวลชนเข้ามาในคณะกรรมการชุดนี้ สามารถแต่งตั้งในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้อยู่แล้ว
๒. คณะกรรมาธิการได้พิจารณาในมาตรา ๘ แก้ไขมาตรา ๔๘ เป็น ๒ กรณี คือ
๑. การไม่มีข้อมูลของบริษัทเครดิตนั้น กรรมาธิการเห็นว่าเป็นการทำข้อมูลของลูกค้าเกินไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังมิได้นำข้อมูลออกไปภายนอก ดังนั้นจึงไม่ควรกำหนดโทษจำคุก
๒. การไม่แจ้งให้ลูกค้าของตนทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่ส่งให้บริษัทข้อมูลเครดิต
นั้น กรรมการเห็นว่า มีความเสียหายมากต่อลูกค้าจึงกำหนดโทษจำคุกไว้แล้ว
๓. หากมีการเติมถ้อยคำ “โดยทุจริต” จะเป็นการเพิ่มเงื่อนไขในทางกฎหมายมาก
เกินไป และในมาตรา ๖๑ มีเรื่องของการสอบทุจริตอยู่แล้ว
ข้อสังเกต
๑. ในการที่บริษัทข้อมูลเครดิตแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการส่งข้อมูลเพิ่มเติมในส่วน
ของประวัติการชำระสินเชื่อ และประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการ โดยบัตรเครดิตให้แก่บริษัท ข้อมูลเครดิตตามมาตรา ๑๘ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตตามมาตรา ๑๘ คณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลเครดิตควรกำหนดให้ระยะเวลาการแจ้งดังกล่าวสั้นลงกว่าระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
๒. ในการที่บริษัทข้อมูลเครดิตจะเปิดเผยหรือให้ข้อมูลเครดิตแก่สมาชิกหรือผู้ใช้
บริการตามมาตรา ๒๐ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทข้อมูลเครดิตปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัยก่อนส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังสมาชิกหรือผู้ใช้บริการ
๓. หลักเกณฑ์ตามที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๖๓ ต้องกำหนดให้
ผู้เสียหายยินยอมให้เปรียบเทียบปรับด้วยจึงจะเปรียบเทียบปรับได้
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๙๐ เสียง
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๒๒ นาฬิกา
--------------------------------------
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ คำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
๒.๒ เรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบตามที่ประธานการประชุมได้ขอปรึกษาให้เลื่อนระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรคณะต่าง ๆ ดังนี้
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมแต่งตั้ง นายนริศ ขำนุรักษ์
และนายอิสสระ สมชัย เป็นกรรมาธิการแทน นายประพนธ์ นิลวัชรมณี และนายไพฑูรย์ แก้วทอง
ซึ่งลาออก
คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้แต่งตั้ง นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นกรรมาธิการแทน นางปวีณา หงสกุล ซึ่งลาออก
จากนั้น ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขสาระสำคัญโดยเพิ่มบทบัญญัติในเรื่องของการห้ามไม่ให้มหาวิทยาลัยอ้างเหตุในการ ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อให้นักศึกษาผู้นั้นพ้นสภาพความเป็นนักศึกษา ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ และควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เรื่อง ของการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ชัดเจน ในเรื่องการบัญญัติเพิ่มเติมให้นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยได้เพียงแห่งเดียวน่าจะไม่เหมาะสม ในเรื่องของการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษาในอนาคตนั้นเห็นด้วย เรื่องของการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีการกำหนดองค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาไว้ในร่างฯ ฉบับนี้น่าจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการสรรหา ซึ่งควร แก้ไขให้การสรรหากระทำโดยข้อบังคับของมหาวิทยาลัยจะเหมาะสมกว่า ในเรื่องของสภาพนักงานของมหาวิทยาลัย วุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมให้มีอำนาจติดตาม ตรวจสอบการบริหารงานบุคคลในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นการไม่เหมาะสมและไม่เห็นด้วยที่วุฒิสภาแก้ไขสาระสำคัญเรื่องระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงสถานะของบุคลากรของมหาวิทยาลัยภายหลังการปรับจากมหาวิทยาลัยในระบบมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างฯ ฉบับนี้ให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้วได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขสาระสำคัญบางประการในเรื่องของปฏิเสธการรับผู้ใดเข้าศึกษาหรือยุติหรือชะลอ การศึกษาขอผู้ใดด้วยเหตุว่าขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงจะกระทำมิได้ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ในอนาคตได้ แต่หากมีผู้ใดขาดแคลนทุนทรัพย์จริงควรมีการกำหนดในเรื่องของการให้ทุนการศึกษา โดยระบุไว้ในร่างฯ จะเหมาะสมกว่าในเรื่องของการกำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัยที่มีการกำหนดให้ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยได้เพียงแห่งเดียวนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม และในเรื่องของการให้อำนาจสภา ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยในการติดตามตรวจสอบการบริหารงานบุคคลนั้นน่าจะไม่สอดคล้อง กับหลักการของการบริหารสถาบันฯ แต่น่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดกลไกในเรื่องของการอุทธรณ์ การร้องทุกข์ หรือการใช้สิทธิผ่านทางศาลปกครองจะเหมาะสมกว่า จึงควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ประชุม
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า วุฒิสภาได้มีการแก้ไขในประเด็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการของศาลในเรื่องของการออกหมายศาลและเรื่องของการค้นในที่รโหฐาน การให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุม ค้นและคุมขัง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติเอาไว้ เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว และไม่ทำให้กฎหมายขาดความสมบูรณ์ แต่อย่างใด หลังจากที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้วได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕ (๓)
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องการที่กำหนดให้ธนาคารสามารถตั้งสาขาของธนาคารในต่างประเทศได้นั้นไม่เห็นด้วย เนื่องจากต้องเสีย ค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่ากับการดำเนินการ ในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นที่กำหนดไว้ในร่างฯฉบับนี้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ในเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของธนาคารนั้นขอให้มีการกำหนดเพื่อให้เป็นไปเพื่อการช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรเป็นหลัก ในเรื่องของเงินกองทุนและเงินสดสำรองของธนาคารที่กำหนดหลักเกณฑ์โดยออกเป็นกฎกระทรวงนั้นไม่เห็นด้วยแต่ควรให้เป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเหมาะสมกว่า จากนั้นคณะกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงว่า การที่ระบุให้ธนาคารสามารถตั้งสาขาของธนาคารในต่างประเทศนั้นเป็นการขยายบทบาทของธนาคาร ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นสู่ระดับต่างประเทศ รวมไปถึงเรื่องของการให้บริการแก่แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศด้วย ซึ่งการที่จะเปิดสาขาที่ใดนั้นต้องดูถึงความคุ้มค่าในการดำเนินการอย่างแน่นอน แต่ยังยึดในหลักการเดิมคือเพื่อช่วยเหลือเกษตรเป็นหลักสำคัญในเรื่องของสัดส่วนของการถือหุ้นที่กำหนดให้กระทรวงการคลังต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้านั้นก็เนื่องจากต้องการให้การดำเนินการในการกระจายหุ้นเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไปและอยู่ภายใต้ การควบคุมของรัฐเป็นสำคัญรวมทั้งการกระจายหุ้นก็ยังกำหนดให้ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถือหุ้นได้ไม่เกิน
ร้อยละห้า เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการของธนาคารจะยังคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ ช่วยเหลือเกษตรกรเป็นสำคัญ และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของธนาคารที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นไป เพื่อการช่วยเหลือทางการเงินเกษตรกรเป็นหลักอย่างแน่นอน ในเรื่องของเงินกองทุนและเงินสดสำรองของธนาคารที่กำหนดหลักเกณฑ์โดยออกเป็นกฎกระทรวงนั้น เนื่องจากเป็นธนาคารเฉพาะกิจ จึงอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งต่างจากธนาคารทั่วไปที่อยู่ในการดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีการประสานงานในการกำกับดูแลการดำเนินการของธนาคารทุกประเภทอยู่แล้ว
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๙๒ เสียง
๕. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตามที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (นายยุทธนา โพธสุธน และนายเสมอกัน เที่ยงธรรม เป็นผู้เสนอ) และร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร เป็นผู้เสนอ) และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณากำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยให้ถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายประเด็นข้อสงสัยดังนี้
๑. เหตุใดจึงไม่นำเลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ
เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติมาร่วมเป็นคณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลเครดิต
๒. ควรมีการเพิ่มโทษจำคุกในมาตรา ๘ แก้ไขมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ กรณีสมาชิกผู้ใดไม่ส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิกหรือไม่แจ้งให้ลูกค้าของตนทราบเกี่ยวกับการข้อมูลที่ส่งให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต เนื่องจากข้อมูลเครดิตมีความสำคัญมาก เพราะเป็นความลับของลูกค้า หากมีผู้ใดมีเจตนานำข้อมูลไปแสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจจะเป็นที่สร้างความเสียหายให้กับลูกค้ามาก
๓. ไม่ควรเพิ่ม “ถ้อยคำ” โดยทุจริต “ลงในมาตรา ๙ เนื่องจากจะก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อผู้กระทำผิดโดยส่งผลเสีย และมิใช่เกิดจากการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและผู้อื่น
๔. ควรนำเรื่องของการเปรียบเทียบปรับไปเพิ่มในข้อสังเกต เพื่อให้ในทางปฏิบัติ
ดำเนินการได้ง่ายขึ้น
ต่อมาประธานฯ คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ชี้แจงตอบข้อสงสัยดังนี้
๑. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตจะประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล
เครดิต รวมทั้งผู้บริโภค ส่วนด้านเทคโนโลยี (IT) นั้นมีผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นกรรมการอยู่แล้ว หากในอนาคตมีความจำเป็นต้องใช้ด้านการสื่อสารมวลชนเข้ามาในคณะกรรมการชุดนี้ สามารถแต่งตั้งในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้อยู่แล้ว
๒. คณะกรรมาธิการได้พิจารณาในมาตรา ๘ แก้ไขมาตรา ๔๘ เป็น ๒ กรณี คือ
๑. การไม่มีข้อมูลของบริษัทเครดิตนั้น กรรมาธิการเห็นว่าเป็นการทำข้อมูลของลูกค้าเกินไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังมิได้นำข้อมูลออกไปภายนอก ดังนั้นจึงไม่ควรกำหนดโทษจำคุก
๒. การไม่แจ้งให้ลูกค้าของตนทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่ส่งให้บริษัทข้อมูลเครดิต
นั้น กรรมการเห็นว่า มีความเสียหายมากต่อลูกค้าจึงกำหนดโทษจำคุกไว้แล้ว
๓. หากมีการเติมถ้อยคำ “โดยทุจริต” จะเป็นการเพิ่มเงื่อนไขในทางกฎหมายมาก
เกินไป และในมาตรา ๖๑ มีเรื่องของการสอบทุจริตอยู่แล้ว
ข้อสังเกต
๑. ในการที่บริษัทข้อมูลเครดิตแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการส่งข้อมูลเพิ่มเติมในส่วน
ของประวัติการชำระสินเชื่อ และประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการ โดยบัตรเครดิตให้แก่บริษัท ข้อมูลเครดิตตามมาตรา ๑๘ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตตามมาตรา ๑๘ คณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลเครดิตควรกำหนดให้ระยะเวลาการแจ้งดังกล่าวสั้นลงกว่าระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
๒. ในการที่บริษัทข้อมูลเครดิตจะเปิดเผยหรือให้ข้อมูลเครดิตแก่สมาชิกหรือผู้ใช้
บริการตามมาตรา ๒๐ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทข้อมูลเครดิตปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัยก่อนส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังสมาชิกหรือผู้ใช้บริการ
๓. หลักเกณฑ์ตามที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๖๓ ต้องกำหนดให้
ผู้เสียหายยินยอมให้เปรียบเทียบปรับด้วยจึงจะเปรียบเทียบปรับได้
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๙๐ เสียง
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๒๒ นาฬิกา
--------------------------------------