ข้อมูลเบื้องต้นเดือนสิงหาคม 2544 อุปสงค์ภายในประเทศโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัว การลงทุนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ภาวะการผลิตทรงตัว แต่ภาคต่างประเทศการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นในเดือนสิงหาคม ทำให้ดุลการค้าและดุลบริการเกินดุลมาก และดุลการชำระเงินเกินดุลเป็นเดือนที่ 2 อัตรา เงินเฟ้อลดลง ส่วนภาคการเงินสภาพคล่องยังคงสูง แต่การให้สินเชื่อมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ มี รายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ทรงตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ยกเว้น หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาสูบ และสิ่งทอ
หมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงส่งออกรถยนต์นั่งได้ดี หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราเพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี และมีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดยาสูบ ซึ่งมีการปิดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานหยุด พักผ่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.2
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การบริโภคยังคงขยายตัว ยกเว้น สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าที่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ส่วนการลงทุนภาค เอกชนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งจากอุปสงค์ในและต่างประเทศที่ชะลอลงและกำลังการผลิตส่วนเกิน ส่วนการลงทุนด้านการก่อสร้างที่ไม่ชะลอลงมากเพราะยังมี โครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก รวมทั้งแรงจูงใจจาก สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงิน
3. รายได้รัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเพราะมีการนำส่งภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากกำไรสุทธิงวดกลางปี ส่วนรายจ่ายของ รัฐบาลอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 300 ล้านบาท แต่ก็มีการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 15.6 พันล้านบาทเพื่อเตรียมไว้สำหรับรายจ่ายที่จะเบิกจ่ายในเดือนหน้าทำให้ยอดเงิน คงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 58.4 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.5 ราคาหมวดเคหสถานลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.1) แต่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เพราะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.1 รองลงมาได้แก่ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 1.1) เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่เข้าสู่ตลาดลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนและไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 0.5 และ 0.3 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าส่งออกสูงที่สุดใน 5 เดือนที่ผ่านมาถึง 5,610 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่คิดเป็นการลดลงประมาณร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอตัวและความต้องการสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 16.0 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 729 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งสูงกว่าการเกินดุลการค้าในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวและผลประโยชน์จากเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 1,111 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนอยู่ ณ ระดับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเพิ่มการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสินเชื่อรวมลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี แต่เมื่อบวกกลับหนี้สูญและ
สินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากช่วงครึ่งแรกของปีเนื่องจากภาคเอกชนถอนเงินฝากเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของ รัฐบาล กอปรกับธุรกิจมีการจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี
7. ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.10 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาคทั้งเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์อันเป็นผลจากการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับมาตรการ Matching Fund ของทางการ
วันที่ 1-25 กันยายน 2544 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.03 - 44.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทปรับตัวอ่อนลงตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยนและเงินในภูมิภาคจากการที่ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับตัวแข็งขึ้นหลังการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าที่คาดไว้ อนึ่ง เงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน เนื่องจากเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม การที่ยังคงมีความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากภาคเอกชน เงินบาทจึงปรับตัวแข็งขึ้นเพียงเล็กน้อย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ทรงตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ยกเว้น หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาสูบ และสิ่งทอ
หมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงส่งออกรถยนต์นั่งได้ดี หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราเพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี และมีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดยาสูบ ซึ่งมีการปิดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานหยุด พักผ่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.2
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การบริโภคยังคงขยายตัว ยกเว้น สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าที่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ส่วนการลงทุนภาค เอกชนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งจากอุปสงค์ในและต่างประเทศที่ชะลอลงและกำลังการผลิตส่วนเกิน ส่วนการลงทุนด้านการก่อสร้างที่ไม่ชะลอลงมากเพราะยังมี โครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก รวมทั้งแรงจูงใจจาก สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงิน
3. รายได้รัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเพราะมีการนำส่งภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากกำไรสุทธิงวดกลางปี ส่วนรายจ่ายของ รัฐบาลอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 300 ล้านบาท แต่ก็มีการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 15.6 พันล้านบาทเพื่อเตรียมไว้สำหรับรายจ่ายที่จะเบิกจ่ายในเดือนหน้าทำให้ยอดเงิน คงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 58.4 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.5 ราคาหมวดเคหสถานลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.1) แต่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เพราะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.1 รองลงมาได้แก่ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 1.1) เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่เข้าสู่ตลาดลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนและไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 0.5 และ 0.3 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าส่งออกสูงที่สุดใน 5 เดือนที่ผ่านมาถึง 5,610 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่คิดเป็นการลดลงประมาณร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอตัวและความต้องการสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 16.0 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 729 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งสูงกว่าการเกินดุลการค้าในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวและผลประโยชน์จากเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 1,111 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนอยู่ ณ ระดับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเพิ่มการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสินเชื่อรวมลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี แต่เมื่อบวกกลับหนี้สูญและ
สินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากช่วงครึ่งแรกของปีเนื่องจากภาคเอกชนถอนเงินฝากเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของ รัฐบาล กอปรกับธุรกิจมีการจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี
7. ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.10 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาคทั้งเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์อันเป็นผลจากการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับมาตรการ Matching Fund ของทางการ
วันที่ 1-25 กันยายน 2544 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.03 - 44.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทปรับตัวอ่อนลงตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยนและเงินในภูมิภาคจากการที่ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับตัวแข็งขึ้นหลังการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าที่คาดไว้ อนึ่ง เงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน เนื่องจากเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม การที่ยังคงมีความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. จากภาคเอกชน เงินบาทจึงปรับตัวแข็งขึ้นเพียงเล็กน้อย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-