อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry)ที่สำคัญอีกอุตสาหกรรมหนึ่งของภาคการผลิต
ของไทย ปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้นส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สำคัญเช่น อุตสาหกรรม
แปรรูปอาหารที่ใช้ในการบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
เนื่องจากอุตสาหกรรมพลาสติกประกอบไปด้วยโรงงานอุตสหากรรมและผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
ตัวเลขการผลิตและยอดจำหน่ายภายในประเทศที่ครบถ้วนและถูกต้อง อย่างไรก็ตามเราก็พอที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์
พลาสติกจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่านำเข้าและการส่งออกได้
ตลาดต่างประเทศ
การส่งออก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยรวมของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว
พบว่ามีมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 3.63 คิดมีมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกเท่ากับ 645.9 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติกสานร้อยละ 10.84 กล่องพลาสติก
ลดลงร้อยละ 11.11 และผลิตภัณฑ์พลาสติกในรูปแบบแผ่นแบนชนิดต่างๆ อีกร้อยละ 8.55 แต่มูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบ
พลาสติกกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 อันเป็นผลมาจากภาวะตลาดสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในทางตรงข้ามผลิตภัณฑ์พลาสติก
ที่ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มลดลงอีกร้อยละ 6.4 ก็ตามภาวะอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายในตลาดโลกที่แย่ลงในช่วงที่ผ่านมา
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในไตรมาสที่สามปี 2544 มีมูลค่า 211.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับ
มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐระหว่างไตรมาสที่สองกับไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.47 โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆร้อยละ 2.67 และชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับตกแต่งเครื่อง
แต่งกายที่ลดลงมากถึงร้อยละ 27.27 ซึ่งอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจอเมริกาที่แย่ลงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะทีมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์พลาสติก
ตัวอื่นๆมีทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับการนำเข้านั้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ที่ผ่านมามูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในรูปของเงินเหรียญดอลลาร์
สหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.4 โดยคิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 643.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงของกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนและสำนักงานที่ลดลงมากถึงร้อยละ 38.6 หลอดและท่อพลาสติก
ลดลงร้อยละ 7.28 และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆลดลงอีกร้อยละ 7.84 จะมีเพียงผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติกเท่านั้นที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.09 ตามภาวะสินค้าเกษตรที่ดีขึ้น
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 212.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐและเมื่อพิจารณาเปรียบ
เทียบกับมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่สอบของปี 2544 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขี้นของการนำเข้าในกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์หลอดและท่อพลาสติกร้อยละ 17 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และถุงและกระสอบพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จะมีแต่
เพียงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนและสำนักงานเท่านั้นที่มีอัตราการนำเข้าลดลงสูงถึงร้อยละ 24.07
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่สี่ของปี 2544 นั้นการส่งออกน่าจะมีแนวโน้มลดลงจากการคาดการณ์ถึง
ภาวะเศรษฐกิจอเมริกาที่แย่ลง โดยเฉพาะภายหลังเกิดเหตุวินาศกรรมที่อเมริกา
ในปัจจุบัน มีการแข่งขันที่สูงมากทั้งจากคู่แข่งภายในและภายนอกประเทศ จึงมีความจำเป็นที่อุตสาหกรรมพลาสติกจะต้องพัฒนาศักยภาพ
เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านเทคนิคการผลิต และคุณภาพผลิต ซึ่งจากการสัมมนารวมพลังฝ่าวิกฤติเพื่อธุรกิจไทย
กลุ่มย่อยผลิตภัณฑ์พลาสติก ผู้ประกอบการได้เสนอมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาของอุตสาหกรรมให้ภาครัฐพิจารณา ดังนี้
- จัดมาตรการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดต้นทุนการทำ Factoring ผ่าน บอย./ บสย. การลดภาษีอะไหล่เครื่องจักร
การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น
- สนับสนุนการค้าชายแดน
- ให้ความคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ เช่น กำหนด Local Content สำหรับการประมูลของรัฐ
- พัฒนาทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการผลิตแม่พิมพ์
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยจะได้รับผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของประเทศจีน
(ประมาณต้นปีหน้า) ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดสำคัญของไทยสูงขึ้น ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะประเทศจีนมีต้นทุน
การผลิตที่ต่ำกว่า ดังนั้น ภาครัฐและเอกชน ควรร่วมมือกันกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว
ตารางที่ 1. การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก..ย.) % (เม.ย-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ถุงและกระสอบพลาสติก 145.5 149.4 2.68% 48.8 51.70 5.94% 52.1
ถุงและกระสอบพลาสติกสาน 24.9 22.2 -10.84% 7.6 8.20 7.89% 9
ฟิลม์, ฟอยล์ , เทปและผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบนแบบอื่นๆ 212.8 194.6 -8.55% 62.8 65.40 4.14% 69.3
ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับตกแต่งเครื่องแต่งกาย 12.5 11.7 -6.40% 4.4 3.20 -27.27% 4.3
กล่องพลาสติก 13.5 12 -11.11% 4.4 3.70 -15.91% 4.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 261 256 -1.92% 82.4 80.20 -2.67% 89.5
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 670.2 645.9 -3.63% 210.9 211.90 0.47% 227.9
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก..ย.) % (เม.ย-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ถุงและกระสอบพลาสติก 93.2 102.6 10.09% 32.6 34.30 5.21% 36.1
หลอดและท่อพลาสติก 35.7 33.1 -7.28% 10 11.7 17.00% 12.1
ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ในครัวเรีอนและสำนักงาน 22.8 14 -38.60% 5.4 4.1 -24.07% 5.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 535.6 493.6 -7.84% 154.9 162.2 4.71% 196
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 687.3 643.3 -6.40% 202.9 212.3 4.63% 249.4
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ของไทย ปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้นส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สำคัญเช่น อุตสาหกรรม
แปรรูปอาหารที่ใช้ในการบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
เนื่องจากอุตสาหกรรมพลาสติกประกอบไปด้วยโรงงานอุตสหากรรมและผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
ตัวเลขการผลิตและยอดจำหน่ายภายในประเทศที่ครบถ้วนและถูกต้อง อย่างไรก็ตามเราก็พอที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์
พลาสติกจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่านำเข้าและการส่งออกได้
ตลาดต่างประเทศ
การส่งออก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยรวมของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว
พบว่ามีมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 3.63 คิดมีมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกเท่ากับ 645.9 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติกสานร้อยละ 10.84 กล่องพลาสติก
ลดลงร้อยละ 11.11 และผลิตภัณฑ์พลาสติกในรูปแบบแผ่นแบนชนิดต่างๆ อีกร้อยละ 8.55 แต่มูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบ
พลาสติกกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 อันเป็นผลมาจากภาวะตลาดสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในทางตรงข้ามผลิตภัณฑ์พลาสติก
ที่ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มลดลงอีกร้อยละ 6.4 ก็ตามภาวะอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายในตลาดโลกที่แย่ลงในช่วงที่ผ่านมา
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในไตรมาสที่สามปี 2544 มีมูลค่า 211.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับ
มูลค่าการส่งออกในรูปของเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐระหว่างไตรมาสที่สองกับไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.47 โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆร้อยละ 2.67 และชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับตกแต่งเครื่อง
แต่งกายที่ลดลงมากถึงร้อยละ 27.27 ซึ่งอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจอเมริกาที่แย่ลงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะทีมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์พลาสติก
ตัวอื่นๆมีทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับการนำเข้านั้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ที่ผ่านมามูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในรูปของเงินเหรียญดอลลาร์
สหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.4 โดยคิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 643.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงของกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนและสำนักงานที่ลดลงมากถึงร้อยละ 38.6 หลอดและท่อพลาสติก
ลดลงร้อยละ 7.28 และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆลดลงอีกร้อยละ 7.84 จะมีเพียงผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติกเท่านั้นที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.09 ตามภาวะสินค้าเกษตรที่ดีขึ้น
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 212.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐและเมื่อพิจารณาเปรียบ
เทียบกับมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่สอบของปี 2544 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขี้นของการนำเข้าในกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์หลอดและท่อพลาสติกร้อยละ 17 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และถุงและกระสอบพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จะมีแต่
เพียงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนและสำนักงานเท่านั้นที่มีอัตราการนำเข้าลดลงสูงถึงร้อยละ 24.07
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่สี่ของปี 2544 นั้นการส่งออกน่าจะมีแนวโน้มลดลงจากการคาดการณ์ถึง
ภาวะเศรษฐกิจอเมริกาที่แย่ลง โดยเฉพาะภายหลังเกิดเหตุวินาศกรรมที่อเมริกา
ในปัจจุบัน มีการแข่งขันที่สูงมากทั้งจากคู่แข่งภายในและภายนอกประเทศ จึงมีความจำเป็นที่อุตสาหกรรมพลาสติกจะต้องพัฒนาศักยภาพ
เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านเทคนิคการผลิต และคุณภาพผลิต ซึ่งจากการสัมมนารวมพลังฝ่าวิกฤติเพื่อธุรกิจไทย
กลุ่มย่อยผลิตภัณฑ์พลาสติก ผู้ประกอบการได้เสนอมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาของอุตสาหกรรมให้ภาครัฐพิจารณา ดังนี้
- จัดมาตรการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดต้นทุนการทำ Factoring ผ่าน บอย./ บสย. การลดภาษีอะไหล่เครื่องจักร
การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น
- สนับสนุนการค้าชายแดน
- ให้ความคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ เช่น กำหนด Local Content สำหรับการประมูลของรัฐ
- พัฒนาทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการผลิตแม่พิมพ์
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยจะได้รับผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของประเทศจีน
(ประมาณต้นปีหน้า) ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดสำคัญของไทยสูงขึ้น ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะประเทศจีนมีต้นทุน
การผลิตที่ต่ำกว่า ดังนั้น ภาครัฐและเอกชน ควรร่วมมือกันกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว
ตารางที่ 1. การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก..ย.) % (เม.ย-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ถุงและกระสอบพลาสติก 145.5 149.4 2.68% 48.8 51.70 5.94% 52.1
ถุงและกระสอบพลาสติกสาน 24.9 22.2 -10.84% 7.6 8.20 7.89% 9
ฟิลม์, ฟอยล์ , เทปและผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบนแบบอื่นๆ 212.8 194.6 -8.55% 62.8 65.40 4.14% 69.3
ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับตกแต่งเครื่องแต่งกาย 12.5 11.7 -6.40% 4.4 3.20 -27.27% 4.3
กล่องพลาสติก 13.5 12 -11.11% 4.4 3.70 -15.91% 4.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 261 256 -1.92% 82.4 80.20 -2.67% 89.5
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 670.2 645.9 -3.63% 210.9 211.90 0.47% 227.9
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก..ย.) % (เม.ย-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ถุงและกระสอบพลาสติก 93.2 102.6 10.09% 32.6 34.30 5.21% 36.1
หลอดและท่อพลาสติก 35.7 33.1 -7.28% 10 11.7 17.00% 12.1
ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ในครัวเรีอนและสำนักงาน 22.8 14 -38.60% 5.4 4.1 -24.07% 5.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 535.6 493.6 -7.84% 154.9 162.2 4.71% 196
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 687.3 643.3 -6.40% 202.9 212.3 4.63% 249.4
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--