กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 กันยายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ- ต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “Where does Thailand stand now ” ในงาน The 2nd Annual Economic Review Forum ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สรุปได้ดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวถึงนโยบายและจุดยืนของประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลคือ ต้องการใช้ทรัพยากรทางด้านการเงินของประเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบอย่างเต็มที่โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก โดยชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเปรียบเหมือน ปิรามิด ส่วนบนเป็นภาคธนาคารและตลาดหุ้น ตรงกลางเป็นภาคการผลิตและนักธุรกิจ ส่วนฐานเป็นภาคเกษตรกรรมและประชากรในชนบท ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใน ทุกส่วนของปิรามิด โดยส่วนบน รัฐบาลได้จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (the Thai Asset Management Corporation: TAMC) เพื่อดึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบของธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโดยรวม และได้ดำเนินมาตรการใหม่ๆ เพื่อดึงต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยมากขึ้น รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะทางด้านพลังงาน
ในส่วนกลางของปิรามิด รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาทิ การจัดตั้งธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนการให้มูลเหตุ จูงใจทางด้านภาษีต่างๆ
ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือ เศรษฐกิจฐานราก อาทิ โครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งมีจำนวนเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการ ดังกล่าวแล้วจำนวน 2.3 ล้านคน กองทุนหมู่บ้านซึ่งได้โอนเงินไปยังหมู่บ้านต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 40,000 หมู่บ้าน นอกจากนั้น ธนาคารประชาชนได้ปล่อยเงินกู้ไปให้แล้วเกือบสองแสนรายเพื่อให้ประชาชนนำไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่เนื่องจากประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศประสบความสำเร็จ แม้ว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม
นอกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลยังมีนโยบายที่ให้ความสำคัญ กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นในขณะที่ตลาดในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีปัญหา แต่จากการที่ไทยได้วางรากฐานในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาในการส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวมากขึ้น รวมทั้งการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนในด้านการค้าการลงทุน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับ ผลกระทบรุนแรงอย่างที่หลายคนอาจจะกังวล
โดยสรุป ถึงแม้สถานการณ์โลกในปัจจุบันจะมีความไม่แน่นอน และการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ประเทศไทยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ 1)นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ 2) การที่ประเทศไทยไม่ได้พึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่ง และให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียและตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าวทำให้ประเทศไทย จะไม่ถูกผลกระทบเหมือนกับประเทศอื่นๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (26 กันยายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ- ต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “Where does Thailand stand now ” ในงาน The 2nd Annual Economic Review Forum ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สรุปได้ดังนี้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวถึงนโยบายและจุดยืนของประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวว่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลคือ ต้องการใช้ทรัพยากรทางด้านการเงินของประเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบอย่างเต็มที่โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก โดยชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเปรียบเหมือน ปิรามิด ส่วนบนเป็นภาคธนาคารและตลาดหุ้น ตรงกลางเป็นภาคการผลิตและนักธุรกิจ ส่วนฐานเป็นภาคเกษตรกรรมและประชากรในชนบท ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใน ทุกส่วนของปิรามิด โดยส่วนบน รัฐบาลได้จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (the Thai Asset Management Corporation: TAMC) เพื่อดึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบของธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโดยรวม และได้ดำเนินมาตรการใหม่ๆ เพื่อดึงต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยมากขึ้น รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะทางด้านพลังงาน
ในส่วนกลางของปิรามิด รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาทิ การจัดตั้งธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนการให้มูลเหตุ จูงใจทางด้านภาษีต่างๆ
ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือ เศรษฐกิจฐานราก อาทิ โครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งมีจำนวนเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการ ดังกล่าวแล้วจำนวน 2.3 ล้านคน กองทุนหมู่บ้านซึ่งได้โอนเงินไปยังหมู่บ้านต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 40,000 หมู่บ้าน นอกจากนั้น ธนาคารประชาชนได้ปล่อยเงินกู้ไปให้แล้วเกือบสองแสนรายเพื่อให้ประชาชนนำไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่เนื่องจากประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศประสบความสำเร็จ แม้ว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม
นอกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลยังมีนโยบายที่ให้ความสำคัญ กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นในขณะที่ตลาดในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีปัญหา แต่จากการที่ไทยได้วางรากฐานในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาในการส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวมากขึ้น รวมทั้งการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนในด้านการค้าการลงทุน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับ ผลกระทบรุนแรงอย่างที่หลายคนอาจจะกังวล
โดยสรุป ถึงแม้สถานการณ์โลกในปัจจุบันจะมีความไม่แน่นอน และการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ประเทศไทยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ 1)นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ 2) การที่ประเทศไทยไม่ได้พึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่ง และให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียและตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าวทำให้ประเทศไทย จะไม่ถูกผลกระทบเหมือนกับประเทศอื่นๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-