รายได้
การจัดเก็บรายได้ภาษีอากรในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการเก็บภาษีจากน้ำมันร้อยละ 15.6 และเบียร์ร้อยละ 13.7 เช่นเดียวกันกับรายได้ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.2 ส่วนใหญ่มาจากการเก็บอากรขาเข้า ร้อยละ 17.7 สำหรับรายได้อื่น ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.6 ตามรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ให้รัฐบาลในเดือนมกราคม 2544 จำนวน 500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ให้รัฐบาลจำนวน 700 ล้านบาท
รายจ่าย รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากในเดือนมกราคมของ ปี 2543 ส่วนราชการ มีการเบิกจ่ายงบประมาณน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ ฐานของงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันของปีก่อนต่ำ ดังนั้น ในเดือนมกราคม 2544 รายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7
ดุลเงินสด
ในเดือนมกราคม 2544 รัฐบาลขาดดุล 5.9 พันล้านบาท ซึ่งมีการชดเชยโดยการกู้ยืมเงินในประเทศสุทธิจำนวน 22 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธี re-open และการออกตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น เป็น 47 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การจัดเก็บรายได้ภาษีอากรในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการเก็บภาษีจากน้ำมันร้อยละ 15.6 และเบียร์ร้อยละ 13.7 เช่นเดียวกันกับรายได้ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.2 ส่วนใหญ่มาจากการเก็บอากรขาเข้า ร้อยละ 17.7 สำหรับรายได้อื่น ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.6 ตามรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ให้รัฐบาลในเดือนมกราคม 2544 จำนวน 500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ให้รัฐบาลจำนวน 700 ล้านบาท
รายจ่าย รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากในเดือนมกราคมของ ปี 2543 ส่วนราชการ มีการเบิกจ่ายงบประมาณน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ ฐานของงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันของปีก่อนต่ำ ดังนั้น ในเดือนมกราคม 2544 รายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7
ดุลเงินสด
ในเดือนมกราคม 2544 รัฐบาลขาดดุล 5.9 พันล้านบาท ซึ่งมีการชดเชยโดยการกู้ยืมเงินในประเทศสุทธิจำนวน 22 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยวิธี re-open และการออกตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น เป็น 47 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-