มอริเชียสเป็นเกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ห่างจากทวีปแอฟริกาไปทางตะวันออกประมาณ 2,200 กิโล-เมตร ประชากรมีอัตรารู้หนังสือสูง ปัจจุบันเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิก African Caribbean Pacific Countries - ACP และได้รับสิทธิประโยชน์ตาม Lome Convention (อดีตเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร)
มอริเชียสได้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นแบบระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข อยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 ระบบการปกครองค่อนข้างอิงกับหลักสากลอย่างมาก
ในอดีต 20 ปีก่อน มอริเชียสมีสินค้าส่งออกเพียงประเภทเดียว คือ น้ำตาล ต่อมารัฐบาลได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำตาล และกระจายสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ และเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก (อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งทอและรองเท้า โดยพึ่งพานักลงทุนชาวไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์) และภาคบริการ (การท่องเที่ยวและการบริการทางการเงินนอกประเทศ (Offshore Facilitics) ส่งผลให้เศรษฐกิจของมอริเชียสเติบโตอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1980
ผลจากการประชุม GATT รอบอุรุกวัย มอริเชียสได้มีพันธะกรณีปฏิบัติตาม GATT ในการลดภาษีนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ยกเลิกมาตรการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าขาเข้าอีก 17% สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเภท ยกเว้นสินค้าจำเป็นภายในปี 1994
รัฐบาลมอริเชียสได้ประกาศกำหนดเพดานภาษีสินค้าเกษตรอยู่ที่ 122% ยกเว้นสินค้าเกษตร 17 รายการ อาทิ เนื้อวัวแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์นม มันฝรั่ง ผลไม้บางประเภท ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ 37% และอีก 7 รายการ รวมทั้งใบชาอยู่ที่ 38%
มอริเชียสเป็นสมาชิกกลุ่ม The Common Market for Eastern and Southem Africa (COMESA) และ The Indian Ocean Commission และความตกลงทางการค้ากับประเทศแอฟริกากลาง อียิปต์ ฮังการี มาดากัสการ์ ปากีสถานและซิมบับเว
มอริเชียสพยายามยกฐานะประเทศให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าประจำภูมิภาค มีการจัดตั้งท่าเรือเสรี (เพื่อการส่งออกต่อ) โดยเฉพาะการค้าระหว่างมอริเชียสกับกลุ่ม Indian Ocean และปริมาณการค้ากับกลุ่ม COMESA มีการขยายตัวอย่างมาก ภาวะการค้า
ปริมาณการค้าและดุลการค้า
ไทยและมอริเชียสยังมีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ย 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทยแล้ว มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.01 - 0.02 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีปริมาณการค้ารวม 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 18.5 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอยู่ 13.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกไปมอริเชียส
ไทยส่งสินค้าออกไปมอริเชียสเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (2536 - 2542) มีมูลค่า 20.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกไปมอริเชียสมีมูลค่า 14.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.9 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมอริเชียสได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ของเบ็ดเตล็ดที่ทำด้วยโลหะสามัญ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง และข้าว เป็นต้น
การนำเข้าจากมอริเชียส
ไทยนำเข้าสินค้าจากมอริเชียสค่อนข้างน้อยเฉลี่ยระยะเวลา 7 ปี (2530 - 2542) มีมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และในปี 2542 มีการนำเข้าลดลงเหลือ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากไทยนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งจากมอริเชียสลดลง สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้าจากมอริเชียสมีมูลค่า 0.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.1 โดยมีสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากมอริเชียส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ แก้ว และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผ้าผืน เป็นต้นลู่ทางการค้าและการลงทุนของไทย
มอริเชียสเหมาะสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนหลายประการด้วยกัน เช่น
- การมีระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีความมั่นคงทางการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมมือในด้านการวางกรอบนโยบายด้านอุตสาหกรรม
- อยู่ในทำเลที่เหมาะในมหาสมุทรอินเดีย
- ระบบเศรษฐกิจลอยตัวซึ่งส่งเสริมให้มีการทำธุรกิจแบบเสรี (Free Enterprise) โดยรัฐบาลลงทุนเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดองค์กรเพื่อส่งเสริมการลงทุน และปล่อยให้การลงทุนด้านการผลิตดำเนินไปได้อย่างเสรี - ภาคเอกชนของมอริเชียสมีความคล่องตัวและมีความพร้อมสำหรับการลงทุนร่วมกับนักลงทุนจากต่างประเทศ
- ระบบเศรษฐกิจเสรี ไม่มีการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน
- มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการลงทุน เช่น เครือข่ายถนนเชื่อมต่อทั่วประเทศ ระบบไฟฟ้าและน้ำประปาที่เชื่อถือได้ ระบบสื่อสารคมนาคมทันสมัย มีท่าเรือและสนามบินที่ทันสมัย
- เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางเรือและทางทะเลกับประเทศต่าง ๆ ในโลก
- เป็นเส้นทางเข้าสู่ยุโรป (มอริเชียสเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรปโดยผ่าน Lome Convention) อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย (ซึ่งให้ GSP กับมอริเชียส) และแอฟริกา (มอริเชียสเป็นสมาชิก SADC)
- อนุญาตให้มีการโอนเงินรายได้และผลประโยชน์จากการลงทุนได้อย่างเสรี
- มีความตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ 24 ประเทศ
- มีความคล่องตัวในด้านการใช้ภาษาสำหรับการสื่อสารคมนาคม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 2ภาษา คือ อังกฤษ และฝรั่งเศส
- ฝ่ายมอริเชียสต้องการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและลงทุนกับฝ่ายไทย โดยมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 : ส่งสินค้ามาเก็บไว้ที่ Freeport ของมอริเชียส และส่งสินค้าต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง (ในปัจจุบันสินค้าต่างประเทศที่เก็บไว้ที่ Freeport ของมอริเชียสจะมีการจัดส่งต่อไปยังประเทศมาดากัสการ์ประมาณ 55%)
ขั้นตอนที่ 2 : เข้ามาประกอบการลงทุนในมอริเชียส โดยราคาสินค้า ณ โรงงานจะต้องมีมูลค่าเพิ่ม 3.5% จากมูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้ามา ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวเมื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก COMESA จะได้รับการลดหย่อนทางภาษี 80% และเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 2000 การส่งสินค้าที่มี Certificate of Origin จากมอริเชียส (ลงทุนในมอริเชียส) ไปยังประเทศสมาชิก COMESA จะเป็นไปโดยปลอดภาษีหรืออัตราภาษีนำเข้า 0%
- การท่ามอริเชียส (Freeport Authority of Mauritius) มีสิ่งบริการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนจากต่างชาติ อาทิ โกดังเก็บสินค้า ห้องเย็น สถานที่จัดแสดงสินค้า ธนาคาร และ Office ทำงาน ฯลฯ
- ลู่ทางด้านอัญมณี : มอริเชียสเป็นตลาดที่แคบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีไว้เพื่อจำหน่ายนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ผู้แทนภาคเอกชนไทยได้พบปะกับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่รายหนึ่งของมอริเชียส ซึ่งได้แสดงความสนใจที่จะนำเข้าอัญมณีและเครี่องประดับจากไทย และยินดีที่จะร่วมลงทุนผลิตสินค้าดังกล่าวกับภาคเอกชนไทยในมอริเชียสด้วย
- ลู่ทางด้านการประมง : รัฐบาลมอริเชียสให้สัมปทานกับเรือจับปลาสำหรับการทำประมงน้ำลึกในราคาที่ต่ำมาก คือ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ/ลำ/ปี (เรือเบ็ดราว) แต่ปริมาณปลาที่จับได้มีค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนไทยประเมินแล้วเห็นว่าไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ดังนั้น ลู่ทางด้านการประมงของไทยกับมอริเชียสจะมีลักษณะเป็นการซื้อปลา โดยต้องการนำเข้าปลาทูน่าจากมอริเชียสปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1) ภาวะการแข่งขันทางการตลาดในตลาดมอริเชียสค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากผู้บริโภคสนใจในด้านราคาสินค้าเป็นหลัก ประกอบกับสินค้าไทยยังประสบความยากลำบากในการหาช่องทางการตลาดที่เหมาะสม เนื่องจากสินค้าจีนและอินเดียเข้าไปครองตลาดส่วนใหญ่ โดยอาศัยกลยุทธ์ทางด้านราคา และความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งอินเดียและจีนมีความได้เปรียบ
2) ความห่างไกลและขาดแคลนข้อมูลผู้บริโภค เป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการค้าที่ผ่านมา เนื่องจากนัก-ธุรกิจไทยมีภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อประเทศในแถบแอฟริกา แม้เมื่อได้รับการติดต่อจากนักธุรกิจท้องถิ่นจะไม่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักธุรกิจดังกล่าว
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/2543 วันที่ 31 ตุลาคม 2543--
-อน-
มอริเชียสได้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นแบบระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข อยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 ระบบการปกครองค่อนข้างอิงกับหลักสากลอย่างมาก
ในอดีต 20 ปีก่อน มอริเชียสมีสินค้าส่งออกเพียงประเภทเดียว คือ น้ำตาล ต่อมารัฐบาลได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำตาล และกระจายสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ และเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก (อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งทอและรองเท้า โดยพึ่งพานักลงทุนชาวไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์) และภาคบริการ (การท่องเที่ยวและการบริการทางการเงินนอกประเทศ (Offshore Facilitics) ส่งผลให้เศรษฐกิจของมอริเชียสเติบโตอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1980
ผลจากการประชุม GATT รอบอุรุกวัย มอริเชียสได้มีพันธะกรณีปฏิบัติตาม GATT ในการลดภาษีนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ยกเลิกมาตรการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าขาเข้าอีก 17% สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเภท ยกเว้นสินค้าจำเป็นภายในปี 1994
รัฐบาลมอริเชียสได้ประกาศกำหนดเพดานภาษีสินค้าเกษตรอยู่ที่ 122% ยกเว้นสินค้าเกษตร 17 รายการ อาทิ เนื้อวัวแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์นม มันฝรั่ง ผลไม้บางประเภท ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ 37% และอีก 7 รายการ รวมทั้งใบชาอยู่ที่ 38%
มอริเชียสเป็นสมาชิกกลุ่ม The Common Market for Eastern and Southem Africa (COMESA) และ The Indian Ocean Commission และความตกลงทางการค้ากับประเทศแอฟริกากลาง อียิปต์ ฮังการี มาดากัสการ์ ปากีสถานและซิมบับเว
มอริเชียสพยายามยกฐานะประเทศให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าประจำภูมิภาค มีการจัดตั้งท่าเรือเสรี (เพื่อการส่งออกต่อ) โดยเฉพาะการค้าระหว่างมอริเชียสกับกลุ่ม Indian Ocean และปริมาณการค้ากับกลุ่ม COMESA มีการขยายตัวอย่างมาก ภาวะการค้า
ปริมาณการค้าและดุลการค้า
ไทยและมอริเชียสยังมีมูลค่าการค้าระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ย 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทยแล้ว มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.01 - 0.02 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีปริมาณการค้ารวม 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 18.5 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอยู่ 13.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกไปมอริเชียส
ไทยส่งสินค้าออกไปมอริเชียสเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (2536 - 2542) มีมูลค่า 20.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกไปมอริเชียสมีมูลค่า 14.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.9 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมอริเชียสได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ของเบ็ดเตล็ดที่ทำด้วยโลหะสามัญ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง และข้าว เป็นต้น
การนำเข้าจากมอริเชียส
ไทยนำเข้าสินค้าจากมอริเชียสค่อนข้างน้อยเฉลี่ยระยะเวลา 7 ปี (2530 - 2542) มีมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และในปี 2542 มีการนำเข้าลดลงเหลือ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากไทยนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งจากมอริเชียสลดลง สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้าจากมอริเชียสมีมูลค่า 0.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.1 โดยมีสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากมอริเชียส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ แก้ว และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผ้าผืน เป็นต้นลู่ทางการค้าและการลงทุนของไทย
มอริเชียสเหมาะสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนหลายประการด้วยกัน เช่น
- การมีระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีความมั่นคงทางการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมมือในด้านการวางกรอบนโยบายด้านอุตสาหกรรม
- อยู่ในทำเลที่เหมาะในมหาสมุทรอินเดีย
- ระบบเศรษฐกิจลอยตัวซึ่งส่งเสริมให้มีการทำธุรกิจแบบเสรี (Free Enterprise) โดยรัฐบาลลงทุนเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดองค์กรเพื่อส่งเสริมการลงทุน และปล่อยให้การลงทุนด้านการผลิตดำเนินไปได้อย่างเสรี - ภาคเอกชนของมอริเชียสมีความคล่องตัวและมีความพร้อมสำหรับการลงทุนร่วมกับนักลงทุนจากต่างประเทศ
- ระบบเศรษฐกิจเสรี ไม่มีการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน
- มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการลงทุน เช่น เครือข่ายถนนเชื่อมต่อทั่วประเทศ ระบบไฟฟ้าและน้ำประปาที่เชื่อถือได้ ระบบสื่อสารคมนาคมทันสมัย มีท่าเรือและสนามบินที่ทันสมัย
- เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางเรือและทางทะเลกับประเทศต่าง ๆ ในโลก
- เป็นเส้นทางเข้าสู่ยุโรป (มอริเชียสเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรปโดยผ่าน Lome Convention) อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย (ซึ่งให้ GSP กับมอริเชียส) และแอฟริกา (มอริเชียสเป็นสมาชิก SADC)
- อนุญาตให้มีการโอนเงินรายได้และผลประโยชน์จากการลงทุนได้อย่างเสรี
- มีความตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ 24 ประเทศ
- มีความคล่องตัวในด้านการใช้ภาษาสำหรับการสื่อสารคมนาคม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 2ภาษา คือ อังกฤษ และฝรั่งเศส
- ฝ่ายมอริเชียสต้องการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและลงทุนกับฝ่ายไทย โดยมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 : ส่งสินค้ามาเก็บไว้ที่ Freeport ของมอริเชียส และส่งสินค้าต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง (ในปัจจุบันสินค้าต่างประเทศที่เก็บไว้ที่ Freeport ของมอริเชียสจะมีการจัดส่งต่อไปยังประเทศมาดากัสการ์ประมาณ 55%)
ขั้นตอนที่ 2 : เข้ามาประกอบการลงทุนในมอริเชียส โดยราคาสินค้า ณ โรงงานจะต้องมีมูลค่าเพิ่ม 3.5% จากมูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้ามา ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวเมื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก COMESA จะได้รับการลดหย่อนทางภาษี 80% และเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 2000 การส่งสินค้าที่มี Certificate of Origin จากมอริเชียส (ลงทุนในมอริเชียส) ไปยังประเทศสมาชิก COMESA จะเป็นไปโดยปลอดภาษีหรืออัตราภาษีนำเข้า 0%
- การท่ามอริเชียส (Freeport Authority of Mauritius) มีสิ่งบริการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนจากต่างชาติ อาทิ โกดังเก็บสินค้า ห้องเย็น สถานที่จัดแสดงสินค้า ธนาคาร และ Office ทำงาน ฯลฯ
- ลู่ทางด้านอัญมณี : มอริเชียสเป็นตลาดที่แคบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีไว้เพื่อจำหน่ายนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ผู้แทนภาคเอกชนไทยได้พบปะกับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่รายหนึ่งของมอริเชียส ซึ่งได้แสดงความสนใจที่จะนำเข้าอัญมณีและเครี่องประดับจากไทย และยินดีที่จะร่วมลงทุนผลิตสินค้าดังกล่าวกับภาคเอกชนไทยในมอริเชียสด้วย
- ลู่ทางด้านการประมง : รัฐบาลมอริเชียสให้สัมปทานกับเรือจับปลาสำหรับการทำประมงน้ำลึกในราคาที่ต่ำมาก คือ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ/ลำ/ปี (เรือเบ็ดราว) แต่ปริมาณปลาที่จับได้มีค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนไทยประเมินแล้วเห็นว่าไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ดังนั้น ลู่ทางด้านการประมงของไทยกับมอริเชียสจะมีลักษณะเป็นการซื้อปลา โดยต้องการนำเข้าปลาทูน่าจากมอริเชียสปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1) ภาวะการแข่งขันทางการตลาดในตลาดมอริเชียสค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากผู้บริโภคสนใจในด้านราคาสินค้าเป็นหลัก ประกอบกับสินค้าไทยยังประสบความยากลำบากในการหาช่องทางการตลาดที่เหมาะสม เนื่องจากสินค้าจีนและอินเดียเข้าไปครองตลาดส่วนใหญ่ โดยอาศัยกลยุทธ์ทางด้านราคา และความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งอินเดียและจีนมีความได้เปรียบ
2) ความห่างไกลและขาดแคลนข้อมูลผู้บริโภค เป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการค้าที่ผ่านมา เนื่องจากนัก-ธุรกิจไทยมีภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อประเทศในแถบแอฟริกา แม้เมื่อได้รับการติดต่อจากนักธุรกิจท้องถิ่นจะไม่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักธุรกิจดังกล่าว
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/2543 วันที่ 31 ตุลาคม 2543--
-อน-