กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับระบบการข่าวและการรักษาความปลอดภัยของทางการไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความวิตกและห่วงกังวลของประชาชนว่าระบบการข่าวและความมั่นคงของชาติล้มเหลวหรืออย่างไร ประชาชนจะไว้ใจต่อระบบการข่าวและความมั่นคงของชาติได้หรือไม่ เพียงใด ต่อเหตุการณ์ที่กองกำลังกะเหรี่ยง God's Army บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีที่เกิดขึ้น และยิ่งจะมีการประชุมอังค์ถัดในเร็วๆ นี้ ประชาชนยิ่งมีความห่วงกังวลว่า ประเทศไทยจะรับมือการประชุม อังค์ถัดในด้านการรักษาความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงผ่านสื่อมวลชนเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่า ที่ผ่านมานั้น หน่วยข่าวของไทยได้ทำอะไรไปบ้างในด้านการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และกำลังทำอะไรอยู่ในการเตรียมการเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นในการประชุมอังค์ถัด เพื่อให้ประชาชนได้สบายใจและไม่ได้ต้องการให้เกิดความตระหนกตกใจ
ประการแรก ต้องยอมรับว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่หนึ่งในบรรดาพื้นที่หลายแห่งของโลกที่มีความเสี่ยงในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เพราะมีปัจจัยครบที่เอื้ออำนวยต่อการก่อการร้ายสากล เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนหนาแน่น ตามสถิติมีถึง 6 ล้านคน แต่เวลากลางวันซึ่งเป็นเวลาทำงาน อาจมีคนเข้าออกกรุงเทพฯ จากเมืองปริมณฑล รวมแล้วอาจถึง 8 ล้านคนก็ได้ ซึ่งแต่ละคนต่างไม่ค่อยสนใจเหตุการณ์รอบด้าน กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกและทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นเมืองเปิด ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกโดยเสรี อีกทั้งง่ายต่อการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อการร้าย นอกจากนั้น เป้าหมายการก่อการร้ายของประเทศที่เป็นศัตรูกับกลุ่มก่อการร้ายมีครบ ไม่ว่าจะเป็นสถานทูต สถานกงสุล สายการบิน นักท่องเที่ยว จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่า มีผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศเดินทางผ่านกรุงเทพฯ ไปมาเสมอ ดังนั้น ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 หน่วยต่างๆ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจะมีผู้สื่อข่าวต่างชาติหลายพันคนเดินทางเข้ามาทำข่าวที่สามารถกระจ่ายข่าวไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางหากเกิดการก่อการร้ายขึ้น หน่วยงานความมั่นคงได้ตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ และได้ระมัดระวังกันอย่างเต็มที่ในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นเท่าที่มีกำลังความสามารถอยู่
ประการที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้มีความห่วงกังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายของต่างชาติที่พร้อมจะทำต่อศัตรูในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเป็นไปได้ หน่วยข่าวของไทยได้ป้องกัน-ถอดสลักให้แล้ว ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ เพราะไม่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และก็จะต้องทำต่อไป เพราะไม่ทราบว่าจะยังคงมีกลุ่มก่อการร้ายหลงเหลืออยู่อีกบ้างหรือไม่
สำหรับคำถามที่ว่าหน่วยข่าวกำลังทำอะไรอยู่ นั้น ในแง่การต่อต้านการก่อการร้ายสากลแล้ว นอกเหนือจากกลุ่มก่อการร้ายสากล ยังได้พิจารณากลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในห้วงเวลานี้เพื่อให้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก และได้พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงทุกด้านที่ละเลยไม่ได้ แม้ว่าบางปัจจัยจะมีความเสี่ยงน้อย บางปัจจัยจะมีความเสี่ยงมาก ก็ต้องดูให้ครบถ้วน
ประเทศไทยไม่ได้เป็นเป้าหมายของการก่อการร้าย แต่ผู้ก่อการร้ายอาจมากระทำต่อสถานทูต สถานกงสุล สายการบิน นักท่องเที่ยว ฯลฯ ของประเทศที่เป็นศัตรูของเขาที่อยู่ในเมืองไทย นอกจากนั้น จากการที่หลายประเทศที่มาประชุมมีปัญหาขัดแย้งภายใน อาทิ มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาล มีกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศ กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่จะต้องจับตาเป็นพิเศษ
ด้วยเหตุนี้ ในการประชุมอังค์ถัดครั้งนี้ หน่วยข่าวของไทยจึงเตรียมป้องกันการก่อการร้ายเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ความร่วมมือจากประชาชนที่จะช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบสิ่งผิดปกติควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะการประชุมครั้งนี้ไม่ใช่เพียงรัฐบาลที่เป็นเจ้าภาพ แต่ประชาชนทั้งชาติเป็นเจ้าภาพร่วมกันด้วย หากมีเหตุไม่ดีงามเกิดขึ้นจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทยโดยรวม--จบ--
วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับระบบการข่าวและการรักษาความปลอดภัยของทางการไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความวิตกและห่วงกังวลของประชาชนว่าระบบการข่าวและความมั่นคงของชาติล้มเหลวหรืออย่างไร ประชาชนจะไว้ใจต่อระบบการข่าวและความมั่นคงของชาติได้หรือไม่ เพียงใด ต่อเหตุการณ์ที่กองกำลังกะเหรี่ยง God's Army บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีที่เกิดขึ้น และยิ่งจะมีการประชุมอังค์ถัดในเร็วๆ นี้ ประชาชนยิ่งมีความห่วงกังวลว่า ประเทศไทยจะรับมือการประชุม อังค์ถัดในด้านการรักษาความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงผ่านสื่อมวลชนเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่า ที่ผ่านมานั้น หน่วยข่าวของไทยได้ทำอะไรไปบ้างในด้านการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และกำลังทำอะไรอยู่ในการเตรียมการเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นในการประชุมอังค์ถัด เพื่อให้ประชาชนได้สบายใจและไม่ได้ต้องการให้เกิดความตระหนกตกใจ
ประการแรก ต้องยอมรับว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่หนึ่งในบรรดาพื้นที่หลายแห่งของโลกที่มีความเสี่ยงในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เพราะมีปัจจัยครบที่เอื้ออำนวยต่อการก่อการร้ายสากล เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่ มีประชาชนหนาแน่น ตามสถิติมีถึง 6 ล้านคน แต่เวลากลางวันซึ่งเป็นเวลาทำงาน อาจมีคนเข้าออกกรุงเทพฯ จากเมืองปริมณฑล รวมแล้วอาจถึง 8 ล้านคนก็ได้ ซึ่งแต่ละคนต่างไม่ค่อยสนใจเหตุการณ์รอบด้าน กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกและทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นเมืองเปิด ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกโดยเสรี อีกทั้งง่ายต่อการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อการร้าย นอกจากนั้น เป้าหมายการก่อการร้ายของประเทศที่เป็นศัตรูกับกลุ่มก่อการร้ายมีครบ ไม่ว่าจะเป็นสถานทูต สถานกงสุล สายการบิน นักท่องเที่ยว จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่า มีผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศเดินทางผ่านกรุงเทพฯ ไปมาเสมอ ดังนั้น ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 หน่วยต่างๆ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจะมีผู้สื่อข่าวต่างชาติหลายพันคนเดินทางเข้ามาทำข่าวที่สามารถกระจ่ายข่าวไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางหากเกิดการก่อการร้ายขึ้น หน่วยงานความมั่นคงได้ตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ และได้ระมัดระวังกันอย่างเต็มที่ในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นเท่าที่มีกำลังความสามารถอยู่
ประการที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้มีความห่วงกังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายของต่างชาติที่พร้อมจะทำต่อศัตรูในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเป็นไปได้ หน่วยข่าวของไทยได้ป้องกัน-ถอดสลักให้แล้ว ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ เพราะไม่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และก็จะต้องทำต่อไป เพราะไม่ทราบว่าจะยังคงมีกลุ่มก่อการร้ายหลงเหลืออยู่อีกบ้างหรือไม่
สำหรับคำถามที่ว่าหน่วยข่าวกำลังทำอะไรอยู่ นั้น ในแง่การต่อต้านการก่อการร้ายสากลแล้ว นอกเหนือจากกลุ่มก่อการร้ายสากล ยังได้พิจารณากลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในห้วงเวลานี้เพื่อให้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก และได้พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงทุกด้านที่ละเลยไม่ได้ แม้ว่าบางปัจจัยจะมีความเสี่ยงน้อย บางปัจจัยจะมีความเสี่ยงมาก ก็ต้องดูให้ครบถ้วน
ประเทศไทยไม่ได้เป็นเป้าหมายของการก่อการร้าย แต่ผู้ก่อการร้ายอาจมากระทำต่อสถานทูต สถานกงสุล สายการบิน นักท่องเที่ยว ฯลฯ ของประเทศที่เป็นศัตรูของเขาที่อยู่ในเมืองไทย นอกจากนั้น จากการที่หลายประเทศที่มาประชุมมีปัญหาขัดแย้งภายใน อาทิ มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาล มีกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศ กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่จะต้องจับตาเป็นพิเศษ
ด้วยเหตุนี้ ในการประชุมอังค์ถัดครั้งนี้ หน่วยข่าวของไทยจึงเตรียมป้องกันการก่อการร้ายเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ความร่วมมือจากประชาชนที่จะช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบสิ่งผิดปกติควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะการประชุมครั้งนี้ไม่ใช่เพียงรัฐบาลที่เป็นเจ้าภาพ แต่ประชาชนทั้งชาติเป็นเจ้าภาพร่วมกันด้วย หากมีเหตุไม่ดีงามเกิดขึ้นจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทยโดยรวม--จบ--