GMOs (Genetically Modified Organisms)
1. GMOs คืออะไร
GMOs (Genetically Modified Organisms) คือ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับยีน (gene) หรือหน่วยพันธุกรรม และดีเอ็นเอ (DNA) ในการถ่ายเทหรือเคลื่อนย้ายพันธุกรรมด้วยกระบวนการตัดต่อพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามต้องการ ทำให้โลกสามารถพัฒนาพันธุ์พืชที่มีลักษณะดีเลิศ ทนทานต่อโรคที่เกิดจากไวรัส แมลง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี อาทิ ถั่วเหลืองที่มีความต้านทานศัตรูพืชสูง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ และฝ้ายบีที (BT-cotton) เป็นต้น
พืชที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม หรือพืช GMOs ได้เริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เพาะปลูกและส่งออกพืช GMOs มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา (ปัจจุบัน นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศแคนาดา บราซิล และอาร์เจนตินา ที่ปลูกพืช GMOs ในเชิงพาณิชย์) โดยพืช GMOs มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะประชากรโลกมีอัตราเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารมีจำนวนเท่าเดิม
2. ผลดีและผลเสียของการพัฒนาพืช GMOs
ผลดี
ทำให้รายรับของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการใช้เมล็ดพันธุ์ GMOs เนื่องจากช่วยให้ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก จากความสามารถต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชของพืช GMOs ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของศักยภาพในการผลิต (Productivity) ช่วยลดการพึ่งพายาปราบศัตรูพืชและค่าใช้จ่ายในการซื้อยาปราบศัตรูพืช ตลอดจนช่วยลดผลกระทบของยาปราบศัตรูพืชที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้ผลผลิตอาหารมีเพียงพอกับความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ผลเสียที่อาจเกิดจากการใช้พืชที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม
นำไปสู่การเสียเปรียบทางการค้าของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ต้นทุนในการผลิตอาหารของประเทศกำลังพัฒนาสูงขึ้น อาจนำไปสู่การทำลายรากฐานเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ และอาจทำให้ พืชพันธุ์ดั้งเดิมสูญพันธุ์ไปในที่สุด อาจไม่ปลอดภัยต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคเกรงว่าการบริโภคพืช GMOs ในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรค เกิดอาการแพ้ หรือ มะเร็งลำไส้ หรืออาจนำไปสู่การผ่าเหล่าของมนุษย์ เป็นต้น 3. ผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย
แม้ว่าการพัฒนาพืชผลที่เกิดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก แต่ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและการบริโภคต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ยังคงสร้างความกังวลต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประเทศไทย มีการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมเข้ามาผลิตในเชิงพาณิชย์ ตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2537) ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน ผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาทิ ข้าวโพดและถั่วเหลือง กลับไม่มีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากพืช GMOs และเป็นที่ทราบกันดีว่า ผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่นำเข้า โดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีโอกาสที่จะเป็นผลผลิตที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ GMOs ซึ่งจากมาตรการที่มีความขัดแย้งดังกล่าว มีผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย ดังนี้
1. ผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่เกษตรกรไทยผลิตได้ภายในประเทศ ต้อง แข่งขันกับสินค้านำเข้าที่บางส่วนเป็นพืช GMOs ทำให้เกษตรกรไทยเสียเปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพืช GMOs
2. การที่สหภาพยุโรป อ้างความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อกำหนดให้ผู้ส่งออกของไทยต้องระบุว่าสินค้าที่ส่งออกนั้น มีส่วนประกอบของพืช GMOs หรือไม่ จะเป็นการเพิ่ม ต้นทุนการส่งออกของไทย เนื่องจากต้องมีกรรมวิธีในการทดสอบที่ซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ผลกระทบด้านอื่น ๆ
3. หากสินค้า GMOs มีผลเสียต่อผู้บริโภคในระยะยาวอย่างที่กังวลกัน ผู้บริโภคในประเทศเอง ก็มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่อาจมีพืช GMOs เป็นส่วนประกอบ เพราะทางการไม่มีมาตรการใด ๆ ที่จะบอกให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าเหล่านั้น มีพืช GMOs ประกอบอยู่หรือไม่
4. นำมาซึ่งความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเกิดจากการที่แต่ละประเทศมีท่าทีที่ แตกต่างกันเกี่ยวกับการยอมรับในความปลอดภัยของพืช GMOs
4. สรุป
ในระยะสั้น เพื่อลดผลกระทบจากความตื่นกลัวในเรื่องอันตรายจากบริโภคสินค้า GMOs รัฐบาลควรกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในประเทศ โดยการติดฉลากเพื่อแยกแยะสินค้าหรืออาหารที่วางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดว่ามีพืช GMOs เป็นส่วนประกอบหรือไม่ เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
ในระยะยาวรัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งทำการวิจัยให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาสินค้า GMOs และผลกระทบที่จะเกิดจากการผลิตและการบริโภคสินค้า GMOs เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายในการผลิตและการค้าสินค้า GMOs ที่เหมาะสม ซึ่งหากการผลิตและการบริโภคสินค้า GMOs ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสินค้า GMOs ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอาหารแปรรูป อาทิ ไก่แปรรูป ปลาทูน่าในน้ำมันพืชบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของโลก
ในทางตรงกันข้าม หากกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs มีความรุนแรงมากขึ้น หรือพบว่าการผลิตสินค้า GMOs มีอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมจริง ทางการควรเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยห้ามนำเข้าสินค้า GMOs ดังกล่าว นอกเหนือจากการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช GMOs ที่ทำอยู่ และควรประกาศตัวเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารที่ปลอด GMOs เพื่อสร้างคุณค่าของสินค้าไทยในสายตาผู้บริโภค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. GMOs คืออะไร
GMOs (Genetically Modified Organisms) คือ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับยีน (gene) หรือหน่วยพันธุกรรม และดีเอ็นเอ (DNA) ในการถ่ายเทหรือเคลื่อนย้ายพันธุกรรมด้วยกระบวนการตัดต่อพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามต้องการ ทำให้โลกสามารถพัฒนาพันธุ์พืชที่มีลักษณะดีเลิศ ทนทานต่อโรคที่เกิดจากไวรัส แมลง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี อาทิ ถั่วเหลืองที่มีความต้านทานศัตรูพืชสูง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ และฝ้ายบีที (BT-cotton) เป็นต้น
พืชที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม หรือพืช GMOs ได้เริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เพาะปลูกและส่งออกพืช GMOs มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา (ปัจจุบัน นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศแคนาดา บราซิล และอาร์เจนตินา ที่ปลูกพืช GMOs ในเชิงพาณิชย์) โดยพืช GMOs มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะประชากรโลกมีอัตราเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารมีจำนวนเท่าเดิม
2. ผลดีและผลเสียของการพัฒนาพืช GMOs
ผลดี
ทำให้รายรับของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการใช้เมล็ดพันธุ์ GMOs เนื่องจากช่วยให้ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก จากความสามารถต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชของพืช GMOs ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของศักยภาพในการผลิต (Productivity) ช่วยลดการพึ่งพายาปราบศัตรูพืชและค่าใช้จ่ายในการซื้อยาปราบศัตรูพืช ตลอดจนช่วยลดผลกระทบของยาปราบศัตรูพืชที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้ผลผลิตอาหารมีเพียงพอกับความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ผลเสียที่อาจเกิดจากการใช้พืชที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม
นำไปสู่การเสียเปรียบทางการค้าของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ต้นทุนในการผลิตอาหารของประเทศกำลังพัฒนาสูงขึ้น อาจนำไปสู่การทำลายรากฐานเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ และอาจทำให้ พืชพันธุ์ดั้งเดิมสูญพันธุ์ไปในที่สุด อาจไม่ปลอดภัยต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคเกรงว่าการบริโภคพืช GMOs ในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรค เกิดอาการแพ้ หรือ มะเร็งลำไส้ หรืออาจนำไปสู่การผ่าเหล่าของมนุษย์ เป็นต้น 3. ผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย
แม้ว่าการพัฒนาพืชผลที่เกิดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก แต่ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและการบริโภคต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ยังคงสร้างความกังวลต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประเทศไทย มีการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมเข้ามาผลิตในเชิงพาณิชย์ ตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2537) ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน ผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาทิ ข้าวโพดและถั่วเหลือง กลับไม่มีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากพืช GMOs และเป็นที่ทราบกันดีว่า ผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่นำเข้า โดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีโอกาสที่จะเป็นผลผลิตที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ GMOs ซึ่งจากมาตรการที่มีความขัดแย้งดังกล่าว มีผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย ดังนี้
1. ผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่เกษตรกรไทยผลิตได้ภายในประเทศ ต้อง แข่งขันกับสินค้านำเข้าที่บางส่วนเป็นพืช GMOs ทำให้เกษตรกรไทยเสียเปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพืช GMOs
2. การที่สหภาพยุโรป อ้างความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อกำหนดให้ผู้ส่งออกของไทยต้องระบุว่าสินค้าที่ส่งออกนั้น มีส่วนประกอบของพืช GMOs หรือไม่ จะเป็นการเพิ่ม ต้นทุนการส่งออกของไทย เนื่องจากต้องมีกรรมวิธีในการทดสอบที่ซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ผลกระทบด้านอื่น ๆ
3. หากสินค้า GMOs มีผลเสียต่อผู้บริโภคในระยะยาวอย่างที่กังวลกัน ผู้บริโภคในประเทศเอง ก็มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่อาจมีพืช GMOs เป็นส่วนประกอบ เพราะทางการไม่มีมาตรการใด ๆ ที่จะบอกให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าเหล่านั้น มีพืช GMOs ประกอบอยู่หรือไม่
4. นำมาซึ่งความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเกิดจากการที่แต่ละประเทศมีท่าทีที่ แตกต่างกันเกี่ยวกับการยอมรับในความปลอดภัยของพืช GMOs
4. สรุป
ในระยะสั้น เพื่อลดผลกระทบจากความตื่นกลัวในเรื่องอันตรายจากบริโภคสินค้า GMOs รัฐบาลควรกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในประเทศ โดยการติดฉลากเพื่อแยกแยะสินค้าหรืออาหารที่วางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดว่ามีพืช GMOs เป็นส่วนประกอบหรือไม่ เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
ในระยะยาวรัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งทำการวิจัยให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาสินค้า GMOs และผลกระทบที่จะเกิดจากการผลิตและการบริโภคสินค้า GMOs เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายในการผลิตและการค้าสินค้า GMOs ที่เหมาะสม ซึ่งหากการผลิตและการบริโภคสินค้า GMOs ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสินค้า GMOs ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอาหารแปรรูป อาทิ ไก่แปรรูป ปลาทูน่าในน้ำมันพืชบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของโลก
ในทางตรงกันข้าม หากกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs มีความรุนแรงมากขึ้น หรือพบว่าการผลิตสินค้า GMOs มีอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมจริง ทางการควรเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยห้ามนำเข้าสินค้า GMOs ดังกล่าว นอกเหนือจากการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช GMOs ที่ทำอยู่ และควรประกาศตัวเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารที่ปลอด GMOs เพื่อสร้างคุณค่าของสินค้าไทยในสายตาผู้บริโภค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-